ความรู้นอกห้องเรียน : ประสบการณ์ที่อาจารย์สอนไม่ได้


ผมจึงอยากถามทุกท่านว่า “แล้ววันนี้ คุณออกไปแสวงหาความรู้นอกห้องเรียนบ้างหรือยัง ?

          ในขณะที่ทุกวันนี้ระบบการศึกษาตามกระแสหลักของไทย ตกเป็นจำเลยของสังคมที่มักจะมีการอ้างถึงเมื่อสังคมของเราอ่อนแอ ภาพของการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่ในห้องเรียนสี่เหลี่ยมเป็นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยการแข่งขันการใช้อำนาจเหนือของคนที่ถูกเรียกว่าครู รวมไปถึงวิชาความรู้ที่มุ่งเน้นการทำงานรับใช้ระบบทุน ทำให้ผลพวงที่ได้คือป้อนพลเมืองที่ไร้คุณภาพออกสู่สังคม การศึกษาวันนี้ไม่ได้มุ่งเน้นให้เด็กๆรักบ้านตัวเองมากนัก เหตุเพราะไม่รู้จัก จึงรักไม่เป็นใช่หรือไม่ สุดท้ายก็ไม่มีอันใดจะเชื่อมโยงจิตวิญญาณของตนไว้กับภูมิแผ่นดินที่ตนเกิดได้ ปลายทางสุดท้ายของชีวิตจึงจบลงที่การเดินทางมาแออัดกันอยู่ในเมืองและเดิน สู่โรงงานเพื่อเป็นแรงงานราคาถูกในระบบอุตสาหกรรม


          ณ หลักสูตรสารสนเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้สู่ชุมชน เป็นอีกแห่งที่มีนิสิตกลุ่มหนึ่งเรียกตัวเองว่า “นิสิตสารสนเทศศาสตร์” กำลังสนุกสนานกับการเรียนรู้ที่เปิดชุมชนให้เป็นห้องเรียนธรรมชาติ มีปู่ย่าตายายและพี่น้องในชุมชนเป็นครูใจดีมีเมตตาคอยถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ผ่านคำบอกเล่าเป็นเรื่องเรื่องเก่าที่บ้านเกิด เรื่องแล้วเรื่องเล่าอย่างไม่รู้เบื่อ ในวันหยุดและช่วงปิดเทอมผู้เฒ่าผู้แก่พากันเปิดบ้านและสวนต้อนรับนักเรียน ตัวน้อยซึ่งก็คือลูกหลานในชุมชนที่หมั่นแวะเวียนกันไปไถ่ถามเรื่องราวในอดีต และมีการจดบันทึกเรื่องราวเหล่านั้นด้วยความขะมักเขม้น ราวกับจะนำไปสอบก็ไม่ปาน แววตาของผู้เฒ่าและเด็กๆเต็มไปด้วยพลังแห่งความผูกพันที่เชื่อมโยงคนต่างวัย ก่อเกิดเป็นความสัมพันธ์ในชุมชนที่ร้อยรัดกันไว้ด้วยความรักอย่างมิมีสิ่งใด เสมอเหมือนเรื่องเล่าต่างๆอาทิ การทำนาที่ยากจะหาใครทำทั้งที่ต้องกินข้าวทุกวัน กลายเป็นเรื่องเรียนรู้ที่สนุกทุกฤดูกาลโดยเฉพาะพิธีกรรมต่างๆก็ทำให้ได้ รู้จักการเคารพแม่โพสพที่ต้องบูชาด้วยของเปรี้ยวในยามที่ข้าวตั้งท้อง ทำให้เด็กเห็นคุณค่าความเหนื่อยยากและบุญคุณของชาวนาสิ่งนี้จะทำให้เขา รู้จักเคารพชาวนา/การเรียนรู้ผ่านบ้านหลังเก่าในชุมชน รู้จักขื่อ รู้จักแป รู้จักพิธีกรรมในการปลูกบ้านที่เป็นกุศโลบายอันชาญฉลาดของคนโบราณในการลง หลักปักฐานก็เป็นความรู้นอกตำรา หรือการเรียนรู้บ้านดินที่ทำให้เปลี่ยนปรัชญาของการมีบ้าน ทำให้รู้ว่าการจะมีบ้านอาจไม่ต้องดิ้นรนหาเงินมากนัก เพราะ “เราจะมีบ้านได้ถ้าเรามีเพื่อน” ก็ทำให้การเรียนรู้ของเด็กๆมีความสนุกสนานเป็นการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ จริง เป็นความรู้ที่มีชีวิตมากกว่าการที่จะเป็นแค่ตัวอักษรในหนังสือเล่มใด เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “การสืบสานภูมิปัญญา” หมายถึงกระบวนการเรียนรู้ผ่านความรู้ท้องถิ่นที่เป็นประสบการณ์ ความเชื่อ ที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง และความรู้เหล่านี้มีอยู่ในทุกพื้นที่หากแต่ว่าจะมีใครเห็นความสำคัญ นำพาให้ความรู้นั้นมาสืบต่อกับเด็ก เยาวชนให้สามารถเรียนรู้รากเหง้า เท่าทันสังคม จนกำหนดวิถีตนเองได้และเราอาจจัดความรู้เหล่านี้เป็นการศึกษาทางเลือก เนื่องเพราะ “เป็นการเรียนรู้อย่างมีความสุข มีสติ เข้าถึงปัญญาค้นพบตัวเองในวิถีชีวิตชุมชน โดยเคารพความแตกต่างหลากหลายและเกื้อกูลต่อเพื่อนมนุษย์ สังคม ธรรมชาติ สามารถพึ่งตนเองได้ มีอิสรภาพ เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ดำรงตนเองอย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” ดังปรัชญาที่ได้ตั้งไว้และข้อสำคัญคือความรู้เหล่านี้ไม่ค่อยได้ถูกบรรจุ อยู่ในระบบการศึกษากระแสหลักมากนัก

           วันนี้นิสิตสารสนเทศศาสตร์และพี่น้องชาวหนองบัว ยังคงทำหน้าที่ของตนอย่างแข็งขัน เราฝันจะเห็นเด็กๆลูกหลานของพวกเราเติบโต ภายใต้สังคมที่สมดุลและเป็นสุข แล้ววันหนึ่งเด็กๆที่ได้รับการบ่มเพาะเหล่านี้จะเติบโตเป็นกำลังที่สำคัญใน การพัฒนาสังคมสืบต่อไปดังเช่นรุ่นพี่ๆที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ภายใต้คำขวัญ “ห่วงใยโลกกว้าง สรรค์สร้างบ้านเกิด” ก่อเกิดเป็นพลังเล็กๆที่ขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีกว่าร่วมกัน...

          ผมขอกล่าวย้อนกลับไปตอนเด็ก ๆ ผู้ใหญ่มักสอนให้เราเรียนหนังสือเก่ง ๆ สอนให้เราตั้งใจเรียน เราจะได้มีอนาคตดี ๆ พอเราเข้ามัธยม เราก็ต้องขยันเรียน เพื่อให้ได้เรียนห้องคิง เรียนให้เก่ง เพื่อที่จะสอบให้ได้โรงเรียนมัธยมปลายดี ๆ พอเราเรียนม.ปลาย เราก็ต้องเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย เราต้องแข่งขัน และต่อสู้กับคนอื่น ๆพอเราเข้ามหาวิทยาลัย เราก็ต้องขยันเรียน เรียนให้ได้เกียนรตินิยม เพื่อที่จะให้ได้งานดี ๆ แต่บางครั้ง ความรู้ในห้องเรียนก็ไม่ได้ใช่ทุกอย่างเสมอไป ความรู้นอกเรียน อาจจะมีอะไรที่ห้องเรียนให้เราไม่ได้ประสบการณ์ต่าง ๆนานา เราอาจจะได้มาจากการออกไปเปิดหูเปิดตา เปิดโลก ออกจากกรอบที่เรียกว่ากะลาทิ้งไป ออกไปดูโลก ออกไปเห็นอะไรใหม่ ๆ แล้วเราจะรู้ ว่าชีวิตเราไม่ได้ยึดติดกับความรู้ในห้องเรียนแต่เพียงอย่างเดียว เราเรียนเพื่อให้รู้ เพื่อที่จะนำความรู้นั้นไปทำงาน ไปสร้างอนาคต แต่ความรู้นอกเรียน สอนให้เรารู้จักชีวิต รู้จักความหมายของชีวิต ว่าเรามีชีวิตอยู่ไปทำไม มีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร การเรียนแม้จะเป็นสิ่งสำคัญ ความรู้นอกห้องเรียนก็สำคัญไม่แพ้กัน ความรู้นอกห้องเรียนจะทำให้เราได้นำความรู้ที่เราได้เรียนมาออกมาใช้ มาประยุกต์ให้ออกมาเป็นภาคปฏิบัติ คนจะเก่ง ต้องเก่งทั้งในด้านทฤษฎี และในด้านปฏิบัติด้วย จึงจะประสบความสำเร็จ เก่งเรื่องเรียน เก่งเรื่องงาน ก็จะเป็นคนที่ทุกองค์กรต้องการเป็นคนเก่ง เป็นคนดี เป็นที่ทุกคนภูมิใจความรู้นอกเรียนต้องควบคู่กับความรู้ในห้องเรียนสมอเราต้องแบ่งเวลา ทำให้ทั้งสองสิ่งสมดุลกัน จึงจะทำให้เรามีชีวิตที่ดีและมีความสุขความรู้ในห้องเรียน ให้อนาคต ความรู้นอกห้องเรียนให้ชีวิต ให้ประสบการณ์แม้จะแตกต่างกัน แต่เป็นสิ่งที่ดีต่อชีวิตเหมือนกันผมจึงอยากถามทุกท่านว่า “แล้ววันนี้ คุณออกไปแสวงหาความรู้นอกห้องเรียนบ้างหรือยัง ?

หมายเลขบันทึก: 562592เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2014 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2014 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ คุณวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- มากๆนะครับที่แวะมาให้กำลังใจน้องใหม่อย่างผม

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท