รูปแบบการขับเคลื่อน ปศพพ. ด้านการศึกษา : โรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม (๓)


ตอนที่ ๑ 
ตอนที่ ๒ 

บันทึก ๒ ตอนแรก แลกเปลี่ยนแบ่งปันเรื่องเล่าการขับเคลื่อนฯ ของโรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม ทั้ง ๔ ตอน ("ก้าวสู่การผลัดใบ" "ผลิดอกออกช่อ" "ปริชาตเบ่งบาน" และ "สมสง่าแห่งความเป็นศูนย์การเรียนรู้") บอกเราว่า กว่าจะมาเป็นโรงเรียนศูนย์ฯ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย....  ผมทำ timeline ของฯเชียงขวัญฯ ไว้นานแล้ว เมื่อมาอ่านบทความ ๔ ตอนดังกล่าว จึงได้เข้าใจเรื่องราวทั้งหมด...

 

 
ถ้าพิจารณาวิเคราะห์ว่าอะไรคือ "ปัจจัยแห่งความสำเร็จ" ของโรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม  ผมคิดว่า มีดังต่อไปนี้ครับ

  • นโยบายของเบื้องบน และกลุ่มคนผู้มาขับเคลื่อนจากภายนอก คือ สำนักงานทรัพย์สินฯ และมูลนิธิสยามกัมมาจล 
    • หลักสูตรฝึกอบรมเวทีแรก (ดร.ปิยานุช ธรรมปิยา) ทำให้เกิดแรงบันดาลใจและความเข้าใจท่ถูกต้อง นำมาซึ่งการทดลองทำตาม เกิดเป็นโครงการ "หนึ่งห้อง หนึ่งสวน"
    • หลักสูตรการพัฒนาครูสอนด้วยกระบวนวิจัย ที่มูลนิธิฯ จัดร่วมกับ ม.มหิดล โดยให้โรงเรียนส่งตัวแทนไป อบรมเชิงปฏิบัติการระยะยาว (ผมฟังว่า ไปทุกเสาร์-อาทิตย์ ตลอด 6 เดือน)  ผมคิดว่านี่เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้ครูรู้ว่า ปศพพ. คือ "หลักคิด" และ "หลักปฏิบัติ" ในการพัฒนาทักษะการคิด การทำ ซึ่งก็คือ "กระบวนการวิจัย" นั่นเอง
  • ผอ.ระวี ขุณิกากรณ์ และ อ.ฉลาด ผมเขียนปัจจัยแห่งความสำเร็จนี้ไว้แล้ว ตั้งแต่บันทึกแรกที่เขียนหลังจากไปเยี่ยมเชียงขวัญครั้งแรก (อ่านที่นี่)
  • ครูที่ใช้ "การถอดบทเรียน" ได้ถึงอย่างน้อยระดับ ๓ คือ สอดแทรกไร้รูปแบบ เชื่อมโยงการนำไปใช้ทั้ง ในห้องเรียน กิจกรรมเสริม และสิ่งที่ทำในชีวิตจริงๆ ได้อย่างสม่ำเสมอ
  • วัฒนธรรมองค์กรของเชียงขวัญ ที่มุ่งสร้างสรรค์โรงเรียนเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยมุ่งพัฒนาให้ครูแกนนำใช้เครื่องมือและเทคนิคการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ ... สิ่งนี้นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง... 

หากสังเคราะห์รูปแบบการขับเคลื่อนของโรงเรียนเชียงขวัญ น่าจะสรุปเป็นผังดังรูป


ตอนนี้เรากำลังทำหนังสือเล่มเล็กที่บอกเล่าเรื่องราวของเชียงขวัญ เสร็จเมื่อไหร่ จะนำมาแบ่งปันทันทีครับ

หมายเลขบันทึก: 565109เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2014 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2014 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท