พัฒนาทักษะที่21ด้วยกระบวนการละคร


              มีหลายเทคนิคในการพัฒนาทักษะศตวรรษที่21 ให้เกิดกับเยาวชน ที่นิยมมากที่สุดการจัดการเรียนรู้บนสภาพปัญหา(PBL) เท่าที่ประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้บนสภาพปัญหา(PBL)พบว่า

               คุณครูส่วนมากหนักใจว่า PBL มีขั้นตอนอย่างไร มีรูปแบบอย่างไรทำไม่ทุกขั้นตอนผิดไหม วิชาศิลปะทำได้อย่างไร คณิตศาสตร์ทำได้อย่างไร ทำชั่วโมงเดียวได้ไหม หนึ่งอาทิตย์ได้ไหม ที่สำคัญมีให้ลอกไหม (ฮา) ฯลฯ 

                กระบวนการละครเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่เสนอให้คุณครูนำไปใช้(โดยเฉพาะในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาค้นคว้าอิสระ)

                     ละครกับการเรียนที่ไม่จำกัดในห้องสี่เหลี่ยม จากฉาก5ฉาก คือสาเหตุ จุดขัดแย้ง จุดจบ(ผล) จะทำอย่างไร และภาพฝันที่ต้องการ  มันตอบโจษทักษะศตวรรษที่21ได้แล้วค่ะ โดยไม่ต้องนั่งสอนในห้องสี่เหลี่ยม

                      ละครจะนำความเชื่อ(นิทานพื้นบ้าน)มาเป็นโครงเรื่อง เพราะนิทานมีเส้นเรื่องที่ชัดเจนและเป็นที่จดจำของคนส่วนใหญ่ มีโครงเรื่องชัดเจนอยุ่แล้ว และนิทานที่ใกล้ชิดกับคนในท้องถิ่นนั้นๆ จะช่วยให้เข้าใจเรื่องนั้นได้ง่าย แล้วนำประเด็นที่ต้องการสื่อสารไปสอดแทรกไว้

                แต่สำหรับพวกเรา(กลุ่มฮักนะเชียงยืน)เด็กๆ บอกว่าชีวิตจริงของพวกเขามาเลยการเรียนรู้จากปัญหาในชีวิตพวกเขาถูกหยิบขึ้นมาถกถียง ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นบทละคร

                 ฉากแรก เป็นการแสดงถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ดีงามและความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน  วิถีชีวิตเริ่มเปลี่ยนเมื่อนายทุน(เกษตรระบบพันธะสัญญา)เข้ามาวิถีชีวิตเริ่มเปลี่ยนชุมชนเริ่มใช้สารเคมีในการเพาะปลูก แต่ก็ยังมีเกษตรกรบางส่วนใช้นำ้หมัก ปุ๋ยหมัก เด็กๆต้องลงงานช่วยผู้ปกครองไม่ได้หลับนอนเต็มที่ ความรำ่รวยเริ่มเข้ามา ลูกหลานมีโทรศัพท์มีมอเตอร์ไซด์ มีรถยนต์ขับ ทำให้ต้องทำงานหนักมากขึ้นคลุกคลี่กับสารเคมีมากขึ้นตามลำดับ สิ่งที่ชาวบ้านลืมคือหนี้สินตามมา

                 ฉากสอง ความขัดแย้งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อผลจากสารเคมีเริ่มปรากฎผิวหนังเป็นผดผื่นคัน เล็บดำ ชาวบ้านรู้ เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น แต่หนี้สินที่มากตามมาจึงไม่สามารถเลิกได้

                 ฉากสาม ผลจากการใช้สารเคมีปรากฏชัดเจน ผลการตรวจเลือด ผลการตรวจดิน อัตราการเจ็บป่วย และตายเริ่มเร็วขึ้น(50ปีเริ่มแล้ว)โรดเบเหวาน มะเร็ง มากขึ้น

                 ฉากสี่ จะทำอย่างไร เกษตรอินทรี เป็นสิ่งที่เด็กกลุ่มนี้เสนอให้เป็นทางเลือก 

                 ฉากห้า ภาพฝันที่ต้องการคือต้องการให้มีตลาดเขียวเกิดขึ้น 

          เมื่อบทละครเรียบร้อย พวกเขาเริ่มซ้อมและเริ่มเร่ในชุมชน ครั้งสุดท้ายแสดงที่หมู่บ้านเขาเอง พ่อ แม่ ตา ยาย มานั่งดูละครที่สะท้อนชีวตจริงๆ ไม่ต้องบอกว่าบรรยากาศเป็นอย่างไร น้ำตาไหลกันทั้งนั้น วันที่พวกเขาแสดงรอบสุดท้ายและเปิดเวทีเสวนาโดยมีเกษตรอำเภอ พยาบาล นักเกษตรอินทรี นักวิชาการจาก มมส. ร่วมเปิดประเด็น เป็นเวทีเสวนาที่เล็กๆผู้คนไม่มาก แต่ยิ่งใหญ่ ทรงพลัง ที่นี่  ,ที่นี้ ,ที่นี้,ที่นี้,ที่นี้,ที่นี้,ที่นี้และที่นี้          มาช่วยกันลุ้นว่าความภาพฝันและความฝันของพวกเขาจะเป็นจริงได้ไหม 

           เกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา 

                - ทักษะที่ได้คือพวกเขาได้ฝึกทักษะการสื่อสาร ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ฝึกทักษะการแก้ปัญหา

                -พวกเขาได้เรียนรู้วิธีในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข บนความคิดเห็นต่าง

                - ความรู้ที่ได้ในครั้งนี้จะติดตัวไปโดยไม่มีวันลืม โดยที่ครูไม่ต้องบอกว่า เอ้าจดนะ เอ้าเขียนนะ ความรู้ที่คนเรียนอ่อนหรือเก่งได้เรียนได้เท่ากัน

                - ที่สำคัญเราได้ผู้นำในชุมชนที่กล้าคิด กล้าทำ และมีคุณธรรม 

                   นี้คือ ผลผลิต 

  คุ้มเกินที่นั่งบอกนั่งสอนในห้องสี่เหลี่ยม 

 

 

หมายเลขบันทึก: 561806เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2014 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2014 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

.... เห็นกลุ่ม รวมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เข้มแข็งดีนะคะ ดีใจด้วยค่ะ

ละคร ๕ ฉาก

  • ฉากหนึ่งบริบทอันเกี่ยวข้อง
  • ฉากสองต้นเหตุแห่งปัญหา
  • ฉากสามผลกระทบสบหูตา
  • ฉากสี่มีอยู่คู่ปัญญา
  • ฉากห้าภาพฝันท่านสุขใจ ...

ไม่รู้ถูกผิด...ฮา

นำชีวิตจริงมาเล่นเป็นละคร เล่นละครสะท้อนชีวิตจริง

ทำเล่น แต่เป็นจริง

เรียน แบบไม่ได้เรียน แต่ได้เรียนรู้

ขอชื่นชมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท