Gko (1) : สามารถฝึกได้เป็นวิทยาศาสตร์


ตั้งใจจะพิมพ์คำว่า "ฌาน"

แต่ลืมเปลี่ยนภาษา เลยกลายเป็นคำว่า "Gko" ครับ 555

 

 

ในบันทึกที่แล้ว   Gko การเรียนรู้อีกขั้นหนึ่งของมนุษยชาติ
จึงตัดสินใจใช้คำว่า Gko แทนคำว่า ฌาน ซะเลยครับ 555

 

ทั้งนี้เพราะคนจำนวนไม่น้อย

มองว่า ฌาน เป็นคำที่ใหญ่ ไกลตัวเกินไป และเฉพาะกลุ่ม

 

 

แต่ผ่านมาอีกหนึ่งวัน

เมื่อพิจารณาแล้ว ผมเห็นว่า การหยิบยื่นสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกให้กับเพื่อนมนุษย์นั้น

แม้จะเป็นยาขม แต่ถ้ากินแล้วสุขภาพดีใจดีขึ้น หายป่วย

ก็ไม่ควรลังเลใจที่จะบอกหรือมอบยาดีนี้ให้ หนอ

 

จริง ๆ แล้ว "ฌาน" สามารถฝึกได้เป็นขั้นเป็นตอน เป็นวิทยาศาสตร์

 

 

แต่ที่ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ท่านไม่นำมาเผยแผ่บอกต่อกันมากนักนั้น

น่าจะเพราะว่า .. เมื่อบอกไปแล้ว คนอื่นปฏิบัติน้อย
ปฏิบัติไม่ได้ดังที่บอก จึงคิดว่า ไม่มีจริง

อาจจะถูกหาว่า หลง อวดอุตริ โป้ปด มดเท็จไปก็เป็นได้ หนอ

 

 

ท่านเปรียบการเดินไปเก็บมะนาวที่ต้น
จนถึงการเอาใส่ปาก (แต่ยังไม่เคี้ยว) นั้นเป็นการทำ "สมาธิ"

วันหนึ่ง เพาะบ่มปฏิบัติไปเรื่อย ๆ

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว จึงกดฟันลงบนลูกมะนาว

การได้รับรสมะนาวนั้น ท่านเรียกว่า "ฌาน" หนอ

 

 

หลายคนที่ยังไม่เคยฝึกด้วยตนเอง

หรือฝึกแต่ยังไม่พอนั้น แต่มีความรู้จากการได้อ่านได้ฟัง

แล้วเทียบเคียงเอานั้น อาจรับรู้แบบผิด ๆ ถูก ๆ ได้ หนอ

 

 

 

หลายคนได้อ่าน ได้ฟังมาแบบไม่ครบถ้วน

เช่น

..นั่งสมาธิแล้วเป็นบ้า

..ติดฌาน ติดสุข บ้าง เป็นต้น

 

 

 

ที่เป็นเช่นนั้นนะมี

เพราะปฏิบัติผิดทาง ขาดพ่อแม่ครูอาจารย์ผู้รู้คอยแนะนำสอบอารมณ์ หนอ

 

 

 

 

 ในเมื่อเสี่ยงและยากเช่นนั้นแล้ว ปฏิบัติทำไม ?

วิถีการเรียนรู้และใช้ชีวิตที่เป็นทางสายหลักทางโลก

เช่น ระบบโรงเรียน ระบบการศึกษา ระบบการทำงานพัฒนาตนเองในงานทางโลกทั่วไป

กีดีและมีผู้ประสบความสำเร็จมากมายให้เห็นอยู่แล้วไม่เพียงพอหรือ ?

 

*** ประเด็นนี้สำคัญมาก ๆ

จะเขียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโอกาสต่อไป หนอ

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 564749เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2014 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2014 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขออย่ายอมแพ้ สาธุ สาธุ ครับ

ชอบตรงที่ "ฌาน" เมื่อพิมพ์ผิดกลายเป็น "Gko" ที่น่าจะมาจากคำว่า "Ground Knowing on" คือ "สู่สถานะพื้น" ...ฮา ใช่ไหมครับอาจารย์

ขอบพระคุณครับท่านอาจารย์ JJ

@ดร. ต๋อย ในบันทึกต่อไปจะใช้คำว่า "Ground Knowing on" เพื่อหลีกเลี่ยงคำใหญ่ครับ 555

"เดิมที ไม่มีต้นโพธิ์
ไม่มีกระจกเงาใส
เมื่อทุกอย่างว่างเปล่าตั้งแต่ต้น
ฝุ่นละอองจะลงจับอะไร"

(เว่ยหล่าง)

ดีใจครับที่ @สายน้ำแห่งความคิด มาทักทาย
ไม่ได้เจอกันนานแล้ว ว่างเมื่อไรบอกนะครับ จะชวนไปเดินป่า

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท