ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>มารู้จัก " รัฎฐาธิปัตย์ " คืออะไร


“รัฏฐาธิปัตย์” คืออะไร

 รัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า

๑) รัฏฐาธิปัตย์ 
      ปรัชญากฎหมายก็ต้องกล่าวถึง “กฎหมาย” และเมื่อกล่าวถึง กฎหมาย ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงรัฏฐาธิปัตย์ (soverign) ซึ่งสำนักความคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองอธิบายว่าเป็นผู้ทำให้เกิดกฎหมายดังที่ จอห์น ออสติน (John Ausyin) อธิบายว่ากฎหมาย คือ คำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์ 

ความหมายของรัฏฐาธิปัตย์ 
          สำนัก ฝ่ายกฎหมายบ้านเมืองให้ความสำคัญมากโดยอธิบายว่า รัฏฐาธิปัตย์ คือผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ส่วนจะเป็นใครก็สุดแท้แต่ว่าเป็นผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินหรือบ้านเมืองใด มีระบอบการปกครองอย่างไร ถ้าเป็นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฏฐาธิปัตย์ คือ พระมหากษัตริย์ 

อำนาจของรัฏฐาธิปัตย์ ก็คือการมีอำนาจอธิปไตยนั่นเอง ซึ่งก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ 
๑. ผลของการมีอำนาจอธิปไตยทำให้ รัฏฐาธิปัตย์ อยู่ในฐานะสูงสุดในแผ่นดิน และไม่ต้องเชื่อฟังผู้อื่นอีก ข้อ นี้อาจไม่ถูกต้องในเวลานี้แล้วก็เป็นได้ เพราะในระบบประชาธิปไตย รัฏฐาธิปัตย์ อาจอยู่ใต้ข้อจำกัดอำนาจบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามทฤษฎีว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้น เมื่อประชาชนแต่ละคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนแต่ละคนย่อมเป็น รัฏฐาธิปัตย์ แต่ไม่มีประชาชนคนใดอยู่ในฐานะสูงสุดโดยไม่ต้องฟังคำสั่งผู้อื่น 
๒. ผลประการแรกทำให้เกิดผลประการที่สองขึ้นมา กฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ ไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย เพราะเมื่อรัฐต่างๆ มีฐานะเท่าเทียมกันก็ไม่มีรัฏฐาธิปัตย์ผู้ใดมีอำนาจบังคับบัญชาให้รัฏ ฐาธิปัตย์ผู้อื่นอยู่ในฐานะจำยอมได้ และจะเอาผิดถ้ามีการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้ ความผูกพันระหว่างรัฐต่อรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องถ้อยที่ถ้อย อาศัยกันเท่านั้น ปัจจุบันทฤษฎีดังกล่าวของ ออสตินเสื่อมความนิยมแล้ว 
๓. ข้อจำกัดอำนาจของรัฏฐาธิปัตย์ ใน สมัยที่เชื่อกันว่าอำนาจสูงสุดเป็นของพระผู้เป็นเจ้าหรือพระผู้ทรงเป็นใหญ่ เพราะทรงเป็น “ที่สุดของสิ่งที่สุดทั้งปวง” (The Absoluteness) หรือสมบูรณัตถ์ จึงไม่มีข้อจำกัดขัดขวางของอำนาจของพระองค์แต่อย่างใด ครั้นต่อมาเชื่อกันว่าพระสันตะปาปาทรงเป็นใหญ่ หรือองค์อธิปัตย์อยู่เหนือกษัตริย์ทั้งหลายแต่อำนาจของอธิปัตย์องค์นี้ย่อม ถูกจำกัดเพราะพระสันตะปาปาจะออกกฎหมายใดให้ขัดหรือแย้งกับกฎของพระผู้เป็น เจ้ามิได้ 

          นักกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองต่างถือกันว่า กษัตริย์ทรงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดอย่างแท้จริงโดยไม่อยู่ใต้อำนาจรัฏฐาธิปัต ย์ หากถือว่าแม้กษัตริย์เป็นรัฏฐาธิปัตย์แต่ก็เป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่เกิดจากความ ยินยอมหรือการยอมรับนับถือของประชาชน ฉะนั้น จะใช้อำนาจผิดทำนองคลองธรรมมิได้ เพราะถ้าใช้อำนาจผิดธรรมนองคลองธรรมราษฎรก็จะเสื่อศรัทธา และคลายความจงรักภักดี ซึ่งในที่สุดอาจนำไปสู่การล้มล้างอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ก็เป็นได้ 

          สำหรับ ทฤษฎีที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นประชาชนย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แต่รัฏฐาธิปัตย์เช่นนี้ย่อมถูกจำกัดด้วยอำนาจรัฏฐาธิปัตย์คนอื่นๆ ซึ่งก็มีอำนาจอธิปไตยเท่าเทียมกัน เช่น พระเจ้าแผ่นดินของรัฐ ก. จะทำการใดก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยของพระเจ้าแผ่นดินแห่งรัฐ ข. มิได้ เพราะต่างมีอำนาจอธิปไตยเช่นกันฉันใด ราษฎร ก. จะใช้อำนาจอธิปไตยของตนก้าวก่ายอธิปไตยของรัฐ ข. ไม่ได้ฉันนั้น 

          ใน อังกฤษ รัฐสภา เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่งรัฐสภาเป็นรัฏฐาธิปัตย์แทนประชาชนตาม ทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภา (supremacy of parliament) “รัฐสภา” มีความหมายพิเศษเพราะประกอบด้วยองค์อำนาจสามประการคือ 
๑. สภาสามัญ 
๒. สภาขุนนาง 
๓. พระมหากษัตริย์ 
           สำหรับ พระมหากษัตริย์นั้น แม้โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นสถาบันรัฐสภา (parliamentary - institution) ดุจดังสภาทั้งสองที่กล่าวข้างต้น แต่เมื่อกล่าวถึงรัฐสภาอังกฤษเป็นองค์อำนาจสูงสุด ตามทฤษฎีเรื่องสภาวะสูงสุดของรัฐสภา คำว่ารัฐสภาในที่นี้ย่อมหมายถึงพระมหากษัตริย์ด้วย (King or Queen in Parliament) เพราะลำพังสภาทั้งสองหาทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุดไม่ 
สำหรับ ปัญหาที่ว่า ทฤษฎีเรื่องสภาวะสูงสุดของรัฐสภาหมายความว่าอย่างไร นักกฎหมาย รัฐธรรมนูญ อังกฤษอธิบายว่ามีความหมายพิเศษสองประการคือ 
๑. การมีอำนาจนิติบัญญัติล้นพ้นหาที่สุดมิได้ ดังที่เดอลอล์ม (De Lolme) ได้อธิบายสรุปไว้ทำนองประชดประชันว่า “นักกฎหมายอังกฤษพึงรำลึกไว้เถิดว่ารัฐสภาอังกฤษมีอำนาจบันดาลได้สารพัดใน ปฐพี จะมียกเว้นก็แต่การแปลงหญิงให้เป็นชาย หรือการแปลงชายให้เป็นหญิงเท่านั้น” 
๒. การทรงไว้ซึ่งอำนาจนิติบัญญัติแต่ผู้เดียว องค์กรหนึ่งๆ ของรัฐสภา เช่น สภาสามัญ หรือสภาขุนนาง อาจมีอำนาจนิติบัญญัติเอกเทศ แต่ก็เป็นการมอบอำนาจให้โดยรัฐสภา ซึ่งจะเรียกกลับเสียเมื่อใดก็ได้ ยิ่งกว่านั้นเมื่อรัฐสภาออกกฎหมายใด สถาบันอื่นใด เช่นศาลจะกล่าวหาว่ากฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญมิได้ เพราะแท้จริงแล้วกฎหมายนั้นอาจมีผลเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ยกเลิกฉบับเก่า ก็ได้ตามกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า (lex posterior derogat legi priori) 

ข้อจำกัดอำนาจในทางทฤษฎีอาจแบ่งออกได้ดังนี้ 
๑. กฎหมายธรรมชาติ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายแห่งศีลธรรม (Natural law, international law, rule of morality ) ไดซีย์อธิบายว่าแม้รัฐสภามีอำนาจสูงสุด แต่รัฐสภาจะออกกฎหมายที่ฝ่าฝืนมโนธรรม ศีลธรรมจรรยา กฎหมายธรรมชาติ หรือกฎหมายระหว่างประเทศมิได้ 
๒. พระราชอำนาจ (Royal prrerogative) ไดซีย์อธิบายว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจทางการเมือง (political power) และอำนาจทางสังคม (social power) ทรงเป็นที่เคารพรักของประชาชน ถ้าทรงไม่เห็นด้วยกับการร่างกฎหมายใดหรือทรงทักท้วงความข้อใดรัฐสภาควรโอ อนอ่อนผ่อนตามพระราชประสงค์ 
๓. กฎหมายพื้นฐาน (Fundamental law) ไดซีย์กล่าวว่าในกรณีที่รัฐสภาออกกฎหมายสำคัญๆ ที่เป็นพื้นฐานทางสังคม เช่น กฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนรัฐสภาสมัยหลังๆ จะรีบด่วนออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงกฎหมายพื้นฐานไม่ได้ 

กระนั้นก็ตามทางปฏิบัติ รัฐสภาอาจตกอยู่ใต้อำนาจข้อจำกัดอำนาจบางข้อโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวซึ่งไดซีย์อธิบายดังนี้ 
๑. ทฤษฎีเจ้าของอำนาจอธิปไตย (doctrine of sovereignty) ไดซีย์อ้างความเห็นของออสติน ที่ว่าแม้อำนาจนิติบัญญัติจะถูกใช้โดยรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สภาสามัญ สภาขุนนาง และ พระมหากษัตริย์ แต่เจ้าของอำนาจนิติบัญญัติที่แท้จริงได้แก่ประชาชนอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นจะถือว่ารัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดได้อย่างไร ในเมื่อประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกสภาสามัญ และเป็นผู้ให้ความเห็นชอบการเสวยราชสมบัติของพระมหากษัตริย์
๒. เหตุภายนอกอันอาจจูงใจสมาชิกรัฐสภา ไม่ให้ใช้อำนาจมาก (external limitation) ไดซีย์กล่าว่า พลังของประชาชนหรือกลุ่มอิทธิพล (Pressure group) เช่นกลุ่มนักศึกษา กลุ่มเกษตรกร กลุ่มนักวิชาการ อาจมีอิทธิพลเหนือสมาชิกรัฐสภา มิให้ใช้อำนาจสูงสุดของตนในทางที่ผิดทำนองคลองธรรมได้ เช่น สมาชิกรัฐสภาอาจอาจเกรงว่าถ้าออกกฎหมายประเภทนี้ไปแล้วอาจถกหนังสือพิมพ์ วิพากษ์วิจารณ์ อาจถูกมติมหาชนคัดค้าน อาจถูกโต้ตอบโดยนักวิชาการ หรืออาจถูกประชาชนเดินขบวนวางหรีดประท้วง เป็นต้น 
๓. เหตุภายในอันอาจจูงใจสมาชิกรัฐสภาไม่ให้ใช้อำนาจมาก (intetnal limitation) เหตุภายในหมายถึง ทัศนคติ การศึกษาอบรม พื้นเพทางสังคมและการเมือง ตลอดจนค่านิยมของสมาชิกรัฐสภา เหตุเหล่านี้ย่อมกล่อมเกลาจิตใจของผู้นั้นให้เป็นไปในแนวทางที่ตนมีพื้นเพมา 

             แม้รัฐสภาจะมีอำนาจสูงสุด แต่ก็ไม่ต้องกลัวว่ารัฐสภาจะใช้อำนาจบาทใหญ่คุกคามประชาชน เพราะรัฐสภาย่อมกลัวพลังของประชาชน และสมาชิกสภาเองต่างก็มีที่มาจากสังคมนั้นๆ จึงมีจิตสำนึกทางกรเมืองสูง และมีวิญญาณของสุภาพชนในระบอบประชาธิปไตยอย่างครบถ้วน จึงเป็นที่หวังได้ว่าจะไม่ใช้อำนาจของตนออกนอกรีตนอกรอย
 
หมายเลขบันทึก: 565729เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2014 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2014 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท