"สติ" เป็นคำที่พูดง่าย แต่ทำยาก


คนทั่วไป ชอบพูดง่ายๆว่า "จงมีสติ" หรือ "อย่าขาดสติ"

หรือ แม้แต่ภาษากฏหมาย "ทำด้วยอาการขาดสติ" ก็ได้ยินบ่อยๆ

พูดยังกะว่า "สติ" เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายๆ และ "การขาดสติ" เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น หรือ ไม่น่าเกิดขึ้นอย่างนั้นแหละ

ทั้งๆที่ สติ มีความหมายลึกซึ้ง แยกแยะได้หลายระดับมาก
ที่ขึ้นอยู่กับระดับความรู้ และความเข้าใจ สิ่งต่างๆที่มีในธรรมชาติ
ทั้งระดับกายภาพ และจิต-วิญญาณ

จนอาจพูดได้ว่า ถ้าจะพูดแบบ "โต้วาที" เพื่อเอาชนะกันนั้น คนส่วนใหญ่ "ขาดสติ" กันทั้งนั้น

เพราะ ที่จริง คำที่พ่วงต่อและควรอยู่ด้วยกันเสมอ

สำหรับคนที่มี "สติ" ก็คือ "สติ" และ "สัมปชัญญะ"

และคำว่า สัมปชัญญะ ก็ยังมีแขนงย่อย แบบใหญ่ๆ หลักๆ ออกอีก 4 สาขา คือ 
1. รู้ชัดว่ามีประโยชน์ (หรือตระหนักในจุดหมาย)
2. รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ (หรือตระหนักในความเหมาะสมเกื้อกูล )
3. รู้ชัดว่าเป็นโคจร (หรือตระหนักในแดนงานของตน)
และ
4. รู้ชัดว่าไม่หลง (หรือตระหนักในตัวเนื้อหาสภาวะ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน)

แค่หลักใหญ่ๆทั้ง 4 นี้ ก็จะพอนึกออก ว่า เราอาจจะ "ขาดสติ" ได้โดยง่าย

ดังนั้น จึงเป็นธรรมดามากๆ ที่คนเราจะ "ขาดสติ"

ในหน้าที่ของ "มนุษย์ (ผู้มีจิตใจสูง) เราจึงต้อง "พยายาม" เจริญสติ เนืองๆ 

แค่เริ่มที่ "สัมปชัญญะ 4" นี้ก่อนก็ได้ครับ

แต่ในหลักธรรมนั้น มีอีกเป็นร้อยๆประเด็นครับ

อย่าพูดพล่อยๆ แบบ "ขาดสติ" ครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 559799เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2014 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2014 07:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เห็นด้วยค่ะ "สติ" คำสั้น ๆ เขียนง่าย ๆ แต่รักษาสติให้มีอยู่ตลอดได้ยากจริงๆ ต้องอาศัยการฝึกฝน หมั่นตามดูรู้กายใจเสมอ ๆ ถ้าเผลอสติก็หาย ยิ่งหากโกรธมาก สติขาดได้ง่ายจริง ๆ ค่า

อ่านข่าวสารบ้านเมืองช่วงนี้ผมได้มีโอกาสฝึกสติ (และสัมปชัญญะ) เยอะทีเดียวครับ

จาก "ไหว้พระเก้าวัด"

สัมมาสติ

...องค์พระ"สอง" "ครองสติ" ผลิสำนึก
พิศเพ่งฝึก รอบคอบ ผิดชอบไสว
มิปล่อยลอย พลอยพยัก โลกีย์ไป
ดำรงไว้ "รู้ตัว" ชั่วฤๅดี

พูด พล่อยๆ..แถมเพ้อเจ้อ..น่าจะ..เป็นหนทางลัดที่เดิน..ไปสู่.."สุขคติ"..ได้อย่างรวดเร็ว..อ้ะะะะะะ...(จึงมีผู้..หลงเชื่อ..กัน..เป็นจำนวนหนึ่ง...ที่ขาด..สติ...มั้งงง....)...

Like "จิต วิญญาณ" (citta & vi~n~naana), "สติ & สัมปชัญญะ" are both very difficult to understand and differentiate.

I used to play badminton with my partner. I had physical advantages and practical experiences, but I payed for exercise in mind - not winning or showing off. My shots were aimed at making my partner reach out for a little more while keeping the shuttle cock well within the confinement of the court. I kept in mind that I could learn to be more accurate in play and raising my skill as well as my partner skill in a friendly and enjoyable game. We played every evening well into sunset for many months before a dead tree fell on my right foot and crippled me for a few months.

Now I no longer have physical advantages over my partner and my eyes are also failing. Badminton is no longer a game we play for enjoyment of full awareness but it is a game we both struggle to keep the play moving on.

In both cases awareness and comprehension (สติ & สัมปชัญญะ) of the situation are there! They are not so difficult to achieve using a game as a medium for practice.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท