กฎหมายระหว่างปรเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


ที่มา:http://www.oknation.net/blog/Peaceful1906/2009/01/28/entry-1


กฎหมายไทยได้มีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนในรูปแบบต่างๆ มานานนับจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบกันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 หลังจากนั้นประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับด้วยกัน เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Froms of Discriminay=tion against Women) เป็นต้น

อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนตามสนธิสัญญาต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ประเทศไทยก็ยังมีปัญหาที่เกิดจากการขาดการส่งเสริมละคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่รอแก้ไขอีกหลายประการในที่นี้จะยกตัวอย่างปัญหาสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ดังเช่น

การละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนในสังคมไทยมีปรากฏการณ์ในหลายรูปแบบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาหลายทศวรรษและยังคงดำรงสืบเนื่องในสังคมไทย และมีแนวโน้มขยายความรุนแรงกว้างขวางขึ้นกับกลุ่มเด็กและเยาวชนต่างๆ

ข้อมูลของกรมประชาสงเคราะห์ ปี 2545 พบว่าเด็กที่อยู่ในอายุ 1–14 ปี ประมาณ 6 ล้านคนอยู่ในครอบครัวที่ยากจน เด็กถูกทอดทิ้งมีจำนวนมากกว่าแสนคน เด็กกำพร้ามีจำนวนประมาณ 350,000 คน เด็กเร่ร่อน มีประมาณ 370,000 คน เด็กพิการทางกาย หรือทางจิตกว่า 400,000 คน เด็กชนเผ่าที่เป็นกลุ่มคนชายขอบกว่า 200,000 คนซึ่งสภาพปัญหาที่เด็กเผชิญและประสบอยู่ สะท้อนการละเมิดสิทธิมนุษยชน ของเด็กและเยาชนตามหลักกฎหมายสากลของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กคือ

1. เด็กถูกทอดทิ้งจากพ่อแม่

2. เด็กและเยาวชนที่ถูกข่มขืน ทารุณ ใช้แรงงาน เป็นเหยื่อของความขัดแย้งของครอบครัวและสังคม

3. เด็กเร่ร่อน มีทั้งที่เร่ร่อนตามครอบครัวมาหางานทำในเมือง หรือเร่ร่อนตามลำพังกลายเป็นขอทาน เพราะพลัดหลงจากครอบครัว หรือถูกจับตัวมาโดยขบวนการค้ามนุษย์

4. เด็กลูกกรรมกรส่วนใหญ่ขาดโอกาสทางการศึกษาเมื่อจบชั้นประถมไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ มักได้รับบาดเจ็บเนื่องจากตะปูตำ ไม้ตกใส่ ถูกเหล็กกับฆ้อนทุบมือ แก้วบาด และมักเรียนรู้เรื่องเพศตั้งแต่อายุยังน้อย

5. เด็กในชุมชนแออัดในกรุงเทพ มักมีปัญหาสุขภาพ ขาดสารอาหาร เป็นโรคผิวหนังสกปรก มอมแมม

6 .มีเด็กติดเอดส์จากแม่ ทั้งยังจะต้องกำพร้าเนื่องจาก พ่อแม่เสียชีวิตจากโรคเอดส์ รวมทั้งกลุ่มวัยรุ่นที่ติดเชื้อโดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือใช้เข็มร่วมกันในการใช้ยาเสพติด

7.เด็กพิการที่ถูกทอดทิ้งจากครอบครัว หรือเด็กพิการที่ครอบครัวมีฐานะยากจนที่รัฐควรจะเข้าไปดูแลและให้ความช่วยเหลือ

 ข้าพเจ้าเห็นว่าองค์กรภาครัฐ และเอกชนควรจะมีส่วนร่วมในการดำเนินการเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิเด็กดังนี้ เช่นการพัฒนาทั้งการคุ้มครอง ป้องกัน การแก้ไขปัญหาทั้งโดยมุ่งเน้นการพัฒนาต่อเด็กเอง ควบคู่ไปกับการพัฒนาครอบครัวและการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคมตลอดจนกระทั่งการรณรงค์ เผยแพร่ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการละเมิดสิทธิเด็ก เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสัมพันธ์ของปัญหาที่เกิดขึ้นอีกทั้งดำเนินการโดยใช้มาตรการทางกฎหมายผ่านกระบวนการยุติธรรม

ภาครัฐควรสนับสนุนองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีบทบาทในการพัฒนากลุ่มเด็กและเยาวชนที่ถูกละเมิดสิทธิ เช่น มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก มูลนิธิเด็ก มูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ กลุ่มการป้องกันและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก กลุ่มยุวชนสร้างสรรค์ กลุ่มอาสาพัฒนาเด็ก ให้มากยิ่งขึ้น เพราะองค์กรเหล่านี้เป็นกลไกหนึ่งในการที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน

แหล่งอ้างอิง

1.อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก,สืบค้นเมื่อ 13พฤษภาคม 2557,จากhttp://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&s...

2.ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศและแนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนา,สืบค้นเมื่อ 13พฤษภาคม 2557,จากhttps://sites.google.com/site/30318hayatee/6-payha...

3.การละเมิดสิทธิมนุษยชนเด็ก และ เยาวชน,สืบค้นเมื่อ 13พฤษภาคม 2557,จากhttp://www.oknation.net/blog/Peaceful1906/2009/01/...

หมายเลขบันทึก: 568219เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 00:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท