Plato Model กับความเป็นไปได้


เป็นไปได้หรือไม่กับการนำโมเดลปลาทูจากงานจัดการความรู้ ไปใช้เพื่อการขับเคลื่อนการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในเยาวชน

นั่งครวญคิดคำนวนใคร่ครวญครุ่น

ภูมิปัญญาความรู้กรุ่นกระจ่างใส

ความรู้มีคนดีมากใช่ยากใด

นำสิ่งดีออกมาใช้ประโยชน์ชน

          ผมเฝ้าสังเกตเมื่อหยิบโมเดลปลาทูของผู้รู้มาพิจารณา งานของผมคือการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้บังเกิดขึ้นแก่เยาวชนกลุ่มหนึ่งเท่าที่กำลังความสามารถจะมีอยู่ ทำได้เพียงใดก็เพียงนั้น แค่ไหนก็แค่นั้น ไม่ทุ่มเทสุดตัวและไม่ปล่อยปละละเลย กิจกรรมใดบ้างที่จะสร้างความคิดที่ดีเชิงคุณค่าได้ กิจกรรมนั้นควรเป็นกิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายกระทำได้ไม่ยากและเกิดความรู้สึกบางอย่างที่เป็นคุณค่าทางจริยธรรม เห็นว่า โมเดลปลาทูน่าจะเป็นอีกเทคนิคหนึ่งนั้นก็คือ

หัวปลา ได้แก่ เป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น อะไรคือความดี อะไรคือสิ่งที่ควรจะทำอาจหมายถึงความซื่อตรง ความมีวินัย

ตัวปลา ได้แก่ การระดมความคิดในกลุ่มที่จะต้องเดินร่วมกันเพื่อหาข้อยุติที่เสมอกันหรือใกล้เคียงกันในการสร้างพลังความดี ประเด็นคือ เราจะทำอย่างไรให้เป้าหมายนั้นสัมฤทธิ์ผล (มรรควิธี)

หางปลา ได้แก่ ฐานพลังความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล อันเป็นความรู้คิดในเชิงสร้างสรรเช่น ความรู้คิดที่ตรงกันข้ามกับการเอาเปรียบคน ความรู้คิดที่ตรงกันข้ามกับกดขี่ข่มเหงคน ความรู้คิดในการพึ่งพาตนเองก่อนพึ่งพาผู้อื่น

น่าจะมีความเป็นไปได้เพียงใด เรามาดูกัน...................................

 

หมายเลขบันทึก: 56238เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2006 07:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท