สื่อสังคม (Social Media) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว


จากบทบาทของสื่อสังคม (โซเชียลมีเดีย) ที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในกระบวนการสื่อข่าวอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะในการรายงานข่าวที่รวดเร็วที่ทาให้สังคมสนใจรับข่าวสารผ่านสื่อสังคมเพิ่มมากขึ้น ผู้สื่อข่าวและกองบรรณาธิการ
เริ่มหันมาใช้สื่อสังคมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อข่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และด้วยลักษณะของสื่อสังคมที่มีความรวดเร็ว
มีการปฏิสัมพันธ์ และเชื่อมโยงเครือข่าย ทาให้รูปแบบ วิธีการรายงานข่าวและการรับข่าวสารในสังคมปรับเปลี่ยนไปด้วย
ดังนั้น รายงานวิจัยเรื่องสื่อสังคม (โซเชียลมีเดีย) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว มุ่งศึกษาถึงรูปแบบของการใช้
สื่อสังคม 3 ประเภทได้แก่ ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค และ บล็อกของผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการข่าวในประเทศไทยเพื่อวิเคราะห์
บทบาทของสื่อสังคมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว โดยดาเนินการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งใช้วิธีการวิเคราะห์
เนื้อหาและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการที่ใช้สื่อสังคมในกระบวนการสื่อข่าวพร้อมกับสังเกตและวิเคราะห์เพื่อ
ศึกษาประเด็นหลัก 3 ประการคือรูปแบบการใช้สื่อสังคมในกระบวนการสื่อข่าว การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สื่อข่าวและ
บรรณาธิการ และความสัมพันธ์กับผู้บริโภคข่าว จากการศึกษาในงานวิจัยนี้พบว่ารูปแบบของการใช้สื่อสังคมในกระบวนการ
สื่อข่าวมีความโดดเด่นในเรื่องการใช้เพื่อความรวดเร็วโดยนามาใช้เพื่อการรายงานข่าวให้ทันต่อเหตุการณ์และจากสถานที่เกิด
เหตุการณ์ ซึ่งสื่อสังคมถูกนาไปใช้ทั้งในกระบวนการหาข่าว (News Gathering) และเผยแพร่ข่าว (Distribution) ที่มีเครือข่าย
ของข้อมูลเพิ่มมากขึ้นมีแหล่งข่าวใหม่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการข่าวเริ่มมีการใช้สื่อสังคมนอกเหนือจากแค่
ความเร็วบ้าง อาทิ การแสดงความเห็น สร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับสาร สร้างเครือข่ายชุมชนออนไลน์ของตัวเอง รวมถึงนาเสนอ
ผลงานให้เป็นที่รู้จัก แต่ยังมีความถี่น้อยกว่าการใช้เพื่อรายงานด้วยความเร็ว ยังคงต้องมีการพัฒนารูปแบบของการใช้ในมิติลึก
และการใช้งานในลักษณะอื่นๆ เพิ่มเติม

สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ : สื่อสังคม (Social Media) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว

หมายเลขบันทึก: 562121เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท