การเรียนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ ๒๑


 

          ท่านคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ    ศ. ดร. สุพจน์ หารหนองบัว  ต้องการปฏิรูปการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย และในโรงเรียน     ร่วมกับปฏิรูปการเรียนการสอนในภาพใหญ่ของประเทศ     จึงเชิญผมไป “ปลุก” คณาจารย์ ให้ตื่น    โดยตั้งชื่อการบรรยายว่า “อวสานของครูสอน : การเรียนวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ ๒๑”

          จึงนำ narrated ppt มา ลปรร. ที่ , ๒ 

          ในที่ประชุม มีอาจารย์หลายท่าน เล่าประสบการณ์ที่ตนเองดำเนินการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอน เป็น active learning    และนิสิตร่วมสร้างสรรค์เกิดผลงานเชิงนวัตกรรม ที่ตัวอาจารย์เองทำไม่ได้    ช่วยเสริมหรือ ยืนยันความเชื่อของผมว่า     นักเรียน/นักศึกษา เป็นผู้เรียนรู้จากการสร้างสรรค์ของตนได้    เกิดผลงานที่เป็น ประโยชน์ต่อผู้อื่น หรือต่อชุมชน    จะเท่ากับนักเรียน/นักศึกษา ได้ฝึกฝนปลูกฝังนิสัยเห็นแก่ผู้อื่น มุ่งทำประโยชน์ แก่ผู้อื่นและแก่ส่วนรวม     ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ก่อประโยชน์ไปตลอดชีวิต

          โปรดสังเกตว่า การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ (STEM – Science, Technology, Engineering and Mathematics) ไม่ได้มีเป้าหมายแคบแค่เรียน ๔ วิชานี้เท่านั้น    แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้บูรณาการ หรือครบ ทุกด้าน ของทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑    เรียนรู้ฝึกฝนเพื่องอกงามทั้งด้านนอก คือรู้โลก    และด้านใน คือจิตใจของตนเอง บังคับใจตนเองได้

          เป็นการ “สอนคน” ไม่ใช่ “สอนวิชา”

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๖ ก.พ. ๕๗

 

หมายเลขบันทึก: 565009เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2014 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2014 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท