“จาก งานวิจัยสื่อสังคม (Social Media) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว สู่ PDF”


“จาก งานวิจัยสื่อสังคม (Social Media) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว สู่ PDF”

รายงานการวิจัย สื่อสังคม (Social Media) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว.pdf  "ชื่อ e53181023"

สรุปรายงานการวิจัยเรื่อง สื่อสังคม (Social Media) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว 

สรุปผลการวิจัย
จากคาถามวิจัยเรื่องในประเด็นแรกคือ การใช้สื่อสังคมของผู้สื่อข่าวในกระบวนการสื่อข่าวสามารถสรุปการใช้งานสื่อสังคมของผู้สื่อข่าว/กองบรรณาธิการได้ว่า มีการใช้งานในมิติของข่าวเร็วอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการใช้งานทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือหลักที่มีการนามาใช้งานในปัจจุบัน เพราะผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการมองเห็นประโยชน์ของการรายงานข่าวทันที ทันต่อเหตุการณ์ รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูล การโปรโมตผลงาน ดึงผู้อ่านกลับเข้าสู่สื่อหลัก และการสร้างเครือข่ายซึ่งนาไปสู่การสร้างแบรนด์ของผู้สื่อข่าวและบรรณาธิการที่ชัดเจนมากขึ้นในกลุ่มผู้รับสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์

ใน “มิติเร็ว” นั้น ผู้สื่อข่าวไทยทาได้ดีในระดับที่สามารถเกาะติดสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว มีการอัพเดทข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์สาคัญเกิดขึ้น มีการรายงานทันที และผู้ให้สัมภาษณ์สะท้อนให้เห็นว่า สามารถใช้ประโยชน์จากธรรมชาติความเร็วของสื่อสังคมโดยเฉพาะทวิตเตอร์ได้ดี

ข้อสังเกตอย่างหนึ่งของการายงานบนความเร็วที่เกิดขึ้นบนทวิตเตอร์คือ มีการผิดพลาดของข้อมูล ซึ่งจากการสังเกตการณ์ใช้งานและการสะท้อนจากผู้ให้สัมภาษณ์เอง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีข้อมูลกระจัดกระจาย และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ข้อดีคือมีการแก้ไขอย่างทันที แต่ข้อเสียคือ การแก้ไขทันทีนั้นไม่สามารถการันตีได้ว่าไปถึงคนที่รับสารแรกที่ผิดแล้วทุกคนหรือไม่ จึงเป็นประเด็นสาคัญที่แม้จะแข่งขันกันได้ในเรื่องความเร็ว แต่ก็การเช็คข้อมูลก่อนส่งข้อความออกไปยังเป็นสิ่งสาคัญที่ผู้สื่อข่าวต้องระวังเพื่อป้องกันความสับสนของข้อมูล แต่ก็มีผู้สื่อข่าวหลายคนพูดถึงหลักการในการแก้ไขและป้องกันความผิดพลาดไม่ว่าจะเป็นการตรวจเช็ค การรอข้อมูลที่นิ่ง การให้ผู้สื่อข่าวที่อยู่ในพื้นที่เหตุการณ์รายงานก่อน การเลือกรีทวิตหรือแชร์ข้อมูลที่เชื่อได้ว่าถูกต้อง ซึ่งล้วนเป็นการวนกลับสู่การใช้วิจารณญาณในการทาข่าวของผู้สื่อข่าว

ส่วนการใช้งานบล็อกนั้นยิ่งมีจานวนการใช้งานและความถี่ของการใช้ที่น้อยยิ่งกว่าเนื่องจากข้อจากัดในเรื่องเวลาของผู้สื่อข่าว สาหรับผู้สื่อข่าวที่ใช้นั้น ลักษณะการใช้งานเป็นการนาข้อมูลที่เพิ่มเติมจากข่าวที่นาเสนอผ่านสื่อดั้งเดิมมาใส่เพิ่มเติมลงในบล็อกเพื่อขยายความ หรือให้ข้อมูลที่ไม่พอในการนาเสนอผ่านสื่อดั้งเดิม มีการใช้ในลักษณะการนาเสนอเบื้องหลังของการทาข่าวเรื่องนั้นบางรายมีการวิเคราะห์ เขียนบทความแสดงความเห็นต่อประเด็นที่เป็นข่าวด้วย แต่จากที่สัมภาษณ์นั้นมีเพียง 1 รายที่มีความต่อเนื่องในการใช้บล็อก โดยภาพรวมของผู้สื่อข่าวที่ใช้บล็อกเป็นลักษณะของการใช้เชิงลึก คือใช้พื้นที่ที่ไม่จากัดของบล็อกให้ข้อมูล แสดงความเห็น หรือวิเคราะห์เพิ่มเติมต่อยอดจากรายงานที่ออกสื่อหลักแล้ว แต่การใช้บล็อกใน “มิติเร็ว” ซึ่งตามธรรมชาติของบล็อกแล้วผู้สื่อข่าวสามารถใช้ในการอัพเดทข่าวแบบ Real-time ได้เช่นเดียวกับที่ทาผ่านทวิตเตอร์และเฟสบุ๊คเช่นการทา Live Blog ซึ่งสามารถทาได้ทันที และมีข้อดีเพิ่มขึ้นตรงที่ไม่จากัดพื้นที่ในการรายงานด้วยดังนั้นผู้วิจัยเสนอว่าผู้สื่อข่าวน่าจะได้มีการนาบล็อกมาใช้ในมิติเร็วในการรายงานข่าวด้วยเช่นกันสิ่งหนึ่งที่พบจากการวิจัยคือ โดยมากจะมีการใช้สื่อสังคมแบบใดแบบหนึ่งเป็นหลักอยู่เพียง 1 หรือ 2 อย่าง แต่ยังไม่มีการบูรณาการการใช้งานร่วมกันให้สามารถรายงานข่าวได้ทั้งมิติเร็วและลึก โดยธรรมชาติของสื่อสังคมทั้ง 3 แพลตฟอร์ม ได้แก่ ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊ค และบล็อกนั้นลักษณะเด่นในการนาไปใช้งานที่ต่างกัน ถ้าสามารถบูรณาการนามาใช้ในแต่ละกระบวนการข่าวได้ การรายงานข่าวจะได้ทั้งเร็วและลึก มีความกว้างครอบคลุม และสามารถขยายเครือข่ายของการส่งสารได้เพิ่มมากขึ้นด้วย

คาถามวิจัยต่อไปที่ศึกษาคือการใช้สื่อสังคมดังกล่าวมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว พบว่า หากมีการนาสื่อสังคมเข้ามาใช้งานในกระบวนการสื่อข่าว รูปแบบ(Model) ของการสื่อสารจะมีการเปลี่ยนแปลงจริงใน 3 ประเด็นสาคัญคือ
1. กระบวนการหาข่าว (News Gathering) และการเผยแพร่ข่าว (News Distribution)

2. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อข่าว/กองบรรณาธิการ และผู้รับสาร

3. การคัดเลือกข่าวในบทบาทของการเป็นนายทวารข่าวสาร (Gatekeeper) และกาหนดวาระข่าวสาร (Agenda-Setting)

อ้างอิงจาก http://dric.nrct.go.th/bookdetail.php?book_id=254482 

นายสิทธิศักดิ์  ดอกหอม 

18/02/2557 (22:50)

หมายเลขบันทึก: 562120เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2014 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท