HR-LLB-TU-2556-TPC-ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก


ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อมต่อกับสังคมโลก

สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเท่าเทียมกันในแง่ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิ เพื่อดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษาศาสนา และสถานภาพทางกายและสุขภาพรวมทั้งความเชื่อทางการเมือง หรือความเชื่ออื่นๆที่ขึ้นกับพื้นฐานทางสังคม สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายทอดหรือโอนให้แก่ผู้อื่นได้[1]

จากเหตุการณ์ความไม่สงบของประเทศต่างๆทำให้เกิดการลี้ภัยมาอยู่ประเทศอื่น โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอันเป็นประเทศผู้รับซึ่งไม่อาจปฏิเสธการเข้ามาได้ และยังต้องหามาตรการให้ความช่วยเหลือในลักษณะต่างๆตามหลักสิทธิมนุษยชน กฎหมายระหว่างประเทศ และหลักมนุษยธรรม

ประเทศไทยได้มีการรับผู้ลี้ภัยความตายมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่นพม่า อีกทั้งประเทศซีเลีย ซึ่งกำลังเกิดความไม่สงบอยู่ในขณะนี้ ผลจากการรับผู้ลี้ความตายให้มาอยู่ในประเทศไทยนั้นนำมาสู่ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดย ปรากฏออกมาหลายปัญหาไม่เพียงแต่ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อภายในประเทศอย่างเดียว ยังมีปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นและประชากรของรัฐอื่นด้วยเช่นกัน ซึ่งกรณีนี้จะหยิบยกปัญหาของชาวโรฮิงญามาศึกษา

จากการศึกษาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้นปัญหาของชาวโรฮิงญา เป็นกรณีที่ชาวโรฮิงญาอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งอาจจะกล่าวว่า เขาเหล่านั้นมีฐานะเป็นคนต่างด้าวก็ได้ โดยชาวโรฮิงญาต้องอพยพมาจากประเทศพม่าเนื่องจากโดนบีบคั้นจากรัฐบาลพม่าในด้านต่างๆ จึงต้องออกจากดินแดนที่อาศัยอยู่ไปยังประเทศที่3 เพื่อความอยู่รอดของตน ชาวโรฮิงญาจึงมีฐานะเป็น ผู้ลี้ภัยจากความตาย

การที่ชาวโรฮิงญาอพยพข้ามน้ำทะเลอันดามันไปยังประเทศต่างๆ เช่นบังกลาเทศ มาเลเซีย ปากีสถาน รวมถึงประเทศไทยด้วย เนื่องจากโดนกดขี่จากรัฐบาลทหารพม่าในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การไม่ได้รับสัญชาติพม่า การถูกห้ามเข้าศึกษาเล่าเรียน การไม่มีสิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลต่างๆ และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ภาษา ระหว่างชาวโรฮิงญา กับประชาชนชาวพม่า ทำให้ชาวโรฮิงญาจำนวนมากจำต้องยอมอพยพจากดินแดนบ้านเกิดของเขาที่มีทั้งความทรงจำ และความผูกพัน เพื่อไปยังดินแดนที่เขาจะได้รับการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ผู้หนึ่งในสังคมโลก ทำให้มีชาวโรฮิงญาจำนวนกว่าหมื่นคนอพยพมายังดินแดนไทย เพื่ออยู่กินและใช้ชีวิตที่มีความเท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคน ที่ได้กำหนดไว้ในสิทธิมนุษยชน หลายปีที่ผ่านมาปัญหาชาวโรฮิงญาเปรียบเสมือนเรือกลางกระแสคลื่นช่วงไหนคลื่นลมแรงหลบเข้ามาฝั่งมีคนสนใจ ปัญหาเหล่านั้นก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่อหาทางออก แต่เมื่อลมสงบการแก้ไขปัญหาก็หยุดนิ่ง เหมือนกับว่าไม่มีปัญหานั้นเกิดขึ้นอีกเลยแต่มีชาวโรฮิงญาจำนวนมากตกเป็นเหยื่อขององค์กรการค้ามนุษย์ ที่จะนำชาวโรฮิงญานำไปขายเป็นแรงงานแก่นายทุนต่างๆ หรือกระทั่งบังคับให้ไปขายบริการ ชาวโรฮิงญา เป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้รับสัญชาติซึ่งพักอาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ ประเทศพม่า ซึ่งทางพม่าเองก็ไม่ได้ออกสัญชาติให้ ซึ่งโรฮิงญาเดิมมาจากบังกลาเทศ และอพยพมาอยู่ที่รัฐยะไข่ ในช่วงที่มีการสู้รบกัน และมีพายุไซโคลน นาร์กีสที่พัดเข้าประเทศพม่า ทำให้พวกโรฮิงญา และพวกพม่าล้มตายเป็นจำนวนมาก เกิดความลำบากเข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพงทำให้โรฮิงญาต้องอพยพหนีลงมาทางตอนใต้แถบทะเลอันดามัน โดยมีการตั้งเข็มทิศตรงมายังทะเลอันดามันพ้นหมู่เกาะอันดามันก็หักซ้ายเข้ามาสู่แผ่นดินไทย จริง ๆ แล้วพวกนี้ไม่ต้องการที่จะมาอยู่ในเมืองไทย แต่อยากจะอพยพไปประเทศที่ 3 คือประเทศมาเลเซีย เพราะว่านับถือศาสนาอิสลามเหมือนกัน เพราะส่วนใหญ่คนพวกนี้เมื่อมีการอพยพมาก็จะมีการเตรียมเสบียงอาหารน้ำดื่ม และน้ำมันเชื้อเพลิงมา แต่ไม่เพียงพอต่อการเดินทางที่ยาวไกล

การที่ชาวโรฮิงญาเหล่านั้นอพยพมาพักพึงยังดินแดนที่ปกครองประเทศโดยรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นประเทศทุกคนล้วนแล้วแต่มีความเท่าเทียมกันทุกคน และต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของกันและกัน อย่างประเทศไทยแล้วนั้น ได้กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับ ความเสมอภาค และ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ไว้ดังนี้

ตามมาตรา 4 ได้วางหลักไว้ว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง

ตามมาตรา ๓๐ ได้วางหลักไว้ว่า บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน และการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาต่างๆ และ อนุสัญญาที่เห็นได้ชัดว่าเกี่ยวกับกรณีการอพยพเข้ามายังประเทศของชาวโรฮิงญานี้ นั้นก็คืออนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD) มีวางหลักการของความเสมอภาคของมวลมนุษย์ และ ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเขาเหล่านั้น โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เคารพและนับถือในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเขามนุษย์ทั้งมวล โดยที่จะต้องไม่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่าง เชื่อชาติ เพศ ภาษา หรือ เพศ เนื่องจาก มนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นมาอิสระ และเสมอภาคในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

นอกจากประเทศไทยแล้ว ปัญหาชาวโรฮิงญาที่ต้องอพยพออกจากดินแดน เป็นสิ่งที่ประชาคมโลกต้องให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหานี้ เนื่องจากชาวโรฮิงญาก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งในสังคมโลก และรวมทั้งปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็ได้คุ้มครองและเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาคมโลกทุกคน ข้าพเจ้าได้ยกข้อกำหนดในปฎิญญาสากลฉบับนี้ เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการอพยพของชาวโรฮิงญา ไว้คร่าวๆดังนี้

ข้อ 2. ประชาชนทุกคนสามารถเรียกร้องสิทธิตามปฎิญญาสากลฉบับนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นเพศใด ผิวสีใด ใช้ภาษาใด มีความคิดต่างกันเพียงใด นับถือศาสนาใด รวยจนเพียงใด อยู่ในสงคมระดับใด หรือมาจากประเทศใด

ข้อ 3. ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตและดำเนินชีวิตอย่างมีอิสระและปลอดภัย

ข้อ 4. ไม่มีใครที่จะมีสิทธิปฎิบัติต่อตัวเราเหมือนเรา เป็นทาสของเขา และเราก็ไม่ควรปฎิบัติต่อผู้อื่นเหมือนเขาเป็นทาสของเรา

ข้อ 5. ไม่มีใครมีสิทธิข่มเหงทารุณเรา

ข้อ 6. ประชาชนทุกคนมีสิทธิ ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายในลักษณะเดียวกันและเป็นแบบเดียวกันในทุก ๆ แห่ง

ข้อ 7. กฎหมายคุ้มครองประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน และมีผลบังคับใช้กับประชาชนทุกคนเหมือนกัน

ข้อ 8. เราทุกคนสามารถขอความช่วยเหลือทางกฎหมายได้หากไม่ได้รับการเคารพสิทธิที่ได้รับรองไว้ตามกฎหมายภายในประเทศเรา

ข้อ 14. หากใครทำร้ายเราเรามีสิทธิที่จะเดินทางไปประเทศอื่น และ ขอความคุ้มครองจากประเทศนั้นได้ แต่เราจะไม่ได้รับสิทธินี้หากเราฆ่าคน และหากเราไม่เคารพกติกาตามปฎิญญาสากลฉบับนี้

ข้อ 15. เรามีสิทธิเป็นประชาชนของประเทศหนึ่งและไมผู้ใดสามารถกีดกันเราไม่ให้เป็นประชาชนของประเทศนั้ได้โดยไม่มีเหตุผลที่ดีเพียงพอ

ข้อ 26. ประชาชนทุกคนต้องมีสิทธิได้เรียนหนังสือได้รับการเรียนระดับประถมฟรี เราควรได้เรียนวิชาชีพหรือเรียนต่อถึงขั้นสูงสุดตามต้องการ ประชาชนทุกคนควรได้รับการพัฒนาความสามารถทุกด้าน และควรได้รับการอบรมให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นแม้จะแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ศาสนาหรือสัญชาติ ผู้ปกครองมีสิทธิเลือกวีธีสอนและเนื้อหาที่จะสอนให้บุตรหลานได้

ข้อ 30. ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดของโลก ไม่มีสังคมใดและมนุษย์คนใดมีสิทธิทำอะไรที่ไม่เคารพสิทธิตามปฎิญญาสากลฉบับนี้ได้[2]

ดังนั้นปัญหาชาวโรฮิงญาอพยพไปยังประเทศต่างๆนี้ เพื่อที่จะไปยังดินแดนที่พวกเขาเหล่านั้นมีสิทธิในชีวิตร่างกาย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่พวกเขาเหล่าน้้นพึงจะได้รับ ประเทศไทยรวมทั้งประชาคมโลกควรจะให้ความสนใจและแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ชาวโรฮิงญาทั้งหลายดำรงอยู่ในสังคมโลกอย่างมีค่าความเป็นมนุษย์ อย่างไรก็ตามแม้ประเทศไทยจะมีพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนตามสนธิสัญญาต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ประเทศไทยก็ยังมีปัญหาที่เกิดจากการขาดการส่งเสริมละคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่รอแก้ไขอีกหลายประการ

อ้างอิง

[1]สิทธิมนุษยชนกับสังคมไทย, สืบค้นข้อมูลวันที่6 พ.ค. 57, http://www.oknation.net/blog/oh-shit/2009/02/16/en...

[2]ปัญหาการอพยพชาวโรฮิงญา เชื่อมโยงกับสังคมโลกอย่างไร,สืบค้นข้อมูลวันที่6 พ.ค.57 , http://www.l3nr.org/posts/53556

หมายเลขบันทึก: 567545เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2014 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2014 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท