๑๐๐๖ "รู้จัก อสม. "


    ปัจจุบันประเทศไทยมีเครือข่ายสุขภาพ ที่เรียกว่า อาสาสมัครสาธารณสุข หรือ อสม.ทั่วประเทศเกือบ 1 ล้านคนศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) จึงได้สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ อสม. เกิดการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่

 คุณสมาน เพ็ชระ อสม. ต.ศรีมงคร อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี

ที่ได้เข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่าย เรื่อง การควบคุมยาสูบในชุมชนและการช่วยผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนให้เลิกบุหรี่ ในโครงการโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ : ขยายเครือข่ายสู่ชุมชน ได้มาเล่าถึงการเลิกบุหรี่ (คุณทำได้)

เผยแพร่เพิ่มเติม : http://www.youtube.com/watch?v=UxRLrT0cYaU&hd=1

อสม.ถือว่ามีบทบาทในการเป็นผู้นำทางสุขภาพ นอกเหนือจากเป็นผู้ดูแล เฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ถือว่า อสม.ได้ทำหน้าที่อย่างดีและต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ฉะนั้น อสม.จึงควรเป็นตัวอย่างทางสุขภาพที่ดี อย่างหนึ่งคือ พฤติกรรมการสูบบุหรี่

       ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) จึงได้สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ อสม. เกิดการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ในพื้นที่ 5 จังหวัด คือ พิษณุโลก ปราจีนบุรี ร้อยเอ็ด ฉะเชิงเทรา และยะลา ทำให้พบสถานการณ์ว่า อสม.ที่ยังมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่จะเป็น อสม.ชาย

       เมื่อพบสถานการณ์จึงนำไปสู่การโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดการลดละเลิก การสูบบุหรี่

       เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ พบว่า เหตุผลที่ อสม. สูบบุหรี่ เกิดจากความคิดว่า การสูบบุหรี่จะสามารถคลายเครียดได้ รองลงมาคือช่วยคลายความหงุดหงิด ไม่สบายใจ แก้เหงา บางส่วนระบุว่า เพื่อเข้าสังคม เกิดจากความเคยชิน

โดยกิจกรรมที่นำไปทำกับชุมชน จะเน้นในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การให้ความรู้ การสร้างต้นแบบที่ดี และการส่งเสริมให้ครอบครัวเข้ามาสนับสนุนด้านกำลังใจให้แก่ผู้ต้องการเลิกบุหรี่ให้สำเร็จ ความห่วงใยต่อคนใกล้ชิด

สิ่งสำคัญที่สุด คือ แรงสนับสนุนจากคนในครอบครัวโดยเฉพาะครอบครัวที่มีเด็กเล็ก

การทำกิจกรรมในพื้นที่ต่างๆ ทำให้พบว่า แรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้สามารถเลิกบุหรี่ได้ คือ กลุ่มตัวอย่างทราบว่าจะทำให้สุขภาพไม่ดี และ บุคคลใกล้ชิดอยากให้เลิก โดยเฉพาะผู้ที่มีลูกหลาน และหากคนในครอบครัวเข้าใจ และให้กำลังใจก็จะสามารถทำได้สำเร็จมากขึ้น

ด้านกิจกรรมที่มีผลในการเลิกและลดบุหรี่ คือ การอบรม และ การชมวีดีทัศน์ที่เป็นผลกระทบเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ รวมถึงการสร้างต้นแบบในการเลิกสูบบุหรี่ เพราะ อสม.ถือว่ามีบทบาทสำคัญทางสุขภาพ เมื่อเกิดความตระหนักและสังคมร่วมกันสนับสนุนการเลิกอย่างจริงจังก็ทำให้เกิดผลสำเร็จขึ้นได้

การเลิกสูบบุหรี่ในกลุ่มตัวอย่าง จึงได้ผลดีจากการทำกิจกรรม การให้ความรู้ เสริมแรงสนับสนุนจากครอบครัว และสังคม จึงนำมาสู่ความสำเร็จได้ โดยเฉพาะกำลังใจจากครอบครัวถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดแรงจูงใจ และเกิดความพยายามในการเลิกบุหรี่

เพื่อต้นแบบที่ดีของชุมชน

 

เว็บไซต์ที่เผยแพร่

http://www.trc.or.th/th/%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/567-2014-01-21-14-43-07.html

3 ก.พ. 57

ศจย.

ข้อมูลโดย: หริสร์ ทวีพัฒนา

หมายเลขบันทึก: 560848เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2014 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2014 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณที่ช่วยกันดูแและรณรงค์ค่ะ


...ช่วยกันรณรงค์...การเลิกบุหรี่ ..+ ยาเส้นพื้นบ้าน + บุหรี่ใบจาก นะคะ




ขอบคุณค่ะ ที่ช่วยกันรณรงค์ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับยาเส้น

เมื่อเดือนสิงหาคม 2555 จะมีการขึ้นภาษียาเส้น แต่ภาษียาเส้นที่ขึ้นก็เพียงทำให้ราคาขายปลีกยาเส้นเพิ่มจากซองละห้าบาทเป็นซองละหกบาทเท่านั้น ซึ่งนับว่าราคาบุหรี่ยาเส้นยังถูกมาก และเนื่องจากภาษีและราคาบุหรี่เป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการริเริ่มการสูบบุหรี่ ซึ่งก็คือเด็กวัยรุ่น ประเทศไทยจึงมีหนทางอีกยาวไกลในการที่จะลดจำนวนผู้สูบหน้าใหม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท