กิจกรรมบำบัดกับการรักษาโรคซึมเศร้า


 ตามหลักคู่มือ Diagnotic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th ed.) ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรงจะมีอาการซึมเศร้า รู้สึกเศร้า มองเห็นได้ว่าเศร้าหรือร้องไห้ แทบทุกวันเป็นเวลานานเกินสองสัปดาห์ และมีอาการอื่นๆ ได้แก่ ความสนใจและสมาธิลดลง น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงผิดปกติ นอนหลับได้น้อยหรือมากกว่าปกติ อ่อนเพลียไม่สามารถตัดสินใจทำกิจกรรมต่างๆได้ดีนัก

 

จากหนังสือเรื่องโรคซึมเศร้า ของสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน แปลจากหนังสือ Caring for the Mind: the Comprehensive Guide to Mental Health (ของ Dianne Hales & Rober E. Hales, M.D.) โดยคุณแสงอุษา สุทธิธนกูล และบรรณาธิการโดย รศ.น.พ. มาโนช หล่อตระกูล กล่าวว่า การใช้จิตบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และ/หรือร่วมกับการใช้ยาทางจิตเวช เป็นหนทางการรักษาผู้ป่วยซึมเศร้า แต่ไม่มีวิธีใดวิธีเดียวที่จะบำบัดรักษาผู้ป่วยซึมเศร้าได้ทุกคน เนื่องจากผู้ป่วยบางรายมีปัญหาอื่นๆร่วมด้วย เช่น การใช้สารเสพติด สมองเสื่อม โรคจิตชนิดอื่น โรคทางระบบประสาทอื่น อย่างไรก็ตามยังคงมีแนวทางการบำบัดอื่นๆ ได้แก่ การอบรมช่วยเหลือผู้ป่วยซึมเศร้าแบบกลุ่ม สัปดาห์ละหนึ่งหรือสองครั้ง นานถึงแปดสัปดาห์ เพื่อดูผลการควบคุมอาการนานถึงหกเดือน การฝึกปรับตัวเข้ากับปัญหา การออกกำลังกาย การสร้างสัมพันธภาพร่วมกับผู้อื่น การมีโภชนาการที่ดี เป็นต้น

 

นักกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม คือผู้เชี่ยวชาญอีกสาขาหนึ่งที่พร้อมแนะนำและให้การบำบัดผู้ป่วยซึมเศร้าให้สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคม จากการประยุกต์ความรู้ทางการแพทย์และหลักการทางกิจกรรมบำบัดในผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม ผู้ป่วยซึมเศร้าควรเข้ารับการประเมินความสามารถของการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตอย่างเร็วที่สุด ภายใต้ระบบกิจกรรมบำบัดสองประการ ได้แก่

 

ประการแรก การประเมินและการรักษาทางพื้นฐานทักษะทางจิตสังคม คือ self-efficacy and experience of the past success, mind-social awareness, motivational personality, interpretation of self-identity/self-esteem/self-concept, occupation factors (frequency, meaning, satisfaction, importance, role of task), mood, movement pattern, memory, cognition, attention

 

ประการที่สอง การประเมินและการรักษาความสามารถในกิจกรรมต่างๆ คือ dressing, eating, learning, making meal, manipulation tasks, money management, socialization, shopping, walking, washing, writing, community mobility, education, leisure, work

 

จะเห็นได้ว่าหัวข้อแต่ละด้านดังกล่าว สามารถนำเสนอเพื่อวางแผนการรักษาผู้ป่วยซึมเศร้า ในระดับกิจกรรมบำบัดอย่างง่ายไปยาก ระดับใช้เวลาการรักษาในระยะสั้นถึงระยะยาว การจัดการรักษาแบบตัวต่อตัวหรือแบบกลุ่ม ที่อาจนำญาติผู้ดูแลผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่นๆ เข้าร่วมในการวางแผนรักษาด้วย เมื่อใดก็ตามที่ผู้ป่วยซึมเศร้าสามารถมีทักษะทางจิตสังคมที่พัฒนาขึ้นพร้อมๆกับการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเองและมีความสุข เมื่อนั้นอาการต่างๆของโรคซึมเศร้าก็ค่อยๆลดลงอย่างเป็นลำดับ

 

คำสำคัญ (Tags): #occupational#therapy#health#activity
หมายเลขบันทึก: 56677เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2006 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

เคยได้ไปเยี่ยมชมกิจกรรมคลินิกโรคซึมเศร้าของโรงพยาบาลศรีธัญญามา..เขามีทั้งการทำกลุ่มจิตบำบัดร่วมกับการสอนทักษะทางสังคมและการรักษาความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน..เคยเจอผู้ป่วยซึมเศร้ามากๆตอนทีเขายังไม่ได้รับการบำบัดเมื่อเปรียบเทียบกับหลังจากเข้าบำบัดแล้วจะแตกต่างทีเดียวแต่จะดีขึ้นช้าหรือเร็วแต่ละคนจะแตกต่างกัน..ชอบวิธีการที่นักกิจกรรมเขานำให้ผู้ป่วยทำตามเช่นกิจกรรมสันทนาการบางรูปกิจกรรมก็ขำดีและทำให้นึกย้อนไปเป็นเด็กๆ

Thank you krab khun Seangia,

nice to hear that you have visited a professional clinic of occupational therapy.

Have a nice day krab.

น่าสนุก และดีจังเลยค่ะ อยากร่วมกิจกรรมด้วยเป็นโรคซึมเศร้าค่ะ คงจะมีเพื่อนเยอะถ้ามีอะไรดีๆอีกก็ช่วย post ด้วยนะคะ เผื่อว่าจะมีประโยชน์กับคนที่เป็นโรคนี้อีกมากมาย

มีญาติมีอาการวิตกกังวลมาก รับยาที่รพ.สวนสราญรมย์มาประมาณ1เดือน อาการไม่ดีขึ้น คิดฆ่าตัวตายมาแล้ว1ครั้งแต่ไม่สำเร็จ ก่อนหน้านี้ประมาณ4ปี เคยมีอาการแบบนี้แล้ว1ครั้งใช้เวลารักษามาประมาณ 4-5เดือน และทานยามาตลอด ญาติที่อยู่ใกล้ชิดควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพราะผู้ป่วยวิตกกังวลมาก คิดแต่ว่าตัวเองทำให้คนอื่นเดือดร้อน อยากให้ช่วยตอบหน่อยค่ะ

ขอบคุณครับคุณ nan

ตอบคำถามคือ ญาติที่อยู่ใกล้ชิดควรเข้าอบรมเรื่อง "เทคนิคการสื่อสารให้คนไข้คิดบวก" หรือสอบถามที่ รพ.สวนสราญรมย์ว่า มีการจัดกลุ่มพูดคุยกันระหว่างบุคคลโรควิตกกังวลหรือไม่ เพราะญาติและคนไข้ควรมีโอกาสฝึกทำกิจกรรมทางสังคมและกิจกรรมที่มีคุณค่าร่วมกันในสิ่งแวดล้อมที่เป็นกัลยาณมิตร มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการความคิดของตนเองระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์วิตกกังวล มีความผ่อนคลายจากเรื่องราวชีวิต มีการวางแผนทำกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จในระยะเวลาสั้น ที่สำคัญควรปรึกษาจิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอถึงการใช้ยา การจัดกิจกรรมบำบัด ฯลฯ

ตอนนี้เป็นโรคซึมเศร้าอยู่ค่ะ เคยเป็นเมื่อหลายปีก่อน แล้วดีขึ้น หยุดยาไป เพิ่งกลับมาเป็นใหม่ เพราะมีเรื่องมากระตุ้น

คนไม่เคยเป็นฟังแล้วไม่เข้าใจ บอกเราอย่าคิดมาก ให้เราหาอะไรทำโน้นทำนี่ แต่เราทำไม่ได้ ไม่มีอารมณ์อยากทำ

ตอนนี้ทานยาเก่าอยู่ มีอาการคลื่นไส้ ร้อนวูบวาม มืออ่อนแรง เป็นพัก ๆ สมองหลั่งสารเคมีออกมา ก็ร้อนวูบไปทั้งตัว

รู้สึกไม่สบายเลย อยากพูดคุยกับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า หรือเคยเป็นค่ะ

แนะนำให้พบกับพี่หนู รัชนี หรือทีมงานอาสาสมัครที่สมาคมสายใยครอบครัว ตึกกายภาพบำบัด ชั้น 2 รพ.ศรีธัญญา ครับ เพื่อพัฒนาแรงบันดาลใจของคุณ garfield

คลิกอ่านรายละเอียดของสมาคมฯ ที่ http://www.thaifamilylink.net/

ขอบคุณครับคุณกระดังงา นาวาสินธุ์

นอกเหนือจากการรักษาด้วยยาแล้ว

การรักษาเพื่อการบรรเทาโรคซึมเศร้า ระหว่าง การพูดคุย Talking กับการทำกิจกรรม Activities
อย่างไหนผู้รับการดูแล จะตอบสนองมากกว่ากันคะ

นอกเหนือจากการรักษาด้วยยาแล้ว

การรักษาเพื่อการบรรเทาโรคซึมเศร้า ระหว่าง การพูดคุย Talking กับการทำกิจกรรม Activities
อย่างไหนผู้รับการดูแล จะตอบสนองมากกว่ากันคะ

การใช้ pastoral power และ panoptical power จะใช้ได้ผลไหมคะ

 

ขอบคุณครับคุณกระดังงา นาวาสินธุ์

ปัจจุบันเรามีกรอบอ้างอิงในการทำกิจกรรมพร้อมกับการพูดคุยเชิงจิตวิทยา ที่ชื่อ Recovery Model คลิกอ่านที่ http://www.gotoknow.org/post/tag/recovery%20model

หรือหากมีอาการทางจิตมาก ก็คงต้องปรึกษาการใช้ยาจากจิตแพทย์ การทำจิตบำบัดจากนักจิตวิทยาคลินิก การปรึกษาการฟื้นฟูการรู้คิดและสมรรถภาพทางจิตสังคมจากนักกิจกรรมบำบัด และอื่นๆ ทางการพยาบาลจิตเวช

สำหรับการใช้ Power ทั้งสองตัวนั้นคงต้องวางแผนหลังการประเมินผลกระทบทางจิตต่อการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันและสอดคล้องกับการบำบัดด้วยกิจกรรม (ซึ่งไม่ใช่การให้บริการจากนักกิจกรรมบำบัด)

เป็นโรคซึมเศร้าครั้งที่ 3แล้ว ปวดหัวตื้อๆ บางครั้งเหมือนมีอะไรวาบๆในหัว บอกอาการได้ยาก เครียดง่าย วิตกกังวล

อยากมีคนคุยด้วยแต่บางครั้งก็เบื่อที่จะบอกคนอื่นกลัวเพื่อนร่วมงานเบื่อเพราะพูดแต่เรื่องของตัวเอง กังวลที่สุดคือ ต้องออกจากงานไม่มีอะไรทำ เพราะอยู่คนเดียวไม่ได้กลัวคิดสั้น ช่วยด้วยค่ะ

ตอนนี้แนะนำคุณวรรณวิมลให้ปรึกษาจิตแพทย์เพื่อทานยาควบคุมอาการโรคซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง (อย่าขาดยา) จากนั้นหาเวลาว่างติดต่อพี่หนู รัชนี หรือทีมงานอาสาสมัครที่สมาคมสายใยครอบครัว ตึกกายภาพบำบัด ชั้น 2 รพ.ศรีธัญญา ครับ คลิกอ่านรายละเอียดของสมาคมฯ ที่ http://www.thaifamilylink.net/ เพื่อได้แบ่งปันทุกข์สุขและเรียนรู้การปฏิบัติตัวในขณะทำงานอยู่ได้มากขึ้น

หากสนใจเข้าประเมินและใช้โปรแกรมกิจกรรมบำบัดเพื่อพัฒนาจิตสังคม กิจกรรมบำบัดจัดการความล้า กิจกรรมบำบัดจัดการความคิดในการทำงาน กิจกรรมบำบัดจัดการความคิดในการใช้เวลาว่าง ให้ติดต่อนัดหมาย ดร.ป๊อป ที่คลินิกกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล ได้ที่ [email protected] ครับ

น่าสนใจมากเลยครับ เรื่องนี้ ได้อ่านของ อ.ป๊อป แล้วรู้ สึก อยากศึกษาต่อในเรื่องนี้ ให้มากกว่านี้แล้วสิครับ

จากบทความดีๆนี้ ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และการรักษาที่ควรจะได้รับในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ได้รู้แนวทางกำหนดหัวข้อในการประเมินเพื่อการวางแผนการรักษาในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั้งในด้านพื้นฐานทักษะทางจิตสังคมและด้านความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งในอนาคตอาจสามารถมีพื้นฐานจากบทความนี้ไปต่อยอกเพื่อรักษาบำบัดผู้ป่วยต่อไปได้ ขอขอบคุณค่ะ ^^

คนเป็นคนโรคซึมเศร้าดูหนังได้ไหม กิจกรรมบำบัดเป็น movie time ได้หรือเปล่า

คนเป็นคนโรคซึมเศร้าดูหนังได้ไหม กิจกรรมบำบัดเป็น movie time ได้หรือเปล่า

กิจกรรมบำบัดไม่ถือเป็น Movie Time เพราะผู้ที่มีประสบการณ์ซึมเศร้าควรได้รับการตรวจประเมินระดับการรับรู้ความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่หลากหลาย มิใช่เพียงแค่ดูหนัง และควรออกแบบโปรแกรมการจัดการอารมณ์เศร้า การออกกำลังคิดจิตกายที่สมดุลในชีวิต และการฟื้นคืนสุขภาวะในบริบทที่ตรวกับความมั่นใจและความเชื่อมั่นอย่างน้อย 6-12 ครั้งครับ แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์และนักกิจกรรมบำบัดได้ที่รพ.ที่อยู่ภายใต้คณะแพทย์ทุกแห่งที่ใกล้บ้านครับ หากต้องการสื่อสารเพิ่มเติมกับผม ยินดีให้คำปรึกษาที่ [email protected] 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท