เขียนหนังสือเป็นอาชีพกับครูพี่ม้อค (3-77)


อย่าคิดแค่เพียงเขียนเพื่อให้มีชื่อที่ปก แต่ต้องเขียนให้ติดอันดับหนังสือขายดีไปเลย...


สรุปสาระ จาก "การอบรมการเขียนหนังสือเป็นอาชีพ"

อาจารย์ธวัชชัย พืชผล (ครูพี่ม้อค-สนพ.ดีดี) 26 เมย.57

                ครูพี่ม้อค ธวัชชัย พืชผล เจ้าของสำนักพิมพ์ดีดี

- เป้าหมาย/กรอบความคิด เป็นตัวกำหนดความสำเร็จ ดังนั้นให้ขยายกรอบความคิดให้กว้างใหญ่ แล้วทำตามกรอบความคิดที่เป็นเป้าหมาย

- เป้าหมายจะเป็นตัวกำหนด “ภารกิจ” ที่ต้องทำ เมื่อตั้งเป้าหมาย เราจะรู้ว่าต้องทำอะไรบ้างจึงจะสำเร็จ เมื่อเป้าหมายใหญ่ เราต้องทำงานหนักและมากกว่าธรรมดา

- นอกจาก 4M (Man Money material Management) แล้ว นักเขียนต้องรู้เขารู้เรา

- การเป็นนักเขียนต้องอ่านมากๆ เริ่มต้นด้วยการเป็น “นักอ่าน” และต้องเป็นนักอ่านที่มี “3 อ่าน” ได้แก่

1.อ่านเอารู้ อ่านให้รู้เรื่อง อ่านๆๆๆๆ ทุกเรื่อง

2.อ่านเอาทำ อ่านเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ จับความ นำไปปฏิบัติได้

3.อ่านเอารู้ท(Root) อ่านเพื่อให้รู้โครงสร้างของหนังสือ รู้แก่น สาระแท้ๆ ของหนังสือ

นักเขียนควรเน้นที่ข้อ 3 อ่านเอารู้ท (Root) เป็นการศึกษาแนวทางของผู้เขียนหนังสืออื่นๆ โดยเฉพาะหนังสือที่ติดอันดับของ AMAZON , Se-Ed

ขั้นตอนของการเขียนหนังสือให้มีคนอ่าน (ขายได้)

1. ทำให้ต้นฉบับดี

2. ทำให้ต้นฉบับโดน (ใจ)

3. ทำให้เสร็จทันเวลา

4. ทำให้หนังสือเกิด (ขายได้ มีสำนักพิมพ์สนใจ)

เขียนหนังสือต้อง “รู้เขา รู้เรา”

- ก่อนเขียนต้องศึกษา/หาข้อมูลว่ามีใครเขียนอะไร อย่างไรไว้บ้างแล้วในเรื่องที่จะเขียน (รู้เขา) โดยอ่านหนังสือแนวเดียวกับที่จะเขียนอย่างน้อย 10-20 เล่ม และดูอันดับหนังสือที่ติดอันดับขายดีจากเว็บต่างๆ เช่น AMAZON , Se-Ed เป็นต้น

- เขียนสิ่งที่ตัวเองมีความรู้อย่างดีและรัก เขียนให้เกิดความรู้สึก (รู้เรา)

Root (ราก/โครงสร้าง) ของหนังสือขายดีติดอันดับ

(หนังสือแต่ละเล่มจะมี Root แตกต่างกันไป ขึ้นกับกลวิธีการนำเสนอ) แต่ส่วนใหญ่มักจะมีลำดับการเขียน ดังนี้ “ยก ภาพ ชี้ อ้าง เทศน์ อ้าง จบ”

- ยก คือ ตัวอย่างถ้อยคำ สุภาษิตนำเรื่องเปิดหัวข้อ

- ภาพ คือ เขียนบรรยายให้เห็นภาพ (น่าจะใช้ภาพประกอบช่วยให้เห็นง่าย-ผู้สรุป)

- ชี้ คือ แนะให้เห็นว่าเรื่องราวที่เขียนนี้มีสาระอย่างไร

- อ้าง คือ อ้างอิงจากคนอื่นว่ากล่าวถึงเรื่องนี้อย่างไรบ้าง

- เทศน์ คือ บอกเล่าสิ่งที่ต้องการนำเสนอ

- อ้าง คือ การอ้างอิงเรื่องที่เกี่ยวข้อง (อีกครั้ง)

- จบ คือ สรุปปิดท้าย

หนังสือที่ดีจะไม่เอาแต่สอนหรือกล่าวถึงเนื้อหาสาระเพียงอย่างเดียว ไม่มีใครอยากถูกสั่งสอน (แม้คำสอนจะดีเลิศปานใด) แต่คนจะยอมรับ หากได้รู้ข้อมูลจากหลายๆ ด้าน ได้คิดและได้พิจารณาจนเริ่มเห็นจริงตาม จากนั้นจึงจะเปิดใจรับข้อมูลที่ผู้เขียนนำเสนอให้

แล้ว"หนังสือดีเป็นอย่างไร?"

1. ต้องมีประเด็น (หัวข้อ/ชื่อเรื่อง) ดี โดนใจ/จูงใจคนอ่าน

2. เนื้อหาภายในเล่มต้องตอบประเด็นที่เป็นหัวเรื่อง มีความสอดคล้องตรงกันกับหัวข้อ/ชื่อเรื่อง

ตอนท้ายพี่ม้อคให้ความมั่นใจว่า หากจะเป็นนักเขียนมืออาชีพ ต้องเขียนหนังสือให้ดี เพราะหนังสือดีจะขายได้ (คนนิยมอ่าน) และแม้หนังสือดีบางเล่มขายไม่ได้ (คนไม่นิยมอ่าน) สำนักพิมพ์ก็ยังอยากจะจัดพิมพ์ให้อยู่ดี ดังนั้น อย่าคิดแค่เพียงเขียนเพื่อให้มีชื่อที่ปก แต่ต้องเขียนให้ติดอันดับหนังสือขายดีไปเลย (สรุปเองอีกทีว่า...เขียนให้เป็นหนังสือดีและเป็นหนังสือที่มีคนอ่านมากๆด้วย)

ขอบคุณครูพี่ม้อค ธวัชชัย พืชผล ค่ะ


ปล.1 ในการอบรมแบบกันเอง กลุ่มเล็กๆ มีบรรยากาศอบอุ่นเกินกว่าจะเรียกว่าการอบรม มีสาระอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น ค่าตอบแทนสำหรับนักเขียน วิธีการคิดต้นทุนการทำหนังสือ วิธีการโปรโมตหนังสือแบบไม่เหมือนใครของครูพี่ม้อค เลยไปจนถึงวิธีคิดวิธีการทำธุรกิจ ฯลฯ แต่ไม่ได้บันทึกไว้ทั้งหมดเพราะอยากให้ไปฟังด้วยตนเองและบางประเด็นก็ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับความสนใจของตัวเอง ซึ่งสนใจแต่การ "เขียนหนังสือ" เป็นหลักค่ะ

ปล.2 คิดว่าตัวเองยังไกลจากคำว่า "นักเขียนมืออาชีพ" แต่ไม่เสียใจ แม้ไม่ได้เขียน ไม่ได้มีหนังสือที่พิมพ์กับสำนักพิมพ์ดีดี ก็จะตั้งใจมุ่งมั่นพัฒนาตัวเองต่อไปค่ะ

หากใครสนใจอยากอบรมฟรี แถมเลี้ยงกาแฟ ขนมจีน ดูเงื่อนไขได้ที่ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1015237670...

หมายเลขบันทึก: 567010เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2014 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 05:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ขอบคุณที่นำความรู้ดี ๆ มาแบ่งปันกันจ้ะ

น่าสนใจมากเลยครับ

มีหนังสือพี่ธวัชชัย พืชผลแนะนำไหมครับ

น่าสนใจมาก ๆ เลย แต่ไปไงมาไงล่ะคะน้องโหล น้องโหลกำลังจะโกเป็นนักเขียนแล้วสิคะนี่

สวัสดีค่ะอ.ขจิต

พี่ม้อคเขียนไว้บ้างค่ะ แต่เน้นการวางโครงร่างหนังสือให้นักเขียน และเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ดีดี ซึ่งมีหนังสือติดอันดับขายดีมากมาย (ดูในเว็บของ Se-Ed) ค่ะ

สวัสดีค่ะพี่หมอ ภูสุภา

ได้พบพี่ม้อคใน FB สนใจและพอมีเวลาในช่วงนั้น จึงลองไปนั่งฟังท่าน และคงอีกนานน้องต้องสั่งสมวิทยายุทธอีกหน่อยกว่าจะเป็นนักเขียนได้ พี่ม้อคมีแนวคิดดีๆ หลายอย่าง แต่ยังไม่ค่อยตรงกับแนวคิดของน้องในบางเรื่อง และนำเรื่องของท่านเผยแพร่ไว้เผื่อท่านใดสนใจค่ะ  :)

ด้วยความชื่นชม และเป็นกำลังใจค่ะ...ได้รับคัดเลือกจาก 34 ท่าน ก็เรียกว่าไม่ธรรมดา...ไม่นานคงได้อ่านงานเขียน(หนังสือ) นะคะ...

สวัสดีค่ะพี่ ดร. พจนา แย้มนัยนา

ขอบคุณมากค่ะ น้องคงต้องสั่งสมอีกระยะหนึ่งค่ะ  

น่าสนใจครับ...
น้อยคนนักที่จะสอนการเขียนหนังสือสู่การเป็นอาชีพ
...
รอติดตาม และหนุนเสริมแรงใจต่อไปครับ

น่าสนใจมากขอเวลาหน่อยจะกลับมาติดตามนะจ๊ะ

ข้อมูลน่าสนใจมากครับ

เทคนิคน่าสนใจมากๆ ค่ะ ....“ยก ภาพ ชี้ อ้าง เทศน์ อ้าง จบ”

สวัสดีค่ะอ.แผ่นดิน

คุณธวัชชัยหรือพี่ม้อค เน้นที่จะสร้างนักเขียนที่เขียนหนังสือแล้วขายได้ โดยศึกษากรณีตัวอย่างจากนักเขียนขายดีทั้งหลายค่ะ  :)

ยินดีค่ะ ครูหยิน

หากสนใจลองไปดูที่ลิงก์นะคะ  :)

คุณ ทิมดาบ

น่าจะลองเข้าไปดูนะคะ ส่วนตัวได้องค์ความรู้เรื่องการเขียนหนังสือให้ติดอันดับขายดีและเรื่องธุรกิจจัดจำหน่ายหนังสือ รู้สึกว่ายังไม่ใช่ "ทาง" ของตัวเอง ก็เลยบันทึกความรู้ไว้ เพื่อว่าใครสนใจและเหมาะกับลักษณะนี้ค่ะ  ;)

ใช่ค่ะคุณครู noktalay

ลองอ่านและถอดรหัสหนังสือหลายๆ เล่มที่อ่านง่ายๆ น่าอ่านชวนติดตาม ก็มีรากการเขียนคล้ายๆ กันค่ะ ส่วนตัวคิดว่าเป็นกลวิธีการนำเสนอ และยังขึ้นกับความชอบ/รสนิยมของคนอ่านด้วยนะคะ  :)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท