ฮักนะเชียงยืน 33


ดูมาเเล้ว ศึกษามาเเล้ว ที่เหลือก็เพียง "ทำ"

ดูงานเกษตรอินทรีย์

        ถนนที่เลือกโดยเยาวชน เพื่อชุมชน เลือกเส้นทางของการปลูกเกษตรปลอดภัย(ผักปลอดสารพิษ/ผักอนามัย) โดยคุณป้าเกษตรอำเภอมาช่วยจัดตั้งให้เป็น ยุวเกษตร เมื่อจัดตั้งรายชื่อเเล้ว จึงต้องมาหาเเรงบันดาลใจจากทุนภายนอกชุมชนดูบ้างโดยมีความหวังเล็กๆ คือ เขามีเเรงบันดาลใจในการปลูกเกษตรปลอดภัยหรือปลอดสารมากยิ่งขึ้น มาในครั้งนี้มากัน 20 คน ณ ไร่เปรมสุข บ้านไร่ดวงมูล หนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา เดินทางด้วยรถโรงเรียน เดินทางไป ไม่ไกลนักจากเชียงยืน ขับรถประมาณ ครึ่งชั่วโมงกว่าๆก็ถึง 

        เดินทางมารอบๆบ้านเห็นดินบริเวณนี้เเห้งเเล้งมาก ส่วนใหญ่จะทำไร่มันสำปะหลังเเละปลูกอ้อยกัน มาถึงสวนพี่เเบงค์ เป็นสวนเล็กๆ มีที่เพียง ไม่กี่ไร่ จากบริเวณเวณโดยรอบนั้นร้อนมาก มาถึงไร่พี่เเบงค์ กลับรู้สึกว่าเย็นขึ้น เพราะมีต้นไม้ปลูกไว้โดยรอบ รู้สึกเย็นกว่ารอบข้างที่ทำไร่มันเยอะ  เดินเข้ามา เห็นการปันส่วนที่ดินจัดสรร บริเวณเพาะปลูกได้ดีมาก มีถนนเล็กๆเข้าไปยังบริเวณต่างๆ มีบริเวณที่ปลูกกล้วย ปลูกผัก ปลูกผลไม้ อยู่อย่างเรียบง่าย

        เเต่ก่อนนั้นจากการฟังชีวิตพี่ตุ้ม เล่าว่า เเต่เริ่มเเรกก่อนที่จะหันมาทำไร่อินทรีย์เเบบนี้ ริเริ่มมาจากความคิดเล็กๆเพราะพี่ก็เรียนนิเทศศาสตร์   ตอนเเรกๆมีผู้คนมาบอกว่าจะทำไปทำไม ทำเเล้วก็ไม่มีเงินเยอะ ทำเเล้วก็ลำบากตนเองเปล่า เเต่ด้วยความคิดที่มั่นใจในตนเองถึงมีวันนี้ได้  ที่พี่เเบงค์น้อยๆ เเต่สามารถจัดสรรได้มีคุ้มค่า ปลูกพืชไว้ขายสลับกัน เช่น ฤดูนี้ปลูกผัก ฤดูนี้ปลูกตระไคร้ ปลูกข่า ได้เงินเล็กๆน้อย จากชาวบ้านมาซื้อ จากคนมาซื้อ ด้วยที่บ้านเพราะเป็นผลผลิตอินทรีย์ที่ไม่ใช้สารเคมีเลย ทำให้รายได้เล็กๆน้อยๆมีอยู่เกือบทุกๆวัน  

        ถึงขั้นตอนของกิจกรรม พี่เเบงค์เเละพี่ตุ้มเจ้าของไร่ ได้มีการสร้างฐานเล็กๆ ไว้รอ คือ ฐานการวางเเผน ซึ่งก็ได้วางเเผนชีวิตว่าต้องทำอย่างไรในชีวิตของเราบ้าง อายุเท่าไหร่เราจะเรียนจบ เราจะเรียนอะไร อายุเท่าไหร่จะเเต่งงานเเละมีลูก เเล้วเราจะออมเท่าไหร่ ข้อดีของเรา เเละข้อเสียของเรานั้น คืออะไร  ฐานที่สองเป็นฐานของเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ คือ เกษตรอินทรีย์เป็นเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีเเต่อย่างใด ก่อนจะถึงเกษตรอินทรีย์ได้ ต้องถึงเกษตรปลอดสาร(อยู่ในระยะปลอดภัย) เสียก่อน ซึ่งหลายๆคนก็อาจเข้าใจผิดเหมือนผมว่า เกษตรปลอดสาร คือ เกษตรที่ไม่ใช้สารเคมี เเต่ในความจริงเเล้ว คำว่าเกษตรปลอดสาร ใช้สารเคมีอยู่เเต่ใช้เมื่อยามจำเป็นเพียงเท่านั้น เเม่ค้าที่ขายผักตามท้องตลาดก็อาจเข้าใจ หรือไม่เข้าใจ หรือตั้งใจ ก็เป็นได้ที่ขึ้นป้ายขายของให้เราๆ เเต่เกษตรปลอดสารนั้นยังหายากในตลาดผัก ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรเคมี ตามท้องตลาด

หลักการของเกษตรอินทรีย์ มีอยู่เพียง 3 ข้อ

        การหมุนเวียนธาตุอาหาร เช่น ถ้าเราปลูกข้าว ข้าวจะดึงธาตุอาหารหลักในดินไปที่ลำต้นเเละผล ทำให้ธาตุอาหารอยู่ที่ลำต้น ถ้าเราเผา หรือเอาตอซังข้าวออก ก็จะทำให้ดินมีธาตุอาหารลดลน้อยลง ส่งผลทำให้เราๆต้องใส่ปุ๋ยเคมีมากขึ้นทุกๆฤดูกาลปลูก

        การสร้างความสมบูรณ์ในดิน เป็นการบำรุงดินด้วยใบไม้หรือวัตถุธรรมชาติ ซึ่งดินนี้ถือว่าเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ เพราะถ้าเราปลูกดินได้ เราก็จะปลูกต้นไม้ ปลูกผักได้ 

        ความหลากหลายทางชีวภาพ  เป็นหนทางในการคอยควบคุมผลผลิตของเราด้วยธรรมชาติ เช่น ตอนนี้ผลผลิตของเรามีเเมลงวันเยอะ อาจเลี้ยงต่อเพื่อให้ต่อมาควบคุมเเมลงวัน  ตอนนี้ผลผลิตเรามีหนอนเยอะอาจปลูกผลไม้หวานๆมาล่อนก เพื่อให้นกมากินหนอนหรือเเมลงศัตรูพืช 

        ความสุขใจเล็กๆในครอบครัวเล็กๆที่พอใจในตนเอง ทำให้เราเองรู้สึกอบอุ่นร่วมตามไปด้วย การดูงานในครั้งนี้ไม่ได้หวังผลอะไรมากมาย หวังเพียงให้เด็กได้เเรงบันดาลใจในการปลูกเกษตรปลอดสารพิษหรือเกษตรปลอดภัยที่เราพูดคุยกัน ดูมาเเล้ว ศึกษามาเเล้ว ที่เหลือก็เพียง "ทำ" 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 565868เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2014 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2014 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณความรู้ครับ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม นี้ อาจารย์กับทีมจะขอไปเยี่ยมที่ศูนย์เรียนรู้นี้บ้างครับ 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท