ตลาดน้ำ คลองแดน


เที่ยวคลองแดน เดินตลาดริมน้ำ ชมบ้านหนังสืออัจฉริยะ ที่เต็มไปของเก่าโบราณ รุ่นคุณทวด ที่คนสมัยใหม่อาจจะไม่รู้จัก และยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม นำทรัพยากรธรรมชาติมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สัมผัสวีถีชุมชนชนบท ชาร์ตแบตเติมพลังกาย สูดอากาศบริสุทธิ์ได้เต็มปอด อบอุ่นกับการต้อนรับและรอยยิ้มของชาวชุมชน 

“สามคลอง สองเมือง” ชุมชนวิถีพุทธ ตลาดริมน้ำคลองแดน
        
       "เที่ยวท่องล่องใต้" ภูมิใจนำเสนอ กลิ่นอายของวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นปึกแผ่นของ “ชุมชนวิถีพุทธ” ตลาดริมน้ำคลองแดน ด้วยระบบนิเวศน์ที่ธรรมชาติได้สันสร้าง ประกอบกับผู้คนที่น่ารัก อยู่กันแบบพอเพียง ร่วมอนุรักษ์ของโบราณให้คนรุ่นหลังได้เชยชม เป็นเรื่องราวของชาวชุมชนใน 2 จังหวัดของภาคใต้ ที่มีเพียงแม่น้ำเล็กๆ เป็นเขตแดนตามธรรมชาติ ระหว่างชุมชน คลองแดนเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่สุดเขตจังหวัดสงขลา ในเขตตำบลคลองแดน อำเภอระโนด กับตำบลรามแก้ว อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอะไรมากมายชวนให้หลงใหล

“สามคลอง สองเมือง” ชุมชนวิถีพุทธ ตลาดริมน้ำคลองแดน
       พิกัด คลองแดน
       
       ชุมชนคลองแดน ตั้งอยู่ที่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองสงขลา ประมาณ 100 กิโลเมตร (กม. 15 จากแยกบ้านรับแพรก - ระโนด) และมีระยะทางจากอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชไปทางทิศใต้ประมาณ 100 กิโลเมตรเช่นเดียวกัน จึงกล่าวได้ว่าชุมชนคลองแดน มีที่ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางระหว่างจังหวัดสงขลากับ จังหวัดนครศรีธรรมราช

“สามคลอง สองเมือง” ชุมชนวิถีพุทธ ตลาดริมน้ำคลองแดน
นายสายัณห์ ชลสาคร หรือ ครูสายัณห์
        
       เมื่อเราไปถึง ได้เจอกับ “ครูสายัณห์” เจ้าถิ่นให้การต้อนรับอย่างดี ก่อนที่จะเริ่มพูดคุยกัน และพาเดินชม แหล่งเก็บของโบราณ หรือเรียกได้ว่าเป็น พิพิธภัณฑ์ เลยก็ว่าได้ นายสายัณห์ ชลสาคร หรือครูสายัณห์ เป็นข้าราชการบำนาญ อดีตข้าราชครู ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ คือ ตำแหน่ง ผอ.โรงเรียนวัดฉิมหลา อ.หัวไทร

“สามคลอง สองเมือง” ชุมชนวิถีพุทธ ตลาดริมน้ำคลองแดน
        
       ครูสายัณห์ เล่าว่า สมัยก่อนตลาดที่ชุมชนคลองแดนเคยเป็นเมืองท่าที่เจริญรุ่งเรืองมาก มีร้านทอง ร้านตัดเสื้อผ้า ร้านขายของชำ ร้านยา ร้านตัดผม มีโรงสี นับได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำเลยทีเดียว สมรภูมิเหมาะกับการค้าขาย คนจีนก็ฉลาดได้ชักชวนญาติพี่น้องมาอาศัยอยู่ที่นี่เพิ่มมากขึ้น มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่กันอย่างหนาแน่นตลอดแนวริมน้ำคลองแดน คลองระโนด คลองชะอวดและคลองปากพนัง จนกระทั่งเมื่อทางหลวงสาย 408 เริ่มใช้งาน ทำให้ความนิยมในการใช้การสัญจรทางน้ำลดลง คนเริ่มอพยพออกจากพื้นที่ จนปัจจุบันไม่มีการใช้การสัญจรทางน้ำอีกเลย

“สามคลอง สองเมือง” ชุมชนวิถีพุทธ ตลาดริมน้ำคลองแดน
ตะเกียงน้ำมันก๊าซ อายุเกือบร้อยปี
       

“สามคลอง สองเมือง” ชุมชนวิถีพุทธ ตลาดริมน้ำคลองแดน
        
       จากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2552 เจ้าอาวาสวัดคลองแดน มีความคิดที่อยากจะพัฒนาวัดให้มีความเจริญเหมือนแต่เก่าก่อน เลยได้ไปหาผู้ที่มีความรู้ด้านสถาปัตยกรรม ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ดร.จเร สุวรรณชาติ จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาวัดให้เจริญขึ้นมาได้พอสมควร และได้มาสัมผัสกับชุมชนในตลาดริมน้ำคลองแดนซึ่งเป็นตลาดที่ทรุดโทรมมาก แต่ยังคงมีร่องรอย และได้สอบถามถึงชาวได้ จึงได้ทราบถึงความรุ่งเรื่องในสมัยก่อน จึงอยากจะปรับปรุงพัฒนาให้เหมือนแต่ก่อน ก็ได้ประสานไปยังการเคหะแห่งชาติ เพื่อจะของบมาช่วยสนับสนุน จึงได้เชิญชวนชาวชุมชนคลองแดนได้ไปศึกษาดูงานที่ ตลาดน้ำอัมพวา และสามชุก

“สามคลอง สองเมือง” ชุมชนวิถีพุทธ ตลาดริมน้ำคลองแดน
ครูสายัณห์ พาชมห้องนอนที่โฮมสเตย์
        
       “ครูสายัณห์” เป็นหนึ่งในชาวชุมชนที่ได้ไปร่วมงานครั้งนั้นด้วย เมื่อไปเห็นก็มีกำลังใจที่จะกลับมาพัฒนาบ้านเกิด โดยแบ่งหน้าที่กันตามความถนัด ครูสายัณห์ ได้รับหน้าที่ในด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ส่วนคนอื่นๆ ก็ดูเรื่องด้านการตลาด การบริหาร ครูสายัณห์ กลับมาพัฒนาบ้านของตนเอง บ้านครูสายัณห์ จึงเป็นโฮมสเตย์ หลังแรก ของชุมชนคลองแดน จนปัจจุบันมีโฮมสเตย์ รองรับนักท่องเที่ยวถึง 8 หลัง และเกิดเป็นตลาดริมน้ำคลองแดนที่คึกคักขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรม ทำให้ชาวชุมชนมีรายได้

“สามคลอง สองเมือง” ชุมชนวิถีพุทธ ตลาดริมน้ำคลองแดน
        
       ส่วนที่มาของ สโลแกนที่ว่า “สามคลอง สองเมือง” มีที่มาว่า มีลำคลองธรรมชาติ 3 ลำคลองที่มาบรรจบกัน คือ ลำคลองสายแรกไหลสู่ อ.หัวไทร และ อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ลงไปทางใต้ เป็นลำคลองไหลสู่ อ.ระโนด จ.สงขลา จนไหลสู่ทะเลสาบสงขลา ส่วนลำคลองทางทิศตะวันตกไหลสู่ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช

“สามคลอง สองเมือง” ชุมชนวิถีพุทธ ตลาดริมน้ำคลองแดน
ของใช้เก่าเก็บในห้องหนังสืออัจฉริยะ ของครูสายัณห์
        
       ก่อนจะไปเดินชมตลาดริมน้ำ เราขอแวะเข้าไปชม “ครูสายัณห์ โฮมสเตย์” กันก่อน ซึ่งมีอายุกว่า 100 ปี ตกทอดมาถึง 4 ชั่วอายุคน โฮมสเตย์ หลังนี้เป็นมากกว่าบ้านพัก หรือที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว แต่ ครูสายัณห์ ได้เก็บรวบรวมของเก่า ของโบราณ สมัยปู่ย่าตายาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของใช้ในชีวิตประจำวันของคนสมัยก่อน ให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจได้ชมอีกด้วย เรียกได้ว่า เป็นพิพิธภัณฑ์ ย่อมๆ เลยทีเดียว ที่สำคัญเมื่อเข้าไป เราจะไม่เห็นมีข้อความเขียนคำอธิบาย เพราะครูสายัณห์ บอกว่า อยากจะเป็นคนถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ที่เข้ามาชมด้วยตัวเอง ไม่เพียงเท่านั้น บ้านหลังนี้ยังเป็น “บ้านหนังสืออัจฉริยะ” อีกด้วย
คำสำคัญ (Tags): #คนล่าฝัน
หมายเลขบันทึก: 565012เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2014 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2014 11:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทึ่งมากเลยครับ

ไปใต้หลายครั้ง

ไม่เคยไปที่นี่เลย

ไปแต่สถาบันทักษิณคดีศึกษา

มีโอกาสจะแวะไปเที่ยว

ขอบคุณมากๆที่แนะนำเรื่องดีๆให้อ่านครับ

...บรรยากาศ สบายๆ...น่าไปเที่ยวนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท