ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่เชื่อต่อกันสังคมโลก


        

           

                                                           

         

               สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามกฎหมายและสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และยังเป็นสิทธิที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งไม่สามารถจำหน่าย จ่าย โอน หรือแจกให้กับผู้หนึ่งผู้ใดได้ สิทธิดังกล่าวนี้จึงมีความเป็นสากลและเป็นนิรันดร์ 

        กฎหมายไทยได้มีมาตรการในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนในรูปแบบต่างๆ มานานรับจากประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบกันปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 หลังจากนั้นประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอีกหลายฉบับด้วยกัน เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ เป็นต้น

      โรฮิงญา เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอาระกัน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกเหยียดหยามและเลือกปฏิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่ ทำให้มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมาก เนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายได้ ซ้ำร้ายยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามแต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงญาต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเหตุปัจจัยเหล่านี้

       ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศจึงทำให้ประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านบางส่วน เช่น สหภาพพม่า ราชอาณาจักรกัมพูชา พยายามเดินทางเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทย ทั้งที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายและลักลอบเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันแรงงานส่วนใหญ่ถูกจ้างแบบเหมาช่วง ทำให้ไม่มีเงินไปดำเนินการในเรื่องพิสูจน์สัญชาติ และเป็นช่องทางให้ไปหางานทำในรูปแบบอื่นๆ ทำให้แรงงานเข้าสู่กระบวนการค้ามนุษย์มากขึ้น หรือ นายจ้างหากินกับแรงงานโดยเก็บค่าใช้จ่ายที่เกินจริง และไม่ยอมดำเนินการให้แรงงานทุกกระบวนการ ที่พบเห็นได้บ่อยคือการปฏิบัติของนายจ้างต่อลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ เพราะลูกจ้างที่เป็นแรงงานข้ามชาติไม่มีใครอยากเปลี่ยนงานบ่อย หากไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งนายจ้างบางคนถึงขั้นยึดเอกสารลูกจ้างไว้เพราะไม่ต้องการให้เปลี่ยนงาน ทั้งที่ค่าจ้างต่ำเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง

        ประเทศไทยควรปฏิบัติต่อสังคมเพื่อนบ้านโดยปฏิบัติอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แม้จะมีปัญหาความเห็นหรือข้อพิพาทต่างๆกับประเทศอื่นๆ แต่ในฐานะมนุษย์ร่วมโลกเราควรปฏิบัติโดยไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้อื่น เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและความปลอดภัยมั่นคงของประเทศ หากมีการปฏิบัติไปละเมิดสิทธิมนุษยชนของชนชาติอื่นอาจส่งผลความเสียหายต่อประเทศไทย

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

http://www.tacdb-burmese.org/web/index.php?option=...  ค้นหาวันที่ 7 พค 2557

หมายเลขบันทึก: 567543เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2014 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท