ข้อคิด...จากค่ายลูกเสือ


สักวันหนึ่ง...การจัดค่ายลูกเสือสามัญ(ประถม) ต้องกลับไปจัดที่บ้าน ให้ใกล้ชิดผู้ปกครอง/ ชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เด็กรักและเข้าใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวมากขึ้น และจัดเป็นค่ายลูกเสือเชิงอนุรักษ์ด้วยในคราวเดียวกัน

 ๒ คืน ๓ วัน ๒๐ - ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ นำนักเรียนชั้่น ป.๕ - ๖ ไปร่วมกิจกรรมค่ายลูกเสือสามัญกับกลุ่มโรงเรียน เป็นกิจกรรมประจำปีการศึกษา ซึ่งมักจะจัดกันในปลายภาคเรียนที่ ๒ ทุกปีจะจัดกันภายในโรงเรียน โดยจะเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อมด้านอาคารสถานที่และภูมิทัศน์

 

ภูมิทัศน์ที่ว่า จะประกอบด้วย ป่าไม้และภูเขา สระน้ำและสนามหญ้า โดยไม่ลืมที่จะดูเรื่องห้องน้ำห้องส้วมด้วย เรื่องจำนวนบุคลากรในโรงเรียนไม่เป็นปัญหา เพราะคณะครูภายในกลุ่มและชุมชน จะเข้ามามีส่วนร่วมด้วยช่วยกันอยู่แล้ว

 

จนแล้วจนรอด ความเหมาะสมของโรงเรียนบ้านหนองผือ ก็ยังไม่ได้รับเลือกให้เป็นค่ายลูกเสือ(ชั่วคราว) และผมเองก็ยังไม่พร้อมที่จะยื่นข้อเสนอ..ขอเป็นเจ้าภาพ เพราะมาคิดดูแล้ว..มีหลายเรื่องราวที่ต้องเตรียมเยอะมาก

 

พอดีที่ประชุมกลุ่ม..โดยผู้บริหารและคณะครูฝ่ายกิจการนักเรียน  มีความต้องการที่จะเห็นลูกเสือ-เนตรนารี  มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล ได้ประสบการณ์ความรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง และได้เปลี่ยนบรรยากาศ ไปเห็นความแปลกใหม่ ที่จะให้ความตื่นตาตื่นใจมากขึ้น

 

จึงมีมติ..จัดนอกสถานที่ที่ไม่ใช่โรงเรียนภายในตำบลท้องถิ่นและเมื่อกลุ่มโรงเรียน ได้เลือกค่ายลูกเสือสำเร็จรูปของเอกชนเป็นสถานที่ฝึกระเบียบวินัยนักเรียน..ก็เป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า.."ไม่ผิดหวัง" แม้ว่าต้องเสียตังค์ต่อหัวต่อคนมากมายก็ตาม

 

ค่ายลูกเสือมีชื่อว่า..ค่ายทะเลน้ำจืด ฟาร์มนกกระจอกเทศ ตำบลสำรอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี มีสถานที่และวิวทิวทัศน์เหมาะสม ออกแบบสำหรับเป็นค่ายลูกเสือโดยเฉพาะ ขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบรีสอร์ทหรู คล้ายทะเลในภาคตะวันออกนั่นเอง

 

การบริหารจัดการของค่าย ในเรื่องบริการ อาหาร ที่พัก ดูดีมีระเบียบ ก็เป็นเรื่องปกติของภาคเอกชนที่ทำกันเป็นระบบ เพื่อเอาใจลูกค้า จะได้ไปสัมพันธ์บอกต่อ

 

แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจ ก็คือ วิทยากรที่เป็นผู้กำกับและทีมงาน ที่ทางค่ายจัดหา(จ้าง)มาตลอดรายการนับ ๑๐ คน ล้วนมีความรู้และทักษะการถ่ายทอดที่ดีเยี่ยม เป็นสิ่งที่ผมนำเก็บมาคิดและประมวลเป็นข้อมูลเอาไว้

 

สักวันหนึ่ง...การจัดค่ายลูกเสือสามัญ(ประถม) ต้องกลับไปจัดที่บ้าน ให้ใกล้ชิดผู้ปกครอง/ ชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เด็กรักและเข้าใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวมากขึ้น และจัดเป็นค่ายลูกเสือเชิงอนุรักษ์ด้วยในคราวเดียวกัน

 

ที่ผ่านมา..มีปัญหาด้านวิทยากร..จะยากอะไร เราก็ติดต่อผู้กำกับและคณะทำงานทั้งหมด ให้ไปที่ค่ายในกลุ่มโรงเรียนของเรา...โดยมีค่าตอบแทนที่ได้มาตรฐาน ตรงตามความต้องการและข้อตกลง

 

ผมจึงหาข้อมูล และลองติดต่อทาบทามดู..คำตอบที่ได้จากครูผู้กำกับก็คือคำว่า......"ด้วยความยินดี..ครับ"

 

                                                                ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

                                                                 ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 562410เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2014 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2014 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เรียนท่าน ผอ. มาให้กำลังใจ ลูกเสือ ประสบการณ์ เข้าค่าย คงเป็นทักษะในการใช้ชีวิต ร่วมกัน

ปีหน้าขอเชิญ พาลูกเสือ - เนตรนารี ไปค่ายลูกเสือของประจวบฯ เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศบ้างนะจ๊ะ ไปดูพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า และตกยามเย็น ณ บริเวณริมทะเลเดียวกันจ้ะ ่(ขอยืมภาพจาก google มาให้ชมจ้ะ )

ภาพนี้คือ บริเวณหน้าค่ายลูกเสือตาม่องล่าย ประจวบ ฯ จ้ะ

สุดยอดกิจกรรมค่ะท่าน ผอ.

คิดถึงตอนเด็กๆ จังค่ะ ค่ายลูกเสือ เนตรนารี ......ปลากระป๋อง..ไข่เจียว..ยุงกัด ...เพื่อนๆ ...คุณแม่มาแอบดูแต่เข้าใกล้ค่ายไม่ได้ 555

ผู้ดำเนินกิจการค่ายลูกเสือต่างๆ ส่วนใหญ่ก็มาจากครู อาจารย์ จนถึงศึกษานิเทศ ที่มีความรู้ความสามารถ และมีทุนทรัพย์ทั้งที่ดิน(จำนวนมาก) และเงิน ในการบริหารจัดการ จัดจ้างบุคลากร ตลอดจนการดูแลรักษา ดูแลความปลอดภัยทั้งชีวิต และทรัพย์สินของผู้ที่เข้ามาใช้บริการนะคะ...

การเข้าค่ายลูกเสือจริงๆแล้วครูก็เรียนมาจัดกิจกรรมลูกเสือภายในกลุ่มและจัดเองก็ได้นะค้ะครูจะได้ทบทวนความรู้ด้วย ดูแลก็ง่าย ความปลอดภัยก็ดีกว่า นำเงินที่ไปจ่ายค่าค่ายเอกชนมาซื้ออะไรให้เด็กๆทานให้อิ่มน่าจะดีกว่านะค้ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท