ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>ศาลและองค์กรอิสระ


ศาลและองค์กรอิสระ

(ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550)
ศาลใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง แต่ยังมีองค์กรอิสระอื่นที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยประชาชนในการตรวจสอบให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเพื่อความยุติธรรม
สาระการเรียนรู้ 
1. 
ศาล 
ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลยุติธรรม
ศาลปกครอง
ศาลทหาร
2. องค์กรอิสระ 
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
· คณะกรรมการการเลือกตั้ง
· ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
· คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ
· คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
· คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
องค์กรอิสระเสริมรัฐธรรมนูญ
3. การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

ศาล

รัฐ มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนและผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมในสังคม
โดยรัฐอาศัยกฎหมายเป็นเครื่องมือในการกำหนดความสัมพันธ์ สิทธิ หน้าที่ของสมาชิกในสังคมและเป็นเครื่องมือในการตัดสินขอพิพาท โดยประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติตนอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของรัฐมีหน้าที่รักษาความศักดิ์สิทธ์ของกฎหมาย คือ บังคับการให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ และดำเนินการกับผู้ฝ่าฝืน ศาลในฐานะส่วนหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมจะมีบทบาทต่อเมื่อมีคนนำคดี มาฟ้องร้องต่อศาล จากนั้นศาลจะดำเนินการพิจารณาคดีและตัดสินคดีให้เป็นตามกฎหมายและความถูกต้องเป็นธรรม ทั้งนี้การทำงานของศาลถือเป็นการทำในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นพระประมุขของประชาชนชาวไทย
ศาล คือ สถาบันที่ใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทหรืออรรถคดีตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายบัญญัติ
อำนาจตุลาการ เป็นอำนาจอิสระ ไม่ขึ้นกับฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร รัฐธรรมฉบับปัจจุบันกำหนดให้ ศาลเป็นองค์กรพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ หมายความว่า คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลเป็นเสมือนพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ การออกนั่งบัลลังก์ของคณะตุลาการให้ถือเสมือนว่า การกระทำในนามของพระองค์
ข้อพิพากษา หรืออรรถคดี ที่นำมาสู่ศาลมีหลายประเภท รัฐธรรมจึงบัญญัติให้มีศาลหลายสำหรับพิจารณาพิพากษาวินิจฉัยโดยเฉพาะ
ศาลไทยในปัจจุบันมี ประเภท
1. ศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่วินิจฉัยประเด็นปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ
2. ศาลยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาพิพากษาทั้งปวง โดยเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญา เว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น (เช่น ศาลรัฐธรรม ศาลปกครอง) ศาลยุติธรรมจึงเป็นศาลที่เกี่ยวข้องระหว่างประชาชนโดยตรง
3. ศาลปกครอง มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างราชการกับเอกชนหรือระหว่างราชการด้วยกันเอง เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ
4. ศาลทหาร มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีอาญาทหารและคดีที่มีอาญาทหารและคดีที่มีลักษณะพิเศษทางอาญา เช่น คดีอาญาที่ทหารตกเป็นจำเลยหรือคดีที่เกิดขึ้นในภาวะสงคราม หรือประกาศกฎอัยการศึก โดยปกติศาลทหารจึงไม่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป

ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นใหม่ตามบัญญัติของรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีอำนาจหน้าที่หลักในการควบคุมกฎหมายต่าง ๆ ที่ตราขึ้นมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัยประเด็นต่าง ๆ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือว่าเด็ดขาด
อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่หลักในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญและมีอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ดังนี้
1. อำนาจหน้าที่ในการควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งแยกออกเป็นดังนี้
1) อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีข้อความที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่
2) อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
3) อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยว่าพระราชกำหนด ได้ตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะหรือไม่
2. อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกรัฐสภา
3. อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีเป็นการเฉพาะตัว
4. อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับเรื่องใดของพรรคการเมือง ขัด ต่อสถานะหรือการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยว่าการกระทำของของบุคคลหรือพรรคการเมือง มีลักษณะเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่
6. อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยว่ากรรทการการเลือกตั้งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หรือการกระทำการอันต้องห้ามหรือไม่
7. อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเป็นร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่หลักการเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับหลักการของร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ต้องยับยั้งไว้หรือไม่
8. อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยว่า การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำใด ๆ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณร่ายจ่ายของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะกรรมาธิการ มีผลให้สมาชิกผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่ายหรือไม่
9. อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ
10. อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดจงใจไม่ยื่นรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือจงใจยื่นเอกสารดังกล่าวด้วยข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบแก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือไม่
11. อำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยว่าระเบียบอันจำเป็นแก่การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก่อนนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นระเบียบที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่

องค์ประกอบของของศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ 1 คน กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีก 8 คน ให้ดำรงตำแหน่งมีวาระ ปี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้
1. ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา โดยได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ด้วยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 3 คน
2. ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน คน
3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ จากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหา และวุฒิสภาเป็นผู้คัดเลือกโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 2 คน
4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ จากการสรรหาของคระกรรมการสรรหา และวุฒิสภาเป็นผู้คัดเลือกลงคะแนนลับ จำนวน 2คน
ผู้ได้รับเลือกตามข้อ 1-4 ประชุมเลือกกันเอง 1 คน เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

ศาลยุติธรรม
ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลยุติธรรมมี ชั้น ได้แก่
1. ศาลชั้นต้น คือ ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นต้น เช่น ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลอาญา ศาลแพ่ง
2. ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้น มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้น
3. ศาลฎีกา คือ ศาลสูงสุด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ มีศาลเดียวในกรุงเทพมหานคร คำพิพากษาของศาลฎีกาถือว่าสิ้นสุดจะฟ้องร้องต่อไปอีกไม่ได้ส่วนการที่ผู้ที่ต้องคำพิพากษาให้ได้รับโทษทางอาญา จะทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องต่อพระมหากษัตริย์ ได้ (เรียกว่าทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา) เพื่อรับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานอภัยโทษ เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญไม่ใช่การพิพากษาใหม่ และไม่ใช่เป็นการขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลฎีกา
ศาลชั้นต้น
ศาลแขวงเป็นศาลชั้นต้นขนาดเล็ก มีอำนาจจำกัด มีองค์คณะผู้พิพากษา คน และมีอำนาจ ดังนี้
1. ออกหมายเรียก หมายอาญา หรือหมายสั่งให้ส่งคนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น
2. ออกคำสั่งใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี
3. ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้อง หรือคำขออื่นยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง
4. ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
5. ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา
6. พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน แสนบาท
7. พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกิน ปีหรือปรับไม่เกิน หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกิน เดือน หรือปรับเกิน หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับไม่ได้
ศาลชั้นต้นอื่น เช่น ศาลจังหวัด ศาลแพ่ง ศาลอาญา มีอำนาจพิจารณาทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาทุกคดีในเขตอำนาจศาลของต้น มีองค์คณะผู้พิพากษา คน มีอำนาจเหมือนศาลแขวง และผู้พิพากษาอย่างน้อย คน มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง
ศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร
เขตกรุงเทพมหานครมีศาลชั้นต้นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ศาลแขวง ศาลจังหวัดมีนบุรี ศาลแพ่ง ศาลอาญา และศาลชำนัญพิเศษ เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลแรงงานกลาง ศาลภาษีอากรกลาง ศาลล้มละลายกลาง เป็นต้น
1. ศาลแขวง เป็นศาลที่พิจารณาคดีอาญาที่มีโทษไม่สูงและคดีทางแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่มาก ถ้าศาลแขวงเห็นว่าคดีใดคำพิพากษาของตนจะเกินอำนาจของศาลแขวงก็ให้เสนอความเห็นไปยังศาลแพ่ง หรือศาลอาญา หรือศาลจังหวัดมีนบุรี เพื่อพิจารณาแทน ศาลแขวงในกรุงเทพมหานคร มีเพียง 7 แห่ง คือ ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลแขวงพระนครใต้ ศาลแขวงธนบุรี ศาลแขวงตลิ่งชัน ศาลแขวงพระโขนง ศาลแขวงดุสิตและศาลแขวงปทุมวัน
2. ศาลแพ่ง และศาลอาญา มีเขตรับผิดชอบตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร ยกเว้นท้องที่ที่อยู่ในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญาธนบุรี และศาลจังหวัดมีนบุรี แต่ต้องเป็นความแพ่งหรือความอาญาที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง
3. ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ และศาลอาญากรุงเทพใต้ เป็นศาลที่รับฟ้องคดีแพ่ง (ต่อศาลแพ่ง) และคดีอาญา (ต่อศาลอาญา) ซึ่งเป็นคดีที่เกิดขึ้นในท้องที่เขตบางรัก สาทร ปทุมวัน ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระโขนง ยานนาวา สัมพันธวงศ์ คลองเตย ประเวศ สวนหลวง วัฒนา บางนา และบางคอแหลม แต่ต้องเป็นความแพ่งหรือความอาญาที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
4. ศาลแพ่งธนบุรี และศาลอาญาธนบุรี เป็นศาลที่รับฟ้องคดีทางแพ่ง (ต่อศาลแพ่ง) และคดีอาญา(ต่อศาลอาญา) ซึ่งเป็นคดีที่เกิดขึ้นภายในท้องที่เขตธนบุรี แต่ต้องเป็นความแพ่งหรือความอาญาที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงหรือในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
5. ศาลจังหวัดมีนบุรี เป็นศาลชั้นต้นในพื้นที่เขตมีนบุรี หนองจอก และลาดกระบัง การที่ใช้ชื่อว่า ศาลจังหวัด อาจทำให้สับสนบ้าง เพราะที่จริงแล้วศาลนี้เป็นศาลชั้นต้นที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เพียงแต่มีอำนาจหน้าที่เหมือนกับศาลจังหวัดเท่านั้น
6. ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ถ้าที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพ เรียกว่าศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ในต่างจังหวัด เรียกว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด มีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ดังต่อไปนี้
(1) คดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่า กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด เด็ก ตามกฎหมาย คือ ผู้ที่อายุตั้งแต่ 7ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์ ส่วน เยาวชน คือ ผู้ที่มีอายุเกินกว่า 14 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ 
(2) คดีที่ผู้เยาว์มีประโยชน์ได้เสีย เช่น การจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ การจัดหาผู้ปกครองให้ผู้เยาว์ เป็นต้น
(3) คดีที่ศาลต้องพิจารณาเกี่ยวกับตัวเด็ก เช่น คดีตามกฎหมายการศึกษาภาคบังคับคดีตามกฎหมายควบคุมเด็กและนักเรียน เป็นต้น
7. ศาลแรงงานกลาง เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับการพิพาทด้านแรงงานซึ่งเกิดเพิ่มขึ้นมากในระยะที่ผ่านมา และหากให้คดีแรงงานไปพิจารณาในศาลปกติก็อาจทำให้ล่าช้าเกินไป การตั้งศาลแรงงานจึงทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และมีความเป็นธรรมอีกด้วย ทั้งนี้เพราะเป็นศาลที่มีความชำนาญพิเศษในเรื่องแรงงาน ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร ยกเว้นคดีที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดที่มีศาลแรงงานกลางสาขาเปิดทำการ
8. ศาลภาษีอากรกลาง เป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี หรือมีคำสั่งในคดีที่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากร
9. ศาลล้มละลาย เป็นศาลชั้นต้นที่เริ่มดำเนินการใน พ.ศ. 2542 ปัจจุบันมีศาลล้มละลายกลางที่ทีพื้นที่รับผิดชอบตลอดเขตกรุงเทพมหานคร แต่ในระยะเริ่มตันนี้คดีที่เกิดนอกกรุงเทพมหานครก็อาจยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางได้ ศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลาย ทั้งนี้เพราะคดีล้มละลายมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งโดยทั่วไป และมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวมจึงควรได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีโดยผู้พิพากษาที่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้เกิดความรวดเร็วและเที่ยงธรรมยิ่งขึ้น
10. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น
ศาลชั้นต้นในต่างจังหวัด
ศาลชั้นต้นในต่างจังหวัด หมายถึง ศาลชั้นต้นที่อยู่ในจังหวัดนอกเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกได้ ประเภท คือ ศาลแขวง ศาลจังหวัด ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด และศาลแรงงานจังหวัด
1. ศาลแขวง ในพื้นที่ต่างจังหวัดให้จัดตั้งศาลแขวงขึ้น มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและทำการไต่สวนโดยผู้พิพากษาคนเดียวในเขตพื้นที่ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง สาเหตุที่จัดตั้งศาลแขวงขึ้นในต่างจังหวัด ก็เพื่อแบ่งเบาภาระของศาลจังหวัด ปัจจุบันมีศาลแขวงในต่างจังหวัดทั้งหมด 20 แห่ง ใน 20 จังหวัด และในขณะนี้รัฐมีนโยบายที่จะจัดตั้งศาลแขวงขึ้นในทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย
2. ศาลจังหวัด เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญา ภายในเขตจังหวัดยกเว้นในเขตอำนาจของศาลแขวง อาจให้ศาลแขวงพิจารณาพิพากษาได้ นอกจากนี้ อาจพิจารณาพิพากษาคดีความภายในเขตศาลจังหวัดก็ได้ ถ้าอยู่ในเขตอำนาจ เช่น คดีที่โอนมาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความหรือคดีที่เกิดในต่างประเทศ เป็นต้น ศาลจังหวัดเป็นศาลชั้นต้นที่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด อาจตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองของจังหวัด หรือตั้งอยู่ที่อำเภออื่นใดก็ได้
3. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีความเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน แยกออกต่างหากจากศาลแขวงและศาลจังหวัด ขณะนี้รัฐมีนโยบายที่จะจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดให้ครบทุกจังหวัด
4. ศาลแรงงานจังหวัด เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเรื่องแรงงานในเขตจังหวัด ซึ่งรัฐมีนโยบายจะจัดตั้งศาลแรงงานในจังหวัดที่มีกรณีพิพาททางด้านแรงงานมาก

ศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาที่อุทธรณ์มาจากศาลชั้นต้น กล่าวคือ ในกรณีที่คู่ความไม่พอใจในคำพิพากษาหรือคำตัดสินของศาลชั้นต้น ก็ให้มีสิทธิอุทธรณ์มายังศาลอุทธรณ์ได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์
องค์คณะผู้พิพากษา ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย คน
อำนาจ ศาลอุทธรณ์ มีอำนาจดังนี้
1. พิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ตามบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ และว่าด้วยเขตอำนาจศาล
2. พิพากษายืนตาม แก้ไข กลับ หรือยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
3. วินิจฉัยชี้ขาดคำร้องขอที่ยื่นต่อศาลอุทธรณ์ตามกฎหมาย
4. วินิจฉัยชี้ขาดคดีอื่นที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์
เดิมศาลอุทธรณ์มีอยู่เพียงศาลเดียว อยู่ที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีการจัดตั้งศาลอุทธรณ์เพิ่มขึ้นอีก ศาล เรียกว่า ศาลอุทธรณ์ภาค ดังนั้น ปัจจุบันศาลอุทธรณ์จึงแบ่งออกเป็นศาลอุทธรณ์กลาง และศาลอุทธรณ์ภาค โดยศาลอุทธรณ์ภาคแบ่งออกเป็นศาลอุทธรณ์ภาค ถึงภาค 9
 
 
ศาลฎีกา
ศาลฎีกา เป็นศาลสูงสุดเพียงศาลเดียวเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว คู่ความที่ยังไม่พอใจคำพิพากษา อาจฎีกายังศาลฎีกาได้อีกเป็นครั้งสุดท้าย คำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นอันสิ้นสุดคู่ความไม่สามารถฟ้องร้องต่อไปยังศาลอื่นได้อีก
องค์คณะผู้พิพากษา ผู้พิพากษาอย่างน้อย คน
อำนาจ ศาลฎีกามีอำนาจ ดังนี้
1. พิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำส่งของศาลอุทธรณ์ (หรือศาลชั้นต้นในกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้)
2. มีคำสั่ง หรือพิจารณาพิพากษาคำร้องคำขอ หรือพิจารณาพิพากษาคดีที่กฎหมายอื่นกำหนดให้ศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยหรือพิจารณาพิพากษา
นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง มีอำนาจพิจารณาพิพากษากรณีที่ที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการ การเมืองอื่นถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น องค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวน คน ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยลงคะแนนลับ และเลือกเป็นรายคดี
เหตุที่กำหนดให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็คือเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นและการใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับสูง ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรงทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งอาจกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพหรือทรัพย์สินของประชาชนได้
 

การบริหารงานศาลยุติธรรม
ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในศาลยุติธรรมแยกเป็น ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมกับข้าราชการศาลยุติธรรม

ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม
ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม มักเรียกกันโดยทั่วไปว่าผู้พิพากษา เป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม ได้แก่ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีผู้พิพากษาภาค ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ผู้พิพากษาประจำศาล และผู้ช่วยผู้พิพากษา

ข้าราชการศาลยุติธรรม
ข้าราชการศาลยุติธรรม คือ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการต่าง ๆ ในศาลยุติธรรมหรือสำนักงานของศาลยุติธรรม เช่น ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน การบัญชี งานส่งเสริมงานตุลาการ และงานวิชาการ เพื่อช่วยค้นคว้าทางวิชาการแก่ผู้พิพากษา และประสานงานกับส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้ศาลยุติธรรมปฏิบัติงานได้สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

ราชการในศาลยุติศาล
ราชการของศาลยุติธรรมประกอบด้วยการดำเนินการของศาล การดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรม และการดำเนินการเกี่ยวกับข้าราชการศาลยุติธรรม มีคณะกรรมการ คณะเป็นผู้รับผิดชอบ ดังนี้
1. คณะกรรมการการบริหารศาลยุติธรรม (กบศ.)
กบศ.มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการบริหารราชการศาลยุติธรรม ในส่วนที่เกี่ยวกับงานบริหารราชการ และงานธุรการของสำนักงานศาลยุติธรรมให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผน และประเพณีปฏิบัติของทางราชการศาลยุติธรรม เช่น มีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้
1. ออกระเบียบหรือประกาศ หรือมีมติ เพื่อการบริหารราชการศาลยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับงานบริหารราชการ และงานธุรการของสำนักงานศาลยุติธรรม ให้เป็นไปตามนโยบายของประธานศาลฎีกา รวมทั้งมีอำนาจยับยั้งการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ ประกาศ หรือมตินั้นด้วย
2. ให้ความเห็นชอบในการเสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการ และการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนของศาลยุติธรรม รวมทั้งมีอำนาจเสนอขอตั้งศาลใหม่ต่อคณะรัฐมนตรีด้วย
3. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายในการบริหารราชการของศาลยุติธรรม และสำนักงานศาลยุติธรรม
4. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการบริหารจัดการงบประมาณ และการพัสดุของศาลยุติธรรมและสำนักศาลยุติธรรม
5. กำหนดวันทำงาน วันหยุดราชการตามประเพณี วันหยุดราชการประจำปี และการลาหยุดราชการของข้าราชการฝ่ายตุลาการ และลูกจ้างของสำนักงานศาลยุติธรรม
2. คณะกรรมการตุลาการศาลยุตธรรม (กต.)
กต. มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการศาลยุติธรรม (ผู้พิพากษา) ให้เป็นไปตามกฎหมาย เช่นการแต่งตั้ง การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การลงโทษ เป็นต้น โดย กต. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (อกต.) ประจำชั้นศาล ศาลละ 1 คณะ ได้แก่
1. อกต. ศาลฎีกา
2. อกต. ศาลอุทธรณ์
3. อกต. ศาลชั้นต้น
อกต. ของแต่ละชั้นของศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่กลั่นกรอง เสนอความเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง การโยกย้ายแต่งตั้ง การเลื่อนตำแหน่ง รวมทั้งการลงโทษข้าราชการตุลาการในชั้นศาลนั้นต่อ กต. กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3. คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (กศ.)
กศ. มีอำนาจออกระเบียบ หรือประกาศเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล และการอื่นของสำนักงานศาลยุติธรรม ในส่วนที่เกี่ยวกับข้าราชการศาลยุติธรรม เช่น การแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนตำแหน่ง การลงโทษ การจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์ เป็นต้น

ศาลปกครอง
ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างทางราชการกับเอกชน หรือระหว่างทางราชการด้วยกันเอง ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ
คำว่า ทางราชการ หมายถึง หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นที่อยู่ในบังคับบัญชาหรืออยู่ในกำกับดูแลของรัฐบาล ได้แก่
1. ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง คณะบุคคล หรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทางปกครอง
2. คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท คณะกรรมการหรือบุคคลซึ่งมีกฎหมายให้อำนาจในการออกกฎ คำสั่งหรือมติใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อบุคคล และ
3. บุคคลที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามข้อ หรือข้อ 2

ศาลปกครองมี ชั้น ได้แก่ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด
ศาลปกครองชั้นต้น
ศาลปกครองชั้นต้น ได้แก่ ศาลปกครองกลางและศาลปกครองในภูมิภาค 
ศาลปกครองกลาง
ศาลปกครองกลาง มีเขตอำนาจในท้องที่จังหวัดต่อไปนี้ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร
ศาลปกครองในภูมิภาค
ถ้าภูมิภาคใดยังไม่มีการจัดตั้งศาลปกครอกส่วนภูมิภาค ให้ศาลปกครองการมีเขตอำนาจในภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย เช่น ศาลปกครองเชียงใหม่ ศาลปกครองสงขลา เป็นต้น
ศาลปกครองสูงสุด
ศาลปกครองสูงสุด มีเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จะมีตุลาการในศาลปกครองสูงสุดอย่างน้อย คน เป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา

อำนาจในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง
ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องต่อไปนี้
1. คดีพิพาทที่ทางราชการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ ออกคำสั่งหรือกระทำการอื่นใด โดยไม่มีอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือกระทำโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น หรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ
2. คดีพิพาทที่ทางราชการละเลยต่อหน้าที่กฎหมาย ตามที่กฎหมายกำหนดให้ ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร 
3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิด หรือความรับผิดย่างอื่นของทางราชการ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย กฎ หรือคำสั่ง หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าล่าช้าเกินสมควร
4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง เช่น หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนหรือกับหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง
5. คดีที่กฎหมายกำหนดให้ทางราชการฟ้องคดีต่อศาล เพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำ หรือละเว้นการกระทำ

เรื่องต่อไปนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
1. ดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร
2. การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ
3. คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย หรือชำนัญพิเศษอื่น (ตามที่มีพระราชบัญญัติตั้งขึ้น)

คณะกรรมการตุลาการศาลการปกครอง
คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.)ทำหน้าที่ด้านการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วยบุคคลต่อไปนี้
1. ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธาน
2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คนซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครองและได้รับเลือกจากตุลาการในศาลปกครองด้วยกันเอง
3. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภา คน และจากคณะรัฐมนตรี คน

ศาลทหาร
ศาลทหาร คือ ศาลที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหาร หรือ กฎหมายอื่นในทางอาญา รวมทั้งคดีเชลยศึก หรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของทหาร
คดีที่ไม่อยู่ในศาลอำนาจศาลทหาร
1. คดีที่มีพลเรือนเป็นผู้ร่วมกระทำผิด (พลเรือน หมายถึง ผู้ที่ไม่ใช่ทหาร)
2. คดีเกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
3. คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
อำนาจของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ
เวลาไม่ปกติ คือ เวลาที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือเวลาที่มีการรบ หรือสงคราม ในเวลาไม่ปกติศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาใดๆ ได้ตามประกาศ หรือคำสั่งตามกฎหมาย ว่าด้วยกฎอัยการศึก และอาจมอบอำนาจให้ศาลอื่นทำหน้าที่แทนศาลทหารได้ด้วย
ศาลอาญาศึก
ศาลอาญาศึก คือ ศาลทหารที่ตั้งขึ้นในเรือรบหรือในบริเวณที่มีการรบ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงซึ่งเกิดขึ้นในเขตอำนาจศาล และแม้ในสถานะสงครามหรือการรบจะยุติลงแล้วก็คงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ยังค้างอยู่ได้ต่อไป
ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ และศาลอาญาศึก ไม่มีอุทธรณ์ฎีกา ในกรณีที่ศาลอื่นทำหน้าที่แทนศาลในเวลาไม่ปกติ หรือศาลอาญาศึก ศาลนั้นมีอำนาจเช่นเดียวกับศาลอาญาศึก คือคำพิพากษาเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา

องค์กรอิสระ

องค์กรที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ
องค์กรที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ คือ องค์กรที่ตั้งตามพระราชบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วยคณะบุคคลที่ตั้งขึ้นด้วยวิธีที่ปลอดจากอำนาจอิทธิพลของบุคคลที่อาจมีส่วนได้เสียกับกิจการอันเป็นหน้าที่ขององค์กรนั้น โดยเฉพาะอำนาจของข้าราชการการเมืองและอำนาจของข้าราชการประจำ จึงเรียกกันติดปากว่า องค์กรอิสระ 
โดยทั่วไปองค์กรอิสระมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องในการทำหน้าที่บริหารราชการและกิจการของรัฐ
องค์กรอิสระแยกเป็น พวก ได้แก่ องค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญโดยตรง กับองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นเพื่อเอื้ออำนวยให้การดำเนินการตามรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะเรียกสั้นๆ ว่า องค์กรอิสระเสริมรัฐธรรมนูญ

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
องค์กรอิสระเสริมรัฐธรรมนูญ เช่น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) คณะกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น
ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะองค์กรอิสระที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และมีหน้าที่สำคัญที่จะให้รัฐทำตามแนวนโยบายแห่งรัฐ

คณะกรรมการการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานดำเนินการเลือกตั้งที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับหน่วยราชการเพื่อให้สามารถดำเนินการได้โดนปลอดอิทธิพลใดๆ
รายละเอียดต่างๆ เช่น องค์ประกอบ คุฯสมบัติ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นต้น นักเรียนสามารถศึกษาได้จากส่วนที่เกี่ยวกับ
รัฐสภาในบทที่6

ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นองค์กรอิสระที่ไม่ขึ้นต่อข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำทำให้สามารถตรวจสอบการทำงานราชการได้โดยอาจตรวจเองหรือตรวจตามคำร้องเรียนของประชาชน
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจำนวนไม่เกิน คน ตามคำแนะนำของวุฒิสภา
ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาอยู่ในตำแหน่ง ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
1. พิจารณา และสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติ หรือ ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ ตามกฎหมาย หรือก่อให้เกิดความเสียหายโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะชอบด้วยหน้าที่หรือไม่ชอบด้วยหน้าที่ อำนาจหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่อยงานของงรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือในกรณีอื่นที่กฎหมายบัญญัติ แล้วทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็น และข้อเสนอแนะไปยังรัฐสภา
2. เมื่อเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำใดของบุคคลตาม ข้อ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครอง เพื่อพิจารณาวินิจฉัย ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองต้องวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีหน้าที่เสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการบังคับแต่อย่างใด

คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ได้ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนชาวไทยไม่ว่าแหล่งกำเนิด เพศ หรือศาสนาใดจะได้รับความคุ้มครองเสมอกัน ดังนี้
มาตรา 199 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย
ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การสรรหา การเลือก การถอดถอน และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
มาตรา 200 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
2. เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
3. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
4. ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
5. จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน ภายในประเทศและเสนอต่อรัฐสภา
6. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ รวมทั้งมีอำนาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งประธานกรรมการ คน กับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก คน ตามคำแนะนำของวุฒิสภา (จากการสรรหา และวุฒิสภามีมติเลือก)
ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
กรรมการ ปปช. อยู่ในตำแหน่ง ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
หน้าที่
1.ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนในเรื่องที่วุฒิสภาส่งมาให้เกี่ยวกับ
การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง
การกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อ
ตำแหน่งหน้าที่ในราชการ หรือ ในการยุติกรรม
2.ตรวจสอบความถูกต้อง ความมีอยู่จริง และความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สิน หนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3.รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทุกปี
4.ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
อำนาจ
ปปช. มีอำนาจเชิงบังคับสูงมาก เช่น
1. ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสากิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ ปปช. ที่สั่งการตามอำนาจหน้าที่
2. ปปช. มีอำนาจเรียกเอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำตลอดจนขอให้ศาลพนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นดำเนินการใดๆ เพื่อประโยชน์ในการไต่สวน หรือตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่
3. ขอให้ศาลออกหมายเพื่อเข้าไปตรวจสอบ ค้น ยึด หรืออายัด เอกสาร ทรัพย์สิน หรือพยาน หลักฐาน ในเคหสถาน ที่ทำการ สถานที่ หรือยานพาหนะ
4. ขอให้ศาลออกหมายจับและควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหาในการดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
5. มีหนังสือข้อให้หน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานเอกชน ดำเนินการใดๆ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ การไต่สวนข้อเท็จจริง หรือการวินิจฉัยชี้ขาดของกรรมการ ปปช.
6.ให้สินบนแก่ผู้ชี้ช่อง แจ้งเบาะแส หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือหนี้สินในกรณีที่มีการ
กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ หรือการตรวจสอบทรัพย์สินหรือหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นอิสระและเป็นกลาง หมายความว่า ไม่สังกัดในรัฐบาลรัฐสภา หรือศาล
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งประธานกรรมการ คน และกรรมการอื่นอีก คน ตามคำแนะนำของวุฒิสภา
ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
อยู่ในตำแหน่งคราวละ ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
คำว่า อำนาจรัฐ โดยทั่วไปหมายถึง อำนาจที่บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย สามารถกระทำหรือสั่งการให้กระทำ หรือให้งดเว้นการกระทำใดๆ ได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย บุคคลผู้ใช้อำนาจรัฐจึงอาจแสวงหาประโยชน์ส่วนตนได้โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายหรือ ใช้อำนาจโดนไม่สุจริตทั้งทางตรง และทางอ้อม รัฐธรรมนูญจึงมีบทบัญญัติเพื่อป้องกัน ตรวจสอบ และลงโทษผู้กระทำผิดดังกล่าว
มาตรการในการตรวจสอบการใช้อำนาจ
1. ตรวจสอบบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐระดับสูง
2. ตรวจสอบการร่ำรวยผิดปกติของเจ้าหน้าที่รัฐ
3. ตรวจสอบการทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือการยุติธรรม 

ผู้มีอำนาจในการตรวจสอบ
1. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
2. สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
3. ประชาชนยื่นเรื่องราวต่อคณะกรรมการ ปปช. หรือสมาชิกรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป

การถอดถอนออกจากตำแหน่ง
วุฒิสภาอาจมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ใน ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา เพื่อถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ได้
1. นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี
2. สมาชิกผู้แทนราษฏร สมาชิกวุฒิสภา 
3. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด
4. กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
5. รองประธานศาลฏีกา รองประธานศาลปกครองสูงสุด รองอัยการสูงสุด หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร
6. ผู้พิพากษาหรือตุลาการ พนักงานอัยการ และผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงอื่นๆ (ตามที่กฎหมายบัญญัติ) 

ขั้นตอนในการดำเนินการถอดถอน
ขั้นที่ 1 คณะ สส. หรือ คณะ สว. แต่ละคณะจำนวนไม่น้อยกว่า 1ใน ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในสภาของตน หรือคณะประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า หมื่นคน คณะใดคณะหนึ่งเข้าชื่อกันร้องขอต่อประธานวุฒิสภา โดยระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่ากระทำความผิดเป็นข้อๆ อย่างชัดเจน
ขั้นที่ 2 เมื่อได้รับคำร้องแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้ ปปช. ดำเนินการไต่สวนโดยเร็ว
ขั้นที่ 3 ปปช. ทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภาว่า ข้อกล่าวหาข้อใดมีมูลหรือไม่เพียงใด
ข้อกล่าวหาข้อใดที่ ปปช. เห็นว่าไม่มีมูล ให้ข้อกล่าวหาข้อนั้นตกไป
ข้อกล่าวหาข้อใดที่ ปปช. เห็นว่ามีมูล ให้ส่งรายงานและเอกสารไปยังวุฒิสภาและ
อัยการสูงสุด และผู้ถูกกล่าวหาจะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปมิได้จนกว่าวุฒิสภาจะมีมติ 
ขั้นที่ 4 ประธานวุฒิสภาจัดให้มีการประชุมวุฒิสภา เพื่อพิจารณาข้อกล่าวหาที่มีมูลโดยเร็วตามรายงาน และเอกสารที่ ปปช. 
ส่งให้
อัยการสูงสุดดำเนินการรวบรวมหลักฐานเพื่อฟ้องคดี ถ้า ปปช. กับอัยการสูงสุดไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการดำเนินการฟ้องคดีได้ ปปช. มีอำนาจฟ้องคดีเอง

มติของวุฒิสภาในการถอดถอนออกจากตำแหน่ง 
1. จะต้องเป็นการลงคะแนนลับ
2. คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ใน ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่
3. มตินี้ให้เป็นที่สุด คือไม่มีอุทธรณ์ใดๆ ได้อีก

ผลของการถอดถอน
1. พ้นจากตำแหน่ง หรือให้ออกจากราชการ ฉบับแต่วันที่วุฒิสภามีมติ
2. ตัดสิทธิผู้ถูกถอดถอนมิให้ดำรงตำแหน่งใดในทางการเมือง หรือในการรับราชการเป็นเวลา ปี

ถ้าไม่มีมติให้ถอดถอน 
ถ้าวุฒิสภาพิจารณาและไม่มีมติให้ถอดถอนบุคคลใดแล้ว จะมีการร้องขอให้ถอดถอนบุคคลนั้น โดยอาศัยเหตุเดียวกันอีกมิได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาจถูกดำเนินคดีอาญาในกรณีนี้ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือข้าราชการการเมืองอื่น
การพิจารณาพิพากษาเป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญากรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 
ความผิดที่ฟ้อง ได้แก่
1. ร่ำรวยผิดปกติ
2. กระทำส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่
3. กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
4. กระทำความผิดต่อหน้าที่ในการยุติธรรม
5. จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญกฎหมาย
ผู้ที่จะถูกฟ้อง ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือบุคคลอื่นในฐานะเป็นตัวการ หรือผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน

การดำเนินการฟ้อง
1. ผู้เสียหายในความผิดดังกล่าว ยื่นคำร้องต่อ ปปช.
2. ปปช. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็น ส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

การพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ยึดสำนวนของ ปปช. เป็นหลักในการพิจารณา แต่อาจไต่สวนหาข้อแท้จริง และพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร และมีอำนาจเรียกเอกสาร หรือหลักฐานจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำตลอดจนขอให้ศาลอื่น พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้

คำสั่งและคำพิพากษา
1. การพิพากษาให้ถือแต่เสียงข้างมากขององค์คณะ
2. ให้เปิดเผยคำสั่งและคำพิพากษา
3. ถือว่าเป็นที่สุด ไม่มีอุทธรณ์ใดๆ อีก

ที่มา https://sites.google.com/site/tauw2491/sm48

หมายเลขบันทึก: 564389เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2014 01:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2014 01:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีครับ...เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากครับขอบคุณจริงๆ เข้าใจระบบศาลมากขึ้นเลยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท