การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นตามกฎหมาย


สวัสดีครับชาวBlog ทุกท่าน 

เนื่องจากมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศได้จัดโครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นตามกฎหมาย เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทย และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 

โดยมีการจัด Focus Group ครั้งที่ 1 กลุ่มภาคเหนือ ณ โรงแรมอโมร่า ท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 17 มกราคม 2557

Focus group ครั้งที่ 2  กสทช. กลุ่มภาคตะวันออก ณ โรงเเรมไดอาน่าการ์เด็นรีสอร์ท พัทยา จังหวัดชลบุรี

                  วันที่ 24 มกราคม 2557

Focus group ครั้งที่ 3  กสทช. กลุ่มภาคกลาง ณ โรงเเรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี วันที่ 31 มกราคม 2557

Focus group ครั้งที่ 4  กสทช. กลุ่มภาคใต้ ณ โรงเเรมดิโอวาเลย์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557 

Focus group ครั้งที่ 5  กสทช. กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ โรงเเรมสยามเเกรนด์ จังหวัดอุดรธานี

                  วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557

Focus group ครั้งที่ 6  กสทช. กลุ่มภาคตะวันตก ณ  โรงแรมเดอะเลกาซี่ ริเวอร์แคว รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 

 

ภาพบรรยากาศ Focus Group ครั้งที่ 1 กลุ่มภาคเหนือ ณ โรงแรมอโมร่า ท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 17 มกราคม 2557

 

 

 

 

ภาพบรรยากาศ Focus Group ครั้งที่ 2 กลุ่มภาคตะวันออก ณ โรงเเรมไดอาน่า การ์เด็น รีสอร์ท พัทยา จังหวัดชลบุรี 

วันที่ 24 มกราคม 2557

 

 

 

ภาพบรรยากาศ Focus group ครั้งที่ 3  กสทช. กลุ่มภาคกลาง ณ โรงเเรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี วันที่ 31 มกราคม 2557

 

 

Focus group ครั้งที่ 6  กสทช. กลุ่มภาคตะวันตก ณ  โรงแรมเดอะเลกาซี่ ริเวอร์แคว รีสอร์ท จังหวัดกาญจนบุรี วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557 

หมายเลขบันทึก: 559485เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2014 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2014 14:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) กลุ่มภาคเหนือ

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล

กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นตามกฎหมาย

ณ โรงแรมอโมร่า ท่าแพ จ.เชียงใหม่

17 มกราคม 2557

อ.จีระ : ผมเคยตั้งสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายอยากให้คนไทยอยู่ดีกินดี มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม

- วิทยุกระจายเสียง ต้องตั้งคำถามว่ามีเพื่ออะไร

- ประโยชน์ที่แท้จริง คือ ทุกคนต้องได้ประโยชน์

- คลื่นวิทยุ เป็นสมบัติของประเทศ กสทช.ต้องบริหารจัดการ

- การวิจัยไม่ได้เกี่ยวกับกฎหมายโดยตรง เกี่ยวกับการบริหารจัดการ เศรษฐกิจ สังคม

- ขอให้ทุกท่านทำให้วิทยุเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย

- วันนี้เทคโนโลยีเป็นหัวข้อหนึ่งที่จะต้องพิจารณา

-ข้อดีของวิทยุ ผู้ประกอบการเป็นรายเล็กได้ เป็นเทคโนโลยีที่ไม่แพง ต้องมีสาระและให้ประโยชน์แก่ประชาชน แต่ทำอย่างไรถึงจะทำให้สิ่งเหล่านี้กระจายไป และทำประโยชน์ให้ประชาชนอย่างแท้จริง อะไรเป็นจุดอ่อนในอดีตและอนาคต

-ในประเทศสวีเดน และนอร์เวย์ ทำให้ประชาชนของเขาฉลาดขึ้น (Wiser Citizen)

- ขอสรุปว่าในวันนี้หากเราต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนที่มาเข้าร่วมประชุมในวันนี้ ตัวเราต้องถามตัวเองก่อนว่ามีความรู้จริงหรือไม่ในการทีจะไปถ่ายทอดความรู้ต่อ ขอเสนอแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาฝึกอบรม ทั้งเรื่องเทคโนโลยี Social media เน้นเรื่องระบบ 3 ต. คือ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

- ประเทศที่เจริญแล้ว คืออยากทำให้ประชาชนในประเทศฉลาดขึ้น เห็นอะไรถูก ผิดก็ต้องบอก สื่อต้องเป็นหลัก เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มองอนาคต มองความยั่งยืน รักษาความหลากหลายไม่ใช่เป็นเป้าหมายในการทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

- วิทยุเป็นเครื่องมือที่ถูกและสามารถกระจายได้ง่าย และสามารถเผยแพร่กระจายความรู้เรื่องสาระ ความรู้ได้ดีมาก ปัญหาในปัจจุบันนี้คือคลื่นวิทยุชุมชนทับซ้อนกับคลื่นวิทยุการบิน ถือเป็นปัญหาใหญ่

ความคิดเห็น: คุณมงคล คลื่นเสียงประชาชน จ.ลำพูน ตามกฎหมายไม่มีการบังคับเรื่องการใช้ภาษาของสื่อ แต่หากมีการขอให้สอบผู้ประกาศ ก็ยินดี การคิด การทำอะไรให้สังคมให้ตรงตามความต้องการของสังคมเป็นสิ่งที่ต้องทำ

ศุภชัย ยะคำป้อ : เครื่องบินที่บินผ่านไปผ่านมา สามารถรับคลื่นชุมชนได้ทุกคลื่น ต้องมีการลดปัญหา ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง

คุณพิชญ์ภูรี: ขอเริ่มด้วยงานวิจัย และขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมวันนี้ การพัฒนาวิทยุกระจายเสียงและพัฒนาทุนมนุษย์ บางสถานีก็ไม่มีใบอนุญาต จึงเกิดปัญหาที่ต้องคุยกัน ซึ่งตามที่คุณสาธิตบอกว่าเราทำไปด้วยความไม่รู้ว่าไปรบกวนวิทยุการบิน อยากให้ทุกคนเป็นแนวร่วมกันต่อไป

ขอนำเสนอภาพรวมสถานการณ์ปัจจุบันของวิทยุกระจายเสียง

ความเป็นมา

พ.ศ. 2470 - ถือกำเนิด

พ.ศ. 2473 - สถานีวิทยุแห่งแรกของไทยสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท

ความมุ่งหมายเพื่อ “ส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย และการบันเทิงแก่พ่อค้าประชาชน”

สภาพการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2475- 2500

ยุคชาตินิยม/ข่าวสารสงคราม/โฆษณาชวนเชื่อ

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2407 – สถานีวิทยุเชิงพาณิชย์แห่งแรก คือ สถานีวิทยุกระจายเสียง ททท.

- พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยจอมพลสฤษดิ์เริ่มยุคการค้าในระบบอุปถัมภ์โดยเผด็จการทหาร

สภาพการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2511- 2520

การจัดระเบียบว่าด้วยวิทยุฯ ของทางราชการ

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2520 – มติรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์

ก่อตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย(อสมท.)

ความพยายามที่จะรวบอำนาจการควบคุมวิทยุกระจายเสียงมาไว้ในกรมประชาสัมพันธ์

สภาพการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2532- 2540

ยุคอุตสาหกรรมการสื่อสารระบบทุนนิยมเสรี

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2532 – การเปลี่ยนแปลงให้เอกชนรับสัมปทาน หรือ เช่าช่วงเวลาจากรัฐ

มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด

พ.ศ.2540 – การปฏิรูปสื่อโดยรัฐบาล คมช.

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนปฏิรูป

กรรมสิทธิ์ในความถี่- เป็นของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะรัฐโดยส่วนราชการ ธุรกิจเอกชน และชุมชนมีสิทธิ์ใช้และเข้าถึงได้โดยเท่าเทียมกัน

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงภายหลังการปฏิรู

ใบอนุญาตคลื่น- เป็นของผู้ประกอบการโดยได้รับอนุญาตจากองค์กรอิสระ กสทช.ตามพรบ. องค์กรคลื่นและพรบ.กิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ.2543

- ในมาตรา 12 พรบ.กิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. 2543 ให้สิทธิ์แก่กรมประชาสัมพันธ์ในการใช้คลื่นความถี่วิทยุ-โทรทัศน์

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนการปฏิรู

ใบอนุญาตประกอบการสถานีวิทยุ(โทรทัศน์)

- ส่วนราชการไม่ต้องขอใบอนุญาต ได้รับยกเว้นตาม พรบ. วิทยุและโทรทัศน์ 2498

- เอกชนต้องขออนุญาตจาก กกช. กรมประชาสัมพันธ์ตาม พรบ.วิทยุและโทรทัศน์ 2498 และกฎกระทรวงฉบับที่ 14

- ส่วนราชการอาจดำเนินการบริหารสถานีเองหรือให้สัมปทาน (เวลา) แก่เอกชนทั้งหมดหรือให้เพียงบางส่วนและผลิตรายการเองบางส่วน

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงภายหลังการปฏิรูป

- เป็นของผู้ประกอบการโดยได้รับอนุญาตจากองค์กรอิสระ กสช. ตาม พรบ.องค์กรคลื่นความถี่ และพรบ.กิจการวิทยุและโทรทัศน์ฯ ซึ่งแบ่งประเภทใบอนุญาตเป็น

1.สื่อของรัฐ (บริการสาธารณะ)

2.สื่อของธุรกิจเอกชน(ค้ากำไร)

3.สื่อของภาคประชาชน (ไม่ค้ากำไร) เช่นสื่อชุมชน

ข้อสังเกต : มีการกระจายการใช้และการเข้าถึงคลื่นออกไปสู่ภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชนโดยตรง ลดการผูกขาดของรัฐลงไป ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนการปฏิรูป

การให้สัมปทาน : - ส่วนราชการให้สัมปทานแก่เอกชนที่เป็นบุคคล หรือผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทนายหน้าค้าเวลาหรือผู้ผลิตสื่อในลักษณะการเช่าเหมาทั้งคลื่นหรือการประมูลคลื่น โดยอาจมีสัญญาหรือไม่มีสัญญาสัมปทาน

- ในกรณีที่มีสัญญาเช่น การสร้างสถานีแห่งใหม่อาจมีเงื่อนไขแบบ BTO หรือ BOT และระยะเวลาสัมปทานค่อนข้างยาว 20-30 ปี (เช่น ช่อง 3,ไอทีวี)

ข้อสังเกต : มีผู้รับสัมปทานสองประเภท

1.นายหน้าค้าเวลา 2.ผู้ประกอบการสื่อและผู้ผลิตรายการ

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงหลังการปฏิรูป

ยกเลิกระบบการให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชน โดยส่วนราชการต่าง ๆ เปลี่ยนมาเป็นระบบการได้รับใบอนุญาตโดยตรง

ข้อสังเกต : ลดความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ระหว่างส่วนราชการและธุรกิจเอกชน ในทางเศรษฐกิจและการเมืองทำให้ระบบโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกมากขึ้นโดยเอกชนต้องรับผิดชอบเนื้อหาสาระรายการ

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนการปฏิรูป

การให้เช่าเหมาเวลา

ส่วนราชการให้เอกชนที่เป็นบริษัทนายหน้าค้าเวลา เช่าเหมาเวลา (สถานีวิทยุ) ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการนำเวลาไปให้เช่าต่อโดยแบ่งเป็นช่วงเวลา (เช่น 2,4,6,8 ชม./วัน/เดือน) ให้ผู้ผลิตรายการขนาดกลางหรือรายการอิสระเช่าช่วงนำไปผลิตรายการ

บริษัทเอกชนผู้เช่าเหมารายใหญ่ มักมีสถานี 5-50 สถานีในเครือของคนข้อสังเกต : ผู้ประกอบการเช่าเหมาเวลาเป็นคนกลางจัดการด้านการตลาด ส่งผลให้เวลามีราคาแพง และกระจายไปทั่วถึง

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงหลังการปฏิรูป

การให้เช่าเหมาเวลา

ยกเลิกการเช่าเหมาและการเช่าช่วงเวลาโดยผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้รับผิดชอบบริหารเวลาการจัดและการผลิตรายการด้วยตนเอง

- กสทช.วางหลักเกณฑ์ส่งเสริมผู้ผลิตรายการอิสระและรายย่อยที่รวมตัวกันด้วยการให้ใบอนุญาตสถานีขนาดเล็กและขนาดกลางและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเช่าเหมาเวลาปรับฐานะเป็นผู้รับใบอนุญาตโดยการรวมกลุ่มผู้เช่าช่วงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสถานีหรือซื้อรายการจากผู้ผลิตเหล่านี้ และมีการแบ่งเวลาให้ผู้ประกอบการรายย่อย ตามกรอบของกฎหมาย

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงก่อนการปฏิรูป

ผู้ชมผู้ฟัง

แบ่งออกเป็น

1. ผู้ที่เป็นมวลชนกลุ่มใหญ่ตรงกับเป้าหมายของบริษัทโฆษณาสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น กลุ่มแม่บ้าน ,กลุ่มวัยรุ่น, กลุ่มเกษตรกร ซึ่งนิยมรายการบันเทิงประเภทละครตลกเบาสมอง/ดนตรี

2. ผู้ที่เป็นมวลชนหรือฐานการเมืองของรัฐ

3. ผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม เช่น นักธุรกิจ ชนชั้นกลางในเมืองใหญ่

สภาพการณ์ของระบบวิทยุกระจายเสียงหลังการปฏิรูป

ผู้ชมผู้ฟัง

แบ่งออกเป็น

1.ผู้ที่เป็นมวลชนกลุ่มใหญ่ ตรงกับเป้าหมายของบริษัทโฆษณา เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มเกษตรกร ซึ่งนิยมรายการบันเทิงประเภท ละคร ตลก เบาสมอง ดนตรี

2. ผู้ที่เป็นมวลชนหรือฐานการเมืองของรัฐ

3. ผู้ฟังเฉพาะกลุ่ม .ซึ่งกระจายหลากหลาย รวมทั้งกลุ่มผู้รับในท้องถิ่น

4. กลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มต่าง ๆ จะมีโอกาสได้รับชมรายการแบบทางเลือก

5. ประชาชนมีโอกาสใช้สิทธิ “พูด” ได้โดยตรงในกรณีที่ไม่ได้รับบริการจาก 1-4

การทัศนศึกษาและดูงาน ณ ประเทศสวีเดน และประเทศนอร์เวย์

ประเทศสวีเดน The Swedish Broadcasting Commission (SBC)

ปัญหาของการนำสื่อในทางที่ผิดค่อนข้างน้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องดูแลสิ่งที่ผิดจริยธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของกสทช.

ข้อสำคัญคุณภาพของประชาชนมีคุณภาพมาก บทบาทของรัฐในการดูแลคุณภาพวิทยุจะน้อย เพราะสถานีวิทยุสามารถดูแลกันเองได้ ต่างจากประเทศไทยที่ต้องให้บทบาทของภาครัฐดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะประเทศสวีเดนเน้นเรื่องการมี Freedom of speech

หน่วยงานของประเทศไทย ต้องมีการวิจัยวิเคราะห์ว่าถ้ามีการร้องเรียนจากประชาชนจะทำอย่างไร

กสทช.ไม่สามารถควบคุมดูแลรายการวิทยุได้ทั้งหมดเพราะมีจำนวนมาก

ส่วนประเทศนอร์เวย์ไม่ดูเรื่อง Content

สรุปได้ว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว Commissioner ปลอดจากการเมือง

ประเทศนอร์เวย์ ดูงานที่ The Norwegian Media Authority

  • -มีการวางแผนเรื่อง digital radioมาแล้ว 2 ปี มีทฤษฎี Migration ให้เวลาถึงปี2018
  • -มีความหวังในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกับประเทศไทย
  • -ข้อเสีย ประชาชนส่วนมากร่ำรวย วิทยุไม่มีปัญหาอะไร ดูแลเฉพาะสัญญาที่ไม่ถูกต้อง เงื่อนไขไม่ถูกต้อง แต่ไม่ดูเรื่อง Content ให้ผู้ประกออบการดูแลกันเอง
  • -2ประเทศ ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ของคน บางครั้งมีสื่อเข้าแทรกแซง

คนระดับรากหญ้าในประเทศไทยมีประมาณ 50-60% หากไม่สามารถพัฒนาคนได้ ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องวิทยุได้ ต้องยกระดับผู้ฟังให้เป็นคนที่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ตัดสินใจด้วยตัวเองได้ ต่อไปก็สามารถควบคุมได้ด้วยตัวเอง

การวิจัยครั้งนี้เป็นเส้นทางการพัฒนาคนในวงการวิทยุ ต้องพัฒนาคนฟังด้วย ถึงแม้จะมีจำนวนมากก็ตาม ต่างกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่สามารถควบคุมดูแลได้ด้วยตัวเอง ซึ่งวัดกันที่ฐานของปีระมิด

องค์กรในประเทศนอร์เวย์ดูแลเฉพาะการให้ใบอนุญาตเท่านั้น

ดูงานที่ The Norwegian Broadcasting Corporation (NRK)เน้นการทำงานเพื่อส่วนรวม ต้องการทำให้ประชาชนในประเทศฉลาดขึ้น

สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของประเทศไทยที่ยังมีการเหลื่อมล้ำ เรื่องเศรษฐกิจ ใช้สื่อในทางที่ผิด

สิ่งสำคัญที่สุดคือ เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา เน้นเรื่อง Infrastructure แต่ไม่เน้นเรื่องการพัฒนาคน การศึกษา มีอิทธิพลของการเมือง ไม่ลงทุนเรื่องคนอย่างแท้จริง หากเราทุ่มไปที่ประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่จะทำให้ประเทศพัฒนามาก

หน่วยงานบางหน่วยงานมีน้อยมาก ไม่ถึง 50 คนก็สามารถทำงานให้มีประสิทธิภาพได้

พื้นฐานของคนในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน โดยที่วิทยุจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ในแต่ละประเทศ

คุณพิชญ์ภูรี

กรอบคำถาม

วิทยุกระจายเสียง

1. เนื้อหา และการสร้างสรรค์รายการ ปัญหา ปัจจุบัน และในอนาคต

สภาพสถานการณ์ปัจจุบัน

คุณมงคล:

ปัญหาที่เกิดคือ ความไม่มั่นคงของสถานีวิทยุภาคประชาชน กฎหมายทำลายความเป็นธรรมชาติ ความสุขของการทำงาน มีการประมูลทำให้เกิดความวุ่นวายและสูญเสีย คือไม่สามารถแข่งกับผู้ที่มีเงินเยอะๆ ได้

ทางออกที่ไปประมูล ทำให้เกิดความวุ่นวายในอนาคต ขอเสนอเรื่องนี้ว่ากสทช.ควรรีบดำเนินการไม่ให้เกิดขึ้นอีก

คุณสถาพร:

เรื่องการพัฒนาคน ผมมาจากวิทยุชุมชนเล็กๆสามารถเปิดโอกาสให้ไปดูงานได้หรือไม่

อ.จีระ: เสนอมาได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้วิจัยเท่านั้น

คุณพิชญ์ภูรี: ขอเสนอให้มีความคิดเห็นเรื่องการวิจัยในกลุ่มภาคเหนือ

อาจารย์ปณพร:

เรื่องกฎหมายมาตรา 47 องค์การอิสระกสทช.จ้องมีการจัดให้เป็นเสรีและเป็นธรรม ประเภทบริการชุมชน กสทช.ต้องมีการจัดสรรให้ ส่วนประเภทธุรกิจ เอกชน ผู้เสียเปรียบคือรายย่อย มีการรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องสิทธิว่ากสทช.ต้องโอบอุ้มให้รายย่อยยังอยู่ได้

ในเรื่องเนื้อหา จากการวิจัย เรื่องวิทยุชุมชนมีบทบาทคือสถานีกระจายข้อมูลข่าวสาร ท้องถิ่น วิทยุบริหารชุมชน คือ รับใช้ชุมชน รับใช้ท้องถิ่น วิถีชีวิต เน้นสาระความรู้ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ของทางล้านนา

สัดส่วนผังรายการเน้น สาระความรู้ 70% บันเทิง 30%

อ.จีระ: หากไปสำรวจผู้ฟังภาคเหนือ เน้นศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา เคยมีการสำรวจมาแล้วหรือไม่

อาจารย์ปณพร:: ต้องเช็คทั้ง 2 ทาง คือ ผู้ฟัง ด้วย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำงานอยู่ที่บ้าน เน้นใช้ภาษาท้องถิ่น

อ.จีระ: สามารถยืนยันได้จากการดูงานเช่นกัน ถ้าผลวิจัยออกมาแล้ว

คุณพิชญ์ภูรี: ต้องใช้งบเท่าไหร่ในการจัดตั้งวิทยุชุมชน

อาจารย์ปณพร:: ทั้งประเทศ 80,000-100,000 บาทต่อปี หรือ 1-3 ปีแรกควรให้เท่าไหร่

บางท่านอยากให้มาจากกสทช. 50% และออกเอง 50%

คุณพิชญ์ภูรี: ความเป็นไปได้ในการรวมกลุ่มเป็นสมาคมและแบ่งเป็นช่วงเวลาอย่างยุติธรรม

อาจารย์ปณพร: ผังรายการที่จัดเป็นจิตอาสา ไม่ได้เป็นมืออาชีพ ไม่มีค่าตอบแทน คนที่ฟังก็เป็นคนในชุมชน ไม่สามารถแบ่งเป็นช่วงเวลาได้เพราะทุนต่างกันไม่เหมือนวิทยุเอกชน

วิทยุเอกชน การเมือง และอื่นๆที่ทับคลื่นมากมาย ไม่ใช่เฉพาะชุมชนเท่านั้น วิทยุชุมชนใช้ระบบอาสาสมัครเป็นหลัก ส่วนใหญ่วิทยุภาคเหนือ เปิด8 โมง ปิด 18.00 น. หรือขึ้นกับความพร้อมของชุมชนนั้นๆ

คุณ…… : ไม่สามารถจะไปแบ่งกลุ่มเชิงเทคนิค หรือ Time sharing อยากให้มองสภาพชุมชน อาชีพ ซึ่งมองแล้ววิทยุชุมชนแยกไม่ได้อย่างแน่นอน

รูปแบบของการจัดการต้องมีรูปแบบที่ชัดเจนและหลากหลายกันไป

คุณพิชญ์ภูรี: อยากให้ทุกคนหาทางออก ท่านใดเป็นชุมชนกึ่งธุรกิจ รวมถึงเรื่องการเมือง อยากให้ความเห็นกับเรื่องนี้

คุณมงคล: การแบ่งกลุ่มสมาคมก็ทำอยู่แต่ยังไม่เป็นไปได้ด้วยดี ต้องมีกสทช.เข้าร่วมกำกับด้วย การรวมแต่ละจังหวัด ยังไม่สำเร็จ วิทยุธุรกิจกึ่งชุมชน เป็นมืออาชีพไม่เดือดร้อน แต่วิทยุชุมชนจริงๆนั้นหาทุนจากการถอดผ้าป่า วิทยุธุรกิจ 90% ไม่สามารถแบ่งเวลาได้ ต้องออกเวลาเต็มๆ

การนำเสนอวิทยุธุรกิจชุมชน ต้องนำเหตุการณ์ของชุมชนออกข่าวทุกวัน แสวงหารายได้ และช่วยเหลือตัวเองได้และสามารถเข้าถึงชุมชนได้จริงๆ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละภาคส่วนด้วย

คุณพิชญ์ภูรี: คุณมงคลแบ่งออกจากที่จัดกลุ่มไว้ 3 กลุ่ม หากมีการประมูลก็กลัวว่าโอกาสเหล่านี้ก็หายไป

คุณมาณพ ชัยประสิทธิ์ กสทช.เชียงใหม่ : ไม่ต้องกลัวว่าหากเป็นระบบดิจิตอลแล้วไม่มีคลื่น เรื่องคลื่นรบกวนไม่ต้องกังวลเพราะปีนี้ต้องนำเครื่องไปตรวจมาตรฐานในด้านต่างๆ หรือเครื่องไทยทำ

คุณพิชญ์ภูรี: ขอกลับมาเรื่องเนื้อหกา

คุณกัณภัทร แม่แตง เชียงใหม่: เป็นวิทยุชุมชนสำหรับคนทำงานชาวไร่ ชาวสวน ที่ไม่มีเวลามาวัด อยากให้ธรรมะเข้าถึงทุกๆคน สิ่งที่ได้กลับมาคือ ร่วมจัดงานเป็นจำนวนมาก วัดไม่มีคลื่นรบกวน วัดไม่ได้ประโยชน์ ต้องการให้คนที่ต้องการได้บุญจริงๆ และจดทะเบียนกับกสทช.เรียบร้อยแล้ว

  • -ผู้ฟัง (ชุมชน และชุมชนกึ่งธุรกิจ)

คุณพรชัย 103.25 : วิทยุชุมชนนั้นศักยภาพของผู้ที่บริหารจัดการเป็นความยากลำบาก เพราะสังคมเปลี่ยนไป การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครเริ่มหายาก ได้นำเสนอว่า แต่ละชุมชนมีศักยภาพที่ไม่เสมอกัน

มีการนำเสนอว่า นำสิ่งๆดีๆแต่ละช่องมาไขว้กัน ระหว่างสถานีวิทยุชุมชน ผ่านเทคโนโลยีด้านอินเตอร์เนต ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน ถ้าเรามีสถานีกลางจะเป็นไปได้หรือไม่ ในทางกฎหมายจะเป็นได้หรือไม่ แต่การไขว้กันก็มีโอกาสเป็นไปได้ ทุกชุมชนที่ไขว้กันก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด

อ.จีระ : อยากให้เสนอโครงการทรัพยากรมนุษย์ของชุมชน ซึ่งในอนาคตต้องเป็นชุมชนที่อยู่ในโลกาภิวัตน์ด้วย

อาจารย์...... : กลยุทธ์ลักษณะของสื่อที่สร้างศรัทธาให้ประชาชน หากกสทช.ไม่กำกับดูแล ก็อาจจะมีคลื่นของวัดออกมากมายก็เป็นไปได้

คุณพิชญ์ภูรี: ต้องเน้นผู้ฟัง และต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย

คุณมาณพ ชัยประสิทธิ์ กสทช.เชียงใหม่: มีการกำหนดอยู่แล้วว่าต้องมีการ Monitor สถานีนั้นๆ ถ้ามีสถานีไหนที่คนร้องเรียน ก็ต้องตรวจสอบก่อน คือ เตือน และ ถอนใบอนุญาต

ทางสถานี Monitor กันเองอยู่แล้ว มีเรื่องร้องเรียนกันมาทุกวัน

คุณ : นอกจาก Monitor แล้ว ต้องมีการ Training ด้วย รายการวิทยุต้องให้ประโยชน์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือจัดอบรมบ้าง

คุณนักจัดรายการ: นักจัดรายการบางคนไม่มีคอนเซปของตัวเอง การแก้ไขต้องแก้ที่ตัวบุคคล ว่าต้องดูแลบุคลากรด้วย เวลามีการเตือนก็เตือนมาที่นายสถานี ไม่ได้เตือนนักจัดรายการ

คุณพิชญ์ภูรี: นักจัดรายการเป็นผู้ส่งข่าวความรู้ เป็นนักวิเคราะห์เองด้วย

ดนุพิทย์ เทวิน ผู้นำท้องถิ่น: อยากให้ยืนอยู่ในหลักของคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ และภาษาที่จะใช้ ในช่วงปีใหม่มีนักจัดรายการนำเสนอในการใช้ภาษาคำเมือง แต่มีข้อตำหนิคือ ใช้ภาษาไม่ได้ 100%

คุณมงคล ชัยวุฒิ : ในระยะต่อไป ผู้จัดรายการต้องมีวิธีการจัดข้อมูลเพื่อนำเสนอ วัตถุดิบเหล่านั้นต้องผ่านความคิดสร้างสรรค์ ทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านั้นน่าสนใจ สถิติพบว่าคนเสพสื่อวิทยุน้อยลงเรื่อยๆ ถ้าไม่แก้ไขเรื่องนี้

คุณมงคล ยองเพชร: วิทยุธุรกิจ การไขว้กันจะยาก แต่สิ่งที่จะนำเสนอการตั้งกรอบ ต้องมีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ เด็กสมัยใหม่ไม่รู้คำเมืองเก่าๆ

อาจารย์ : Case จากทางสถานี คือเรื่อง Content วัตถุประสงค์ ไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ เนื่องจากไม่เคยปฏิบัติ เครือข่าย 10 สถานี 12.00-13.00 เป็นข่าวจากหลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ซึ่งเกิดเป็นเครือข่ายได้

คุณสาธิต: ปัญหาที่เกิดคนสร้างสื่อ สื่อสร้างคน คนเรารู้กรอบกติกา แต่ไม่ทำกรอบกติกาทุกคน ถ้าคนสร้างสื่อเป็นคนดี คนที่รับสื่อก็ต้องดี ถ้าทุกคนอยู่ในกรอบ การกำกับของกสทช.ก็ง่ายขึ้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่กฎหมาย แต่อยู่ที่ตัวคน

อ.ประสพสุข: การส่งกระจายเสียงวิทยุ มีวิทยุชุมชนกึ่งธุรกิจอยู่ภายใต้ ถึงแม้จะเป็นแปดหมื่น ถึง หนึ่งแสนบาท เมื่อจำเป็นต้องเอาโฆษณาเข้ามา วิทยุชุมชน ก็คิดเช่นเดียวกับวิทยุชุมชนกึ่งธุรกิจแม้ว่ากสทช.จะบอกว่าเรื่องที่แข่งขันกันนั้นก็ผิดกฎหมายกันทั้งคู่ ปัญหาของกสทช.ก็มีปัญหาตรงที่ไปกำกับดูแลไม่ได้ บางท่านเสนอเรื่องการลดค่าใช้จ่ายของวิทยุชุมชน โดยการไขว้สถานี ซึ่งเป็นทางการแก้ปัญหาหนึ่ง แทนที่จะใช้วิทยุไททัม ทั้งหมดขึ้นอยู่กับคุณภาพของบุคลากร หมายถึงทุกๆฝ่าย จริงๆแล้วควรให้ความร่วมมือระหว่างกันมากกว่าร้องเรียนกันเอง เพราะฉะนั้นจริยธรรม จรรยาบรรณของกลุ่มแรก คือ ผู้บริหารสถานีเกี่ยวข้องกับผู้บริหารสถานี รวมกันเป็น Self-regulate หรือให้กสทช.เป็นตัวกลาง ความร่วมมือจะนำไปสู่ Win win solution

กลุ่มที่ 2 คือ นักจัดรายการ ต้องมีจรรยาบรรณของนักจัดรายการที่ต้องได้รับการพัฒนา

กลุ่มที่ 3 Media regulator ผู้ฟังควรรู้สิทธิของตัวเอง ควรจัดรายการประเภทไหนถึงถูกใจคนฟัง

ประเด็นสุดท้ายวิทยุชุมชนเป็นสื่อที่ให้ความรู้ พัฒนาสติปัญญาของชุมชน ผู้สูงวัย คือผู้ทำงานอยู่ที่บ้าน ต้องคิดว่าทำอย่างไรถึงพัฒนาวิทยุชุมชนให้ถูกใจกลุ่มเยาวชนและเด็กๆบ้าง

กลุ่มภาคเหนือ มีปัญหาเรื่องการรวมกลุ่มที่ไม่เป็นเอกภาพ อยากให้กสทช.เป็นแกนกลางของกลุ่มวิทยุชุมชนในภาคเหนือ เพื่อความเป็นปึกแผ่นมากกว่าให้เขาทำกันเอง

คุณวรวุฒิ: ขอใช้มาตรฐานเป็นตัวนำ ต้องมีการพัฒนามาตรฐาน กระบวนการในการพัฒนาและปฏิรูปต้องดูว่ามีอะไรบ้าง ผู้ส่งสาร ไม่ใช่เรื่องคนอย่างเดียว เรื่องอุปกรณ์ส่ง เรื่องสถานะส่ง ถ้าผู้ส่งมีมาตรฐานพอ ก็มองเรื่องผู้ฟังเป็นเรื่องรอง

อ.จีระ: การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย 8K’s + 5K’s และการบริหารทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ

Standard มีมาตรฐาน

Quality มีคุณภาพ

Excellence มีความเป็นเลิศ

Benchmarking เทียบเคียงกับคู่แข่งได้

Best Practice เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด

8 K’s : ทฤษฎีทุน 8 ประเภทพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5 K’s (ใหม่) : ทฤษฎีทุนใหม่ 5 ประการเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

บรรยากาศของการเรียน 4L’s

Learning Methodology วิธีการเรียนรู้

Learning Environment บรรยากาศการเรียนรู้

Learning Opportunities โอกาสการเรียนรู้ มีการประทะกันทางปัญญา

Learning Communities ชุมชนแห่งการเรียนรู้

ทุกวันนี้ต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ต้องข้ามศาสตร์

คุณสมศักดิ์: มีการร้องเรียนไปที่ CALL CENTER ถ้าเรื่องอาหารและยา ถามสาธารณะสุขจังหวัดว่าออกได้หรือไม่ ปัญหาเรื่องการร้องเรียนก็ลดลง กสทช.เขต วิทยุชุมชนต้องรู้จักเพียงพอต่อความต้องการ อยากให้มูลนิธิจัดการอบรมแบบนี้อีก

การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) กลุ่มภาคตะวันออก

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง

บริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557

โรงแรมไดอาน่า รีสอร์ท การ์เด้น จ.ชลบุรี

คุณพิชญ์ภูรี: เนื้อหาวันนี้เพื่อนำไปสู่แผนพัฒนากิจการกระจายเสียง ถ้าเห็นว่าแบบสอบถามขาดด้านไหนไปก็ขอให้ทุกท่านช่วยร่วมกันปรับปรุง

วันนี้มีการแชร์ประสบการณ์ที่ได้ไปดูงานที่นอร์เวย์ สวีเดน

ศ.ดร.จีระ: ขอขอบคุณผู้ประกอบการวิทยุ เจ้าของสถานี ผู้นำท้องถิ่น ผู้แทนเมืองพัทยา หากเรามีสื่อวิทยุที่มีประโยชน์ต่อประเทศทำให้สังคมดีขึ้น ทำให้คนมีความรู้มากขึ้น อย่างเช่นประเทศนอร์เวย์สวีเดนสื่อวิทยุทำให้คนในประเทศฉลาดมากขึ้น ประเทศไทยก็ควรจะพัฒนาสื่อวิทยุให้มีประโยชน์ต่อประชาชนเช่นกัน วันนี้ไม่ได้ทำเฉพาะ Focus group อยากมองถึงอนาคตร่วมกันในเรื่องของการพัฒนาสู่อาเซียน

กสทช.เป็นองค์กรที่มีภารกิจหลายอย่าง เรื่องวิทยุเป็นเรื่องสำคัญ มูลนิธิดูแลเรื่องวิจัยฯ เป้าหมายคือ เรามาที่นี่เพื่ออะไร What need to be done

สื่อต้องทำให้สังคมดีขึ้นเช่น ประเทศ สวีเดน นอร์เวย์ยังเปิดโอกาสให้พวก Immigrant จากอิหร่านเปิดโอกาสให้ทำวิทยุชุมชน วิทยุจึงเป็นเทคโนโลยีที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย

ผู้ประกอบการวิทยุต้องพัฒนาศักยภาพของคน การใฝ่รู้ ต้องมีแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต้องพัฒนาตัวเอง และต้องมีคุณธรรมจริยธรรม

กสทช.ดูแลสื่อทุกชนิด เป็นองค์กรที่มีอิทธิพลมาก แต่ต้องถามว่าทำให้สังคมเป็นสังคมที่ฉลาด ทันเหตุการณ์ เขาถึงประชาชน แล้วหรือยัง

ในฐานะทีเป็นหัวหน้าทีมวิจัย ทุกท่านที่เสนอแผนวันนี้ เป้าหมายหลักคือช่วยกันให้ความเห็นว่าเส้นทางเดินนโยบายของวิทยุจะเป็นอย่างไร อยากให้ทุกคนมีส่วนร่วม ขอบคุณผู้แทนทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และทำอย่างต่อเนื่อง

ถ้าเราสามารถพัฒนาคนให้เป็นรูปธรรมได้ วงการวิทยุจะดีกว่านี้อีกมาก ควรมีองค์กรที่นำไปสู่เป้าหมายของประชาชน ทั้งเรื่อง

การเมือง

เทคโนโลยี

เศรษฐกิจ

สังคม

เสนอแนะโครงการที่จะพัฒนาทุนมนุษย์ในวงการวิทยุ เช่น ที่เชียงใหม่มีการถกเถียงเรื่องการสอบใบผู้ประกาศวิทยุ

ถ้าเราจะพัฒนาทุนมนุษย์แล้วต้องคิดว่า purpose ของเราอยู่ที่ไหน

อ.ทำนอง : เป้าหมายของวันนี้คือ

1. สภาพปัจจุบันว่าสถานการณ์กิจการกระจายเสียงตอนนี้เป็นอย่างไร ทั้งเรื่อง

- การเมือง

- เทคโนโลยี

- เศรษฐกิจ

- สังคม

2. มาตรฐาน เป็นอย่างไร

3. ความต้องการของชุมชนประชาชน ว่าต้องการอะไร โดยเฉพาะผู้ประกอบการ

4. เรื่องกฎหมาย

- เพื่อการสร้างสรรค์

- เพื่อความปลอดภัย

- เพื่อประโยชน์สาธารณะ

ดร.จีระ: ในสถานการณ์ปัจจุบัน ต้องเน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก 2 ประเทศ คือ นอร์เวย์ และสวีเดน คือ พลเมืองสามารถเช็คกันเองได้ นั่นก็คือ พื้นฐานของทรัพยากรมนุษย์ของสังคม สามารถSanction กันเอง Commissioner ของเขาทำเรื่องสัญญา แต่ไม่ดูเรื่อง Content ซึ่งต่างจากประเทศไทยที่กสทช.ต้อง Monitor ทุกเรื่อง

ปัญหาของไทย คือ ทำอย่างไรที่จะแก้ปัญหาปีระมิดข้างล่าง กสทช.ต้องพัฒนาพื้นฐานผู้ฟัง ในอนาคตคงต้องใช้เวลา 10-20 ปี

สวีเดน เป็นองค์กรที่ไม่ได้อิสระแบบกสทช. ไม่ได้เลือกวุฒิสมาชิก แต่รัฐบาลเป็นผู้โปร่งใส งบประมาณได้รับโดยตรงจากภาษีอากรของประชาชน พลเมืองเป็นผู้ที่มีฐานความคิด คิดเป็นวิเคราะห์เป็น มีคุณธรรม จริยธรรมต่างกับไทยที่ยังมีการเอารัดเอาเปรียบ หรือเรียกว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา หน้าที่ของพวกเราคือต้องร่วมกัน Monitor ร่วมกันตรวจสอบ

คุณพิชญ์ภูรี: พ.ศ. 2473 เริ่มทดลองออกอากาศครั้งแรกในประเทศไทย สถานีวิทยุแห่งแรกของไทยสถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท

วัตถุประสงค์ คือ ความมุ่งหมาย “ส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย และการบันเทิงแก่พ่อค้าประชาชน”

พ.ศ. 2475- 2500 เป็นช่วงแรกของการดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียง เป็นยุคชาตินิยม อำนาจอยู่ในมือทหาร ออกพ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อสถานีวิทยุเชิงพาณิชย์แห่งแรกสถานีวิทยุกระจายเสียง ททท.

พ.ศ. 2511-2520 การจัดระเบียบว่าด้วยวิทยุฯ ของทางราชการ

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2520 – มติรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ก่อตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.)

วัตถุประสงค์ ความพยายามที่จะรวบอำนาจการควบคุม วิทยุกระจายเสียงมาไว้ในกรมประชาสัมพันธ์

ปัญหาที่เริ่มเกิด คือ ด้านผลประโยชน์

สภาพการณ์ระหว่าง พ.ศ. 2532- 2540ยุคอุตสาหกรรมการสื่อสารระบบทุนนิยมเสรี

เหตุการณ์สำคัญ

พ.ศ.2532 – การเปลี่ยนแปลงให้เอกชนรับสัมปทานหรือ เช่าช่วงเวลาจากรัฐ การเติบโตแบบก้าวกระโดดที่ไม่เปิดเผยคือระบบอุปถัมภ์ นายทุนใช้เงินเยอะ ในการเช่าช่วงเวลา

พ.ศ.2540 – การปฏิรูปสื่อโดยรัฐบาล คมช.

การเตรียมพร้อมสู่ DIGITAL RADIO ต้องมีการเตรียมพร้อมเรื่องคลื่นความถี่ ข้อมูลวันนี้ทำให้กสทช. รับข้อมูลได้ดีขึ้น

ผอ.เจษฎา สุขนิยม กสทช.เขต 5 จ.จันทบุรี:

ปี 50 พ.ร.บ. ออกมาให้เหลือองค์กรเดียว หน้าที่ปัจจุบัน คือ กำดับดูแลทางด้านปลายน้ำ

เรื่องจริงของกัปตันเวลาบินผ่านประเทศไทย นักบินจะได้ยินเสียงโฆษณาจากประเทศไทยในวิทยุการบิน ซึ่งต้องมีการบังคับใช้กฎหมายกับทางสถานีทั้งหมด 454 สถานี ในจันทบุรี

การประมูล 3 จี ทีวีดิจิตอล 24 สถานี เงินไปไหน ซึ่งเราต้องช่วยกันร่างกฎเกณฑ์กติกาเพื่อพัฒนาประเทศไทย เพื่อปฎิรูปจากอะแนลอค ไปเป็นการใช้ใบอนุญาตตอนนี้เปลี่ยนผ่านมาแล้ว 27 สถานี

การกำกับดูแล ที่ดีที่สุด คือต้องการเรื่อง Self-regulator ต้องคิดว่าเราจะทำอย่างไรได้บ้าง

เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียง พรบ. วิทยุ 2518 พรบ. จัดสรรคลื่น 2553 หน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดจำเป็นต้องเชิญมาเพื่อมาพูดเรื่องการกำกับดูแลโฆษณาชวนเชื่อ

กรณีที่เจ้าหน้าที่กสทช.ของคณะเทคนิคไปพบทุกท่าน เราไปพบด้วยความจริงใจ ขอความร่วมมือจากทุกท่าน เพื่อไม่ให้ไปรบกวนกับกิจการอื่น หรือ วิทยุการบิน เพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่ถูกต้อง

ปัญหาด้านกฎหมาย จากการปฏิรูปสื่อ วิทยุชมชนที่เกิดขึ้น คือ กำเนิดตัวเองแต่สถานะทางกฎหมายตามมาทีหลัง หากจะเปลี่ยนเป็นระบบ Digital ที่สำคัญคือ ทำอย่างไรที่จะทำให้อยู่อย่างเป็นสุข ไม่เบียดเบียนกัน คลื่นวิทยุเป็นทรัพยากรของมวลมนุษยชาติ ความถี่เป็นของทุกคนในโลก แต่เทคโนโลยีทุกวันนี้จะทำอย่างไรที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อ.จีระ: วันนี้สังคมไทยต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ต้องดูแลเรื่องสื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุด ประเด็นที่อ.ทำนองคือ ถ้าไม่ช่วยให้วิทยุเป็นสื่อที่มีค่า เพราะฉะนั้นคนใช้สื่อวิทยุก็ลดลง ระดับอายุของคนฟังส่วนใหญ่เป็นวัยสูงอายุ ต้องคิดว่าทำอย่างไรจะมีกลุ่มวัยรุ่นมาฟังสื่อวิทยุมากขึ้น transitional period รอยต่อของงานวิจัยคือ 20 ปี และน่าจะทำให้คนรุ่นใหม่ตื่นตัวมากขึ้น หากได้เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี กฎหมาย สังคมการเรียนรู้ ก็จะทำให้งานวิจัยรอด

คุณนคร จ.ระยอง: ทำวิทยุชุมชน ทำตั้งแต่ปี 2548 วิทยุเข้าถึงทุกส่วนคือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง แต่ปัญหาตอนนี้คนขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดความละอายใจต่อบาป มีความเห็นแก่ตัวมาก ต้องให้ผอ.เจษฎา ตรวจสอบว่ามีคลื่นวิทยุใหม่เกิดขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่ทับซ้อนคลื่น

เรื่องข้อกฎหมายเรื่องการประมูลคลื่นวิทยุ เราไม่มีทุน ไม่มีโอกาสประมูลแน่นอน เรื่องการกฎหมายการประมูลอยากให้เปลี่ยนกฎหมายนี้ไปเลย

มาตรฐานทางเทคนิค เสา 60 เมตร กำลังส่ง 500 เราต้องยอมกัน ต้องหาจุดตรงกลางทำให้เดินไปได้

ความต้องการชุมชนพื้นที่เกษตรกรรม อยู่ด้วยความพอเพียง ขอฝากเรื่องกฎหมายไปยังกสทช.ว่าไม่ต้องรู้เรื่องกฎหมายไม่เกิน 10 ข้อ ทั้งสาธารณะ วิทยุธุรกิจ และชุมชน

คุณพิชญ์ภูรี: วิทยุชุมชนบางที่ทำธุรกิจเพื่อเลี้ยงตัวเอง ที่ไม่ต้องเบียดบังเงินกองทุน ซึ่งเรียกว่าธุรกิจเชิงชุมชน กลุ่มนี้เปิดเผยว่าทำอย่างไรถึงจะส่งฐานข้อมูลนี้ไปยังกสทช.ได้ ขอโอกาสให้กลุ่มนี้เมื่อมีการประมูล อาจจะเป็นการจัดสรรพื้นที่

อ.จีระ: งานวิจัยหากสำเร็จได้ต้องเน้นความตั้งใจ องค์ความรู้ ทุนน้อย ปัญญามาก โอกาสของคนธรรมดาเข้าสู่วิทยุมีมากกว่าเรื่อง TELECOM และ digital TV เราต้องเปิดช่องว่าให้เดินไปได้ ทุกวันนี้ต้องสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง

คุณลัญชนา: ขอพูดเรื่องการกำกับดูแล และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทุกวันนี้พูดได้ว่า ผู้ใดครองสื่อผู้นั้นครองโลก

ทุกคนก็อยากทำสื่อ แต่วิธีการแตกต่างกันไปในแต่ละคน บางคนรู้จริง บางคนรู้ไม่จริงเลยเกิดปัญหา ดิฉันเป็นเจ้าของสถานีวิทยุชุมชนไม่เกี่ยวกับธุรกิจ ไม่เห็นด้วยกับกสทช.กับการกำกับดูแลด้วยตัวเอง เพราะแต่ละจังหวัดแตกย่อยเป็นหลายชมรม หลายสมาคม แล้วใครจะเป็นผู้กำกับดูแลจริงๆ ซึ่งมันยากมาก

อ.จีระ: ทรัพยากรไทยกับนอร์เวย์ต่างกันเรื่องทรัพยากรมนุษย์ หากเมืองไทยพร้อมเราทำ แต่หากไม่พร้อมก็ยังต้องใช้การแทรกแซงที่ต้องยุติธรรมกับทุกฝ่าย

คุณลัญชนา: การพัฒนาเรื่องทรัพยากรมนุษย์ของคนฟัง หากคนฟังชอบนักจัดรายการคนฟังก็จะเชื่อ นักจัดรายการวิทยุต้องเน้นความถูกต้อง เน้นคุณธรรม จริยธรรม หากไม่มีก็ไม่สามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้

เรื่องเสา เรื่องกำลังส่ง เห็นด้วยว่าวันนี้ต้องอยู่ระดับนี้ คือระดับกลาง ๆ เสา 60 เมตร กำลังส่ง 500

ขอฝากเรื่องกฎหมายที่ออกมาต้องชัดเจนทุกข้อ

คุณพิชญ์ภูรี: การกำกับดูแลตัวเองของกสทช.ตอนนี้เป็นเพียงแนวคิด ยังไม่ออกเป็นตัวบทกฎหมาย

ศรากร FM 105: เห็นด้วยกับเครื่องส่ง เสา 60 เมตร กำลังส่ง 500 วัตต์ เรื่องกำกับดูแลตัวเองนั้นประเทศไทยต้องมีกฎหมาย และตัวคุณธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกฎหมาย

เห็นด้วยกับกสทช.ที่แบ่งเป็น 3 รูปแบบของสถานี และมีผังการจัดรายการ อยากให้แก้ปัญหาต่างๆดังนี้

เรื่องคลื่นแทรก แทรกกันเอง และแทรกกับวิทยุการบิน

เรื่องเนื้อหาที่ทำลายสังคม ปลุกระดม สร้างความรุนแรง หลอกลวง

เห็นด้วยที่ต้องมีใบอนุญาตในกรอบ และการออกอากาศ อยากให้สถานีมีการจัดเก็บ มีการบันทึกเทปการใช้งาน เพื่อให้กสทช.เอาไปตรวจสอบได้

วิชชุดา สมาคมสื่อภาคตะวันออก: ขอแสดงความคิดเห็นด้านคุณธรรม จริยธรรม เนื้อหาที่เป็นทุนแก้การจัดรายการ เรื่อง CSR ให้กับวิทยุชุมชน

  • -ภาครัฐ กับ ภาคี ควรทำร่วมกัน
  • -สร้างพันธะสัญญาที่กำกับดูแลตัวเอง ผู้ใช้สื่อต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ใช้ นักจัดรายการต้องรับผิดชอบด้านคุณธรรม จริยธรรม
  • -เรื่องเนื้อหานั้นต้องมีการแบ่งกลุ่มอายุผู้ฟัง
  • -Active citizen เนื้อหาฟังง่าย ใส่เนื้อหาความรู้ พัฒนาการเด็กทางด้านสมองได้
  • -ต้องให้ประโยชน์กับผู้ฟัง
  • -เรื่อง CSR Matching ควรจะมีอะไร ที่ทำให้ภาคีอยู่รอด และเป็นประโยชน์กับสังคม
  • -เรื่องใบผู้ประกาศ ทดลองจด MOU อยากรู้ว่าเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน พอทำแล้วเกิดปัญหา ข้อดี คือ มีความรู้ ข้อเสีย กสทช.ไม่ได้สร้างความมั่นใจว่าต้องมี ผู้จัดรับบทหนักมาก มีข้อระเบียบเยอะมาก ทำให้บริหารจัดการยาก
  • -สิ่งที่ควรทำอย่างจริงจัง คือ สำนึกของนักจัดรายการ ที่เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และ เรื่องเนื้อหาสาระ ความรู

อ.จีระ:

ทฤษฎี 8K

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

ทฤษฎี 5K’s

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

ผศ.จำเริญ : ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยในการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยุ

1. ด้านการผลิตรูปแบบรายการ

2. ด้านเทคนิคเครื่องส่งวิทยุชุมชน

3. ด้านการจัดการเทคโนโลยีเครื่องส่ง เครื่องส่งที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีปัญหาเรื่องคลื่นรบกวนน้อยลง แต่ค่อนข้างราคาแพง

- เรื่องพัฒนาทุนมนุษย์หากมีหน่วยงานสนับสนุนลงไปพัฒนาในชุมชนเลยจะเกิดประโยชน์มาก จะทำให้มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการเมือง ชีวิตความเป็นอยู่จะดีขึ้น

คุณจุฑามาศ: ทำวิจัยสื่อมวลชนท้องถิ่น จ.ชลบุรี พบปัญหา คือ มุมมองของสื่อ ปัจจัยของการอยู่รอดของสื่อมวลชนท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี

ปัญหาของหนังสือพิมพ์ร่วมกัน คือ ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ ที่เราต้องย่อยอด

  • -ขาดทักษะความรู้ ขาดคนทำงาน
  • -สิ่งที่คุกคามสื่อมวลชน คือ สื่อใหม่ ได้แก่ Social media
  • -สิ่งสำคัญ ที่ต้องมีคือความรับผิดชอบ
  • -ตัวผู้รับสาร ต้องมีคุณภาพ

อ.พงศ์สิน: เน้นไปที่การบริหารสถานี ทำงานวิจัยเรื่องวิทยุชุมชนมา 3-4 เรื่อง การบริหารจัดการที่ดี ก็จะทำให้สถานียั่งยืน

1. เน้นไปที่ตัวบุคคล แบ่งหน้าที่ชัดเจน อาสาสมัครทำอย่างจริงจัง

2. รายได้ต้องหาเอง ในชุมชนทำปุ๋ยชีวภาพ

คุณลัญชนา: เรื่องการเมืองมีปัญหา เพราะพูดเรื่องฝั่งตัวเองดี ฝั่งตรงข้ามไม่ดี ปัจจุบันนี้ในชุมชน ลูกถูกปลูกฝังเรื่องการเมือง ไม่เคารพสถาบัน

คุณกังวาฬ: ขอแย้งความเห็นของอ.จีระ ที่เด็กรุ่นใหม่ไม่ฟังวิทยุ เพราะเด็กจะฟังคลื่นๆใหญ่ๆ ไม่ใช่วิทยุชุมชน ขอแนะนำให้วิทยุชุมชนปรับตัวเอง ควรมี application เปิดพื้นที่ให้คนติดตามได้ ไม่ต้องเสียค่าเวลา มี 2 way communication คนฟังสามารถตอบโต้กันได้ทันที ซึ่งสามารถปรับให้ตรงกับlifestyleของผู้ฟัง

กสทช. ควรมี survey ว่าผู้ฟังมี lifestyle อย่างไร เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ฟังมากขึ้น

ผอ.เจษฎา : กสทช.มีอำนาจออกใบกำกับอนุญาตกิจการกระจายเสียง แต่เรื่องอินเตอร์เนต เป็นเรื่องของกระทรวงICT

ผศ.จำเริญ: ขอแชร์ว่าถ้าผ่าน Social media ก็ไม่ถือว่าเป็นวิทยุชุมชนแล้ว ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัญหาในอนาคต

คุณภคพล จากระยอง: สนับสนุนเรื่องผู้ฟังคนรุ่นใหม่ เนื่องจากทำรายการค่อนข้างยาก ปัจจุบันมีสังคมออนไลน์ครบแล้ว ใครไม่เข้าใจก็สามารถถาม GOOGLE ได้ ก็ไม่ต้องผ่านดีเจแล้ว สังคมไทยเป็นสังคมที่ชอบการดูมากกว่าการอ่าน เขียน พอมี youtube วัยรุ่นใช้เวลาการดูพวกนี้มากกว่า เมื่อapplication มันจะทำให้ควบคุมยาก

คุณชัยพร: ข้อสังเกต คือ ทำอย่างไรให้เกิดมาตรฐานเครื่องส่ง ผู้รับสื่อ ผู้ส่งสื่อ

อ.ประสพสุข: ปัญหาเรื่องกฎหมาย เนื่องจากออกตามหลังตลอด การจัดระเบียบภายหลังเป็นเรื่องยุ่งยาก กฎหมายไม่ทันเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น

ประเทศไหนสังคมซับซ้อนก็จะมีตัวบทกฎหมายเยอะมาก Watchdog ทำหน้าที่เฝ้าระวัง ให้กับกลุ่มผู้ฟัง

  • -เครื่องมือ อุปกรณ์ทั้งหลาย กระบวนการซ่อมบำรุงไม่มี
  • -คนที่เข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องวิทยุกระจายเสียงเยอะมาก
  • -เจ้าของสถานี
  • -ผู้สนับสนุนรายการ เป็นเรื่องสำคัญ
  • -ผู้ผลิตรายการ
  • -ผู้ดำเนินรายการ

เหตุผลคือทรัพยากรมนุษย์ขาดความรู้เรื่องกฎหมาย ขาดการฝึกอบรม ขาดความรู้ความเข้าใจ แนะนำควรมีองค์กรที่ให้ความรู้ความเข้าใจ กับ ผู้สนับสนุนรายการ - ผู้ผลิตรายการ และ ผู้ดำเนินรายการ

คุณนคร: เครื่องส่งควรกำหนดมาตรฐานออกมาเลย กสทช.ควรเช็คมาตรฐานเครื่องส่ง

คุณมลิพร จังหวัดชลบุรี: เรื่องใบผู้ประกาศ ที่ผอ.เจษฎา บอกไม่มีกฎหมายบังคับ ทำให้รู้สึกเสียใจมาก เพราะเสียค่าใช้จ่ายในการอบรมมาก อยากให้นักจัดมีมาตรฐาน ที่เน้นเรื่องการพูด การใช้ภาษา

ผอ.เจษฎา: พรบ 2498 กรมประชาสัมพันธ์กำหนดชัดเจนว่าผู้ประกาศข่าวต้องได้รับใบอนุญาต พรบ 2551 ไม่มีบังคับเรื่องนี้ ณ ปัจจุบัน มีกลุ่มงานผู้ผลิตสื่อ ที่พัฒนาผู้ประกาศข่าว ผู้ผลิตมีคุณภาพ แต่ในตัวกฎหมายไม่มี

คุณวิชดา : การอบรมผู้ประกาศมีปัญหาเยอะ เพราะต้องใช้เงิน ขอฝากกสทช.ว่าควรไปในทิศทางเดียวกัน เขต 7 ยกเลิกโครงการ แต่เจ้าหน้าที่ที่ลงเขต บอกต้องทำ ซึ่งไม่มีทิศทางไปในทิศทางเดียวกัน มีความล้มเหลวในการบริหารจัดการเรื่องการอบรม

ผอ.เจษฎา: มีประกาศราชกิจจานุเบกษา 1 ก.พ. 2556 ว่าต้องมีใบผู้ประกาศ แต่ในกฎหมายใหญ่ไม่ได้มีเขียนไว้

คุณพิชญ์ภูรี: คนที่รับงานจากกสทช.ยังไม่มีมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกัน กองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องได้รับการผลักดัน

การวิจัยภาคเหนือ เอาเงินวิจัยกองทุนมาใช้กับวิทยุชุมชนได้เท่าไหร่

อ.ทำนอง: เรื่องการกำกับดูแลตามกฎหมายต้องปรับปรุงมาก

การกำกับดูแลพันธะสัญญาซึ่งยังไม่เกิด

และเรื่อง Social solution กำกับดูแลโดยผู้ฟัง และผู้ฟังจะกำกับดูแลสถานีได้อย่างไร

คุณวรวุฒิ: 4 ประเด็นสั้นๆ

1. กลุ่มผู้ส่งสาร ดีเจ ผู้บริหารสถานี คนที่รับผิดชอบนำสารไปยังผู้ฟัง ให้มีมาตรฐาน และต้องพัฒนากลุ่มผู้ส่งสารเพื่อให้มีศักยภาพพร้อม

ดีเจ ต้องมีใบประกาศ ต้องผ่านการอบรม และเป็นไปตามกฎหมายได้หรือไม่ ต้องมีการ work out ต่อไป

2. มาตรฐาน เน้นเครื่องส่ง เครื่องมือ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีการรองรับมาตรฐาน

3. เรื่องกระบวนการการควบคุม ทั้งผู้ส่งสาร มาตรฐาน การจัดการต่างๆ เช่น สถานีวิทยุใกล้เคียงกัน ตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นสถานี Zoning กฎหมาย ระเบียบ แนวทางปฏิบัติ

คำถาม คือ เรากระจายอำนาจจากกสทช. ไปยังท้องถิ่น และชุมชนได้หรือไม่ เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกระจายเสียง

กรณีการกำกับดูแลตัวเอง ถ้าสามารถรวมกลุ่มกันเองในระดับประเทศ และมีกฎหมายรองรับความเป็นชุมชนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องกำกับดูแล

จาก อรัญประเทศ จ.สระแก้ว : ในปัจจุบันเหลือนักจัดรายการน้อยมาก ปัจจุบันเหลือนักจัดที่มีคุณภาพ ไม่มีเรื่องปัญหาคลื่นความถี่ สื่อจากสระแก้วมีการรวมตัวที่ดีมาก มีจรรยาบรรณ สระแก้วมี 60 คลื่น และดีทุกคลื่น และขอฝากว่าไม่ขอให้มีการประมูล และนักจัดรายการตัวจริงก็คือประชาชน

ผอ.เจษฎา: สำนักงานมีศูนย์ไกล่เกลี่ยช่วยเหลือ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเป็นสันติวิธี หากเอาผลประโยชน์เป็นที่ตั้งระบบไกล่เกลี่ยคงทำได้ยาก

ประเด็นคุณอเนกถามว่าหากมีการจาบจ้วงสถาบัน กสทช.และกรอมน. จะเป็นเจ้าภาพ ในการกรั่นกรอง ประสานกับกสทช.โดยตรง และให้กสทช.จัดเก็บข้อมูล และแจ้งความต่อเจ้าพนักงานต่อไป

ผอ.สุปรานี: ขอเสนอด้านการเสนอว่า วิทยุชุมชนเป็นของประชาชน อยากให้ประชาชนมีส่วนร่วม ควรใช้องค์ประกอบด้านเป้าหมายที่ชัดเจน มีกิจกรรมอะไรบ้าง มีหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม ถ้ากลุ่มผู้จัดวิทยุชุมชนใช้หลักกลยุทธ์เข้ามาช่วย ใช้ชุมชนเป็นฐานในการบริหารจัดการ มีการประเมินตรวจสอบ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกกระบวนการ แล้วทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด

สรุปการประชุม Focus Group (กลุ่มภาคกลาง)

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล

กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557

ณ โรงแรมริชมอนด์ ถ.รัตนาธิเบศร์ จ.นนทบุรี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- การทำวิจัยให้เอา Focus Group ทุกภาคส่วนมาเป็นแนวทางพัฒนาต่อไป มีความตั้งใจและเป้าหมายเพื่อให้วิทยุเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้นโยบายระหว่างประเทศ

- การพัฒนางานในอนาคตเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีคุณธรรม จริยธรรม ประเทศจะได้อยู่รอด

- กรอบแนวคิดเริ่มจากการมีความสามารถเพื่อส่วนรวม

What need to be done? And What good for the country?

- เน้นการทำงานเพื่อส่วนรวม ไม่มีประโยชน์แอบแฝง

- มุ่งหมายให้สื่อได้ปะทะกับสังคมและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง บางครั้งสื่ออาจเอียงไปบ้าง เพราะสื่อเป็นเจ้าของธุรกิจ ต้องยอมรับว่าทุนนิยมเข้ามาเยอะ

Methodology

1.Review เกี่ยวกับการวิจัยสื่อวิทยุทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเอกสารต่าง ๆ ให้ศึกษาคณะทำงานของ กสทช. ด้วย

2. การไปดูงานต่างประเทศ มีสวีเดน และนอร์เวย์ เพื่อดูมาตรฐานของวิทยุที่เจริญแล้วเน้นอะไรบ้าง

3. มีการทำ Questionnaire เพื่อการปรับปรุงและแก้ไข

  • -การทำ In-depth Interview
  • -Focus Group 6 Cluster รับฟังความคิดเห็นของตัวละครต่าง ๆ
  • สิ่งสำคัญคือการเอา Diversity มาเป็น Harmony ให้ได้ ลูกศรของความคิดต้องไม่ทะเลาะกันต้องนำสู่การสร้างมูลค่าให้ได้ รวมแล้วคือจะปรับปรุงนโยบายวิทยุโทรทัศน์ได้อย่างไร
  • วิทยุเป็นเทคโนโลยีซึ่งเป็นสมบัติของปวงชนชาวไทยการวิเคราะห์ขอให้วิเคราะห์จากความจริง อดีตคืออะไร อนาคตคืออะไร ปัจจุบันคืออะไรและแถมสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต ปล่อยไปเรื่อย ๆก่อน วันนี้มีวิทยุหลายชนิด บางวิทยุมีประโยชน์สูงสุด บางวิทยุสร้างปัญหา บางวิทยุไม่มีกฎหมายรองรับเลย
  • โจทย์ของงานวิจัยครั้งนี้
  • 1. ทำอย่างไรถึงมองวิทยุในอนาคตให้เป็นไปตามกฎหมาย (กฎหมายเป็นมิติหนึ่งของวิทยุ)
  • 2. เทคโนโลยีสร้างปัญหาที่มีผลต่อการดำเนินงานอย่างไร อาทิการทับคลื่นเทคโนโลยี งานอาจไม่สามารถแก้ได้ทุกเรื่อง แต่ทุกท่านสามารถเสนอแนะเรื่องเทคโนโลยี ตัวอย่างที่สวีเดนและนอร์เวย์มีการใช้ระบบดิจิตอลในการดำเนินงาน การเน้นที่ความหลากหลายของพื้นที่ และวัฒนธรรม
  • 3. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
  • 4. ผลกระทบทางสังคม
  • เสนอแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งผู้ประกอบการ ผู้ประกาศ ชุมชน ตัวละครต้องดำเนินงานไปสู่ Value Diversity แต่อย่าให้ความหลากหลาย conflict
  • พระครูบาต้นน้ำ
  • - พระสายหลวงตามหาบัว ได้ดำเนินการด้านวิทยุแบบไม่มีรายได้ มีแต่รายจ่าย วัตถุประสงค์ ปัจจัยจากศาสนาพุทธทั่วโลก จะทำอย่างไรหรือมีนโยบายอย่างไร
  • คุณสรวิชญ์ ไชยเลิศ สมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการ
  • - เป็นนักแต่งนักเขียน มาจากสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแล กำกับกันเอง มีประธานคือคุณจิตรลดา เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลสมุทรปราการ เอฟ.ซี ต้องการกำกับดูแลประชาชนให้ปฏิบัติตามจริยธรรม คุณธรรม และไม่ให้ทำผิดกฎหมาย
  • คุณทินกร ชูวงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ (บริหารทางอากาศ)
    บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
  • - มีส่วนหนึ่งที่อยู่ในส่วนวิทยุ และเป็นส่วนที่ดูแลวิทยุที่ไม่มีผลประโยชน์ธุรกิจ เป็นในเชิงเรื่องการบริการมาตรฐานในระดับสากล เท่าที่ผ่านมาเรื่องที่เกิดขึ้นในคลื่นวิทยุ และสถานการณ์ต่าง ๆ มองย้อนคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์พื้นฐานที่เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม มีกฎหมายดูแล ถ้าเอาเข้าระบบสิ่งที่เกิดขึ้นตรงนี้ต้องแก้ไข ให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด
  • คุณสมเกียรติ แก้วไชย ผู้จัดการงานวิศวกรรม บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
  • ปัญหาที่พบคือ
  • - การรบกวนคลื่นวิทยุการบิน สิ่งที่ทำได้ขณะนี้คือพอทราบว่ามาจากแหล่งใดจะโทรไปคุย ไปทำความเข้าใจ บางครั้งเข้าใจ บางครั้งไม่เข้าใจ
  • - ทรัพยากรความถี่ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาคลื่นรบกวน ถ้าช่วยให้สื่อกระจายมากขึ้น จราจรทางอากาศจะดีขึ้น ต่างชาติจะพอใจมากขึ้น
  • - อยากให้ดูตัวอย่างของเมียนมาร์ ปัญหาเรื่องความถี่แทบไม่มีเลย สังเกตได้ว่าความถี่พม่าค่อนข้างชัดเจน แต่ไทยพบว่ามีคลื่นรบกวนการสื่อสารตามเขตชายแดน
  • - วิทยุการบินมีการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยุชุมชนโดยตลอดในการมีปัญหา ตอนหลังก็พยายามเข้ามาสู่กสทช.มากขึ้น
  • คุณสิรเชษฐ์ ตุ้มทอง เลขาธิการสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.ลพบุรี
  • อยู่ตรงเขาพระงาม กรมสรรพสาวุธ
  • - ดูคลื่นหลักของหน่วยงานทหารของรัฐ กองบิน 2 กองทัพอากาศ คลื่นหลัก 98.75 MHz
  • - การบริหารเวลาโดยภาพรวม คลื่นหลักมีการบริหารโดยให้เอกชนมา Take over ไป
    มีการถูกซื้อเวลา ต่อมาคลื่นชุมชนเกิดได้ ตั้งแต่ปี 2549 และปี 2550
  • - มีการตั้งสมาคมดูแลกัน จดทะเบียนสมาคมจังหวัดในการดูแลกระจายเสียงวิทยุ
  • - มีการทำสื่อสาธารณะ สร้างสรรค์สังคม มีการทำข่าวประกาศ การถ่ายทอดสดงานสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • - ข่าวด้านการศึกษา สังคม อาชีพ มีการทำเมลสื่อแจกกัน
  • - ภาพของชุมชนเมื่อกสทช.ได้ตรวจสอบการทดลองออกอากาศบางคลื่นได้ออกมากแล้ว
  • - การประมูลความถี่ที่เป็นอยู่มี 2 อำนาจ คือ นักการเมือง และนักธุรกิจ

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

วิทยุกระจายเสียงของประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี 2540 กว่าจะเป็นคลื่นใช้เวลา 10 ปี ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติเยอะมาก

ปี 2475 – 2500 มีโฆษณาชวนเชื่อแฝงอยู่

ปี 2510 เริ่มมีการจัดระบบ

ปี 2522 เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

ปี 2532 – 2540 เป็นทุนนิยมการสื่อสาร กำลังเปลี่ยนเป็นเสรี ยุคนี้เริ่มมีการปฏิรูปสื่อ ดึงสื่อทั้งหมดเข้ามาเป็นของชาติ จากระบบสัมปทานเป็นใบอนุญาต มีรอยต่อกฎหมาย บางช่วงให้วิทยุชุมชนขาย มีวิทยุชุมชนหลายแบบสอนเข้ามา

หลังปี 2540 เริ่มมีการแบ่งระบบ

1. สื่อของรัฐ

2. สื่อธุรกิจเอกชน

3. สื่อภาคประชาชน ที่ชุมชนทำอยู่

การทำ Focus Group

1. อยากทราบเงินสนับสนุนกองทุนเป็นเท่าไหร่ แต่เงินกองทุนตอนนี้ไม่ชัด บางภาคเริ่มทำงานวิจัยไปแล้ว ถ้าดำเนินการวิทยุชุมชนว่ากองทุนสนับสนุนเท่าไหร่

2. อยากยืนด้วยลำแข้งของตนเอง แต่เข้าไปประมูลได้

นอกเหนือจากงานวิจัยยังมีแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของวิทยุกระจายเสียงซ้อนอยู่ ได้รับการพัฒนาวิทยุเพียงพอหรือไม่ บางแห่งปัจจัยไม่มี การสนับสนุนทางเทคนิคไม่พอ

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์เวลาโดนป้อนอย่างไรส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้น ที่ทางรัฐครอบสื่อไว้ก็เพื่อเป็นความมั่นคง

ปี 2543 มีการจัดตั้งสายงานดูแลประชาชนเรียกร้องมากขึ้น จึงต้องมีการดูแลตนเอง ให้กรมประชาสัมพันธ์ออกใบอนุญาตหลายแห่ง แต่ตอนหลังมีคนขอทำวิทยุมากขึ้นจึงเกิดการปล่อยฟรีมากขึ้นแต่ไม่ให้โฆษณา ซึ่งทางวิทยุบอกอยู่ไม่ได้ เลยให้มีโฆษณาแค่ 10 นาทีและทำให้วิทยุมีเกิดขึ้นเรื่อย ๆ กว่าพันราย

พ.ร.บ. ปี 2551 มีการจัดระเบียบแยกวิทยุเป็น 3 ประเภท

1. วิทยุเพื่อสาธารณะ (โฆษณาไม่ได้ แสดงได้แต่โลโก้อย่างเดียว)

2. วิทยุธุรกิจ (โฆษณาได้ แต่ต้องมีการประมูลคลื่นอย่างเดียว)

3. ชุมชน (พัฒนามาจากหอกระจายข่าวหมู่บ้าน มีชุมชนที่หลากหลาย เลยบัญญัติวิทยุชุมชนไว้ แยกกลุ่มตามชุมชน ท้องถิ่น อุตสาหกรรม ให้กองทุนสนับสนุนเงินให้วิทยุเลี้ยงตัวอยู่ได้เพื่อให้มีกำไร)

ปัญหาคือวิทยุชุมชนไม่เข้าตามนิยามนี้จึงไม่สามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ เนื่องจากกฎหมายมีข้อจำกัด ไม่ให้อำนาจ ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้แก้ข้อจำกัดอย่างนั้น หลายแห่งเกิดปัญหาเยอะ อาทิ การสร้างความร่ำรวยให้กลุ่มคนบางกลุ่ม ปัญหาการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี ผู้ประกอบการไม่มีจิตสำนึก การขยายสัญญาณบางครั้งขยายจนรบกวนเป็นคลื่นแทรก เป็นการรบกวนสิทธิ์ วิทยุชุมชน ทำให้เรารบกวนสิทธิ์คนอื่น วิทยุชุมชน จึงเกิดปัญหา ทำอย่างไรถ้าเราสั่งซื้อคลื่น ทำอย่างไรไม่ให้มีการกวน มีการบล็อกคลื่นสัญญาณ ทำอย่างไรให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้ทั้งภาคธุรกิจ และชุมชน สังคมสงบสุขได้เพราะพวกเราเอง เราต้องมีวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ การนำเสนอข่าวสารจำเป็นสำหรับชุมชนในกลุ่ม ขอให้ทุกคนละวางประโยชน์ส่วนตน ทำอย่างไรวิทยุชุมชนที่มีอยู่เข้าไปสู่ระบบกฎหมายได้อย่างถูกต้อง กฎหมายมีข้อเสนออย่างไรถึงไม่รบกวนสิทธิ์ผู้อื่นทั้งทรัพย์สินส่วนบุคคล และข่าวสารต่าง ๆ

โจทย์ของวันนี้ต้องมีหลายรูปแบบหลายความคิด ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เส้นทางไปสู่เป้าหมายยังขรุขระอยู่ พัฒนาความรู้ของประชาชนเป็นสังคมที่น่าอยู่ มีความยั่งยืนเป็นเป้าหมายเพื่อระยะยาว

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

1. ต้องการทราบสถานการณ์ความจริงปัจจุบัน

2. เรื่องเทคนิคปัจจุบันที่มีอยู่เป็นอย่างไร

3. ความต้องการภาคประชาชน ผู้ประกอบการ

4. การกำกับดูแล จากการไปสัมผัสที่เชียงใหม่ พัทยา ได้กรอบกำกับ 3 เสาหลัก คือ

เสาที่ 1 กำกับดูแลโดยภาครัฐ กสทช.

อยากให้พูดเรื่องตัวบทกฎหมายที่มีอยู่ การบังคับใช้กับการพัฒนาในอนาคต อยากเพิ่มเติมตรงไหน

เสาที่ 2 อยากให้ตั้งสมาคมดูแลกันเอง มีการสร้างจรรยาบรรณ และให้คนอื่นทราบด้วย อาจดูแลด้วย

1. ตนเอง เขียนจรรยาบรรณ และคลื่นอื่นทราบหรือไม่

2. ขอความร่วมมือจาก กสทช.หรือไม่ อยากให้กฎหมายมีอะไรบ้าง

3. การกำกับดูแลโดยผู้ฟัง (Social Sanction) มีประชาชนร้องเรียนหรือไม่ อาจต้องมีการทำวิจัยในเรื่องนี้

คุณวรวุฒิ โตมอญ

กลุ่มคนที่มาที่นี่มาจากหลายบทบาทหน้าที่ อยากเชิญชวนให้คนลืมบทบาทหน้าที่ของตนเองลงก่อนในเบื้องต้น สิ่งที่อยากเห็นคือเห็นอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและสังคม

กลุ่มแรก คือผู้ส่งสาร เอาสาระไปสู่ประชาชน

ขอให้ดูเรื่องสิทธิและหน้าที่ว่าขัดแย้งกันหรือไม่ สถานีวิทยุที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้คำนึงถึงสิทธิของคนอื่นหรือไม่

ในวงการวิทยุด้วยกัน ถ้าจะทำให้มีมาตรฐานเหมือนแพทย์สภา ควบคุมกันเอง หรือทนายความควบคุมกันเอง เห็นด้วยหรือไม่ และมีแนวคิดอย่างไร

คุณธนพภณ ปิ่นชัยโย ผู้อำนวยการวิทยุชุมชน How Radio จ.สระบุรี

งบประมาณสนับสนุนต่อเดือนที่จะให้น้อยไป และในความเป็นจริงไม่ได้ซึ่งถ้าได้ต้องใช้ความสามารถในการเขียนโครงการให้ดีและต้องทำตามนั้น ซึ่งบางครั้งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ถ้าจะให้ให้ไปเลยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และให้เขียนแค่รายงานส่ง

คุณอภิวิชญญ์ ทิพย์รัตน์ ผู้อำนวยการสถานี Zoom Radio 102.75 MHz

วิทยุชุมชน หรือวิทยุธุรกิจท้องถิ่น เกิดมาก่อน กสทช.หรือกทช. สมัยก่อนวิทยุชุมชนอยู่กันเองได้ ด้วยเสา 30 เมตร คลื่นส่ง 30 วัตต์ คนฟังก็ฟังอย่างมีความสุขและสามารถเข้าถึงประชาชนได้ 100 % ถ้าจะพึ่งวิทยุใหญ่ ๆ มีความเป็นไปได้ยากจึงต้องใช้ชุมชน

ปัญหาเกิดตั้งแต่เริ่มมี กทช. พยายามออกกฎระเบียบมากมาย ในส่วนผู้ประกอบการพยายามปรับให้สู่ระเบียบ แต่ ณ วันนั้น ถึงวันนี้ ยังไม่มีระเบียบที่เป็นรูปธรรม ต่อมามีกสทช. ก็ออกกฎระเบียบมากมาย ผู้ประกอบการชุมชนทำตามกำลังที่มีอยู่ไม่ทราบกฎหมาย กฎระเบียบ ต่อมาออกกฎหมาย พ.ร.บ. จัดสรรคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียง สังเกตได้เลยว่ากฎหมายเมืองไทยแค่ 15 นาทีผ่าน ไม่มองถึงว่าอดีตทำอย่างไรมา ไม่ได้ลงไปถึงหัวใจของระดับรากหญ้า กสทช. ตั้งกฎ ระเบียบ นั่งเทียนอย่างเดียว และจับเขาตลอดเวลา

ปัญหาคือ กสทช. ไม่ดูแลเลย วิทยุรากหญ้าให้ทำอะไรก็ทำ ปัจจุบันวิทยุธุรกิจเปิด 3,000 – 5,000 รายมีการเปิดแทรกกันก็เป็นปัญหา แต่ขอขอบคุณในส่วนวิทยุการบินที่ออกไปให้ความรู้ ตรวจคลื่น วิทยุท้องถิ่น

(ต่อ) ภาคกลาง

วิทยุชุมชน คือการสร้างความสามัคคี สร้างความอบอุ่นในชุมชน

วิทยุการเมืองยังไม่จับ มาเอาอะไรกับวิทยุเล็ก ๆ

อย่ามองที่ผู้ประกอบการเล็ก ๆ ให้มองที่ตัวเองก่อนว่า กสทช.ทำอย่างไร

การประสานงานกับองค์กรภาครัฐ ปี 2554 ไม่เห็นใครออกมาเลย มีเพียงวิทยุเล็ก ๆ ช่วยประสานกันทั้งหมด แล้ว กสทช. ก็ไปจับพวกเขา

วิทยุขนาดเล็ก รักที่จะสร้างสรรค์ สังคมให้ดีเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน แม้จะต้องหารายได้ สร้างสรรค์สังคมให้สวยงาม

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากให้เน้นประโยชน์สูงสุด และมีคุณธรรม จริยธรรมกำกับ

คุณกิตติชัย ภูชนะ ประธานเครือข่ายระวังภัยทางสังคม จ.ชลบุรี

มี 70 สถานีรวมอยู่ในกลุ่ม ปัญหาทั้งหมด กสทช. มีส่วนในการทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้น ที่ผ่านมาได้สัมผัสวิทยุชุมชน แต่ก่อนวิทยุชุมชนสร้างความรัก ความกลมเกลียวกันมาก เป็นการรวมกลุ่มในชุมชนออกคลื่น 300-400 วัตต์ ส่งได้ 50 กม. กล้าตั้งสถานี และมีบทบาทในการสร้างความสามัคคีในชุมชน ต่อมาวิทยุชุมชนเริ่มมีมากขึ้น จึงมีประกาศการจัดระเบียบจาก กสทช. บังคับให้คนที่ลงทะเบียนบังคับอยู่ที่ 500 วัตต์ แต่เจ้าของผลิตภัณฑ์ที่มีเงินมหาศาลตั้งใหม่ มี 3,000-10,000 วัตต์ กลายเป็นว่าคนที่อยู่ในร่องในรอยถูกบีบ

คนที่เข้าไปอยู่ในกรอบ 500 วัตต์ แต่เจอคน 3,000 วัตต์ แย่งโฆษณาไป ทำให้คนลงทะเบียนถูกต้องอยู่ไม่ได้

อย่าให้วิทยุชุมชนอดอยากปากแห้ง ถ้าทำมาหากินไม่ได้ ไม่สามารถเลี้ยงเครือข่ายได้ พอมีสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ยื่นเขามา เขาก็อาจจะรับสิ่งนั้น

คุณเบญจพร พงษ์ประดิษฐ์ ผู้จัดรายการวิทยุ F.M.98.00 MHz และผู้จัดรายการรู้รักแผ่นดิน

กสทช. มีเป้าหมายหลักเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวสยาม

แต่ที่สังคมวุ่นวายเพราะคำพูดของคน ประเด็นคือสิ่งที่ทำนั้นทำเป้าเพื่อชาติบ้านเมืองหรือไม่ วิทยุชุมชนควรจัดมาเพื่อประโยชน์แผ่นดิน ไม่ใช่เพื่อเงินในกระเป๋า

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทบาทของกสทช.ในอนาคต เรื่องกองทุนน่าจะเป็นงานวิจัยที่สำคัญ

ครูบาต้นน้ำ

นโยบายวิทยุชุมชน มหาบัว วิทยุชุมชนคือวิทยุตามเสียงเป็นเสียงตามสาย เพื่อประโยชน์ท้องถิ่น ที่ต้องอาศัยความร่วมมือกัน แต่ กสทช.มาให้เซ็นตามกฎหมาย ต้องเป็นพ.ร.บ. เสนอและประชุมหลัก มี สว.วิทยุชุมชนเข้ามาค้านกสทช.

ตัวแทนจากวิทยุ จ.นนทบุรี

การกระจายเสียงในชุมชนค่อนข้างมีความสุข ไม่ต้องมีโฆษณาก็อยู่ได้ แต่ที่สูงมากเพราะเป็นทุนนิยม

โครงการการกำกับดูแลวิทยุชุมชนจะทำอะไร ถึงไม่ใช่ปัญหา เราจะกำกับดูแลอย่างไรทั้งสาธารณะ ธุรกิจ ให้กติกาอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

เสายิ่งสูงเท่าไหร่ การก่อกวนยิ่งมาก

การให้บริการชุมชนเสมือนเป็นหอกระจายข่าววิทยุชุมชน จึงอยากให้มีการดูแลกันเอง ทำอย่างไรในการดูแลผู้ประกอบการวิทยุมี 3 ส่วนสำคัญ

ทางด้านเทคนิคจึงสำคัญที่สุด ฝากเรื่องเทคนิค การกระจาย 20 ตารางกม. น่าจะมีปัญหา ตราบใดที่ไม่มีคลื่นใกล้เคียงกันน่าจะไปได้ไกล

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คลื่นดิจิตอลเรดิโออาจจะแพงหรือยุ่งยากมากกว่า เป็นเทคโนโลยีที่เสริมกันได้ เมื่อไรพร้อมก็จะวิ่งมาสู่ดิจิตอล

คุณภาพของคนมีคุณธรรมจริยธรรม จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีหลักสูตรการพัฒนาคน

เริ่มจากพื้นฐานก่อน และกลับมาสู่ที่ภาคชนบท

งานของ กสทช.เรื่องทุนมนุษย์ ต้องให้เขามีความเข้าใจกัน สร้างคุณธรรม จริยธรรมในวงการวิทยุ

ต้องการให้สื่อปฏิรูปความคิด สร้างค่านิยม ถ้าวิทยุชุมชนทำดี กองทุนต้องให้เขา ถ้าทำไม่ดีต้อง Sanction กัน

กสทช. ต้องเป็นปฏิปักษ์ และวิ่งไปสู่เป้าหมายนั้น

ถ้าเราคิดถึงเป้าหมายส่วนรวม วิทยุจะเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนที่ถูกที่สุด และสามารถแก้ปัญหาสังคมได้

หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของเทศบาล

หอกระจายข่าวปีที่ 32 ร่วมกับวิทยุชุมชนครั้งแรก จะเห็นว่าวิทยุชุมชนไม่สามารถได้เงินจากองค์กรท้องถิ่นได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่สนับสนุนให้ท้องถิ่น การควบคุมดูแล มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ที่ช่วยดูแลวิทยุชุมชนได้ บอกแนวทางช่วยวิทยุชุมชนได้

แนวทางรวม ๆ ประชาสัมพันธ์โดยท้องถิ่น ทำงานด้านสื่ออยู่แล้ว

วิทยุที่แบ่งแยกและมีปัญหาเกิดขึ้น โดยปกติจะแข่งขันเรื่องความดัง และความไกล

วิทยุชุมชนที่เป็นสาธารณะ แต่โฆษณาไม่ได้ จะเอาเงินตรงไหนมา ที่แข่งกันเพราะอยากดัง และปากท้องไม่มี ต้องจ้างดีเจดัง ๆ มา

ถ้ามีกฎหมายหรือวิธีอะไร ให้ส่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์รายงาน จะเกิดประโยชน์มากกว่าหาข้อสรุปแบบนี้

สถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพมหานคร

เสนอคุณธรรม จริยธรรมการบริการชุมชน และเป้าหมายเพื่อระบุชัดเจน จะเป็นเบ้าหลอมให้สังคมสู่เป้าหมายเดียวกัน เสนอการศึกษาหน้าที่พลเมืองที่ดี

หลักสูตรที่สำนักพิมพ์เสริมขึ้นมาทำให้เกิดผลดีและความแปลกแยกในสังคมเช่นเดียวกัน

วิทยุชุมชนบางคลื่นฟังไม่ได้ ไม่ว่าเป็นวิทยุชุมชนหรือก่อการ เราต้องมีการกีดกรอบและให้เคารพในกฎหมาย

คุณชาญยุทธ ศรีพรหม ผู้อำนวยการสถานีวิทยุชุมชนเขาเพิ่ม F.M. 92.00 MHzจ.นครนายก

ทุกคนมองที่ช่องว่างอยากได้ของตนเอง อยากให้มองว่าทำอย่างไรถึงร่วมกันได้ ต้องดูว่าระดับที่จะทำได้ขนาดไหน

กสทช.ให้มองว่าเสียงส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับเท่าไหร่เป็นมาตรฐานกลาง เช่น 1,000 วัตต์ รับได้แต่ห้ามเกิน

อยากให้มีข้อมูลต่าง ๆ ถึงกันระหว่างผู้ประกอบการและกสทช.

อยากให้มองที่เป้าหมายแล้ววิทยุชุมชนเกิดได้แน่นอน เพิ่มหรือลบได้หรือไม่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิทยุเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยและทันเหตุการณ์ ถ้าให้วิทยุเกิดประโยชน์ ความรู้ รักชาติบ้านเมืองแทนที่จะขัดแย้งกัน

คิดถึงประเทศ คิดถึงส่วนรวมแล้วอยู่ได้ด้วย

บทบาทกสทช.ในอนาคตและเสริมจุดเดิมได้จะประสบความสำเร็จ

คุณสรวิชญ์ ไชยเลิศ เลขาธิการสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการ

มีการอบรมสัมมนาประกาศเจตนารมย์วิทยุกระจายเสียงและวิทยุบังคับ ทำเป็นรูปเล่ม ให้มีการรวมตัวและดูแลกันเป็นอย่างไร พบ 2 เรื่องที่เห็นเป็นปัญหา คือ

1. มาตรการของ กสทช.มีการกำหนดอยู่ที่ 500 วัตต์ไม่ควรเกิน แต่ปัจจุบันเกิน อยากให้ กสทช.มีการจำกัดอย่างชัดเจน มีการส่งคลื่น ระงับสัญญาณ ถอนสิทธิ์ แต่ กสทช. มีบุคลากรไม่เพียงพอที่จะไปตรวจจับ มาตรการการจับมือร่วมกัน องค์กรวิชาชีพความร่วมมือมีการรวมกลุ่มกันอย่างชัดเจน ส่งเสริมการอบรม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งเสริมเสรีภาพสิทธิต่าง ๆ ปกป้องสิทธิทั้งผู้ฟังและชุมชน มีจริยธรรมที่ประสานกับกสทช.ได้ เราจะให้สถานีวิทยุมี สส.สังกัด ทุกคนปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด

ถ้าไม่ปฏิบัติจะเป็นแกะดำ จะให้กสทช.ดำเนินการอย่างไร โดยที่แต่ละสมาคมจะเป็นหูเป็นตาและควบคุมกันเองด้วย

2. การสนับสนุนให้กับองค์กร วิทยุปัจจุบันจะสู้กับพวกทีวี ฟรีทีวีไม่ได้ เพราะได้ทั้งภาพและเสียง ถ้าจะมีกองทุนต่าง ๆ ช่วยสนับสนุนจะเป็นการดี เพราะหางบโฆษณาได้เยอะ ปัจจุบัน กสทช.บังคับให้เป็นนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะก่อให้เกิดต้นทุนในการปิดงบ ถ้าไม่มีการสนับสนุนจะไปหาโฆษณาที่เกินจริง ดังนั้น กสทช.ต้องมีตัวนี้สนับสนุนไม่งั้นอยู่ไม่ได้ไม่เช่นนั้น เขาจะไปหาเงินจากการเมือง และโฆษณาเกินจริง จึงอยากให้เน้นการควบคุมดูแลซึ่งกันและกันในเชิงสมาคมได้

เมื่อกสทช.ตั้งให้เป็นบริษัท เป็นไปไม่ได้ที่หารายได้ 100-1000 ล้าน ดังนั้นการสนับสนุนของกสทช.ต้องมากกว่าโทรทัศน์ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการทำเงินเพื่ออยู่รอด

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

เห็นข้อแตกต่างของข้อเสนอกันอยู่

วิทยุกระจายเสียงเล็ก ยังมีความแตกต่างของข้อเสนอเช่น 500 วัตต์หรือบางครั้งเกินไป บางท่าน 300 วัตต์ บางครั้ง 1000 วัตต์ ไม่มีมาตรฐานแล้ว

  • คุณทินกร ชูวงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ (บริหารทางอากาศ)
    บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

เข้าใจว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ในอนาคตเป็นอย่างไร การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการรบกวนซึ่งกันและกัน จะแก้ปัญหาอย่างไรในเชิงเทคนิค กฎหมายและการกำกับดูแลต้องสร้างกระบวนการที่ยอมรับและเพื่อการพัฒนา เชื่อว่าไม่มีอะไร 100 % ที่สมบูรณ์แบบ อยากให้มองว่าอนาคตกฎหมายจะพัฒนาไปอย่างไร ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

ด้วยวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชน โดยให้ประชาชนหรือชุมชนได้มีส่วนร่วม ประโยชน์การจัดตั้งทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมว่าต้องการอะไรในเรื่องนั้น ส่วนร่วมเป็นเสียงจากผู้ประกอบการ ถ้าหากนิยามชุมชนชัดเจน การมีส่วนร่วมน่าจะเบ็ดเสร็จได้ตรงนั้น และชุมชนจะไม่ใช้ 20 ตารางกิโลเมตรตลอดไป

คุณสกลชัย บุญสรรค์ รองประธานและสมาคมวิทยุและโทรทัศน์ จ.ชัยนาท

กสทช.กำหนดอยู่แล้วว่าชุมชนควรเป็นเท่าไหร่ ๆ กลายเป็นลูกครึ่งวิทยุชุมชน เพราะว่าแต่ก่อนทำเป็นธุรกิจ มีร้านก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้นมาโฆษณามากมาย ความเป็นชุมชนเยอะ แต่ปัจจุบันน้อยลงพอสมควร เนื่องจากความโลภของมนุษย์ ใช้จ่ายมากขึ้นความต้องการมากขึ้น ความเป็นวิทยุธุรกิจเข้ามา

ถ้าเป็นไปได้อยากให้ไปในระดับจังหวัด เช่น จ.ชัยนาทจะได้ครบทั้งคนฟัง จะดีมาก

ชมรมผู้ประกอบการวิทยุจังหวัดชัยนาท พอถึงจุดหนึ่งน่าจะเป็นสมาคมเพื่อรวมกลุ่มในจังหวัดกันเอง การดูแลกันเอง มีจรรยาบรรณ ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูง ที่สร้างให้ตัวเองอยู่แล้ว

เสนอการรวมกลุ่มให้แต่ละจังหวัดให้ดูแลกันเอง ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี จากจังหวัด เป็นภาค แต่ละพื้นที่มีความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองไม่เหมือนกัน รวมเป็นระดับภาค ระดับประเทศ โดยมี กสทช.เป็นแม่งาน

ปัญหาคือ เรื่องของรายได้ คนเป็นวิทยุธุรกิจโฆษณาได้ 75% วิทยุชุมชนห้ามโฆษณา ยกเว้นการโฆษณาเชิงสร้างสรรค์สามารถทำได้ การสนับสนุนไม่ค่อยได้ใช้มาก

ถ้าอยากจะช่วยด้วยความจริงใจให้บอกมาว่าจะทำอย่างไรกับเรา เพราะตอนนี้เป็นเสมือนสุญญากาศ สิ่งที่จะต้องพัฒนาค่อนข้างยากแต่ไม่ยากเกินกว่าคนจะทำได้

อาจารย์พรนภา แก้วลาย หัวหน้าสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.รังสิต

ทุกอย่างที่ต้องการบางครั้งเป็นเสมือนนามธรรม บางครั้งโดนกระแสสังคม ทำให้ลืมคุณธรรม จริยธรรมบ้าง แต่เป็นแง่ดีที่แสดงแง่คิดตรงนี้

กสทช. เขต 1 นนทบุรี

จะน้อมนำปัญหาต่าง ๆ ไปให้ผอ.ทราบ

ในเรื่องการตรวจสอบการใช้คลื่น การรบกวนคลื่นจะมีการเบาบางได้ ทั้งกำลังส่ง การแปลกปลอม

20 จังหวัด การรบกวนแต่ละจุดอาจไม่ทันการณ์

คุณสรวิชญ์ ไชยเลิศ เลขาธิการสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการ

ถ้าสถานีแต่ละที่ไม่ให้ความร่วมมือเราจะทำอย่างไร ให้กสทช.ดูแล บางสถานีเป็นแกะดำ ไม่ทำตาม ทำอย่างไรให้แจ้งละเมิด มีบทกำหนด รวมตัวแจ้งว่ามีอะไรเกิดขึ้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต่างประเทศคลื่นยังอยู่ที่ไปรษณีย์ กสทช. ดูแค่นโยบาย แต่ไทยรวบไว้หมดเลย

กสทช.เหมือนองค์กรที่มีอำนาจมาก กสทช.ต้องฟังเสียงจากรากหญ้าด้วย ต้องไม่ดาวกระจาย เลือกบางส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อเรา ถ้าอยู่ไม่ได้ กสทช.ต้องช่วย หรือช่วยตัวเอง ไม่ใช่อยู่ไม่ได้ไปหานักการเมือง หรือโฆษณาเกินจริง นั่นแหละทำลายประเทศ

ในอนาคตประเทศไทยจะมีความสวยงามมากขึ้น

ครูบาต้นน้ำ

- จะจัดระเบียบในวิทยุชุมชน ถ้า กสทช.จะเป็นวิทยุที่เปลี่ยนระบบใหม่ ขอให้กสทช.เปิดกว้างสำหรับวิทยุชุมชนแล้วแบ่งแขนง เช่น ศึกษา ศาสนา แพทย์

- จุดที่วิทยุชุมชนไปชนกับวิทยุการบินมีอะไรที่ป้องกัน จะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ หาข้อมูลที่มีทั้งข้อเสียและข้อดี

- เคยคุยกับที่ประชุมสงฆ์อยากให้ตรวจสอบว่าจุดไหนที่วิทยุชุมชนไปรบกวนให้ทำอะไรเป็นสเกลงาน

คุณธนพภณ ปิ่นชัยโย ผู้อำนวยการวิทยุชุมชน How Radio จ.สระบุรี

- ที่พูดมาทั้งหมดอยากให้สรุปให้ได้ใจความ อยากให้เขียนชัด ๆ ไม่ต้องตีความ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้ชัดเจน

- อยากให้กสทช.ถามวิทยุว่าต้องการอะไร ให้เขาได้ไหม ถ้าให้ก็ทำได้

คุณกิตติชัย ภูชนะ ประธานเครือข่ายระวังภัยทางสังคม จ.ชลบุรี

- เอากฎหมายเป็นตัวตั้ง เหมือน กสทช.มีกฎหมายเป็นตัวให้เราทำตาม จุดนี้คือจุดแก้ไข วิทยุชุมชนมีหลายประเภท บางประเภททำถูกต้อง บางประเภทก็น่าสงสารเช่น บางประเภทให้โฆษณาให้แค่ 6 นาที บางชุมชนได้จัดให้มีการรวมกลุ่มกันคิดต่าง ๆ นาๆ

ภาคกลาง (ต่อ 2)

- ในอนาคตข้างหน้า วิทยุชุมชนโฆษณาไม่ได้ วิทยุธุรกิจต้องประมูล เหมือนการล็อกไม่ให้ไปไหน มีประโยชน์ได้หลายทาง เหมือนอย่างโอทอปหรือวิทยุชุมชน

- วิทยุชุมชนกับวิทยุธุรกิจเกือบจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อยากนำเสนอว่าถ้าเป็นไปได้ว่าทุกสถานีอยู่ที่ 500 วัตต์ จะดังอยู่ที่อำเภอนั้น แต่ถ้ารายใหญ่อยากประมูลก็ให้ประมูลกันไป

สินค้าที่โฆษณาในอำเภอ น่าจะอนุรักษ์วิทยุชุมชน วิทยุธุรกิจชุมชนเอาไว้

คุณสรวิชญ์ ไชยเลิศ เลขาธิการสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการ

บางสถานีเป็นวิทยุชุมชน บางสถานีเป็นธุรกิจ สถานีที่จดเป็นวิทยุชุมชนบางรายมีการหลบเลี่ยงหารายได้ธุรกิจ ถ้าจับได้จะมีการปรับหรือไม่ กสทช. บังคับให้สถานีเป็นนิติบุคคล ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ อย่างไรก็ตามต้องรวมกลุ่มกันให้วิทยุเผยแพร่คุณธรรม จริยธรรมให้อยู่ได้ ถ้าไม่เกิดการควบคุมกันได้ กสทช.จะทำอย่างไรให้ร่วมมือกันได้

คุณสรยุทธ์ ไพโรจน์ อ.หนองแค จ.สระบุรี

เป็นส่วนหนึ่งอยู่ตรงกลาง ฟังมานานแล้วยังไม่เห็นตัวบทกฎหมายของกสทช.ที่ออกมาว่ามาตรา 1, 2, 3,……เป็นอย่างไร อยากให้กสทช.ออกกฎหมายมาเผยแพร่ได้หรือไม่จะได้มาคุยกันหาแนวทางปฏิบัติกัน จะได้เดินทางได้ถูกทาง

กฎหมายอยู่ตรงไหน ในส่วนความเหลื่อมล้ำ วิทยุไม่มีความเหลื่อมล้ำกัน มีการแอบแฝงเป็นเรื่องปากท้อง และครอบครัวนิด ๆ

คุณกิตติชัย ภูชนะ ประธานเครือข่ายระวังภัยทางสังคม จ.ชลบุรี

วิทยุชุมชนจริง ๆ ก็อยากเป็นวิทยุชุมชน แต่ที่น่าเสียดายวิทยุธุรกิจจ่าย หมื่นเจ็ดร้อยบาท (รวมภาษี) ปีนี้ก็จ่ายหนึ่งหมื่นเจ็ดร้อยบาท แต่ยังมีวิทยุเถื่อนที่ทำมาแล้วกี่ปีก็ไม่มีการจ่ายเงิน ก็ให้เกิดความน้อยใจจากผู้ที่ทำถูกกฎหมาย

ฉลวย แจ้มสุนทร ผู้อำนวยการสถานีวิทยุบ้านนา จ.นครนายก

วิทยุธุรกิจ วิทยุสาธารณะ วิทยุชุมชน อยากให้มีคำจำกัดความ กฎหมายมีหรือไม่ การควบคุมเป็นอย่างไร อยากรู้ข้อมูลธุรกิจว่าต้องทำขนาดไหน กฎหมายบอกมาหรือไม่

ธุรกิจ สาธารณ ชุมชน มีกฎหมายควบคุมหรือไม่เป็นอย่างไร

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

กฎหมายกำกับวิทยุ กับการจัดสรรคลื่นความถี่ รัฐทำ กสทช.ได้รับมอบหมายมา

สถานีวิทยุคนออกใบอนุญาตได้คือกรมไปรษณีย์โทรเลข ออกได้เฉพาะรัฐเท่านั้น

รัฐธรรมนูญ 40 ออกไว้ อยู่ระหว่างร่างกฎหมาย มีหอกระจายข่าว ให้ชุมชนดูแลตนเอง ควบคุมกันเอง มีนโยบายให้กรมประชาสัมพันธ์ ไม่รบกวนกัน มีหลักเกณฑ์ว่าคลื่นกำลังส่งเท่าไหร่ มีกลุ่มวิ่งเข้าหารัฐบาล

ปี 2550 มีร่างรัฐธรรมนูญใหม่ มีกทช. และกสทช.ดูแล จนปี 2550 มีการปฏิวัติ ปี 2551 มีการออกกฎหมายที่คุมโดยเฉพาะระบุสถานีวิทยุ 3 ประเภท มีสาธารณะ ธุรกิจ ประกอบกิจการแสวงหากำไร

วิทยุชุมชน คือการรวมกลุ่มกันของชุมชนเพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ชุมชน ห้ามมีโฆษณา

วิทยุธุรกิจต้องมีการเปิดประมูล โดยมีการจัดสรรเท่านั้น วิทยุใดอยู่โดยชอบด้วยกฎหมายให้อยู่โดยชอบต่อไป ยังไม่มีการประกาศคืนคลื่น สถานีที่จะเกิดขึ้นใหม่จึงยังทำไม่ได้

วิทยุชุมชนเข้านิยามของกฎหมายด้วย

พ.ร.บ. ปี 2543 ให้ชั่วคราว ปี 2553 ไม่ได้กำหนดใบชั่วคราว ต้องรีบจัดการให้เสร็จให้เข้ากรอบกฎหมาย ถ้าเห็นว่ากฎหมายไม่ดี เป็นปัญหาก็ให้ความเห็นไป ก็ต้องมีมาตรฐานมีกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ผู้ร่างต้องให้ประชาชนมีบทบาทเพื่อเสริมสร้างท้องถิ่น สร้างตนเอง สื่อสำคัญ ผู้เขียนพยายามเขียนตีกรอบ ให้อ่านพ.ร.บ.ปี 2541 จะเข้าใจนิยามและความหมายดี

วิทยุชุมชน เขียนกฎหมายให้กองทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อให้อยู่ได้ ให้ชุมชนเผยแพร่ข่าวสารให้

เนื้อหาสาระวิทยุที่จะออกเป็นอย่างไร มีขั้นตอนการกำกับดูแลทั้งหมดในตัวบทกฎหมาย บางทีอาจมองปัญหาของเรา ว่าเราอยู่ในกฎหมายหรือนอกกฎหมาย เรามีคุณธรรม จริยธรรมหรือยัง เคยคิดถึงลูกหลานหรือไม่

ถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย บ้านเมืองไม่สงบสุข ทุกคนยืนอยู่ไม่ได้ ถ้าทุกคนพยายามออกนอกระบบ ทำไมไม่คิดว่าเราต้องยืนได้ด้วยตนเอง ถ้าจิตไม่พัฒนาไป บ้านเมืองลำบาก ถ้าคิดว่าเราอยากสบายกว่าคนอื่น แล้วคลื่นรบกวนคนอื่น กรอบของกฎหมายคือไม่ให้รบกวนกัน ให้ทุกคนเคารพสิทธิ์ การแผ่สัญญาณกระจายคลื่นเท่าไหร่

1. ขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม

2. คิดถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นคนอื่น

คุณจิรสุข ชินะโชติ

ที่พาดพิงว่าสื่อของรัฐโดนครอบงำ ไม่ได้เป็นเฉพาะช่องนี้ แต่เป็นมานานแล้ว เพราะผู้ใหญ่เป็นสื่อของรัฐบาล ใครเป็นรัฐบาลต้องทำตาม ไม่อย่างงั้นจะโดนย้าย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รัฐครอบงำได้คือประเทศด้อยพัฒนา สิ่งสำคัญคือการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม

คุณจิรสุข ชินะโชติ นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

การพัฒนาคน ปัจจุบันสื่อก้าวไกลคนสามารถเห็นคนจัดได้

อยากเน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

ผู้บริหารที่อยู่ข้างบนต้องเข้าใจการประกอบการของภาคสนามด้วย

ต้องบริหารจัดการสมัยใหม่ อยากให้ดูตัวอย่างที่สวีเดน นอร์เวย์ น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี

เทคนิคสำคัญมาก ไม่ใช่เฉพาะการพัฒนาเทคนิคที่อยู่ในประเทศ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

8K’s ตัวที่ทำให้เป็นคนเก่งคือปัญญา และจริยธรรม คิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีกรอบพัฒนาจริยธรรมไว้ และให้เรียนรู้เรื่องการเงินด้วย

ในอนาคตข้างหน้าอยากให้มีโอกาสรับใช้ กสทช.

คุณธนพภณ ปิ่นไชโย ผู้อำนวยการวิทยุชุมชน How Radio จ.สระบุรี

- กสทช.มีตัวตรวจจับคลื่นที่คลื่นไหนพูดลามก สามารถตรวจจับและพัฒนาได้

- คนที่ขัดและพูดไม่ถูกต้องต้องเบรก การจัดคนมาตีกันไม่ใช่หน้าที่ของสื่อที่ถูกต้อง

- คนเราอยากจะโตได้ ไม่ได้โตมาจากตัวเรา โตได้จากพ่อแม่ ทำอะไรนึกถึงพ่อแม่

- ทุกวันนี้ คนไม่เคยคิดถึงห่วงเราอยู่ข้างหลัง นี่คือคติสอนใจเราได้

คุณสรวิชญ์ ไชยเลิศ เลขาธิการสมาคมวิทยุกระจายเสียง จ.สมุทรปราการ

- ควรเน้นเรื่องการรู้จักผิดชอบชั่วดี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- อยากให้เชื่อมไปในอาเซียนด้วย

- ประเทศไทยต้องอยู่ได้ด้วยระยะยาว ไม่ใช่ระยะสั้น ถ้ามีโอกาสทำงานร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง เป้าหมายงานวิจัยสู่การพัฒนาคน

- ถ้าเป็นความต้องการของผู้ฟังในวันนี้ หลายคนพอใจมากสำหรับการพัฒนาวิทยุอย่างแท้จริง

คุณสกลชัย บุญสรรค์ รองประธานและสมาคมวิทยุและโทรทัศน์ จ.ชัยนาท

เรื่องเนื้อหาการผลิต การพัฒนามนุษย์มีหลายด้าน อยากให้มี Center ของข้อมูลจริง ๆ การพัฒนาเนื้อหาน่าจะทำให้เป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศจะได้กลายเป็น Center เดียวกัน และพบว่ายังไม่มีที่ไหนทำ ปัจจุบันไม่มีการดึงข้อมูลเป็นส่วนกลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก

กสทช.คิดจะทำอย่างไรกับวิทยุอย่างพวกเราบ้านในอนาคต และปัจจุบันวิทยุชุมชนยังเกิดขึ้นได้หรือไม่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เป็นเรื่องที่น่าทำมากในการเป็น Center ของข้อมูล

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

การเปิดวิทยุชุมชนเพิ่มเติม ผิดกฎหมาย ผิดตั้งแต่เสาที่ไม่ได้รับรองโดย กสทช
เป็นธุรกิจแอบแฝง ผิดกฎหมาย เป็นความโลภของมนุษย์

วิทยุชุมชนต้องเป็นชุมชน

กสทช.ไม่อาจละเลยกฎหมายได้ มีความผิดที่ไม่ทำ

ในระหว่างที่มีกฎหมายและยังไม่เข้าระบบ ก็ต้องช่วยกันอย่าทำให้เกินกรอบ ผิดกฎหมายอาญา และทุกอย่าง

คุณจิรสุข ชินะโชติ นักสื่อสารมวลชนชำนาญการ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

ปัญหาของวิทยุกระจายเสียง

วิทยุชุมชนเล็ก ๆ ฝนตกฟ้าร้องก็ต้องปิด เนื่องจากรบกวนเช่นกัน

คุณกิตติชัย ภูชนะ ประธานเครือข่ายระวังภัยทางสังคม จ.ชลบุรี

เสนอให้ฐานข้อมูลสามารถใส่ที่ Thailandradio.net สามารถใส่ข้อมูลเป็นศูนย์กลางได้ ให้ดาวน์โหลด ได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตัวอย่างรายการสถานีเชียงใหม่สามารถไขว้รายการเพื่อให้เกิดความหลากหลายและมีข้อมูลมากขึ้น

ความคิดเห็น

1. ฝากมูลนิธิในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ดำเนินกิจการกระจายเสียง เช่นจรรยาบรรณวิชาชีพ

2. ผังรายการ มีการบูรณาการวัฒนธรรมที่หลากหลาย สื่อเป็นส่วนกลางสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบูรณาการ สามารถทำชุมชนต้นแบบ ไม่ว่าจะเป็นศิลปวัฒนธรรม วิชาชีพ

3. ตัวบทกฎหมายต้องตีความ ดำเนินการที่กสทช.ทั้งหมด

คุณธนพภณ ปิ่นไชโย ผู้อำนวยการวิทยุชุมชน How Radio จ.สระบุรี

อยากให้มีการจัดในพื้นที่ แลกเปลี่ยนข่าวสารร่วมกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าสื่อมีจริยธรรม จะทำให้มี Content เพื่อช่วยให้สังคมดีขึ้น

คุณพิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่แต่ละท่านนำเสนอจะนำเสนอว่ามีข้อมลผู้ประกอบการอย่างไร

- งานวิจัยที่อาจารย์จีระ ทำหมดเลย ในฐานะกรรมการอยากขอบคุณทุกท่าน สิ่งใดเสนอมาส่งกลับอยู่แล้ว

- ฝากให้อ่านเล่มที่ กสทช. แจกจะเป็นประโยชน์มาก

อาจารย์พรนภา แก้วลาย หัวหน้าสาขาวิชาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.รังสิต

- การพัฒนาบุตรหลาน อบรมให้รู้ลักษณะงาน การอยู่ร่วมกัน การทำงานโดยต่อไป

จะอยู่อย่างไรที่ Win Win และอยู่ร่วมกันได้ เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

- การทำต่อเนื่องต้องค่อย ๆ ทำ อาจเริ่มจากชุมชนแต่ละที่ แต่ละแห่ง แต่ละภาค อยากให้ทุกท่านแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แก้ปัญหา พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

- ตัวละครคือผู้ฟัง จะสร้างผู้ฟังอย่างไรให้สามารถวิเคราะห์ ตัดสินใจในสิ่งถูกต้องได้ด้วย

คุณวรวุฒิ โตมอญ

- เรื่องคน เรื่องทุนมนุษย์ คนใช้วัสดุอุปกรณ์คือพวกเรา การควบคุมตรวจสอบกันเอง ท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วยหรือไม่ คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกา

- ในอนาคตควรมีการกำหนดโซนนิ่งนอกเหนือจากตัวคลื่นแล้ว คนที่รับประโยชน์ ได้ประโยชน์ในชุมชนควรมีส่วนร่วมในการตอบและให้ความรู้ในการใช้เวลาถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารเท่าไหร่ ควรมีความรู้กี่เปอร์เซ็นต์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในอนาคตถ้าการพัฒนาผู้ประกอบการวิทยุ ผู้ฟังและท้องถิ่นไปได้ดี จะดีมาก

ในอนาคตข้างหน้า การรู้จักกันก็แบ่งปันกัน

จะไปทำ Focus group เล็ก ๆ ที่ชัยนาท

เราน่าเป็นตัวอย่างที่ดีของวิทยุชุมชนของอาเซียน

สรุปการประชุม Focus Group (กลุ่มภาคใต้)

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล

กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557

ณ ห้องประชุมนางยวน โรงแรมดิโอวาเลย์ จ.สุราษฎร์ธานี

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

จุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษา

1. สภาพปัจจุบันในทุกมุมมอง ทุกมิติ ปัญหาปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง

2. มาตรฐานทางเทคนิค การส่งเครื่องอุปกรณ์ การบริหารจัดการ มีข้อแนะนำอย่างไรบ้างที่เป็นประโยชน์ในอนาคต

3. ความต้องการของชุมชนเป็นอย่างไรจากสื่อของเรา ความต้องการจริง ๆ จากสื่อมวลชนกลุ่มนี้เป็นอย่างไร

4. การกำกับดูแลที่ผ่านมามีปัญหาตรงไหน อยากปรับปรุงตรงไหน

ประเด็นที่ได้จากที่ประชุมที่ผ่านมา

ประเด็นที่ 1 คือการปฏิบัติตามกฎหมาย ตรวจสอบตามระเบียบ

ประเด็นที่ 2 คือการดูแลกันเองจากการรวมกลุ่มกัน มีองค์กรชัดเจนหรือไม่ ทั้งดูแลตนเองโดยตรง

ประเด็นที่ 3 คือการดูแลโดยภาคประชาชนหรือที่เรียกว่า Social Sanction ทำอย่างไรให้มีภาคประชาชนเข้มแข็ง รัฐบาลโปร่งใส

ประเด็นที่ 4 คือการร่วมกันอภิปราย

ประเด็นที่ 5 คือการพัฒนาทุนมนุษย์ ผู้ประกอบการ

ประเด็นการประชุม

1. สภาพปัญหาปัจจุบัน

2. สภาพปัญหาทางเทคนิค

3. ภาคประชาชน

4. การกำกับดูแล

5. หัวข้อหรือแนวคิดทั้งผู้ประกอบการ ชุมชน ต่าง ๆ

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

การกำกับดูแลขาดการทำอย่างต่อเนื่องไป หลังจากปี 2543 คณะกรรมการที่ปรึกษาดูแลไม่มี หลังจากนั้นจึงได้มีการปล่อยให้วิทยุชุมชนตั้งได้เรื่อย ๆ เกิดการตั้งขึ้นมามากมาย จนกระทั่งปี 2553 ได้มีกสทช.ขึ้นมาเพื่อกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย

ปี 2551 มีการออก พ.ร.บ.กำกับทุกอย่างให้เป็นไปตามกฎหมาย มีการกำหนดสถานีวิทยุ 3 ประเภท คือ วิทยุสาธารณะ วิทยุท้องถิ่น วิทยุชุมชน

วิทยุชุมชน กฎหมายห้ามโฆษณา ดังนั้นต้องให้ความรู้กับท้องถิ่น ต้องมีการสนับสนุนเงินเพื่อให้อยู่ได้ ดังนั้นจึงต้องให้รู้ว่ากฎหมายคืออะไร โดยเจตนารมณ์ที่ทำมาเขียนโดยเจตนาเดิม แต่สภาพที่ปัจจุบันเกิดการแตกหน่อ จะบังคับให้ตามกฎหมายได้อย่างไร

วิทยุเป็นการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อคนฟังมากที่สุด สามารถทำให้ชักจูงความคิดของคนได้ ต้องไม่ลืมว่าการสื่อสารใด ๆ ต่อไปได้รับอิทธิพลทั้งหมด ทุกท่านมีส่วนสำคัญในการกระจายข้อมูลข่าวสารกับความรู้ให้กับชุมชน

ให้คิดถึงประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าตนเอง เพราะถ้าคิดถึงตนเองมากเกินจะทำให้เกิดความล้มเหลวของกฎหมาย ของสังคม ให้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ทุกอย่างมีได้มีเสีย

กสทช.ดูวิทยุมี 28 คน นอร์เวย์มี 30 คน รู้ว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ การบังคับการไม่ยาก

ประเทศไทยมีสถานีวิทยุ 7,000 กว่าแล้วมีการขยายตัวต่อเนื่องตอนนี้ประมาณหมื่นกว่าสถานี แต่ประเทศนอร์เวย์ไม่ทำอย่างนี้ เพราะเขาเคารพสิทธิ์ของกันและกัน

ประเด็นคือหาทางออก หาทางร่วมทำอย่างไรให้อยู่ในกฎหมาย และกฎเกณฑ์ต้องช่วยกัน ลืมประโยชน์ส่วนรวม ลืมสิทธิคนอื่น เราต้องช่วยแก้จากสิ่งที่แย่ในอดีต ทำประโยชน์ ทำคุณค่า วิทยุกระจายเสียงให้ดี ให้มีผลงานเป็นที่ยอมรับเพื่อนำมาใช้ปฏิบัติให้ได้

ร่วมกันแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด อยากเห็นการพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ของประเทศเราให้ทันสมัย มีคลื่นมากขึ้น ให้มีการรบกวนน้อยลง

ระบบดิจิตอล นอร์เวย์ กับสวีเดนเริ่มทำ ปัญหาคือเรื่องเครื่องรับดิจิตอล เช่น วิทยุที่รถยนต์ และบ้าน มีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงหรือยัง การเร่งเกิดสิ่งนี้ขึ้นมาแล้วดีหรือไม่ ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่หรือไม่ หรือตอบสนองภาคธุรกิจ ให้สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ให้มองโดยส่วนรวมให้มากที่สุด อย่าเพียงแค่มองมุมของเรา

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

สื่อวิทยุกระจายเสียงมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะการทำงานในวงกว้าง

ปี 2470 ทดลองออกอากาศครั้งแรก

ปี 2473 มีการออกอากาศสถานีวิทยุครั้งแรกที่วังพญาไท ถ่ายทอดพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้กล่าวถึงความมุ่งหมายเปิดวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทยเพื่อ ส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย

ทำไมมีการปฏิรูปในปี 2540 เพื่อความบันเทิงแก่พ่อค้า ประชาชน การเมือง การปลุกระดมต่าง ๆ

การทำงานด้านวิทยุกระจายเสียงก็คือเครือข่าย เราได้รับเกียรติจาก กสทช. ทุกระดับของทุกจังหวัดอยู่ด้วยกัน ในภาคใต้การทำงานของกสทช.กับวิทยุกระจายเสียงไปด้วยกัน การปลุกระดมให้วิทยุกระจายเสียงไปภาคต่าง ๆ กสทช.ใช้ความอะลุ่มอล่วยอย่างมาก

ปี 2475 – 2510 วิทยุอยู่ในมือข้าราชการทหารเป็นหลัก

2532 – 2540 มีการเอาคลื่นมาใช้ในเครื่องต่าง ๆ กว้างขวาง เงินไม่เข้ารัฐ เงินอยู่ในระบบอุปถัมภ์ ผู้ประกอบการ นายทุน ค่าเช่า

2540 การปฏิรูปสื่อ

หลังปี 2540 กฎหมายเป็นของชาติ มีสิทธิในการเข้าถึงและเท่าเทียม

พระราชบัญญัติกิจการวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

1. สื่อของรัฐ

2. สื่อของธุรกิจเอกชน ราชการไม่ปิดกั้นแต่ต้องประมูล มีกองทุนแบ่งให้กับชุมชน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ชุมชนแท้ ๆ แต่อยู่ที่การกระจายธุรกิจแท้ ๆ ปัญหาคือการหาโฆษณาหรือหารายได้เลี้ยงตนเอง ท่านต้องการอะไรเป็นเหตุเป็นผลและนำเสนอมา

ปัญหาคือ ไม่มีอุปกรณ์ความถี่ในการจัดสรรคลื่น กสทช.พยายามอยู่ตลอดเวลาก่อนการเปลี่ยนเป็นดิจิตอลในการกระจายเซลล์ แต่อย่างไรก็ตามถ้าไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ก็สามารถเกิดปัญหาได้อยู่ดี

กสทช. วางหลักเกณฑ์ส่งเสริมผู้ผลิตรายย่อยต่างกัน

คุณอดิเรก วีระกิจ ผอ.สนง.กสทช. เขต 4 สงขลา

ภาคใต้ มี 5 เขต คือ

1. สงขลา เขต 4 รับผิดชอบสงขลา และภาคใต้ตอนล่าง

2. ภูเก็ต เขต 11 รับผิดชอบ ภูเก็ต พังงา กระบี่

3 นครศรีธรรมราช เขต 12 รับผิดชอบ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี

4. ระนอง เขต 13 รับผิดชอบ ระนอง

5 ชุมพร เขต 14 รับผิดชอบ ชุมพรและประจวบคีรีขันธ์

กสทช. ทำหน้าที่ดูแลหลักชัด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ดูแลทางด้านเทคนิค และกฎหมาย การได้อะไรในวันนี้ คือการบอกต่อ

เทคนิคคืออะไร สำนักงาน กสทช.โดยนโยบายหลัก คือการมีองค์ความรู้ มีแล้วทำได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ประสบปัญหาอย่างไร

ปัญหา

  • 1.ความต้องการใช้คลื่นความถี่ไม่จำกัด แต่ทรัพยากรคลื่นความถี่จำกัด
  • 2.กระบวนการได้มาซึ่งคลื่นความถี่ไม่เป็นไปตามหลักวิชาการ
  • 3.เครื่องส่งอยู่ภายใต้มาตรฐานหรือยัง ถ้าเครื่องส่งไม่ได้ตามมาตรฐานจะส่งผลกระทบต่อการรบกวนที่หลากหลาย
  • จะมีการทำ Pre วิทยุชุมชนในพื้นที่ เช่นการรบกวนคลื่นการบิน กสทช.ได้มีการประกาศให้ปิดสถานี แต่ถ้าต่อมาไม่ทำตามก็จะเข้าสู่กระบวนการตามกฎหมาย
  • ต้องมีเจ้าหน้าที่เทคนิคประจำสถานีที่ดูแลทุกวันว่าเครื่องส่งของสถานีเป็นอย่างไร อุปกรณ์ควบคุม การออกอากาศ การส่งสัญญาณเพลง ไม่ให้เบี่ยงเบนจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ ถ้าเบี่ยงเบนก็จะถูกดำเนินตามกฎหมายของ กสทช. ว่าด้วย พ.ร.บ.วิทยุชุมชนปี 2498 และ พ.ร.บ. ประกอบกิจการกระจายเสียง ดังนั้นการประกอบการ ณ วันนี้ ทั้งที่มีคลื่นจำกัด แต่ ความต้องการไม่จำกัด ต้องดูแลอย่างไร
  • การบริการสาธารณะ บริการชุมชนขนาดเล็กในพื้นที่ อย่าทำในสิ่งซึ่งกฎหมายห้าม เช่นโฆษณาเกินจริง การเป็นดีเจต้องใช้กระบวนการผลิตซ้ำทางความคิด ดี.เจ. คือผู้ชี้นำ คนที่ฟังทุกวันก็จะเชื่อ ถ้าเป็นมลภาวะที่ไม่ดีในเรื่องการทำกิจการวิทยุกระจายเสียง อาจส่งผลให้สังคมเกิดความเสียหาย
  • ตัวอย่างในอนาคต ของ กสทช. โดย กสทช. ต้องทำพันธมิตรกระทรวงสาธารณสุขโดยอาหารและยา
  • ท่านที่อยู่ในที่ประชุม อยากเห็นอะไร ต้องทำอะไร ต้องการให้กสทช.ในพื้นที่ช่วยอะไรบ้าง ท่านที่อยู่ในภาควิชาการ จะเสนอแนะสื่อสารมวลชนอย่างไร ดี.เจ.มีจิตวิญญาณเป็นนักนิเทศศาสตร์หรือไม่
  • สถานีวิทยุชุมชน ไม่มีการรับโฆษณา สถานีจะอยู่รอดได้อย่างไร ต้องการเงินทุนเท่าไหร่เพื่อให้วิทยุชุมชนเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่และสังคมของพื้นที่
  • คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์
  • วิทยุที่มีอยู่ไม่ได้ถูกชอบด้วยกฎหมาย ผิดเรื่องการอนุญาตการใช้คลื่น ปี 2553 การประกอบการกระจายเสียง ปี 2551 การใช้คลื่น เทคนิคที่ไม่ได้รับใบอนุญาต
  • สิ่งที่จับเกิดจากการแพร่รบกวนคลื่นวิทยุการบิน และผู้อื่น ต้องถูกดำเนินคดี เอาฐานการใช้วิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้คลื่นรบกวนผู้อื่น แต่การออกใบอนุญาตอาจผ่อนผันได้
  • คลื่นรบกวนอาจเกิดจากตัวเครื่องและสายส่งที่ไม่ได้มาตรฐานอาจรบกวนได้ ดังนั้นในเบื้องต้นต้องพัฒนาให้อยู่ในกรอบที่กำหนดไว้
  • คุณอมรศักดิ์ จิวสืบพงษ์ วิศวกรรมบริหารระบบ บริษัทวิทยุการบิน ศูนย์ควบคุมการบิน สุราษฎร์ธานี
  • ยังมีการรบกวนจากวิทยุชุมชนอยู่เสมอ แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นสถานีวิทยุแห่งไหน ได้รับแจ้งจากเครื่องบิน ก็จะแจ้งให้กสทช.ตรวจสอบ ปัญหาที่ผ่านมา ได้รับความร่วมมือกับวิทยุชุมชนหลายสถานี เคยจัดอบรมที่ศูนย์ควบคุมการบินสุราษฎร์ธานี มีการพบปะกัน หลังจากนั้นการรบกวนน้อยลงมาก แต่ปัญหาที่มีคือแถบชุมพรยังมีอยู่ ปัญหาทุกครั้งที่มี ต้องได้รับแจ้งจากเครื่องบินก่อนว่ามีการรบกวนจากข้างบนถึงได้แจ้งทางกสทช.อีกด้านนึงต่อ
  • คุณกุศล เจิมขวัญ สถานีวิทยุชุมชนแชมป์เปี้ยนเรดิโอ F.M. 90.00 MHz อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส
  • มีคลื่นจากมาเลย์เข้ามารบกวน แต่ก็ไม่มีการควบคุม เป็นคลื่นแทรกระหว่างชายแดน คลื่นจากมาเลย์เข้ามาหลายจังหวัด ทำอย่างไรให้คลื่นต่างประเทศมาจอยกันให้สมดุลกัน มาเลย์มีการทำเรื่องมาก่อน แต่ไทยไม่มี ทางแก้ปัญหาคือสถานีต้องพยายามทำเรื่องเพื่อเปลี่ยนความถี่
  • คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์
  • การรบกวนคลื่นจากเพื่อนบ้าน มีการรบกวนคลื่นชายแดน อยู่ เราเปลี่ยนคลื่นได้หรือไม่ ตอนนี้ยังไม่ได้อนุญาตคลื่นอะไรเลยเพียงแค่ให้แจ้งไว้
  • ไม่ใช่แค่คลื่นวิทยุ แต่เป็นคลื่นโทรศัพท์ด้วย
  • นายธวัช ทวีชนม์ สถานีวิทยุศูนย์การเรียนรู้ลุ่มน้ำปากพนัง วิทยุชุมชน F.M.103.25 MHz อ.หัวไทย จ. นครศรีธรรมราช
  • - ปัญหาคลื่นริมทะเล มีการลดปัญหาบ้าง ในหน้าฝนมีบ้าง
  • - ปัญหาในชุมชน เกิดการขัดแย้งเมื่อเกิดโรงงานถ่านหิน ที่มีชุมชนจัดรายการอยู่
  • - วิทยุชุมชนจะให้ถูก 100 % ไม่ถูก เราต้องเสียค่าไฟ ค่าเทคนิค เป็นเบี้ยเลี้ยง ค่าจ้างอยากให้ช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเทคนิค เป็นการรับจ้างโฆษณา
  • คุณพิชญา เมืองเนาว์ ผู้อำนวยการ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ จ.สุราษฎร์ธานี
  • - ที่ผ่านมาในการทำงานระหว่างสื่อกระแสหลักกับวิทยุชุมชนในพื้นที่ ช่วยให้วิทยุชุมชนเป็นช่องทางแก้ปัญหาต่าง ๆ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือปัญหาทางเทคนิค มีการรบกวนคลื่นกัน มีการนำเสนอคลื่นไปที่สำนักงานนครศรีธรรมราช มีการส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ เราจะทำอย่างไรที่จะอยู่ได้อย่างเป็นมิตรกันในท้องถิ่น ไม่ว่ากระแสหลักหรือวิทยุชุมชนก็ตาม โดยตามหลักวิทยุชุมชน ต้องอยู่ได้ตามหลักการ
  • คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์
  • กองทุนจะสนับสนุนได้ต่อเมื่อวิทยุต้องถูกกฎหมายก่อน ต้องมีใบอนุญาต ให้เพียงแค่อยู่ได้ แต่ไม่ได้มีกำไร แนวนโยบายเองต้องอยู่ในอัตราที่เหมาะสมที่จะอยู่ได้ ต้องอยู่ในท้องถิ่นที่สนับสนุน
  • กฎหมายต้องสนับสนุนให้ชุมชนอยู่ได้ สถานีต้องถูกกฎหมาย ต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น สิทธิ์ไม่ก้าวเกินคนอื่น อย่างในยุโรปคนเดินเหยียบทางม้าลาย รถจะหยุด แต่ไทยไม่หยุด บ้านเราเกิดปัญหาเพราะคนไม่เคารพสิทธิ์ และกฎหมาย เราต่างไม่อยากให้ใครรบกวนคลื่นเรา อยากให้อยู่ในกรอบ

คุณอดิเรก วีระกิจ ผอ.สนง.กสทช. เขต 4 สงขลา

  • คลื่นความถี่ไม่ใช่ตัวว่าวที่บังคับทิศทางได้ แต่คลื่นความถี่เป็นการแพร่ไปในอากาศ ในกรณีชายแดน ถ้าภาคใต้มี องค์กร JTC เป็นคณะกรรมการดูแลทางเทคนิค กิจการกระจายเสียง โทรคมนาคม ระหว่างชายแดน จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะจะให้คลื่นทุกอย่างลงทะเบียนถูกต้อง แต่ของไทยเป็นอย่างไร คลื่นที่คิดค้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 40 เป็นทั้งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารความถี่คลื่นวิทยุ ผลคือทำให้มีการแทรก มีการกวน
  • ชายแดน ถ้าคลื่นไปโดนมาเลย์ เราต้องหยุด เพราะว่าคลื่นความถี่ทุกคลื่น ถ้ามีการจดทะเบียนการใช้คลื่นความถี่ระหว่างประเทศจะมีกฎหมายรับรองระหว่างประเทศ จนกว่าจะมีการประกาศใช้การจัดสรรคลื่นความถี่ออกมา ต้องมีการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ โทรคมนาคม ในการบริหารความถี่ ทำอย่างไรให้สังคมไทยไม่มีการทำอะไรตามใจคือไทยแท้ สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นในวงกว้างของสังคม เราจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เรื่องกระจายเสียง ชุมชนสาธารณะให้อยู่ในกรอบในการขับเคลื่อนอย่างไร
  • JTC ทุกประเทศที่จดทะเบียนภายใต้กรอบ จะจดได้ก็ต่อเมื่อมีการบริหารคลื่นความถี่วิทยุ เดิมมี กทช.ไปดำเนินการประชุมในชายแดน แลกเปลี่ยนข้อมูลทางเทคนิค
  • ข้อมูลของกสทช.ใช้ 500 วัตต์ ใช้พื้นที่การให้บริการในลักษณะความถี่ที่ทำซ้ำกันได้
  • ผศ.ดร.ลดาวัลย์ แก้วศรีนวล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • บ้านเราทำอะไรที่เปิดกว้าง การจัดกลุ่มจะเป็นการยาก ทำได้ตามใจคือไทยแท้คือผิด ไม่ถูกสอนเป็นพลเมืองที่ดี ไม่เคยถูกจัดระบบมาก่อน
  • การเปิดวิทยุชุมชนต้องสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนัก ต้องช่วยกัน คนที่มีวิทยุในมือไม่เข้าใจ กระบวนการต้องเป็นอย่างไร ความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาในท้องถิ่น ยังแยกส่วนในการบริหารจัดการดูแล การทำงานควบคุมโดย 2-3 หน่วยงาน ยากในการปฏิบัติ ในฐานะสถาบันการศึกษา พยายามสร้างคนให้มีความรู้ทุกด้านในการทำงานสื่อ แต่ในฐานะเจ้าของสื่อเอง บางครั้งขาดอะไรบางอย่างที่สร้างความเติมเต็มให้ประชาชนมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ดี
  • คุณสมคิด นาคะพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการ สำนักงาน กสทช. เขต 12 นครศรีธรรมราช
  • ประเด็นสถานีวิทยุชุมชนลุ่มน้ำปากพนัง ข้อมูลที่สำนักงานเขต 12 ตอนนี้ มีนครศรีธรรมราช 7 สถานี สุราษฎร์ฯ 5 สถานี ไม่สามารถหารายได้จากการโฆษณาได้
  • คลื่นความถี่มาตรา 47 พูดเฉพาะวรรคหนึ่ง ไม่ได้พูดวรรคสอง ปัญหาที่เกิดยังไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ไม่สามารถไปจัดสรรในการจดทะเบียนกับมาเลเซียได้ ถ้ารบกวนแล้วก็สามารถมีการจัดสรรกับมาเลเซียได้
  • คลื่นยังไม่ได้เป็นของสถานีอย่างแท้จริง เป็นเพียงแค่การทดลอง อย่ายึดว่าเป็นปัญหา
  • กสทช. ในด้านกฎหมาย สำนักงานเขตได้มีการให้ความรู้ แนะนำสำหรับผู้ประกอบการว่าต้องทำอย่างไรต่อ การให้คำแนะนำต่าง ๆ ในการยื่นคำขอเอกสาร ขอให้ตรวจสอบใบอนุญาตก่อนหมดอายุ และผู้ประกอบการรายใดที่ยังไม่เรียกให้ไปรับใบอนุญาตประกอบกิจการ แสดงว่าเอกสารมีปัญหา และกสทช.ต้องการเอกสารเพิ่มเติม ต้องติดต่อภายใน 15 มี.ค. 57เพื่อยื่นเอกสารเพิ่มเติม
  • โครงการตรวจสุขภาพคลื่นวิทยุให้สำนักงานเขตตรวจสอบทุกสถานี คลื่นไหนมีปัญหาจะให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาเหมือนตรวจสุขภาพ
  • สำหรับวิทยุการบิน มีการติดต่อปัญหานี้อย่างใกล้ชิดระหว่างเขตชุมพร และนครศรีธรรมราช พบว่าบางครั้งการรบกวนคลื่นไม่ได้มาจากภาคใต้อย่างเดียวแต่เมื่อเวลาช่วงอากาศเปิดมีคลื่นรบกวนมาจากภาคตะวันออกได้ด้วยเหมือนกัน
  • คลื่นหลัก มีการดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนหนึ่งเกิดจากคุณภาพคลื่นรับวิทยุเอง ถ้าเป็นรถที่มีช่วงล่างดี จะไม่มีการรบกวนเพราะคลื่นจะแน่นจริง ๆ
  • อาจารย์ทำนอง ดาศรี
  • สิ่งที่เน้นคือการกำกับดูแล และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้ดูแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง วิทยุโทรคมนาคม การกำกับอาจทำได้โดยการจัดตั้งสมาคม ตัวอย่างเช่น สมุทรปราการมีการจัดการดูแลกันเอง

คุณฎาวิ กูลณรงค์ สถานีวิทยุท้องถิ่นไทย เลิฟเรดิโอ F.M.93.00 MHZ จ.ปัตตานี

เรื่องการกระจายอำนาจ กสทช.ส่วนกลาง ลงมาที่สำนักงานระดับเขต ในการดำเนินการ โดยเฉพาะบางเรื่องที่สำคัญ เช่น การยื่นขอต่ออายุใบอนุญาต การขอใบอนุญาต การตรวจสอบคลื่น ที่พบปัญหาส่วนกลางเหมือนคอขวด ถนนทุกสายมุ่งสู่กสทช. กลไกน่าจะเข้ามาแบ่งเบาภาระตรงนี้ เขตน่าจะได้ใกล้ชิดพื้นที่เขต

วิทยุชุมชนที่ดูแลเรื่องคลื่น โดยเฉพาะคลื่นส่ง วิทยุพื้นที่ สาธารณะ ชุมชน บริการธุรกิจ เราไม่ใช่ทุนใหญ่ หรือมีงบประมาณสนับสนุนมาก หลัก ๆ เป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายและความใกล้ชิดกันมากกว่า

เนื้อหา กสทช.ดูแลเรื่องใบประกาศต่าง ๆ การทดสอบใบผู้ประกาศล่าสุดได้รับหนังสือแจ้งจากสมาคมว่าจะมีการจัดอบรมเพื่อให้ความรู้และทดสอบ ดูแล้วหลักการดี แต่ว่าค่าใช้จ่ายเป็นพัน จัดอบรมที่ภาคใต้ตอนบน อบรมครั้งเดียวใช่ว่าจะได้ ฝากกสทช.ดูแลเรื่องนี้ว่า ถ้าเป็นไปได้ กสทช. น่ามีเงินสนับสนุนเป็นโครงการฯ จัดเป็นภูมิภาค อยากให้รวมที่ภาคใต้ตอนล่างด้วย และถ้าจัดอบรมน่าจะใช้เครือข่ายสถาบันการศึกษาในพื้นที่เช่น ราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยสงขลา ราชภัฏปัตตานี เป็นต้น

การสนับสนุนดูแลเครื่องส่ง เป็นไปได้หรือไม่ว่า กสทช.น่าจะตั้งเป็นกองทุนกองทุนหนึ่ง

SMEs แบงค์ที่ปล่อยสินเชื่อ ข้อกำหนดไม่ได้ครอบคลุมถึงวิทยุ อยากให้ดูเรื่องการสนับสนุนทางการเงินด้วย

  • คุณพิชญา เมืองเนาว์ ผู้อำนวยการ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 5 กรมประชาสัมพันธ์ จ.สุราษฎร์ธานี

การทดสอบผู้ประกาศ กรมประชาสัมพันธ์เป็นหนึ่งใน 35 หน่วยงานที่จัดอบรมผู้ประกาศ เรื่องค่าใช้จ่าย กสทช.กำหนดแต่ละรุ่นว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่เกินเท่าไหร่ กรมได้ MOU กสทช.ให้ทำ เป็นสิ่งที่กำหนดมา กรมเป็นเพียงเข้ามาร่วม และรวมหลายสิบ MOU ตรงนี้ การอบรมมีกฎหมายเรื่องกสทช. พ.ร.บ. การประกอบวิทยุโทรทัศน์ การกระจายเสียง สิ่งเหล่านี้ส่งผลถึงคนในด้านนี้

การอบรมอยากให้การอบรมรับทราบในด้านนี้จะมีผลต่อการกำกับดูแลมาก เสนอแนวคิดว่าทำอย่างไรให้คนทำงานมีจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม ชี้นำสังคม และสร้างประสบการณ์ต่าง ๆ ในสังคม ให้สามารถควบคุมตนเองได้

การทำงานสื่อถ้าทำไปแล้วจะทำอย่างไรให้คนที่ทำงานด้านนี้ไม่ใช่ว่าใครเข้ามาได้ ต้องมีใบตรงนี้ถึงทำงานได้ หน่วยงานที่เข้ามาควบคุมตรวจสอบสามารถป้องกันได้

อาจารย์บัวผิน โตทรัพย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

ความต้องการจากสื่อยังมีความขับข้องใจว่าคลื่นมาเลย์เป็นอย่างไร ทับซ้อนอย่างไร ผู้ประกอบการไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ ถ้ามีปัญหาตรงนี้จะทำอย่างไร กสทช.จัดอบรมเยอะแยะแต่อยากให้มองว่าเราได้เข้าถึงชุมชนแล้วหรือยัง

สิ่งที่เราเขียนกับสิ่งที่ทำคนละเรื่อง ความต้องการของสื่อ เขต ภูมิภาค น่าจะมีเครือข่ายทำงานร่วมกัน น่าจะร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีคณะกรรมการหรือเครือข่ายท้องถิ่นช่วย กสทช.ทำงาน บทบาทอยู่ตรงไหน

การกำกับดูแล แน่นอนว่าเราต้องกำกับดูแลอยู่แล้ว เราได้ศึกษาเรียนรู้กฎหมายระเบียบที่เราไปเกี่ยวข้องหรือไม่ ผอ.ที่ดูแลสถานีต้องเข้าใจซึ่งกันและกัน ในแง่การปฏิบัติตามกฎหมายก็ขรุขระ

การดูแลกันเองที่เป็นกลุ่ม เริ่มเห็นว่า สุราษฎร์ธานี เริ่มรวมตัวมากขึ้น แต่ยังไม่เห็นเรื่องการขับเคลื่อน การดูแลโดยประชาชน การควบคุมโดยประชาชนดูแลกำกับอะไร ขอบเขตใด

ความต้องการให้เกิดการพัฒนาบุคลากร เราได้ทำจริงจังหรือไม่ เน้นเรื่องเทคนิค กฎหมาย แต่ไม่ลง Content

เรามีอะไรที่ทำให้ทุกคนเปิดสถานีมีความเข้าใจร่วมกัน แล้วเมื่อไรได้เงินมาช่วย

ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ภายใต้ยังไม่มีความชัดเจน มีอะไรที่ตกลงร่วมกัน ออกอากาศได้ไม่มีปัญหา ให้เข้าพื้นที่มากขึ้น คุยมากขึ้นด้วย

ภาคใต้ (ต่อ)

อาจารย์ราเชนฐ์ หีมสุหรี คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏยะลา

เนื้อหารายการ มีรายการเป็นภาษามาลายูเยอะ เพราะเป็นมุสลิม มีรายการที่ได้สัมผัส การทำรายการของมาเลย์ และการเมืองมาเลย์ด้วย

กฎระเบียบ โครงสร้าง เนื้อหา ต้องทำอีกเยอะ หลายจังหวัดใช้ภาษาถิ่น กสทช.มีนโยบายนี้อย่างไร

ผศ.ดร.ลดาวัลย์ แก้วศรีนวล คณบดี คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช

การกำกับดูแลในเรื่องเครื่องส่ง และเนื้อหา อยากให้เฝ้าระวังโฆษณาที่เอาเปรียบผู้บริโภค การใช้โฆษณาเป็นเท็จ ให้ประชาชนเกิดความตื่นกลัว สร้างคนดีกว่าให้เป็นคนที่ระมัดระวัง ต้องมีการอบรมให้ความรู้แก่บุคคลต้นแบบ แบบไหนผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทุกอย่างต้องมีเกณฑ์ว่าข้อความแบบไหนเอาเปรียบ ต้องมีการร่วมมือกันให้การกำกับเนื้อหามีประสิทธิภาพ สร้างประชาชนตื่นตัว ให้การกำกับดูแลภาคประชาชนมีประโยชน์สูงสุด

อาจารย์แวอาซีซะห์ ดาจะปี คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏยะลา

อาจทำให้มีข้อต่อเชื่อมระหว่างผู้กำกับและปฏิบัติ ปัจจุบันไม่มีใครมาเชื่อมตรงกลางให้ทำงานร่วมกัน ขาดการทำความเข้าใจ กสทช.อาจมองว่าคนที่ทำงานด้านนี้ควรรู้หรือต้องรู้ ทางด้านเนื้อหาเราต้องชัดเจนว่าจะผลิตอะไรบ้าง ทางเทคนิคขาดตัวกลางตรงนี้ในการเชื่อมต่อ ถ้าไปเองใช้เวลาค่อนข้างเยอะ

การสอบ 3 ครั้ง มีขั้นต้น กลาง สูง ค่าใช้จ่าย หลักหมื่นขึ้นไป วิทยุชุมชนค่าใช้จ่ายค่อนข้างเยอะสำหรับผู้จัดรายการฯ

เนื้อหาต่าง ๆ สิ่งที่ต้องการคือการทดสอบใบผู้ประกาศ อยากทำให้ชัดว่าต้องการอะไร อาจให้มีการจัดอบรม ไม่ใช่การทดสอบใบผู้ประกาศ

สอบไม่ผ่านคนไม่เข้ารับการอบรมไม่มีสิทธิ์ ต้องผ่านกระบวนการให้ครบ เสมือนการเอื้อหรือไม่ เพราะหลักการความเข้าใจ ขอบคุณผอ.เขต 4 ที่ให้ความรู้ รายละเอียด เป็นข้อหนึ่งที่ขาดความรู้เพื่อดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เราอาจมองว่าเขารู้แล้วเลยทำธุรกิจนี้ ถ้าคิดแบบนี้จะเป็นข้อบกพร่องมาก

คุณฎาวิ กูลณรงค์ สถานีวิทยุท้องถิ่นไทย เลิฟเรดิโอ F.M.93.00 MHZ จ.ปัตตานี

การทดสอบผู้ประกาศ สนับสนุนและให้ความสำคัญมาก

วิทยุกระจายเสียงถ้าใช้เม็ดเงินเป็นตัวตั้งจะเกิดปัญหาอย่างแรง ถ้าเม็ดเงินเป็นหลักจะสอดคล้องทุนนิยมเต็มที่ได้

นายกุศล เจิมจรัส สถานีวิทยุชุมชนแชมป์เปี้ยนเรดิโอ F.M.90.00 MHz จ.นราธิวาส

ได้นำข้อบกพร่องนราธิวาสมาคุย

การวัดสัญญาณวิทยุ เจ้าของสถานีสามารถวัดได้ในเบื้องต้น ลดภาระร้องเรียน

ที่ปัตตานีมีการจัดประชุมใหญ่ พูดเรื่องการต่อสัญญา และโอกาส พบว่าหลายสถานีไม่มีใบผู้ประกาศแต่อยากได้

ข้อห้ามหลัก ๆ

1. กสทช.ไม่จำเป็นที่ส่งหลักฐานไป แล้วทางนั้นจะตอบรับมา

2. ปัตตานี จะส่งเครื่องไปกทม. กสทช.จะตรวจคลื่นที่หาดใหญ่ เอาหาดใหญ่เป็นศูนย์

3.วัฒนธรรมภาคใต้ วัฒนธรรมมีการกระทบมาก ๆ ถ้ากระทบจิตใจเขามากจะไม่ทำ รู้จริงหรือรู้ไม่จริงห้ามพูดต้องให้คนที่สมควรพูด ๆ ต้องให้ผู้นำศาสนาพูด

คุณธวัช ทวีชนม์ ผู้อำนวยการ F.M.103.25 MHz.ศูนยการเรียนรู้ลุ่มน้ำปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

เครื่องส่ง ไม่มีสถานีไหนถูกต้อง การตั้งศูนย์ที่นครฯ สุราษฎร์ สงขลาต้องกระจายมา สถานีกลัวมาก ๆ จะใช้เครื่องไหนเครื่องนั้น

คุณณัฐชมพร หัสดินทร์ เจ้าหน้าที่ธุรกการสถานีวิทยุชุมชนคนถ้ำสิงห์ F.M.90.00 MHz จ.ชุมพร

อยากให้มีการจัดอบรมนักจัดรายการเพราะหลายคนต้องการเป็นนักจัดรายการที่ดี ต้องการให้กสทช.ชุมพรจัดอบรมนักจัดรายการโดยเฉพาะเรื่องจรรยาบรรณ นักจัดรายการต้องมีประโยชน์โดยเฉพาะ อยากให้จัด 3 เดือนหนึ่งครั้ง

คุณวรพจน์ ศิวิโรจน์ ผู้อำนวยการกองวเชาการาและแผนงาน สถานีวิทยุเทศบาลนครหาดใหญ่ F.M.96.00 MHz จ.สงขลา

สถานีเป็นสาธารณะ ไม่มีโฆษณาจัดรายการง่าย วัตถุประสงค์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่ภาคประชาชน เช่นอุทกภัย

เรื่องทรัพยากรมนุษย์ใช้วิธีการ Learning by doing ให้รุ่นพี่สอนรุ่นน้อง อยากให้เกิดการร่วมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายจังหวัด

ความต้องการจัดจ้างเป็นไปยากลำบากไม่สามารถซื้อตามระเบียบราชการ ไม่มีใบอนุญาต ใช้วิธีการเช่าจากวิทยุชุมชนที่มีสำรอง คิดว่าหลังจากได้ใบอนุญาตชั่วคราวจะนำมาซื้อได้ จะมีท้องถิ่นที่มีความสามารถเดินตาม เริ่มแรกใช้วิธีการยึดหัวหาด ใช้วิธีการปฏิบัติ ซิกแซก เช่าของเอกชนเข้ามา

เรื่องการออกใบอนุญาตให้เร็วขึ้นและแบ่งสรรคลื่นความถี่ให้เร็วขึ้น เรียบร้อยขึ้น ปัจจุบันมีคลื่นความถี่แทรกเข้ามา ต้องรักษากติกา ฝาก กสทช.เร่งรัดการแบ่งสรรคลื่นและออกใบอนุญาตให้ได้ หน่วยราชการท้องถิ่นจะได้ขออนุญาตได้

คุณดุสิต ลาวพันธ์ สถานีวิทยุ True love radio 100.75 MHz จ.กระบี่

อยากให้งดเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ โดยเฉพาะวิทยุชุมชน ปัจจุบัน 3 ประเภทชัดเจนคือ ชุมชน สาธารณะ ธุรกิจ

สาธารณะ กับ ธุรกิจอาจไม่มีปัญหา แต่ชุมชนแม้ว่าถูกแต่ค่าใช้จ่ายมีเยอะมาก อนุญาตแล้วเอาเครื่องไปตรวจก็เป็นค่าใช้จ่าย

ถ้าทำได้ ค่าธรรมเนียม 500 บาท ต่ออายุน่าจะเหลือ 100 บาท

การตรวจเครื่อง กสทช.น่าจะมีหน่วยงานพิเศษตรวจได้ฟรี

มุมมองต่อวิทยุชุมชนมีประโยชน์มาก ถ้าตั้งวิทยุชุมชนขึ้นมาจะทำได้หรือไม่ ให้อนุญาตเครื่องส่ง 500 วัตต์

หน่วยงานในพื้นที่ ราชการ ขยับมาใช้วิทยุคุณภาพต่ำ ๆ วิทยุอื่นที่เป็นธุรกิจมาใช้ฟรีอยู่แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมาเห็นใจและสนับสนุนวิทยุชุมชนได้หรือไม่แทนที่จะไปตามจับ

วิทยุชุมชนมีแต่รายจ่าย ไม่มีรายได้ แต่เงินทุนสนับสนุนไม่มีแต่อยากทำเพราะจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง

คุณศุภกร ลิ้มตระกูล นายสถานี วิทยุชุมชน F.M.105.75 MHz ปลายพระยา จ.กระบี่

เป็นกพร.ดีเด่นคนแรกจังหวัดกระบี่ มีรายการจากกรมประชาสัมพันธ์ส่งให้ชุมชน การสนับสนุนสามารถได้จากคนสนับสนุน ขอฝากว่าเทศบาล อบต. อย่าสร้างสถานีเพิ่มขึ้นอีก ทำไมไม่ใช้สถานีเดิม เพื่อลดความถี่ไม่ให้ความถี่เพิ่มขึ้น ของใหม่ย่อมดีกว่าของเก่า

คุณไพทูรย์ ทองห่อ สถานีวิทยุ F.M.102 MHz โครงการลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครศรีธรรมราช

เริ่มต้นแต่ก่อนให้ 30 % มีรายได้เข้าสถานีบางส่วน แต่หลังจากนั้นไม่มีหน่วยงานที่สนับสนุนของสถานี ถ้าเปิดโอกาสให้ 20 – 30 %

ผู้ใหญ่บ้าน

ถ้าหมู่บ้านอยากได้วิทยุชุมชนจะทำอย่างไร จะต้องประชุมประชาคมที่ถูกต้อง แล้วยื่นกสทช. คลื่นที่ส่ง ปัจจุบันเสา 50 เมตร กำลังส่ง 500 วัตต์ ถ้าวิทยุชุมชนทำเป็นธุรกิจ คลื่นไปรบกวนวิทยุการบิน อยากได้วิทยุชุมชนที่ทำเพื่อชุมชนจริง ๆ ไม่ใช่เพื่อธุรกิจ

ขั้นตอนเอื้อผลประโยชน์ให้ซึ่งกันและกันหรือไม่ ถ้าทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดี ทุกสิ่งตรงนี้อยู่ในสิ่งที่ดี ๆ ได้หมด ถ้าทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรมเรื่องแบบนี้ไม่เกิด

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

มาตรฐานทำไมต้องเอาเครื่องไปตรวจ เครื่องที่ซื้อเป็นเครื่องดีราคาถูก ไม่ใช่ดีราคาแพง มาตรฐานก็ไม่มี ตรวจอย่างไรก็ไม่ผ่าน เพราะเป็นการประกอบเครื่องที่จูนเครื่องไม่ได้ ทำให้เป็นปัญหา เป็นการแก้ปัญหาวัวหายล้อมคอก ไม่มีใบรับรอง เราไม่ฉลาดทันคนมาขายเครื่อง และการควบคุมสถานี มีการสร้างความเข้าใจผิดให้พวกเราทุกคน ทำให้เกิดปัญหาที่แก้ไขปัญหามาหาต้นเหตุที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องยื่นทุกอย่างที่ถูกต้องหมด เหมือนคนขายเครื่องเขาอยากขายเครื่องเรา ก็หลอกเรา ควรทำให้ถูกต้องและเข้าระบบ อาจขอรับการสนับสนุน

กฎหมายกองทุน เพื่อวิทยุชุมชน ได้เงินแน่ แต่ต้องทำให้ถูกกฎหมาย ที่ถูกต้องคนขอใบอนุญาตต้องแสดงความจำนงก่อนไปซื้อเครื่อง แต่เมื่อวิทยุชุมชนเยอะมาก จึงให้คนที่มีเครื่องอยู่แล้วถึงมาแจ้งความจำนงขอตั้งสถานี

จากเดิมมี 4,000 สถานี เพิ่มเป็น 7,000 สถานี และเป็น 10,000 สถานี ยังไม่มีเครื่องไหนที่จะจูนให้ถูกกฎหมายได้

ที่เป็นปัญหามาก ให้ใช้อยู่ในขอบเขต ชุมชนไม่ต้องกลัว อยากให้ทุกคนสร้างมโนสำนึกว่าสิ่งที่ทำนั้นถูกหรือผิด ถ้าเราช่วยกันต้องให้ลูกศิษย์ใช้มโนสำนึกที่ถูกต้อง

กิจการกระจายเสียงวิทยุชุมชนถ้าทำอย่างนี้จะแก้ปัญหาไม่ได้ การรังแกถูกกดขี่ พยายามจัดระบบให้ วิจัยครั้งนี้อยากทำให้เข้าระบบได้มากที่สุด

สิ่งที่ยังไม่ได้ทำคือ การจัดสรรคลื่นความถี่ ชุมชนมีเท่าไหร่ คลื่นอะไร กฎ กติกา ไม่ได้กำหนดในเร็ววัน

คุณฎาวิ กูลณรงค์ ชาญยุทธ์ วิทยุท้องถิ่นไทย เลิฟเรดิโอ F.M.93.00 MHzจ.ปัตตานี

เครื่องส่งเป็นไปได้หรือไม่ว่านำเข้าเครื่องส่งที่ไม่สามารถจูนได้ ไปเปลี่ยน ออกเป็นประกาศได้หรือไม่ว่าเอาเครื่องเก่าไปเปลี่ยนเป็นเครื่องใหม่ อาจให้หน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่กสทช.ทำ เมื่ออุปสงค์เยอะ อุปทานตาม เครื่องจะถูกลง ติดข้อตรงไหน แก้กฎหมาย

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

เอาเครื่องเก่ามาแลกเครื่องมาตรฐาน จะลองทำเป็นข้อเสนอ สำหรับเครื่องนั้นไม่จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศสามารถผลิตในประเทศไทย แต่ขอให้ไปขอตรวจรับมาตรฐานก่อน

คุณดุสิต ลาวพันธ์ สถานีวิทยุ True love radio 100.75 MHz จ.กระบี่

อยากทำให้ทุกอย่างถูกกฎหมายและทำให้ดีด้วย คนที่อยู่ที่นี่ที่เป็นวิทยุชุมชน ตั้งใจจะพัฒนาให้ดีที่สุด อยากให้มองใหม่ว่าเป็นสื่อที่ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติ

คุณสมคิด นาคะพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการ กสทช. เขต 12 นครศรีธรรมราช

กสทช.ให้ความสำคัญวิทยุชุมชน มีการอบรมให้ความรู้ต่อเนื่องแล้วจะมีการให้ความรู้ผู้ประกาศ จากจ.ปัตตานี ที่บอกเรื่องการต่ออนุญาต

การวิเคราะห์เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบข้อมูลต่าง ๆ ให้คำแนะนำตรวจสอบเบื้องต้น การขอใบอนุญาตให้คำแนะนำข้อมูลได้ แต่การต่ออายุใบอนุญาตเป็นของกสทช.

การกำกับดูแลเนื้อหา กสทช.ไม่มีอำนาจไป Sensor เป็นเพียงส่งเสริมให้รวมกลุ่มดูแลกำกับกันเอง แต่ในระหว่างไม่มีการดูแลกำกับอย่างเข้มข้น มีการตั้งอนุกรรมการเนื้อหา กำกับรายการ มีหน้าที่พิจารณาเนื้อหารายการว่าเป็นอย่างไร มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลตามหลักเกณฑ์ ถ้าผิดจะดำเนินการตามระเบียบให้ออกไป

การจัดอบรมผู้ประกาศ กสทช.ได้ทำบันทึกร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ 35 หน่วยงาน เช่นกรมประชาสัมพันธ์ แต่ค่าอบรมค่อนข้างสูง มีค่าธรรมเนียมบางส่วนที่จ่ายให้กับกสทช. การตรวจสอบว่าหน่วยงานไหนอนุญาตให้ตรวจสอบในเวปไซต์ กสทช.

การตรวจเครื่อง ขณะนี้สำนักงานกสทช.มีบันทึกความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของรัฐเพื่ออำนวยความสะดวก ในวันนี้มีแลปตรวจเครื่องเพิ่มขึ้น อยู่ระหว่างขอใบอนุญาต กสทช. เชื่อว่าอีกไม่นานมีแลปอยู่ในภาคใต้

การหารายได้ ณ วันนี้ กสทช.กลายเป็นจำเลยผู้ประกอบการบริการวิทยุชุมชน มาจากกฎหมายที่เขียนกำหนดไว้ว่าวิทยุชุมชน โฆษณาไม่ได้ กสทช.เพียงปฏิบัตตามกฎหมายที่กำหนดไว้ กติกาไม่ได้กำหนด แต่ปฏิบัติให้ตามข้อบัญญัติ

กสทช.ได้พยายามดูแลรายเล็ก รายใหญ่อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน วิทยุไม่มีสถานะทางกฎหมาย ท่านใดที่มีข้อมูลหรือข้อสงสัย ทุกท่านมีข้อมูลอยู่แล้ว ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ให้ทุกเขตดำเนินตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญ ไม่เคยคิดว่าผู้ประกอบการเป็นหนู กสทช. ไม่ใช่แมว แต่เราอยู่ในสนามเดียวกันคือเป็นผู้เล่น และกรรมการ เพื่อให้ทุกส่วนเป็นตามกติกา ที่จะต้องปรับปรุงและแก้ไข เชื่อว่าให้ผู้ประกอบการทุกรายมีที่ยืน

อาจารย์บัวผิน โตทรัพย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี

การสอบผู้ประกาศ เป็นงานของกสทช.แล้วไป MOU กับหน่วยงานรัฐ 35 แห่งทั่วประเทศ ต้นเรื่องคือกสทช.เป็นผู้ประกาศ ต้องมีหน้าที่กำกับดูแลให้เป็นตามกฎเกณฑ์

คุณสมคิด นาคะพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการ กสทช. เขต 12 นครศรีธรรมราช

การจัดอบรมไม่ได้กสทช.เป็นคนจัดอบรม กสทช.เพียงแค่ออกกฎเกณฑ์ และควบคุม ถ้าหน่วยงาน

คุณพิชญา เมืองเนาว์ ผอ.สปป. 5 กรมประชาสัมพันธ์

เดิมเป็นหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์ แต่ต่อมา กสทช. กำหนดหลักเกณฑ์ ให้ 35 หน่วยงานไปทำรายได้ หน้าที่รับผิดชอบบัตรต้องเป็นของกสทช. ที่ดูแล

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ปัญหาการปฏิบัติการ ไม่ว่าจะกสทช. หรือ 35 หน่วยงานสิ่งที่กระทบคือผู้ประกอบการ

ทุกคนเป็นเครือข่ายทั้งหมด ทางโครงการจะเก็บชื่อและโทรศัพท์ไว้เป็นเครือข่ายเพื่อทำงานร่วมกัน

สรุปการประชุม Focus Group (กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล

กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557

ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ โรงแรมสยามแกรนด์ จ.อุดรธานี

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วัตถุประสงค์

การวิจัยนี้คือการผนึกกำลังร่วมกัน และนำความหลากหลายของตัวละครแต่ละภาคส่วนมารวมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การวิจัยครั้งนี้คือการวิจัยเพื่ออนาคตของประเทศ สื่อวิทยุเป็นสื่อเข้าสู่ประชาชนได้รวดเร็วและต้นทุนถูก นอกจากให้ความรู้บันเทิง และเพลิดเพลินแล้วยังได้แนวคิดใหม่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ใช้ความรู้เหล่านี้ผสมกับภาคอีสานจะเกิดเป็น Value เกิดขึ้น อาจมีความร่วมมือกันระหว่างกสทช.กับสื่อต่าง ๆ และป้องกันความเสี่ยงกับภัยธรรมชาติ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน งานวิจัยครั้งนี้จึงควรย้อนทั้งอดีต ดูถึงปัจจุบัน และคำนึงถึงอนาคต ตัวอย่างเช่น สวีเดนเน้นการสร้างพลเมืองให้มีความฉลาดเฉลียว และทันการเรียนรู้

คำถามคือประโยชน์วิทยุได้กระจายไปให้คนทุกฝ่ายจริงหรือไม่ และเกิดผลต่อประชาชนจริงหรือไม่

การที่กสทช.รวมกันและมี รัฐธรรมนูญปี 40 จะสามารถช่วยได้

ปัญหาที่พบคือ การขาดคุณธรรม จริยธรรม เน้นการโฆษณาเกินจริง และปลุกระดมทางการเมือง ดังนั้นการสร้างค่านิยมผิด ๆ มอมเมาประชาชนเป็นสิ่งที่กสทช.ควรดูเพื่อทำให้มีประโยชน์แท้จริงกับประชาชน ถ้าใช้สิ่งเหล่านี้ให้เกิดปัญญาขึ้นอย่างแท้จริง เป้าหมายจะเพื่อการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ได้

Methodology

1. สำรวจวรรณกรรม

2. Focus Group เรียนรู้มาก ๆ จาก Stakeholder

3. มี Indepth Interview หรือ Expert Opinion Servey

4. Questionaire

5. ดูงานต่างประเทศ

โดยสรุป โจทย์หรือ TOR มี 4 อย่าง +

1. การปฏิบัติตามกฎหมาย หน้าที่ต้องทำเรื่องกฎหมายให้ดี

2. เรื่องเทคโนโลยี เช่นดิจิตอลเรดิโอที่นอร์เวย์เข้มแข็งมาก แต่ขณะที่ยังไม่มีก็ดูที่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย

3. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางรายได้คนจะเป็นจุดอ่อน เช่นคนดีอยากทำวิทยุแต่ไม่มีกำลังพอ ก็อาจถูกซื้อไป การมีกองทุนอาจช่วยแบ่งปันผลประโยชน์ให้ครบถ้วน

4. ผลกระทบทางสังคม เช่นวัฒนธรรม ตัวอย่างที่สวีเดน และนอร์เวย์ให้สิทธิชุมชนใช้ภาษาเปอร์เซีย ดังนั้นวิทยุชุมชนคือการรักษาภูมิปัญญาไว้

ตอนจบจะเสนอแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของวงการวิทยุเสนอไปที่ กสทช.

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

การกำกับดูแลมี 3 ระดับ

1. ดูแลตัวเอง ดูแลกันเอง

2. จัดตั้งสมาคม เขียนกติกามารยาท

3. การกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือ กสทช.

ที่มาคุยวันนี้เพื่อให้ได้เห็นถึงปัญหา ทุกภาคเจอมาคือมีการทับซ้อนอยู่ ก่อนปี 40 สถานีวิทยุอยู่ในมือของรัฐ แต่เวลาไม่ได้ทำเอง มีช่องเปิดเหมาเช่าเวลาได้ เงินไม่ได้เข้ารัฐ ตกอยู่เบี้ยบ้ายรายทาง ปี 40 มีการปฏิรูปสื่อเป็นของชาติและประโยชน์สาธารณะ กิจการวิทยุชุมชนมีสิทธิใช้และเท่าเทียมกัน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพแสดงออกมากขึ้น เอกชนต้องรับผิดชอบเนื้อหาสาระรายการด้วย

กสทช.ได้วางหลักเกณฑ์ ส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยให้ตามแผน เป็นสิ่งที่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม มีแผนการพัฒนาทุนมนุษย์ซ่อนอยู่

สถานีวิทยุกระจายเสียงถูกแบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ

1. สื่อสาธารณะ เป็นของรัฐ

2. สื่อของธุรกิจเอกชน

3. สื่อชุมชนแท้ ๆ ไม่หวังกำไร มีการจัดสรรกองทุนไปให้แต่ยังไม่เกิด ซึ่งมีการขยายช่องเพิ่มจำนวนมาก

ทางเลือกอีกด้านหนึ่งคือดิจิตอล แต่อย่างไรก็ตามคิดว่าระบบอนาล็อกยังคงอยู่ ในอนาคตอยากให้มีการวางแผนอย่างถูกต้องและตรงใจ ในความเป็นจริง สถานีวิทยุไปรวมกับคลื่นและใช้ได้ตามใจ

ประเด็นจะพูดถึงปัญหา จุดเด่น จุดอ่อน คำแนะนำที่อยากนำเสนอด้วย อะไรจะอยู่ในกรอบคุณธรรม จริยธรรม และสิทธิ ข้อเท็จจริง เป็นอย่างไร รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงเทคนิคของคลื่น

พระฐนกรทษฌพร กนตสีโล วัดป่าหนองสนุ่น อ.ด่านซ้าย จ.เลย

ถือว่าดีมาก ๆ เนื่องจากได้เป็นวิทยากรมาหลาย 10 ปี ถ้าเปิดโอกาสให้ได้อยากให้เป็นศูนย์กลาง คือให้วัดแบ่งปันกันให้แต่ละวัดมีโอกาสพูดธรรมะดี ๆ เสนอแนะสิ่งที่เป็นประโยชน์ แบ่งให้ชุมชน ประชาชน มีการจัดเป็นสัดส่วน และดูแลอย่างเป็นระดับ ๆ องค์กร ภาค จังหวัด ชุมชน แล้วชุมชนที่มีสมาชิกจะให้ข่าว และมีข้อมูลส่งให้อีกด้าน แต่ถ้าไม่มีตรงนี้เราจะได้เฉพาะกลุ่มเรา ไม่ได้กลุ่มเขา เราต้องมองกลุ่มเขามากกว่ากลุ่มเรา ต้องสื่อให้กับสังคม เยาวชน การพัฒนา การเกษตร ศาสนา ชุมชน พระพุทธศาสนา เราต้องแยกให้ ต้องแบ่งเวลาให้ ใครที่ทำถูกกติกา ก็สามารถทำต่อได้เลย ใครที่ผิดพลาดก็แก้ไขและยุบได้เลย สื่อถ้าทำผิดประเภทก็ควรมีการกำกับดูแล และทำให้ทั่วถึง ข่าวไม่ต้องไปหา มีแต่ข่าววิ่งมาหาเรา แต่ทุกวันนี้เรามัววิ่งไปหาข่าว เสียงบ เสียเวลา

ถ้า กสทช.แบ่งคณะกิจกรรมเป็นกลุ่ม ๆ คือ กลุ่มจัดการ กลุ่มทำงานเช่น ดีเจ กับกลุ่มปฏิบัติงาน ตรวจสอบ ดูแล ช่วยเหลือ และการรวมกลุ่มทุกวันนี้เป็นกลุ่มอิสระหรือยัง ถ้ายัง เขาสามารถครอบงำได้แต่ละจุด ๆ ถ้าเป็นอิสระจะก้าวก่ายไม่ได้ ดูแลกันได้ชาวบ้านคือเกาะป้องกันเรา และการจัดเป็นกลุ่ม ๆ ไม่ต้องดูแลไกล แต่ปัจจุบันนี้ต้องส่งถึงองค์กรก่อน ทำให้มีระยะเวลานาน บางเรื่องไปไม่ถึง ไปไม่ทัน เรื่องช้า สรุปคือจัดเป็นแบบกลุ่ม องค์กรที่ถูกต้อง ตรงไหนควรช่วยเหลือ ช่วยเหลือได้

คุณวิชาญ นิยมสัตย์ ผอ. สถานีอินโดจีนเรดิโอคลื่น 88.50 MHz จ.สกลนคร

สื่อต้องเป็นตัวช่วย เราคือครูผู้กว้างขวาง ชี้แนะสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม เพราะทุกวันนี้สื่อวุ่นวายมาก บทบาทคืออะไร หน้าที่เราคืออะไร หลายคนไม่รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเท่าไหร่ สื่อต้องช่วยกัน

คุณอัศวิน มุงคุณคำชาว ผอ. สำนักงาน กสทช. เขต 6 ขอนแก่น

ภาระหน้าที่ค่อนข้างกว้างเนื่องจากรับทั้งโทรคมนาคม และกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ งานที่ทำเป็นแขนงหนึ่งของ กสทช.ภูมิภาค

หลักวิทยุกระจายเสียงมาจากคลื่นความถี่วิทยุเป็นคลื่นใหญ่ แต่ทั้งหมดเหมือนกันทั้งหมด ถูกกำหนดโดย ITU องค์กรระดับโลก ถูกจัดสรรแบ่งปันเป็นช่วง ๆ คือ 87.5 – 108 MHz. จะซอยได้ 81 สถานี แต่ปัจจุบันที่เกิดมาที่ขอนแก่นจังหวัดเดียวประมาณเกือบ 200 แสดงถึงไม่ได้เข้าสู่การจัดสรรจริง ๆ เราเอา Gap ช่องว่างไปใช้งานหมด ปัญหาเกิดเยอะมาก รบกวนกัน เกิดการผสมคลื่นทางเทคนิค ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากส่งในความถี่เดียว เกิดการรบกวนคลื่น จึงเกิดการตรวจสอบและกำกับโดย กสทช. แก้ไข ทักท้วง ปรับปรุงและนำไปปฏิบัติ อยากฝากว่านโยบายหรือกฎกติกาที่ทำอยู่ ถ้านัดทางเทคนิค จับหลักทางเทคนิคมาวิเคราะห์ทำอยู่ จะเพี้ยนไปหมดแล้ว

จุดอ่อนคือทางเทคนิคไม่ผ่านการ Screen คลื่นความถี่ ถ้าทำโดยช่างไม่มีการดำเนินงานความเข้าใจ สายไฟต่าง ๆ ถ้ามองเห็นด้วยการกระจายคลื่นจะเห็นเป็นลำ ทุกแห่งที่ไฟฟ้าวิ่งผ่านจะมีสนามแม่เหล็กควบคู่ไปด้วย

การทำงานนี้อยากเห็นทุกส่วนเดินในเส้นทางที่ฟังซึ่งกันและกันอย่าคิดว่าเป็นคนห้าม หรือกรรมการ อยากให้ปรับความคิดในส่วนที่แก้ไขได้และไม่ได้

คุณฉลาด อาสายุทธ์ ผอ. สำนักงาน กสทช. เขต 8 อุดรธานี

การปฏิบัติงานของภาคตอ./น. มีอะไรที่รับผิดชอบทั้งง่ายและยาก ทำอย่าไรให้ผู้ประกอบการตระหนักถึงโหมดกติกาที่ต้องเดิน เมื่อไรก็ตามที่ดำเนินการตามกติกา การปฏิบัติงานน่าจะอยู่ที่ทางบวกมากกว่าทางลบ

ผลกระทบที่ลงสู่ระดับท้องถิ่น ชุมชน หมู่บ้าน ประชาชนเท่านั้นที่จะต้องช่วยกัน เราจะต้องดำเนินการอย่างไร การบังคับใช้กฎหมายเป็นหน้าที่หนึ่งที่ต้องทำ ไม่เลือกปฏิบัติ ขอให้เข้าใจซึ่งกันและกัน มีหลักเกณฑ์กติกาภายใต้ความเป็นอยู่ที่เอื้อต่อกัน จะเอื้อต่อประโยชน์ของสังคมและครอบครัว

เจตนาในการดำเนินการไม่ว่าออกอากาศภายใต้กฎเกณฑ์ การส่งเครื่องตรวจสอบทางเทคนิค และสิ่งต่าง ๆ เช่นการรบกวนคลื่น จะแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานและเป็นไปอย่างถูกต้อง อาทิ การรบกวนคลื่นน่านฟ้าของลาว ต้องมีการตรวจสอบและกำกับ นักบินลาวค่อนข้างหนักใจเมื่อผ่านร้อยเอ็ดและยโสธร ผ่านคลื่นรบกวนเยอะมาก ในฐานะผู้ดูแลกฎหมาย ไม่ว่าอยู่ชุมชน ธุรกิจ สาธารณะ ปัญหาคือการรบกวน ซึ่งทุกคนมองแค่ว่าจะเสียอะไรหรือไม่ถ้าส่งเครื่องตรวจ เช่น ลดหลักเกณฑ์กำลังส่งมา 500 วัตต์ อาจมีการรวมกลุ่มกัน ไม่ต้องแข่งขันกัน อาจมีอนุกรรมการในท้องถิ่น กำกับดูแลในชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่ดูแลกันเองจะทำให้ลดปัญหาตรงนี้เพิ่มขึ้น ต้องไม่ปฏิเสธว่ามีกลุ่มที่ไม่เข้าสู่กระบวนการแต่ทำให้ผู้ที่เข้าสู่กระบวนการเจ็บใจ ถูกรังแก แล้วเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องเดินตามกรอบ และถูกเอาเปรียบจากการทำสิ่งที่ถูกต้อง

อยากให้พัฒนาทั้งในด้านรูปแบบ และเส้นทางการประกอบอาชีพ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และไม่เอารัดเอาเปรียบ

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

บางครั้งปัญหาไม่ได้เกิดจากคลื่นรบกวนอย่างเดียว มีคลื่นแทรก จนบางครั้งไม่สามารถใช้คลื่นไหนเป็นคลื่นไหน

คุณศุภกร มอบมิตร วิศวกรบริหารระบบ ศูนย์ควบคุมการบินอุดรธานี บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

เมื่อระบบดิจิตอลเข้ามาอีกไม่นาน ระบบอนาล็อกจะเป็นเหมือนอนุสาวรีย์แทน เช่นจากที่ผ่านมา โทรศัพท์ ทีวี เทปคาสเซ็ท ในอนาล็อกอาจสงวนไว้ใช้ในเรื่องอื่น ๆ

ก่อนปี 40 สถิติการรบกวนน้อยมาก แต่พอหลังปี 40 มีการรบกวนมาก 50-60 ครั้งต่อปี แต่หลังปี 50 ดีขึ้นมากตั้งแต่ กสทช.เข้ามาช่วยกำกับดูแล

คลื่น V ใช้ควบคุมการจราจรทางอากาศเป็นหลัก จะถูกรบกวนเป็นประจำและตลอด ออกอากาศแบบ AM. แต่ FM.เข้ามาได้ตลอด แต่คลื่น U ไม่ค่อยรบกวน

การกวนดูได้จาก Youtube พิมพ์ว่าวิทยุชุมชนรบกวนวิทยุการบิน คราวนี้นักบินอาจขาดสมาธิว่าตกลงหอเรียกหรือดีเจกำลังพูด และที่ร้ายกว่านั้นคือรบกวนวิทยุนำร่อง ซึ่งจะมีร่อง มีเข็มทิศของเขา แต่วิทยุ FM. ไปเบียดจนวิทยุนำร่องเปลี่ยนไป ทำให้บินออกนอกเส้นทางและหลังไปในเขตที่ห้ามบินเป็นต้น

คุณอภิวัน รัชนีกรกานต์ ผอ.สถานีวิทยุบ้านสันติสุข จ.ร้อยเอ็ด

รู้สึกไม่สบายใจที่มีคลื่นรบกวนวิทยุการบินทำให้มีผลกระทบอยากให้รีบบอก กสทช. ให้รีบจัดการได้เลย ไม่เช่นนั้นจะมีผลเสีย

คุณวชิระ พลตื้อ ผอ. สถานีวิทยุทีน เอฟ เอ็ม F.M.89.50 MHzจ.กาฬสินธุ์

การที่บางสถานีส่งเกิน 500 วัตต์ กสทช.จะจัดการอย่างไร และคำว่าเท่าเทียมเช่น อสมท.ใด อสมท.ส่งเป็น 1,000 วัตต์ จะทำอย่างไร และถ้ามีกลุ่มหลุมดำไม่สนใจคลื่น คน เครื่องอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น กสทช.มีวิธีการจัดการอย่างไร

อยากให้กสทช.ช่วยตรวจสอบคลื่นที่มีปัญหาตามมาตรฐาน 5 ข้อ และให้ช่วยแก้ตามรายลักษณ์อักษร

คลื่นไหนมีปัญหาทางเทคนิคให้ช่วยตรวจและช่วยเตือนจะดีมาก

คุณกรกช พงศ์เกตุ ผอ.สถานีวิทยุคนเมืองไทยกันทรารมย์ F.M.103.50 MHz จ.ศรีสะเกษ

คำถามคือ กสทช. สำรวจหรือยังเรื่องคลื่นวิทยุและความเสมอภาคเท่าเทียมกัน จากสถานการณ์ปัจจุบัน และการใช้เสาสูงเกิน 100 ม.ขึ้นไป การส่งออกอากาศใช้เครื่อง 3,000 วัตต์ แต่ กสทช. ใช้ 5,000 วัตต์

อยากให้คลื่นการบินตรวจเช็คและลงรายละเอียดแจ้งกสทช.เพื่อเตือนวิทยุที่รบกวน และให้มีการแก้ไขเป็นครั้งที่ 1 ว่าคลื่นรบกวนคลื่นการบิน รีบแก้ไข ถ้าไม่แก้ไข มาตรการขั้นต่อไปจะดำเนินการอย่างไรได้เลย ต้องแจ้งชาวบ้านให้รู้ เพราะเขาไม่รู้จริง ๆ

กสทช.ต้องทำสำรวจว่ามีกี่สถานีออกอากาศ กี่สถานีที่แจ้งไว้

และใบอนุญาตทดลองออกอากาศจะได้ตอนไหน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ให้หาช่องทางที่เป็นไปได้ เส้นทางแก้ปัญหาไทยมีอุปสรรคเยอะ

คุณอัศวิน มุงคุณคำชาว ผอ. สำนักงาน กสทช. เขต 6 ขอนแก่น

กำลังส่งเกิน 500 วัตต์ กระบวนการคือต้องส่งเอาเครื่องตรวจ ที่เกินคือไม่ได้ตรวจ จริง ๆ แล้วดูแล้วทุกเรื่อง มีหมด การส่งทุกอย่าง กสทช. รับได้ทุกคลื่น อันไหนเถื่อนหรือไม่เถื่อนรับได้หมด

มาตรการที่ทำอยู่ ทุกเรื่องในประเทศไทย ค่อย ๆ เดิน ไม่ใช่สามารถฟันธงได้ และกสทช.จะช่วยพิจารณาทีละเรื่อง ๆ จะพิจารณาว่าจะให้ใครบ้าง และไม่ให้ใครบ้าง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่ทำให้ การให้ต้องค่อย ๆ ทำ ถ้าทำแรงจะกระทบคนดี ดีบ้างหรือดีน้อย

ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคลื่นความถี่ เสาอากาศ

การรบกวนคลื่นการบินเป็นเรื่องร้ายแรงมาก ค่อนข้างเครียด นโยบายโดยตรงหลุมดำที่ไม่ลงทะเบียนและทำอยู่ตอนนี้ถูกสั่งให้ดำเนินการแล้ว ยิ่งรบกวนคลื่นการบินไม่ต้องรอเลย แต่อาจอยู่ระหว่างการดำเนินการก็ได้ และเมื่อไรที่กระทบต่างประเทศ ไปกวนเครื่องบินเขาเมื่อไร ก็จะจับเลย

การตรวจสอบว่าสถานีใดกวนบ้างแปลกบ้าง กสทช.ออกตรวจทุกอาทิตย์ และมีหนังสือแจ้ง เมื่อไรที่ Error ไม่ค่อยปรับจูนเข้ามา สาเหตุที่อื่น ๆ ไม่กวนเพราะไม่ได้อยู่ในเส้นทางการบิน ไม่ใช่ไม่กวน แต่เห็นกวนจะแจ้งให้รีบปิด รีบจับ แต่คนที่เป็นหลุมดำจะไม่แจ้งแต่จะดำเนินการเลย

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

มีคนตั้งใจทำดีแต่ยังไม่ถูกต้อง อยากปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นให้มีความเข้าใจมากขึ้น ใช้คำว่าหุ้นส่วนประเทศไทย วิทยุกระจายเสียง อย่างที่พระคุณเจ้าแนะนำ ทำอย่างไรที่จะเป็นปากเป็นเสียง

เชื่อว่า กสทช. ถ้าจัดการตามกฎหมายจะง่ายอยู่แล้ว มีคนทำดีแต่ยังไม่ถูกต้องที่จะต้องค่อย ๆ จูงกันไป

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นโยบายนี้เป็นการพัฒนาประเทศและนำไปสู่ความยั่งยืน แล้วจะเหลืออะไรถ้าพลเมืองเป็นคนดี ขอให้เป็นบรรยากาศของคนหวังดีต่อประเทศร่วมกัน ไม่ใช่ประชุมของกสทช.แต่เป็นเรื่องการวิจัย ช่วยให้เสนอแนะสิ่งที่เป็นทางออก ไม่ใช่คนนั้นผิด คนนี้ถูก

สรุปการประชุม (ต่อ)

นายฉลาด อาสายุทธ์ ผอ.สำนักงานกสทช.เขต 8 อุดรธานี

สถานีดำ แบ่งเป็นดำรอทำความดี ดำครึ่ง ๆ กลาง ๆ และดำไม่ทำอะไรเลย ทุกอย่างรอเข้าสู่กระบวนการบ้าง ได้มีการร้องทุกข์ไว้หมดแล้ว มีการพาดพิงร้อยเอ็ดว่าทำไมร้อยเอ็ดกวน หลักเกณฑ์อย่าเกิน 20 กม. ถูกแล้ว ทำไมต้องเป็นปัญหาที่ร้อยเอ็ด บางครั้งนักบินที่บินผ่านร้อยเอ็ด แต่อาจไม่ใช่ร้อยเอ็ดส่งก็ได้อาจมาจากที่อื่นไกลกว่าที่คาดการณ์ได้

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

วิทยุกระจายเสียงเป็นมาอย่างไร เมื่ออดีตก่อนปี 40 แต่เดิมคลื่นวิทยุมีความสำคัญทำให้เกิดความมั่นคงของประเทศ วิทยุสำคัญถูกจำกัดและควบคุมโดยรัฐ มี Propaganda สร้างความเชื่อให้คนให้ประชาชน แต่ก่อนตั้งสถานีวิทยุได้ด้วยรัฐ ใครจะมีเครื่องรับส่งวิทยุต้องขออนุญาตต่อรัฐโดยกรมไปรษณีย์โทรเลข ถ้าไม่ได้ขออนุญาตก่อนผิดกฎหมายทั้งหมด มีการผ่อนปรนมาก่อน แล้วโลกเจริญขึ้น โลกพัฒนาเร็วขึ้น เทคโนโลยี และสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ฝ่ายวิชาการ กฎหมาย เห็นว่าวิทยุเป็นทรัพยากรสำคัญของมนุษย์ คนไทย ชาติ แต่ว่าคลื่นความถี่มีจำกัด ไม่ได้มีเหลือเฟือ คลื่นเป็นทรัพย์ของชาติทุกคนมีสิทธิใช้ได้ การบังคับการใด ๆ ต้องมีบัญญัติเสียก่อน ต้องมีการขอใบอนุญาต ประเทศไหนในเอเชียไม่ใช่ประเทศไหนทำแล้วต้องขอใบอนุญาต ไม่ใช่มีใบอนุญาตแล้วถึงทำได้

ปี 43 คลื่นความถี่ต้องได้รับการจัดสรร และอนุญาตก่อนถึงใช้ได้ การร่างกฎหมาย พรบ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงเป็นภาคประชาชนมีส่วนร่วมเยอะเพื่อก่อเกิดวิทยุชุมชนได้ตั้งกทช.กับกสช.ดูแล กสช.ดูแลคลื่นวิทยุ กทช.ดูกิจการวิทยุและโทรทัศน์ กรมประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านตั้งสถานีวิทยุภายใต้กรมประชาสัมพันธ์ มีการขยายตัวให้ไปจัดตั้งเองได้ คลื่นใช้ได้ต้องมีการได้รับอนุญาตและจัดสรรก่อน แผนคลื่นความถี่แห่งชาติเกิดไม่ได้ การแบ่งปันคลื่นไม่มี การยกร่างกฎหมาย และการจัดให้เข้าระบบโดยวิทยุการบินที่รบกวนการนำร่องการบิน พ.ร.บ. 2551 ให้ กทช.ดูแลวิทยุชุมชนชั่วคราว พยายามดูแลแต่ไม่สามารถออกใบอนุญาตได้เนื่องจากแผนกสช.ดูแลไม่เกิด

พ.ร.บ. 51 แยกวิทยุเป็น 3 ประเภท คือ สาธารณะ ธุรกิจ ชุมชน มีการจัดสรรคลื่นตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด มีการประมูล การกำหนดช่องคลื่น วิทยุชุมชนเป็นการพัฒนาจากหอกระจายข่าวให้กลุ่มคนท้องถิ่นมีวิทยุชุมชนเพื่อสื่อสารข้อมูล กฎหมายเองพยายามจำกัดขอบเขตการให้บริการไว้ เช่นวิทยุชุมชนไม่อาจโฆษณาได้ และกำลังส่งต้องไม่แรงนั้นเพราะเป็นของชุมชนนั้น ๆ ไม่ใช่ของสาธารณะที่มีเสาสูง เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งคลื่นและตีคลื่นกัน ทุกคนต้องเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน กฎ กติกา เพื่อเกิดการเคารพซึ่งกันและกันภายใต้กฎหมายที่ถูกต้อง การแจ้งแล้วกสทช.ไม่ดำเนินการผิดกฎหมายตามมาตรา 79 ทุกวันนี้มีการผ่อนปรน ดังนั้นเขาอาจต้องรับผิด

คลื่นในแต่ละจังหวัดจะคนละคลื่น ละแวกเดียวกันจะไม่ให้คลื่นใกล้กันเพราะรบกวน ควรใช้คลื่นจังหวัดใด ตำบลใดควรใช้คลื่นใด ความสูงของเสาต้องเป็นชุมชน เพื่อชุมชน ภายใต้วิทยุชุมชนเกิดได้อย่างไร มีการรับเงินอุดหนุนจากการวิจัยและพัฒนา เป็นสถานีที่ชอบด้วยกฎหมาย มีใบอนุญาตที่ถูกต้อง ที่บอกว่าหลุมดำ ตอนนี้ทุกสถานีผิดกฎหมายหมดยังไม่มีถูกกฎหมาย เพราะไม่มีกฎหมายบอกว่ามีการทดลองประกอบกิจการ เพราะความจริงทุกอย่างต้องมีพร้อมแล้วถึงเปิดคลื่นได้ ไม่ใช่มีเครื่องที่บ้านหม้อแล้วมาตั้งคลื่นเอง คลื่นวิทยุเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่กระจายทั่วไปและทำให้เกิดความอันตรายได้

กสทช.มีเจตนาดีให้อยู่ร่วมเป็นสุข ใบอนุญาตมีวิธีการที่จะทำให้เข้าระบบได้ อยู่ชายแดนไม่ต้องกลัวแจ้งจับ เครื่องที่ถูกกฎหมายจะไม่กระจายคลื่นไปรบกวนคนอื่น แล้วจะได้รับสนับสนุนจากรัฐ รัฐจะสนับสนุนให้ชุมชนอยู่ได้ถ้าทำเพื่อชุมชน ทุกวันนี้คือการพยายามช่วยกันให้เดินไปตามกฎหมาย ถ้าไม่ทำจะมีความผิด ในต่างประเทศไม่ได้คุมขนาดนั้น ต่างประเทศจะรู้ว่าอะไรควรทำและไม่ควรทำ สำนักงานเขตหนึ่งต้องใช้คน 10-20 คน ในการทำหรือไม่ ถ้าทุกคนอยู่ในกรอบของกฎหมาย ช่วยทำตามกรอบของกฎหมายไม่ต้องกลัวว่าเราจะไปรบกวนคนอื่น และคนอื่นมารบกวนเรา

ทุกคนรู้ว่าเราควรทำหรือไม่ควรทำ ทำอย่างไรถึงเข้าระบบได้อย่างถูกต้อง และทำถูกกฎหมาย นำข้อเสนอไปช่วยงานของกสทช.

คุณพิญช์ภูรี พึ่งสำราญ

ที่บอกว่าทำไมบางสถานีส่งได้ 3,000 – 5,000 วัตต์ เพราะอะไร

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

สมัยก่อนกรมประชาสัมพันธ์ให้เสาสูง 30 เมตร กำลังส่ง 30 วัตต์เพื่อให้เฉพาะชุมชน แต่ต่อมาเมื่อสังคมเจริญขึ้น เสาสูง 30 เมตรจากยอดตึก ตราบใดที่ไม่จัดสรรคลื่นความถี่ชัดเจนไม่สามารถออกใบอนุญาตได้

ในระหว่างมีการผ่อนปรนคลื่นความถี่ ขอให้ช่วยรักษากฎกติกา ไม่รบกวนคลื่นการบินหรือรบกวนทีวีบางช่อง กสทช.พร้อมเป็นพี่เลี้ยงให้ อยากให้มีแผนคลื่นความถี่

คุณธนกฤต รุ่งแสนทวี นายกสมาคมกิจการวิทยุกระจายเสียงท้องถิ่นอุบล และสถานีวิทยุบัดดี้ F.M.88.25 MHz จ.อุบลราชธานี

หลังจากได้ฟังจากคุณสาธิต การประมูลคลื่นเป็นสาระสำคัญ เห็นด้วยกับการประมูลหรือไม่ เห็นด้วยแต่ขอให้แบ่งเป็นประเภท ระดับชาติ หรือภูมิภาค แต่ที่เป็นปัญหาคือผู้ประกอบการวิทยุท้องถิ่น มีการผลักดันไม่ให้เกิดการประมูลเกิดขึ้นสำหรับวิทยุในท้องถิ่น เช่นโฆษณาปิ้งไก่จากชุมชน เท่านั้น กระประมูล ๆ ได้แต่ขอให้แบ่งประเภท

การจัดสรรคลื่นในอนาคต น่าจะมีการแบ่งคลื่น เช่น ฟังธรรมะน่าจะอยู่ในคลื่นช่วงนี้ อยากทำสาธารณะ กฎหมาย น่าจะอยู่ช่วงนี้ อยากทำธุรกิจ ก็อยู่ช่วงนี้เป็นต้น ทำให้เกิดความชัดเจนและได้เสถียรภาพของคนฟังด้วย

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

การประมูลกฎหมายยากอยู่ ในท้องถิ่น การประมูลราคาต้องต่ำ แต่ข้อเสนอที่ทำไปต้องดูสภาพเศรษฐกิจสังคม การแข่งขัน การกำหนดพื้นที่ใช้คลื่นต่าง ๆ แต่เรื่องธุรกิจไม่ประมูลคงเป็นไปไม่ได้ ส่วนสาธารณะ และชุมชนต้องใช้วิธีการจัดสรร

คุณวิชาญ นิยมสัตย์ ผอ.สถานีอินโดจีนเรดิโอคลื่น 88.50 MHz สกลนคร

1.เท็จจริงมากน้อยแค่ไหนที่เครื่องส่งผ่านการตรวจแล้ว กสทช.ขาย 200,000 – 350,000 บาท มาตรฐานเป็นอย่างไร ข้อเท็จจริงแบบไหน เป็นไปได้หรือไม่ที่ไม่ต้องกำหนดเครื่องส่งเกินกว่านี้ 2. กสทช.มีการกำกับการรับรู้การออกอากาศและเนื้อหาหรือไม่

3. จะดูวัดให้ดูฐาน จะดูสมภารให้ดูสมเณรน้อย

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

กสทช.มีหน้าที่อย่างเดียวคือตรวจคลื่นให้เป็นตามมาตรฐานสากลแต่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการกำหนดราคา

ดาวเทียม ดูเฉพาะ Uplink ที่มาขออนุญาตเรา การเผยแพร่ผิดกฎหมายอาจว่าไปตามความรับผิดชอบ

อาจารย์เสกสรร นิเทศศาสตร์

น่าจะมีการหางบประมาณหรือกองการวิจัยย่อย ๆ มาพัฒนาบุคลากร อาทิ นักจัดรายการ ความจริงแล้วกสทช.มีหลักสูตรฝึกอบรมนักจัดรายการให้แต่ไม่ทั่วถึง เป็นไปได้ที่เป็นต้นแบบ อาจให้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ทำ มีการวัดผล 1 ปีเป็นอย่างไร

ช่างวิทยุ ให้ฝึกอบรมของแต่ละสถานีทำเป็นต้นแบบ พัฒนาบุคลากรเรื่องช่างอบรมให้ความรู้ ว่าจะดูแลอย่างไร บำรุงรักษาอย่างไร มีโครงการวิจัยต่อเนื่อง

พัฒนาบุคลากรระดับผอ. เขียนหลักสูตรขึ้นมา

พระฐนกรทษฌพร กนตสีโล วัดป่าหนองสนุ่น อ.ด่านซ้าย จ.เลย

ได้ไปสถานีชุมชนของญาติโยม แต่ของวัดเข้าไม่ได้ ทำไมของวัดโดยตรงไม่แบ่งปันกัน ทำไมไม่เปิดโอกาสให้กันและกันเพราะพระแต่ละองค์ศึกษาธรรมะเหมือนกัน ความรู้อาจออกมาไม่เหมือนกัน ความรู้ได้คนละเท่าไหร่ ความคิดเห็นแตกต่างกันหรือไม่ ถ้าอยากเห็นความแตกต่างก็ต้องร่วมมือกัน เกิดมาทำผิดทุกคน แต่ก่อนผิดต้องตั้งใจก่อน เมื่อตั้งใจแล้วทำให้ถูกเพราะเขาเปิดโอกาสให้เรา เราต้องแบ่งให้คนอื่นบ้างเพื่อความเสมอภาคกัน ตัวเราติดอย่างเดียวคือเอกราช ไม่ว่าพระหรือโยม ถ้าเราพอมีพอใช้เราก็ไม่ต้องวิ่งแสวงหามาก คนที่เป็นดีเจจะมีทุนอุดหนุนเพิ่มหรือไม่ เพราะความชอบที่แตกต่าง สื่อแต่ละสื่อทำให้คนที่อยากฟังเข้ามาฟังอีก สามารถให้คนไม่ชอบมาแสดงความคิดเห็นได้ เปิดโอกาสให้กันและกัน แต่ช่วงเวลาน้อยมาก ถ้าวันนี้เราพร้อมใจกันทำ สิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามจุดต่าง ๆ ที่ร่วมมือกัน ดีมากเลย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อยากสรุปการพัฒนาทุนมนุษย์ หลักแรกคือคุณภาพการเมือง มีคุณธรรมจริยธรรม เชื่อมโยงกับ กสทช.อยู่ มีการผ่องถ่ายให้กับกับดูแล

การศึกษาพื้นฐาน เป็นสังคมที่อ่อนแอ เด็กเป็นวิชาการเยอะ เป็นที่มาของการปฏิรูปประเทศไทย โดยเฉพาะคุณธรรม จริยธรรม เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น

คุณกนกอร สุระดานัย นักจัดรายการสถานีโฮมออนแอร์คลื่น 87.75 MHz จ.อุดรธานี

อยากให้คำนึงถึงบุคลากรในสถานี ไม่ว่าจะเป็นบัตรผู้ประกาศ การแสดงออก โฆษณาสินค้าจุดนี้สามารถแสดงออกได้มากน้อยแค่ไหน ห้ามพูดถึงสถาบันเบื้องบน ห้ามกล่าวอ้างคนที่สามในที่สาธารณะ แต่ปัจจุบันนี้ทุกอย่างรวมอยู่ในสื่อวิทยุทั้งหมด อยากให้ทุกคนมาร่วมกัน

อยากให้เจ้าของสถานีดูแลบุคลากรภายในสถานี สร้างคุณธรรม จริยธรรม จะทำให้ก้าวหน้า

นายฉลาด อาสายุทธ์ ผอ.สำนักงานกสทช.เขต 8 อุดรธานี

การยื่นเอกสาร เขาไม่ให้กสทช.รับ แต่การต่ออายุเขามีช่องทางให้รายละเอียดจะระบุไว้ชัดเจนในเวปไซด์

สรุปการประชุม (ต่อ)

นายช่วงวิทย์ สิงห์มอ ผอ.สถานีวิทยุเพื่อการสื่อสารเผยแผ่พุทธศาสนา คลื่น 89.50 MHz จ.หนองคาย

สิ่งที่หนองคายเกิดขึ้นเช่น 96.60 ไม่น่าเกิดแต่ก็เกิดไปทับกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น 96.05 MHz ทับประเทศลาว อยากให้กสทช.ตั้งคนใดคนหนึ่งประจำจังหวัด ถ้าเห็นคลื่นแปลกปลอมก็ไปแจ้ง ถ้าเอาจริงครั้งหนึ่งรับรองไม่กล้า เมื่อกฎหมายรองรับแล้วอยากให้เท่าเทียมกันบ้าง ดังนั้นการพัฒนามนุษย์ให้มีความยุติธรรมยาก ถ้าไม่เอาจริง

นายฉลาด อาสายุทธ์ ผอ.สำนักงานกสทช.เขต 8 อุดรธานี

การโป้งไม่มั่นใจว่าโป้งอย่างไร แต่ถ้ามีการร้องเรียนคนนั้นไม่มีสิทธิ์ได้ออกอากาศแน่นอน เว้นแต่ว่าบุคคลนั้นเปลี่ยนที่หรือย้ายจุด

อยู่ระหว่าง 90 วัน ทุกสถานีต้องได้รับการตรวจสอบแน่นอน อย่างกรณีโป้ง ลาวแจ้งมาที่กระทรวงต่างประเทศแล้วมีการตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง

ปัญหาอะไรก็ตามระหว่างประเทศต้องละเอียดและนุ่มนวลที่สุด

การหาแต่ละสถานี เจ้าหน้าที่กสทช.ต้องทำงานตลอด การเกิดความถี่เคลื่อนที่ถ้าพบแล้วไม่รอดกระบวนการแน่นอน

คุณประยูร วรวงศ์วัฒนะ ผอ.สถานีสื่อสัมพันธ์โนนแดง จ.นครราชสีมา

คนทำวิทยุชุมชนได้เพราะใจรักจริง ๆ ได้รายได้อื่นมาจุนเจือเพื่ออยู่รอด ตามความจริงอยู่ไม่ได้จริง ๆ มีเชิญพระมาเทศน์ เชิญหน่วยงานจากโรงพยาบาลมาออก เสนอว่ามูลนิธิฯ น่าจะหารายได้สนับสนุน กสทช.บอกว่าจะมีกองทุนสนับสนุนแต่จะครบปีแล้วไม่มีความคืบหน้า ตั้งใจจะเปลี่ยนเป็นวิทยุธุรกิจแล้ว

อยากให้มีงบประมาณสนับสนุนบ้างเพราะกองทัพเดินด้วยท้อง อยากให้มูลนิธิฯ ช่วยดูแลเรื่องพัฒนาบุคลากรและจุนเจือสถานี

คุณจินดาวรรณ เข็มพล

กสทช.กำลังจัดอบรมผู้ประกาศอยู่ ทุกรุ่นกสทช.จะจ่ายให้คนละ 2000 บาททุกรุ่น เป็นรุ่นสูง กลาง ล่าง

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

กองทุนเกิดได้ต้องมีการประมูลก่อน แล้วเอาเงินมาใส่กองทุน อยากได้งบประมาณโดยไม่ต้องเสียเงิน

คุณวชิระ พลตื้อ ผอ.สถานีวิทยุ ทีน เอฟ เอ็ม F.M.89.50 MHz จ.กาฬสินธุ์

การใช้คำพูดในการจัดรายการ กับการผลิตและการออกอากาศเป็นคนละเรื่องกัน ถ้าเป็นไปได้อยากให้ทางมูลนิธิฯ จัดอบรมการผลิตและการจัดรายการ ผลิตและจัดรายการอย่างไรเน้นคุณธรรม จริยธรรม ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สรุปการประชุม (ต่อ)

คุณธนกฤต รุ่งแสงทวี จ.อุบลราชธานี

หลักของความเป็นจริง วิทยุชุมชนสร้างความปรองดองคนในชาติ การกำกับดูแลกันเองเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แม้มีการกำกับดูแล กสทช.เกิดมาเดือนกว่า แต่ถามว่าถูกจุดหรือไม่ ถูกแต่ไม่ทั้งหมด เพราะองค์กรที่เข้ามาดำเนินการจะได้ผลหรือไม่

การกำกับดูแลกันเองสอดคล้องกับคลื่นที่รบกวนกันอยู่ แต่ปัจจุบันปล่อยเป็นช่องว่าง กสทช.ทำไมไม่ตั้งคนมาดูแลคน เพื่อกำกับดูแลในระดับชาติ

คุณอภิชาต แสงสว่าง ผอ.สถานีวิทยุบุ่งเรดิโอ 90.75 MHz จ.อำนาจเจริญ

ทำคลื่นมาแล้วปี 47 ปัญหาที่เป็นมานานคือคลื่นทับซ้อน ที่บอกว่าวิทยุไม่ถูกกฎหมายเลยไม่น่าจะใช่เพราะจ่ายเงินไปแล้วหมื่นกว่าบาท และกำลังจ่ายต่ออายุอีก หมื่นกว่าบาท เป็นไปได้หรือไม่การตรวจเครื่องส่ง ตรวจอย่างไรก็ไม่ผ่าน ยกเว้นซื้อเครื่องกสทช.เลย เป็นไปได้หรือไม่มีอุปกรณ์ตรวจคลื่นสำหรับ กสทช.แต่ละเขต สถานีแต่ละสถานีจะได้ไปตรวจได้ง่ายขึ้น

คุณอัศวิน มุงคุณคำชาว ผอ. สำนักงาน กสทช. เขต 6 ขอนแก่น

สำนักงาน กสทช.ไม่เคยทำเครื่องและไม่เคยการันตีเครื่องยี่ห้อไหนไปตรวจ ถึงให้มหาวิทยาลัยหรือเอกชนดำเนินการ

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

ใบอนุญาตไม่เห็นด้วยเพราะความจริงแล้วคลื่นยังไม่ได้รับการจัดสรร แต่ที่ออกใบอนุญาตไปเพื่อให้คลื่นเข้าสู่ระบบ และเครื่องผ่านการตรวจสอบ แต่เครื่องที่ซื้อจากบ้านหม้อ ไม่ได้ทำขึ้นมาเพื่อกันสัญญาณรบกวน แล้วที่กำลังมีเครื่องที่ได้รับมาตรฐานน่าจะมี เครื่องต้องส่งให้ Lab ตรวจ

คุณธนกฤต รุ่งแสงทวี จ.อุบลราชธานี

เครื่องส่งทั่วไปซื้อ RVR จากอิตาลีแต่ตรวจไม่ผ่าน ไม่ได้ซื้อเครื่องบ้านหม้อ แต่ทำไมตรวจไม่ผ่าน

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

แสดงว่าไม่มีใบรับรองที่ถูกต้อง ถ้ามาถูกต้องเครื่องต้องตรวจผ่าน ถ้าผ่านกรมศุลกากร ตรวจได้

คุณวรวุฒิ โตมอญ

ที่พูดส่วนใหญ่เกี่ยวกับ กสทช. สิ่งที่ขาดคือคุณผู้ฟัง คือในเรื่องสิทธิ และหน้าที่ ความรู้ ในการบริหารจัดการ ประกอบกิจการ ผลิตรายการวิทยุมีครบหรือไม่ จำเป็นต้องมีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและได้เกณฑ์มาตรฐานทำให้การบริหารจัดการและวางแผนไปถึงกลุ่มผู้ฟังให้เกิดประโยชน์แท้จริง มีเวลากี่เปอร์เซ็นให้ภาคส่วนต่าง ๆ เครื่องมีทั้งที่มีมาตรฐานมีกระบวนการตรวจสอบมีทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เรามีความรู้เกี่ยวกับคลื่นมากน้อยแค่ไหนที่ส่งผลต่อสุขภาพและอนามัย

การสร้างเครือข่าย มีสมาคม สมาพันธุ์ ดูแลกันเอง การควบคุมและดูแลกันเอง เป็นจิ๊กซอว์ที่ต่อไม่ติดถ้ารวมตัวได้เป็นมาตรฐานของประเทศ ถ้าใช้กติกาเดียวกันและควบคุมกันเองได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ภาครัฐ ถ้าเครือข่าย ชมรม สมาคม ดูแลตั้งเป็นกฎ กติกา กลางดูแลกันเองในพื้นที่แต่ต้องใช้ระยะเวลาระยะหนึ่งในการรวมตัวกัน

การกำกับเป็นปัจจัยที่เกิดในท้องถิ่นแต่ยังไม่ได้นำมาใช้ ชุมชนไหนตั้งเสาขึ้นมาขออนุญาตท้องถิ่นหรือยัง เสาสูงเป็นอันตราย และเป็นตามมาตรฐานอะไร โยธา ภาษีโรงเรือนเป็นตามกฎหมายหรือไม่ คนตั้งเสาอยู่ภายใต้แพทย์และพาณิชย์หรือไม่ กฎหมายมีอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้นำมามีส่วนร่วมในการกำกับดูแล ปราชญ์ท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน มีการตั้งเป็นกรรมการของสถานีหรือไม่ ไม่ใช่ข้อจำกัดแต่เป็นโอกาสสร้างคุณค่าของสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนนั้น ๆ เรื่องกฎระเบียบ ทำอย่างไรให้เกิดการประสานงานกันได้

คุณชัยพร เหมะ

ประเด็นที่สำคัญที่สามารถสรุปให้พวกเราฟังคือยังขาดเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ถ้ามีสิ่งนี้ กฎระเบียบอาจไม่มีความจำเป็นด้วยซ้ำ ทรัพยากรมีจำกัดเราถึงแย่งกันใช้ ในฐานะที่เรามาสร้างความรู้ด้วยกัน เพื่อนำไปสู่บทวิจัย คิดว่าการพัฒนาบุคลากรในภาคส่วน ถ้าพวกเราสามารถพัฒนาขีดความสามารถกันเองได้ กสทช.จะไม่ยุ่งกับสถานีอีก

คลื่นทับซ้อนมีทางแก้หรือไม่ อาจยุบรวมเป็นคลื่นเดียวกัน แล้วแบ่งสรรเวลากัน ถ้ามีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม จะช่วยแก้ปัญหาได้เยอะ

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

สรุปประเด็นได้

1. มีปัญหาพัฒนาคนไม่เพียงพอ

2. ขาดมาตรฐาน

3. ขาดความรู้ ความเข้าใจ

4. ขาดคุณธรรม จริยธรรม

วิทยุกระจายเสียงที่ตรงกับความต้องการอะไรได้รับความชื่นชมว่าดร.จีระ เป็นเจ้าพ่อพัฒนาทุนมนุษย์

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขาดผู้ฟัง ผู้นำท้องถิ่น แต่ตัวละครอื่น ๆ ครบ ความสนใจในเรื่องนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

ความสำเร็จไม่ได้จบ Research แล้วขึ้นหิ้ง ถ้ามี Phase 2 ,3 ,4 ปรับคนในสาขาวิทยุต้องทำอย่างต่อเนื่อง ต้องมีแผนพัฒนาบุคลากรหรือแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใส่ไปด้วย บางเรื่องทำ Training Need พัฒนาคู่ขนานกันไป Phase 2 คนในห้องนี้จะมาเป็นแกนนำที่มาช่วยกัน

การคิดลึกและคิดกว้างคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของวันนี้ ไม่ได้ทำให้ประชาชนในสังคมของเรามีคุณภาพเพิ่มขึ้นด้วย ถ้าผิดเรื่องกฎหมายและทำอย่างอื่นให้ถูกต้องไม่สามารถเป็นองค์กรที่ตั้งโดยรัฐธรรมนูญได้ ต้องมีการพัฒนาคน มีตัวละคร กสทช. ข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่นจะดีขึ้น ผลประกอบการในเรื่ององค์กรที่ทำจะได้ประโยชน์ ลูกค้าประชาชนได้ประโยชน์จริงหรือไม่

ถ้าจะทำเรื่องพัฒนาคนเราต้องกลับมา Back to basic เป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด สละความสำคัญ

เมื่อได้หลักการและเหตุผลแล้ว Key คือทุกคนเห็นด้วย เมื่อเราเสนอไปที่กสทช.แล้ว มูลนิธิฯ จะได้ทำต่อหรือไม่ ทุกคนในห้องคือเจ้าของแนวคิดอันนี้ ดร.จีระเป็นเพียงนำสู่การปฏิบัติให้ได้

อีสานเป็นดินแดนที่น่าสนใจ ถ้ามีแรงบันดาลใจให้กระตุ้นแสดงความคิดเห็นกัน มีส่วนร่วม สิ่งที่ได้รับในวันนี้จะได้รับการนำเสนอไปที่กสทช.

ยกเว้นการใช้วิทยุเพื่อปลุกระดม โฆษณาชวนเชื่อ และค่านิยมที่ผิด ๆ

เรียนอาจารย์จีระ

ขออนุญาตินำไปเผยแพร่ใน www.thaiihdc.org ครับ

นับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

สรุปการประชุม Focus Group (กลุ่มภาคตะวันตก)

โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการกำกับดูแล

กิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชนในประเทศไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557

ณ ห้องประชุมเกริงกระเวีย โรงแรมเดอะเลกาซี ริเวอร์แคว รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

ประเด็นของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ขอเน้นเรื่อง

1. สถานการณ์ปัจจุบันของวิทยุชุมชน ด้านกฎหมาย เทคโนโลยี เศรษฐกิจ ธุรกิจอย่างไร ปัญหาเป็นอย่างไร และจะสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

2. มาตรฐานทางเทคนิคเป็นอย่างไรบ้าง มีข้อเสนอแนะอย่างไร เช่น กฎหมาย ให้ตามบังคับ และจะพัฒนาให้สอดรับกับธุรกิจได้อย่างไร

3. การกำกับดูแลวิทยุชุมชนตามกฎหมาย การกำกับดูแลกันเอง มีการออกกฎระเบียบชัดเจนอย่างไร การดูแลโดยภาคประชาชนจะดำเนินการอย่างไร สามารถดูแลกันเองได้หรือไม่ การ Sanction ทำอย่างไร การกำกับดูแลโดยอิสระ และการขอความร่วมมือกับกสทช.เป็นอย่างไร

4. ความต้องการของผู้ประกอบการหรือประชาชน การประกอบธุรกิจจะพัฒนาเรื่องอะไรบ้าง อาทิ เนื้อหามีความสร้างสรรค์หรือไม่ เนื้อหาเป็นประโยชน์หรือไม่

5. การพัฒนาบุคลากรทั้งผู้ประกอบการ ดีเจ ผู้ฟัง และหัวข้อที่ต้องการรู้

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

ในส่วนของวิทยุกระจายเสียงมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ปี 2540 , ปี 2553 พ.ร.บ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงปี 58 ปี 51

พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงปี 2551 และ พ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่ปี 2553

การทดลองออกอากาศครั้งแรกสมัย ร.6 ต่อมา การจัดการกลายเป็นของกรมการโฆษณาและกรมประชาสัมพันธ์ เดิมทีวิทยุเป็นของรัฐ มีบทบาทสำคัญคือให้ความรู้ และการสื่อสารให้คนเชื่อโดยใช้หลักชักจูงผู้คนให้เชื่อและทำตามหลักศรัทธา

ประเทศไทยถูกกำหนดให้วิทยุเป็นคลื่นของรัฐ ต่อมามีการพัฒนากรมประชาสัมพันธ์จึงเกิดการซื้อขายเวลา ต่อมามีการให้เช่าเวลา มีการถูกกดขี่ มีการเรียกร้องเกิดขึ้น ดังนั้นในปี 2540 จึงได้บัญญัติในรัฐธรรมนูญให้กิจการเป็นประโยชน์ของสาธารณะและประชาชน และประเด็นที่น่าสนใจคือจะทำอย่างไรให้มีสถานีวิทยุเป็นของตนเองบ้าง ประชาชนมีสิทธิ เสรีภาพในข่าวสาร มีกฎหมายบัญญัติ

พ.ร.บ. ปี2551 มีใบอนุญาต มีการเรียกร้องให้โฆษณา สถานีวิทยุเกิดปัญหาการใช้คลื่นรบกวนมากขึ้น จะทำอย่างไร เมื่อยังไม่มี กสทช. ดูแลให้ กทช.ดูแลก่อน ปัญหาคือวิทยุทุกสถานีผิดกฎหมายทั้งหมด โดยเฉพาะ พ.ร.บ.วิทยุโทรคมนาคม 2498 ปัจจุบันตั้งเครื่องวิทยุโดยไม่ได้ขออนุญาตก็ผิดกฎหมาย เนื่องจากเครื่องผิดกฎหมาย รบกวนคลื่นวิทยุกันเอง และรบกวนการนำร่องของคลื่นวิทยุการบิน

มีนโยบายจับกลุ่มสถานีที่รบกวนคลื่นวิทยุการบิน เช่นถ้ามีคลื่นการรบกวนคลื่นวิทยุการบิน กสทช. จะจับทันทีเนื่องจากเป็นปัญหาระดับชาติ มีการให้ตรวจสอบว่าเครื่องได้มาตรฐานหรือไม่ สายอากาศได้มาตรฐานหรือไม่ มีการประกาศตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ตัวอย่าง F.M.ที่กวนเช่น F.M. 00.25 ตั้งแทรกขึ้นมา พบว่าอย่างไรก็กวนอยู่ดี อยากให้ทุกคนเคารพสิทธิ์ของเราและคนอื่นด้วย

จะทำอย่างไรที่ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข เพราะความจริงแล้วไม่สามารถที่ทุกคนมีสถานีวิทยุทุกคน เพราะมีข้อจำกัด และอยากให้ดูว่าสถานีที่ออกอากาศนั้นอยู่ในวิทยุประเภทใด วิทยุสาธารณะ วิทยุชุมชน หรือวิทยุท้องถิ่น

ตามระเบียบกฎหมายวิทยุชุมชนจะโฆษณาไม่ได้เลยนอกจากมีผู้อุปถัมภ์ แต่ถ้าทำประโยชน์เพื่อชุมชนจริงสามารถไปขอรับเงินอุดหนุนจากกองทุนที่กสทช.ได้ แต่ต้องเป็นสถานีที่ถูกกฎหมายแล้วเท่านั้น

การขึ้นกับสถานะของธุรกิจนั้น ราคาจะเป็นอย่างไรภายใต้เงื่อนไขใด แต่ทุกวันนี้ไม่ถูกกฎหมาย ถ้าจะออกนอกกรอบต้องขอแก้กฎหมาย จะแก้เรื่องอะไรที่สอดคล้องให้เกิดความสงบสุขของส่วนรวม การออกอากาศจะทำให้ประชาชนเชื่อ เชื่อสิ่งที่พูด ยาไม่ดีก็ทำให้เป็นยาดีได้ ซื้อไปกินแล้วไม่ได้อะไร

ในสายตาของชาวโลกถ้ามีคนกำกับดูแลวิทยุจะดีมาก อย่างเช่นประเทศสวีเดนมีคนกำกับดูแล 28 คน นอร์เวย์มีคนกำกับดูแล 30 กว่าคน สังเกตได้ว่า ประเทศเขาไม่ค่อยทำผิดกฎหมาย ไม่มีใครเปิดแทรก การกำกับดูแลไม่มีใครบังคับ และเมื่อพบว่าทำผิดกฎหมายจะลงโทษทันที จะเปิดวิทยุก็เมื่อมีช่องว่างเท่านั้นต่างกับประเทศไทยทุกคนผิดกฎหมายหมด แต่จะทำอย่างไรให้ถูกกฎหมายให้ได้ การจัดคลื่น 10,000 สถานี ทำอย่างไรให้สถานีถูกกฎหมาย และอยู่ร่วมกันได้ จะแบ่งอย่างไรทั้งวิทยุธุรกิจและวิทยุชุมชน ต้องช่วยกันอย่าให้รบกวนกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วิทยุเป็นเทคโนโลยีซึ่งสามารถไปถึงประชาชนได้เป็นล้าน ๆ สื่อมวลชนเป็นอะไรที่สำคัญมาก ๆ เป้าหมายคืออะไร

1. ประชาชนได้รับประโยชน์หรือไม่

วิทยุไม่เหมือนเทเลคอมหรือโทรทัศน์ วิทยุดีต่อชุมชน ธุรกิจเน้นที่ชาวบ้าน อยากให้เป็นสมบัติกับคนที่แท้จริง เราต้องยึดหลักกฎหมายเป็นแกนหลัก ทำให้คนมีความรู้มากขึ้น มีประโยชน์มากขึ้น เอากฎหมายเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มีการนำเสนอบุคลากรทางวิทยุ เน้นคุณธรรม จริยธรรม เน้นการบริหารจัดการ การเงิน การตลาด เป็นต้น

2. การพัฒนาหลักสูตร อาจเป็นเรื่องการพัฒนาเครื่องส่ง พัฒนาดีเจ ผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สังเกตได้ว่าประเทศสวีเดน นอร์เวย์ ได้เปรียบประเทศไทยในเรื่องมาตรฐานการเป็นพลเมืองที่ดี มีพื้นฐานความคิดที่ดี แต่อย่างไรเขากับเราแตกต่างกันเพราะเราเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ให้เขาค้นหาตนเอง มีวิธีการเรียน มีการมองในอนาคต การศึกษายุคใหม่ต้องเน้นความจริง ทุกคนต้องการเป็นสังคมการเรียนรู้ แต่ไทยเป็นสังคมเพื่อบ้าเงิน

ข้อสรุปที่ไปสู่กสทช.

1. ควรทำการลงทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่คนในวงการวิทยุไม่ต้องเสียเงิน เน้นให้สังคมเปี่ยมไปด้วยความถูกต้อง คุณธรรม จริยธรรม

นโยบายเกี่ยวกับวิทยุในอดีตไม่มี บางครั้งคลื่นที่อยู่ในมือของทหาร กรมประชาสัมพันธ์ กสทช. ไม่กล้าไปยึดมา อยากให้ทุกคนศึกษาสิ่งเหล่านี้

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ขอให้ทุกคนเข้าเป็นแนวร่วมเครือข่ายเพื่อพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ไปด้วยดี ทุกวันนี้ยังไม่ถูกกฎหมายก็ต้องหาข้อมูลเพื่อให้ทุกอย่างราบรื่น ประเด็นคือยังขอคลื่นคืนมาทั้งหมดไม่ได้ แต่ปัญหาที่เห็นคือ ใบอนุญาตทับซ้อนกับบริการวิทยุชุมชน เป็นปัญหามากคือการทับซ้อนแล้วคลื่นตรงกลางหาย คนที่ทำสถานีวิทยุเล็ก ๆ ที่ค้ากำไรแต่ไม่สามารถไปประมูลกับรายใหญ่ได้ ยังไม่มีทรัพยากรคลื่นที่มาจัดสรรให้พอเพียง ถ้าทำแบบ Win- Win สถานีวิทยุไม่จำเป็นต้องได้คลื่นทั้งหมด ได้แยกปัญหาเป็นเรื่อง ๆ ดังนี้

1. ไม่มีทรัพยากรความถี่ไปจัดสรรให้พอเพียง

2. กฎ กติกาการใช้

3. สื่อของรัฐเอาคืนมาไม่ได้ สื่อเอกชนขนาดเล็ก มีจำนวนวิทยุชุมชนที่ทำเพื่อชุมชนจริง ๆ เท่าไหร่

คำถามคือเงินกองทุนสนับสนุนมากพอหรือไม่ที่จะเลี้ยงตัวเองได้

แผนคลื่นความถี่อาจเปลี่ยนได้ อาจมีผู้ประกอบการดิจิตอลแก้ปัญหาได้ หรืออาจจัดสรรเป็นทางออกได้

ตัวอย่างอีกปัญหาที่พบคือ การฝึกอบรมผู้ประกาศ ของกสทช.ที่เป็นความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา และต้องใช้เงินในการฝึกอบรม อยากให้เขียนว่าอยากฝึกอบรมด้านไหน

คุณนวลนิภา เรือนบ้านใหม่ (ป้าแป๊ว) เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุวัดสังฆทาน อ.เมือง จ.นนทบุรี

จากการที่ได้ฟังจากทุกท่านว่าวิทยุต้องเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด แต่ปัจจุบันคิดถึงการเมืองก่อน ดังนั้นจะสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชนได้อย่างไรบ้าง คนในประเทศยังไม่มีหิริโอตตัปปะ ขอพูดในนามตัวแทนประชาชน เนื่องจากเป็นคนรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อยากให้มีวิทยุสังฆทานธรรม อยากถามว่ามีสถานีใดบ้างที่มีความต้องการจากภาคประชาชนเหมือนวิทยุสังฆทานธรรมหรือไม่

มนุษย์เป็นเสมือนญาติพี่น้อง จิตใจของคนเมื่อพัฒนาแล้ว จิตใจจะดีขึ้น ไม่ต้องกลัวศาสนาใดจะเผยแพร่ เพราะของจริงจะมีอยู่เสมอ

ทำอย่างไรที่ได้แบ่งปันคลื่น ให้คิดพิจารณาสภาพที่เหมาะสมกับประชาชนคืออะไร องค์ประกอบตามศักยภาพควรอยู่ตรงไหน ความจำเป็นของประชาชนจริง ๆ ควรอยู่ตรงไหน แล้วคำถามที่จะเกิดกับประเทศไทยจะหมดไป

คุณชัยพร เหมะ

1. อยากรู้ว่าผู้ประกอบการมีประเด็นปัญหาอะไรที่น่าศึกษา จะได้ไปสู่จุดหมายได้

2. ผู้กำกับดูแล กสทช.

3. ผู้ฟัง สถานี ผู้ดำเนินรายการ

ถ้า 3 อย่างประกอบกันจะนำไปเป็นข้อเท็จจริง ที่นำเสนอต่อ กสทช.ต่อไป

ปัญหาเรื่องคลื่นรบกวน

คุณทองหยาด หนองผือ นายกสมาคมวิชาชีพวิทยุโทรทัศน์ภาคตะวันตก จ.นครปฐม

การรบกวนคลื่นความถี่ขอให้คุมกำเนิดคลื่น หลายคนจดทะเบียนไว้ 3-4 คลื่นแล้วก็มีขึ้นมาอีกเรื่อย ๆ อ้างว่ามีใบอนุญาต อยากให้คุมกำเนินว่าแค่ 10,000 สถานีแค่นั้น ถ้ากสทช.เอาจริงจะไม่เกิดกรณีนี้ขึ้น

คลื่นชิดกันเกินไป อยากให้กสทช.กำหนดให้ชัดเจน ใครคลื่นชิดจะไม่ออกใบอนุญาตให้

บางสถานีมีกำลังส่ง 5,000 วัตต์อยากให้ลดมาตามกำหนด 500 วัตต์

คุณพัฒนกิจ พ่วงทอง ผอ.สถานีวิทยุเวสเทิร์น F.M.93.75 MHz จ.ราชบุรี

เรื่องเทคนิค ช่างที่ทำวิทยุ เถื่อนตั้งแต่คนสร้าง คนซื้อ คนใช้ ถ้ามองชัด ๆ คือมีคนสร้างเถื่อน แล้วทำให้คนใช้เถื่อนไปด้วย ทำให้มีปัญหาทั้งประเทศ

ไม่มีคนให้ความรู้ได้เนื่องจากไม่มีใครเรียนรู้เลย ไม่ได้สร้างคนที่มาเป็นช่างเทคนิคโดยเฉพาะ สรุปคือปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากช่าง เช่น ใช้วิธีหาเครื่องกำลังส่งที่แรงกว่าคลื่นอื่น ทำเช่นนี้เรื่อย ๆ เลยทำให้คลื่นรบกวนกันตลอด อยากให้กสทช.ดูแลเรื่องช่างก่อน และให้มีการตรวจสอบ

คุณสุพัฒน์ วัฒนไชย ผอ.สถานีวทิยุ F.M. 89.25 MHz. จ.ราชบุรี

เนื่องจากทรัพยากรมีจำกัดแต่ว่าแต่ละคนอยากมีคลื่นตนเองจึงเกิดความทับซ้อน แต่กรณีราชบุรีไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากมีการรวมตัวเป็นองค์กร สมาคม มีการส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกัน ดังนั้นวิธีการถ้อยที ถ้อยอาศัยให้แต่ละคนร่วมบริหารจะช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง

การใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จะเห็นคลื่นที่แทรก นครปฐมพูดเกิดคลื่นใกล้เคียง ซึ่งรบกวนคลื่นอื่นแสดงว่าสำนึกของผู้ปฏิบัติใช้ไม่ได้ กสทช.ต้องเข้ามาแก้

ปัญหาทางเทคนิคการส่งคลื่นทับซ้อน แอบส่งเกินกำลัง กสทช.ต้องบอกวันดีเดย์ว่าจะใช้ 500 วัตต์ เพราะส่วนใหญ่คนใช้กำลังส่งเกิน เพราะโดยความเป็นจริงเทคนิคการส่งไม่จำเป็นต้องส่งแรงแต่เน้นการส่งสั้น ๆ เป็นเครือข่าย อย่างเช่น เทคนิคการส่ง Wifi จะสามารถครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน และเป็นเทคนิคที่ควรนำมาใช้

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ และอาจารย์ทำนอง ดาศรี

ได้ยกตัวอย่างของกรณีภาคกลางเรื่องการจัดตั้งสมาคมของสมุทรปราการ การสร้างจิตสำนึก และจัดตั้งองค์กรที่ดูกันเอง

คุณภานุวัฒน์ ศิลแดนจันทร์ กรรมการสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว จ.กาญจนบุรี

เมืองกาญจน์เป็นเมืองล่องแพ มีดิสโก้เทคดังมาก ยิ่งดังยิ่งดี การบังคับใช้กฎหมายทำได้ยาก ตัวเนื้อหาเป็นส่วนนำพาไปผิดกฎหมาย

ควรมีการจัดตั้งสมาคม ให้มีกฎ กติกา มีกรรมการวิสามัญ มีตำรวจ กสทช. NGOs เข้ามาในสมาคมด้วย ทำหน้าที่ออกกฎหมายในกรณีที่กสทช.ทำไม่ทัน บางครั้งคลื่นทับซ้อนกัน จะร้อง ๆ กับใคร เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบังคับซึ่งกันและกัน ให้เกิดความทั่วถึงเท่าเทียมกัน ต้องดูในเรื่องบริบท และบทลงโทษตามกฎหมาย

คนที่ไม่เข้าสมาคมเสมือนแกะดำคือคนกลุ่มน้อย เจ้าหน้าที่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้เลย

สรุปคือ ทำอย่างไรให้เนื้อหาดี ส่วนเรื่องราคาแล้วว่ากันอีกที ตัวอย่างกรณีวิทยุเรดิโอ โอเค. ค่ายเพลงใหญ่ ๆ ใช้ระบบดิจิตอลไปตั้งศูนย์แล้วกลืนไปสู่วิทยุชุมชนแบบไม่เหลือ ระวังจะเป็นเหมือนกรณีปลาใหญ่กินปลาเล็ก

วิทยุถ้าไม่อยากหายไป น่าจะรวมกลุ่ม จัดตั้งสมาคมให้มีการใช้กฎหมาย และมีการตรวจสอบได้

คุณนรินทร์ สุขสราญ ผอ.สถานีวิทยุชุมชนคนอ้อมน้อย จ.สมุทรสาคร

กรณีปลาใหญ่กินปลาเล็ก ได้ทำการร้องเรียนกับกสทช. ทำอย่างไรให้แต่ละจังหวัดมีอำนาจและดำเนินตามกฎหมายให้ได้

คุณคมสันต์ จันทินมาทร หัวหน้าสถานี สถานีวิทยุยางเกาะเรดิโอ F.M.106.50 MHz. อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี

ยุคนี้มีเงินเท่านั้นถึงสร้างได้ มีหลายสถานีที่ไม่ได้มาตรฐานในการทำเนื้อหา สถานีบางคลื่นแม้ว่าจำกัดเสา 30 เมตร แต่บางสถานีไปตั้งยอดเขา เครื่องเล็ก ๆ ที่จำกัดความถี่ รัศมีกระจายเสียง ใครตั้งใกล้สุดมีประสบการณ์เก่งที่สุด เรื่องโฆษณา การเมือง พูดในเชิงสองแง่สองง่าม จีบหรือสื่อกับแฟนเพลงโดยใช้คำไม่สุภาพ

วิธีแก้อยากให้มีการตั้งหน่วยงานกฎหมายที่จะมาควบคุมและตั้งกรรมการแต่ละที่ที่จะมารับผิดชอบตรงนี้ เพราะ กสทช. งานเยอะไม่สามารถดูแลควบคุมได้หมด

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

จริง ๆ เสาจะต้องวัดจากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไป 30 เมตร แต่ปัจจุบันคนทำผิดเยอะมาก เรื่องดีเจต้องมีใบอนุญาต เนื้อหาต้องถูกกฎหมาย กสทช.รับงานปี 2553 กว่าจะออกกฎกติกา ช้า จะนำไปเสนอให้เร่งทำ

การกำกับให้กำกับดูแลตนเอง สถานีจะตรวจสอบได้ทั่วถึงหรือไม่ ต้องช่วยกัน ถ้าถูกกฎหมายต้องอัดเทปรายการและตรวจสอบ ช่วงเวลาไหนใครเป็นอย่างไร

คุณพัฒนกิจ พ่วงทอง ผอ.สถานีวิทยุเวสเทิร์น F.M.93.75 MHz จ.ราชบุรี

ต้องให้มีการควบคุมเนื้อหาในรายการฯ แล้วเอาเนื้อหามาบอกว่าของใครเป็นอย่างไร นักจัดรายการฯ มีพฤติกรรมแบบนี้ กสทช.ต้องเป็นคนกำหนดว่าควรมีเนื้อหาแต่ละประเภทสัดส่วนเท่าไหร่ ควรมีอะไรบ้าง ปัจจุบันมีการจัดอบรมผู้ประกาศ แต่ค่าอบรมแพงมากและใช้ระยะเวลามากด้วยเช่นกัน

อยากให้คนอบรมมาแต่ละจังหวัดแทนที่จะให้ผู้เข้าอบรมไปรวมกลุ่มอบรมที่เดียวในกรุงเทพฯ

คุณสุพัฒน์ วัฒนไชย ผอ.สถานีวทิยุ F.M. 89.25 MHz. จ.ราชบุรี

การอบรม กสทช.มีกองทุนหลายร้อยล้านบาท หลายองค์กรใช้กองทุนนี้ เมื่อมีการจัดอบรมบุคคลากรกลับไม่ใช้งบตรงนี้ อยากให้ดูว่ากองทุนไปใช้ในภารกิจอะไรบ้าง สิ่งที่พูดเกิดจากการพัฒนาคน พัฒนากองทุนของกสทช.ที่เป็นหลักพัน

คุณนวลนิภา เรือนบ้านใหม่ (ป้าแป๊ว) เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุวัดสังฆทาน อ.เมือง จ.นนทบุรี

อยากให้ดูตัวอย่างในประเทศ และมีการฝึกฝนตนเอง

พ.ต.ท.ปรีชา กุลานุวัติ ผอ.สถานีปากคลองปราณ F.M.92.25 MHz. จ.ประจวบคีรีขันธ์

จากที่บอกว่าวิทยุมี 3 ประเภท คือ วิทยุสาธารณะ วิทยุธุรกิจ วิทยุชุมชน กสทช.เป็นผู้วางกฎระเบียบ ความจริงแล้วน่าจะมาจากพวกเราเป็นผู้วางและเสนอแนะรายละเอียดขึ้นไปบนเงื่อนไขที่ทุกคนปฏิบัติได้ ไม่ใช่ข้อกำหนดที่เราทำไม่ได้และปฏิบัติไม่ได้แต่ให้อยู่ในพื้นฐานข้อเท็จจริงและความเป็นธรรม

ทุกคนต้องผ่านการอบรมถึงเป็นนักจัดรายการได้ นับว่าเป็นสิ่งที่ดีอยู่ แต่เป็นไปได้หรือไม่ที่กสทช. ควรเป็นคนเข้ามาช่วยดูแลด้านนี้

การกำกับดูแล มีชมรม สมาคมอยู่แล้ว ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนพบปะแก้ปัญหาร่วมกัน ยกเว้นคนอยู่นอกชมรม

ในอนาคต ถ้าไม่อยู่สังกัดชมรม กสทช.จะไม่ต่ออายุให้

การกำกับดูแลคนหมู่มาก เป็นไปได้หรือไม่ถ้ากสทช.ระดับส่วนกลางที่มีอยู่จะเป็นหูเป็นตาแทน ช่วยกำกับดูแลคนที่ออกนอกลู่นอกทางได้

นายมานะ โตสมบัติ ผอ.สถานีวิทยุ หัวฝายเรดิโอ F.M.97.00 MHz จ.ตาก

ปัญหาที่พบบ่อยครั้งคือเรื่องคลื่นความถี่ทับซ้อน เนื่องจากเป็นผู้ฟังวิทยุอยู่ประจำ มีบางครั้งคลื่นเดียวกันแต่พอขับไปอีกที่เกิดคลื่นตีกัน จึงอยากถามว่าคลื่นความถี่เดียวกันควรให้มีระยะห่างกี่กิโลเมตร หรือเป็นเพราะเครื่องส่งของสถานีบางแห่งแรงกว่ากันทำให้ตีกัน และได้มีการแบ่งเขตอำเภอ แบ่งเขตจังหวัดหรือไม่

การอบรมใบประกาศที่ผ่านมา 2 รุ่น จะว่าแพงก็แพง แต่ที่สงสัยคือเนื้อหาระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงนั้นไม่ต่างกัน พูดเรื่องเดิม ๆ จึงอยากถามว่ามีระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงทำไม กสทช.มีมาตรการที่ช่วยเหลือและแก้ไขด้านนี้อย่างไร

ปัญหาที่พบอีกเรื่องคือจรรยาบรรณ พบว่าดีเจบางคนอาศัยวิทยุชุมชนในการล่อลวง ชู้สาว ถามว่ามีการอบรมจรรยาบรรณวิชาชีพของดีเจหรือไม่ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและก่อปัญหามากมาย

สรุปประชุม (ต่อ)

พระครูต้นน้ำ

ไม่เคยเอาเงินกองกลางอะไร แต่ก่อนไม่ขึ้นอยู่กับวิทยุชุมชนด้วยซ้ำ ขึ้นกับวิทยุสาธารณะเป็นประโยชน์ต่อชาติ ศาสนา วิทยุชุมชนเป็นเสียงตามสาย จึงต้องร่วมมือกัน จึงอยากให้มีจริยธรรม คุณธรรม ปัญญาธรรม สติปัฐฐาน 4 เดินไปด้วยกัน

คุณนวลนิภา เรือนบ้านใหม่ (ป้าแป๊ว) เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุวัดสังฆทาน อ.เมือง จ.นนทบุรี

ที่สถานีได้เปิดเพลงสมเด็จพระสังฆราชเยอะมาก เพลงให้รู้จักบุญคุณพ่อแม่เปิดเป็นเป้าหมายเดียวกัน ทำไมต้องมีการ Link ให้ประชาชนทั่วไปตามความเป็นจริงก็เพื่อสร้างธรรมะ เพราะถ้าให้สิ่งพิษจะเหมือนยาพิษ และจะกลับมาที่ตัวท่าน สื่อเป็นที่ตัวท่านต้องมีบุญบารมี และเลือกเองได้

คุณปณิธิ เอี่ยมกิจ ผอ.สถานีวิทยุนางแก้วเรดิโอ F.M.106.85 MHz. จ.ราชบุรี

สำนักข่าวสื่อมวลชนแห่งชาติทำสัญญาณลิงก์ระบบออนไลน์ สมัยก่อนเกิดขึ้นมามีไม่กี่นาที

1. เราคิดว่าสื่อภาคประชาชนต้องการส่งเสริมและสนับสนุน ไม่ได้ต้องการกำกับดูแล เราต้องพัฒนาอย่างมาก อยากให้ใช้ว่าส่งเสริมและสนับสนุน อย่าใช้คำว่ากำกับดูแล อันไหนเห็นควรก็สนับสนุน ไม่เห็นควรก็ไม่สนับสนุน

2. การครอบงำสื่อ ควรมีคณะกรรมการและใช้ส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อการพัฒนา การทำสารและข้อมูลให้ส่งไปคัดกรอง ให้มีองค์กรหมุนเวียน

3 ควรให้มีการเชื่อมต่อนวัตกรรม เชื่อมต่อกับทางอินเตอร์เน็ต อาจมีคนฟังมากกว่า เนื่องจากมีการรับสัญญาณที่ชัดมากขึ้น ทำให้หลายสถานีที่พยายามยึดกองพื้นที่ตรงนี้ ลดลง

4. การตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด ทำให้ทุกคนยอมรับได้ มีการออกระเบียบในกลุ่มให้ทุกฝ่ายยอมรับกัน เกิดความยอมรับในระดับสากลด้วย ให้มีความเป็นอิสระเพื่อสาธารณชนด้วย

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

บางท่านอยากให้การกำกับดูแลเข้มข้น บางครั้งอาจทำให้มีการส่งเสริมและสนับสนุน

คุณศฤชคาร สุริธรรม กรรมการบ.ต้นกล้าเรดิโอ จ.สุพรรณบุรี

ในเรื่องของการเบียดคลื่น ถูกเบียดเหลือ 5 กม. แต่ไม่ได้ร้องเรียน ทุกอย่างอยู่ที่เราว่าจุดไหน ก่อนที่บอกให้คนอื่นทำ ทำหรือยัง รณรงค์ให้ตัวเองปฏิบัติด้วย เราจบที่ 500 วัตต์หรือยัง

ทำไม 2,000 -3,000 วัตต์เกิดในเมืองแล้วไปเบียดชาวบ้าน กสทช.เป็นผู้จัดสรรคลื่นความถี่ แต่ได้ลองโทรไปที่กสทช.แล้วลองทดสอบดูว่าโทรติดหรือไม่ วันนี้ถ้าไม่มีสินค้าเองอยู่ยาก สิ่งที่อยากฝากคือว่า กสทช.มีเงินเยอะแต่จะแก้ปัญหาตรงนี้จะทำอย่างไร เพราะวันนี้หยุดไม่ได้แล้ว ช่องทางวิทยุเป็นการหารายได้เป็นเรื่องปฏิเสธไม่ได้ งบจัดสรรมาจากตรงนี้ส่วนหนึ่ง ถ้ารายได้พอกิน จริยธรรมจะตามมา

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

คลื่นยังไม่ได้รับการจัดสรรเลย แต่ละสถานีไม่ได้รับคลื่นที่ถูกกฎหมาย กฎหมายไม่ได้อนุญาตให้ใครตั้งสถานีวิทยุตั้งแต่ปี 2540 เรื่องเงินอุดหนุนอยู่ในกองทุนวิจัยที่ต้องอุดหนุนวิทยุสาธารณะอยู่แล้ว ภารกิจต้องถูกกฎหมายก่อน เงินจึงถูกเอามาใช้ได้แน่ มีการประกาศหลักเกณฑ์ในการขอ เป็นองค์กรของรัฐ เอกชน ผู้ขอเข้ารับการสนับสนุนในเรื่องที่กำหนดไว้ การพัฒนาผู้ประกาศข่าว จัดสถานีวิทยุทำได้โดยผ่านกองทุน มีอนุกรรมการพิจารณาโครงการ ฝ่ายติดตามการใช้เงิน ต้องอนุมัติให้ถูก ไม่ปล่อยให้มีการใช้เงินโดยไม่เกิดผล

โดยบริบทกฎหมาย ได้มีการระดมคนให้เท่าทันความคิด การเมือง

คุณทองหยาด หนองผือ นายกสมาคมวิชาชีพวิทยุโทรทัศน์ภาคตะวันตก จ.นครปฐม

ไม่สบายใจที่คุณสาธิตพูดแล้วผิดกฎหมายหมด ถ้าบอกว่าไม่ถูกกฎหมาย แสดงว่าทุกคนผิดกฎหมาย

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

ที่บอกว่าผิด คือเครื่องผิดระเบียบวิทยุโทรคมนาคมแน่นอน ถ้าไปต่ออายุขอให้ออกใบอนุญาตวิทยุชุมชนตัวจริง แต่ติดที่คลื่นหลักไม่คืน อยู่ในการผ่อนปรนหรือผ่อนผัน ในกฎหมายที่เก็บค่าธรรมเนียม เหมาะสมหรือไม่

คุณธนัช ประสานวงศ์ ผอ.สถานีวิทยุกระจายเสียงสุพรรณบุรี

ติดใจในคำตอบของคุณสาธิตที่บอกวิทยุชุมชนไม่ถูกกฎหมาย ไม่น่าจะได้ยินคำพูดนี้ เรื่องเครื่องผ่านแล้ว วิทยุผ่านแล้ว ผังรายการผ่านแล้วมีอะไรที่ไม่ถูกกฎหมายอีกซึ่งพยายามปฏิบัติตามตลอด อยากรู้ว่า กสทช.มีอะไรที่มาดูอีก อยากให้แยกตามข้อจำกัด 1,2,3,4 น่าจะถูกตามกฎหมาย ต้องแยกให้ได้ เพราะตราบใดที่มาเหมารวมทุกเรื่องก็ไม่จบ

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

ที่ออกมาเป็นใบทดลองการออกอากาศแต่ไม่ใช่ใบอนุญาตจริง ๆ เช่นใบอนุญาต 15 ปี พยายามจัดระบบ คนที่มีอยู่ ออกอากาศไปก่อน แล้วต่อมาจะออกใบอนุญาตอีกครั้งหนึ่งใหม่เลย 10- 15 ปี เป็นการผ่อนปรนให้เข้าระบบกฎหมาย ไม่จับกุมในกระบวนการ แต่ขณะเดียวกันคลื่นไม่ได้จัดสรรจริง ๆ

คุณพัฒนกิจ พ่วงทอง ผอ.สถานีวิทยุเวสเทิร์น F.M.93.75 MHz จ.ราชบุรี

กสทช.เก็บเงิน 10,700 บาท 2 เที่ยวแล้ว แล้วมีสรรพากรเก็บอีกอยากถามว่าเก็บไปทำอะไร พัฒนาใคร ตัวอย่างเช่นที่ตั้งเสาบ้านให้เช่าก็ไม่ได้ ต้องมีที่โดยตรง

คุณทิพย์วัลย์ วุฒิคุณ ผู้จัดการ สถานีวิทยุเกรซเรดิโอ F.M.96.75 MHz อ.พบพระ จ.ตาก

เรื่องกรมพัฒนาธุรกิจฯ ตอนแรกเป็นสถานีวิทยุชุมชน ตำแหน่งแรกเป็นผู้อำนวยการ วิทยุชุมชนไม่มีสิทธิโฆษณา ถ้าโฆษณาต้องไปเป็นภาคธุรกิจ ไปจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจฯเปลี่ยนเป็นผู้จัดการ จ่ายภาษีไปเพื่อทำอะไร รายได้ไม่ถึงที่ตั้งแต่รายจ่ายมาก อ.พบพระมีสถานีไม่เยอะ ความถี่จะเอาอะไรจำกัดได้ เพราะอากาศมันไป กำกับได้อย่างไร ต้องมีอยู่แน่นอนเรื่องเบียนหรือทับซ้อนกัน

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

การเก็บค่าธรรมเนียม และค่าภาษีเป็นซ้ำซ้อน จะนำเสนอให้ แล้วการไปรบกวนคลื่นพม่าถ้าข้ามแดนต่างประเทศจะถูกจับทันทีเพราะถ้าถูกต้องต้องไปแจ้ง ITU ก่อนว่าถูกกฎหมาย ถ้าถูกกฎหมายจะมีกรรมการร่วมไม่รวมในชายแดนเรา เป็นผู้ตรวจสอบ

คุณนวลนิภา เรือนบ้านใหม่ (ป้าแป๊ว) เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุวัดสังฆทาน อ.เมือง จ.นนทบุรี

อยากเปิดสถานีศาสนาเป็น Voice of Asean เพราะเรื่องสมาธิเป็นผลประโยชน์อย่าปิดกั้น

ผศ.สุนิสา โพธิ์พรม คณบดี คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จ.ราชบุรี

อยากให้ผู้ประกอบการพูดโดยตรงมากกว่า ขอฝากเรื่องจริยธรรมสื่อ แต่จริง ๆ แล้วสอนไม่ได้อยู่ที่ความตระหนักรู้ของแต่ละท่าน อยากให้ผู้ประกอบการไปเผยแพร่ต่อให้ตระหนักรู้เยอะ ๆ

คุณสุพัฒน์ วัฒนไชย ผอ.สถานีวทิยุ F.M. 89.25 MHz. จ.ราชบุรี

บทบาทสื่อสารมวลชน ปัจจุบันเน้นเรื่องบันเทิงเป็นส่วนใหญ่ ในชุมชนควรมีรายการเพื่อชุมชนในสัดส่วนเท่าไหร่กี่เปอร์เซ็นต์ การผลิตรายการมีเนื้อหาดี ๆ ต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถต้องจ้างด้วยราคาแพง หลายสถานีใช่ว่ามีกำไรมากมาย แค่พออยู่พอได้เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ยืนยันชัดเจน ที่ทำเพราะใจรักและเป็นช่องทางทางการสื่อสาร

หลายคนไม่เข้าใจวิธีการประสานเป็นโครงข่าย หาสปอนเซอร์เข้าเป็นทางออก วัดตามต่างจังหวัดหลายวัดบางทีเป็นรายการนิดเดียวตอนเช้า และหลังจากนั้นไม่มีเนื้อหาสาระอะไรนอกจากเป็นเพลงว่าง ๆ อยากให้หลายสถานีเสนอเนื้อหาไป

ผู้จัดการรายการมีทักษะทางการสื่อสารน้อย เราต้องอธิบายตามทักษะผู้ดำเนินการ กลไกอิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องรอง สำคัญต้องพัฒนาคุณภาพการสื่อสาร บุคลากร จิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรม

คุณปณิธิ เอี่ยมกิจ ผอ.สถานีวิทยุนางแก้วเรดิโอ จ.ราชบุรี

สิ่งที่วิทยุชุมชนได้มาในการให้ค่าโฆษณา 6 นาทีตอนแรก อยากให้กลับไปเหมือนเดิม กฎหมายได้นิยามเรื่องการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ ถ้าทำปมให้กลับไปที่เดิมดีหรือไม่ ถ้ามีการประมูลเกิดขึ้นคิดว่ารายย่อยไปไหวหรือไม่ เช่นช่องละล้าน ถามว่าวิทยุรายเล็กประมูลได้หรือไม่ สิ่งที่เขียนเรื่องการประมูลเป็นการเขียนสวยงามหรือองค์ประกอบเท่านั้น อยากให้สงสารสื่อภาคประชาชนและส่งเสริมและสนับสนุน

คุณภานุวัชร ฝ่ายบุตร ผอ.สถานีฟ้าใสเรดิโอ จ. ประจวบคีรีขันธ์

จริง ๆ ศักยภาพอยู่ในชุมชนเท่านั้น แต่ปรากฏว่าอยู่ชุมชนไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้ ต้องมาสู่ภาคธุรกิจ จะเอาเงินล้านไปสู้กับยักษ์ใหญ่ได้หรือไม่ถ้ามีการประมูล เงินอุดหนุนไม่สนใจ ขอเพียงแค่เปิดโอกาสให้หายใจ

ข่าวสารภาครัฐ 1 สถานีใช้งบไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ถามว่างบส่วนนั้นเป็นงบราชการ แต่วิทยุชุมชนออกทุนเอง รัฐไม่ได้สนับสนุน แต่ขอเปิดโอกาสให้หายใจบ้าง 1-2-6 นาทีบ้าง

คุณจีระสุข ชินะโชติ

ในอดีต 10 ปีแรก ทำงานเองโดยรัฐบาล เพื่อนร่วมงาน แต่ 10 ปีหลังเป็นภาคธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องเต็มไปหมด มีเรื่องงบประมาณมาเกี่ยวข้อง แต่สื่อต้องยึดเหมือนเดิมว่าเพื่อการศึกษา สาระ

วิทยุเป็นสื่อที่มีราคาถูก คุ้มทุน และไปไกล วิทยุเกิดขึ้นมานานแล้วและควรทำต่อไป ก็สนับสนุนส่งเสริม เพราะมีค่าน้ำ ค่าไฟ แต่อย่าทำให้ล้ำเส้นมากเกินไป

คุณชัยพร เหมะ

เราตั้งมาตรฐาน เท่ากับ ผู้ประกอบการ ผู้กำกับ ผู้ชม ผู้ประกอบการควรรู้จักบทบาทหน้าที่ตนเอง สรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพมา เสริมที่พบพระ การจดวิทยุธุรกิจ เสียภาษีปีละ 2 ครั้ง อย่าลืมกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

กสทช.ควรอธิบายให้ผู้ประกอบการหรือไม่ว่าจดทะเบียนแล้วต้องทำอย่างไรต่อ

ประเด็นที่ 1 งานในส่วนกสทช.ส่วนหนึ่ง ของกรมสรรพากร ส่วนหนึ่ง กสทช.เก็บค่าธรรมเนียมโดยตรง งานสรรพากร ต้องแจ้งผู้ตรวจสอบภาษีรายปีที่ต้องจ่ายแน่ ๆ

คุณสุพัฒน์ วัฒนไชย ผอ.สถานีวทิยุ F.M. 89.25 MHz. จ.ราชบุรี

ณ วันนี้ กสทช.ลังเล ทำมาหากินก็ไม่กล้า ทำอย่างนี้ผิดกฎหมาย

คุณวรวุฒิ โตมอญ

วิทยุกระจายเสียงอยากให้ชุมชนมีความรู้ที่ดี ถูกต้องเหมาะสม ความเข้าใจมีความหลากหลาย ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องนั้น ๆ ยังมีข้อจำกัดอยู่ ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง คือทุกคนเข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเองมากน้อยแค่ไหน สิทธิให้ข้อมูลข่าวสาร สิทธิ์ในการจัดตั้ง การรับข้อมูล และการสร้างผลประโยชน์ต่อสังคม หน้าที่ในการทำธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง

สิ่งที่เห็นว่ามีอยู่แล้วแต่เห็นเป็นเบี้ยหัวแตก สถานีทั้งหลายมีชมรม สมาคม กลุ่มบ้าง ยังไม่ได้มีกติกา ทำให้เป็นพลังและรวมเป็นชิ้นเป็นอัน ทำอย่างไรให้ดูแลกำกับกันเอง มีการแชร์ความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีสภาทนายความตามจังหวัด อำเภอ ตำบลต่าง ๆ มีการตั้งสถานี อบจ. อบต.มีส่วนเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหน ภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้านได้มีส่วนช่วยชุมชนมากน้อยแค่ไหน การดำเนินการได้นำความมีส่วนร่วมบ้างหรือไม่ เพราะมีการใช้คำนิยามที่ผิด ๆ หลายครั้ง

อาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย

วิทยุชุมชนควรเป็นกระบอกเสียง ตัวแทนชุมชนนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตามมีชุมชนหลายรูปแบบ เรื่องน้ำ เรื่องการศึกษาจัดให้ประชาชน เรื่องกลาโหม พระจะอยู่ในทุกส่วนของชีวิตประจำวัน คนไทยพระจะมีส่วนร่วมตลอด อิสลามมีอิหม่ามช่วย น่าจะมีศาสนาเป็นตัวกลางช่วยให้คุมอยู่ในคุณธรรม เป็นผู้ที่รู้ทำให้ของยากเป็นของง่าย นำพระมาอยู่ด้วย การสอนศาสนาก็ดี วิธีการสอนคือนำคนในชุมชนมาพูดเรื่องศาสนาแล้วจะรู้ซึ้งกัน ในอนาคต กสทช.อาจมีการควบคุมเครื่องผลิต เครื่องส่ง ขอให้มีสถาบันในชุมชนเป็นผู้ดูแล

คุณภานุวัฒน์ ศิลแดนจันทร์

ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องแบ่งกัน จัดการคนมารวมกัน สิทธิและหน้าที่ใช้กับยุโรป กฎหมายของไทยเราต้องรู้สิทธิหน้าที่ด้วยตนเอง รวมกันเยอะ ๆ แบ่งที่ยืนให้กัน สังคมมีปัญหาเพราะคนไม่แบ่ง ให้เรียนรู้ไปด้วยกัน ต้องถกเถียงกัน และดึงข้อที่มีจุดร่วมเอามาใช้ กฎหมายเปิดโอกาสให้ทะเลาะเบาะแว้งกันก่อน

ปัญหาทางเทคนิค แก้ได้ ต้องมีกติกาที่ควรเริ่มด้วยพวกเราเอง ทำอย่างไรให้ทรัพยากรมีคุ้มค่า ทำอย่างไรให้สกัดทุนใหญ่ ปลาใหญ่กินปลาเล็กหรือไม่ ทำให้เป็นเครือข่ายให้มีสมาคมชุมชน เสียงดังขึ้นก็โวยวายให้ถึง

อย่าคิดว่าเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ แม้ไม่รู้หน้าที่ชัดเจน อย่าคิดว่าอะไรถูกหรืออะไรผิด

ครูบาต้นน้ำ

ต้องให้ดร.จีระ เข้มแข็ง ให้ทุกภาคเปิดข้อมูล ทำวิทยุชุมชนเพื่ออะไร ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แต่วันนี้มีคนมาแทรกแซงเยอะ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Learn Share Care พยายามมองจุดแข็งของทุกคน ต้องใช้ระยะเวลา เราทำอย่างไรต้องมีกรอบความถูกต้อง คุณธรรม จริยธรรม ฝึกคนเหล่านี้ ประเทศชาติจะรอด มี Network ซึ่งกันและกัน

ให้ พ.ต.ท.ปรีชา กุลานุวัติ เป็นผู้ใหญ่ เป็นแนวร่วมช่วยประสาน

ในอนาคตข้างหน้าข้อสรุปทั้งหมดจะได้รับการสนับสนุนจากกสทช.ในขั้นต่อไป โปรเจคในอนาคตที่จะมาในภาคตะวันตก คนที่มาวันนี้จะเป็นเป้าหมายให้รวมกัน เป็นลักษณะเชคสเปียร์โมเดล

ถ้ามีเทคโนโลยีแต่ขาดคุณธรรม จริยธรรมไม่มีทางรอด วิทยุคืออนาคตของประเทศ ต้องให้คนสนใจวิทยุ

วิทยุมีค่ามหาศาล คนรุ่นเก่าฟังวิทยุแต่คนรุ่นใหม่อาจดูทีวี อินเตอร์เน็ตเยอะหน่อย

ในยุคต่อไปคนในห้องนี้ต้อง Win – Win

การลงทุนพัฒนาคน

กฎหมายคือจุดสำคัญ ต้องเข้าใจการเมือง ถูกกฎหมาย แล้วต้องถูกคุณธรรม จริยธรรมด้วย

- การประมูลต้องทำให้คนไม่มีความสามารถในการจ่ายอยู่ได้

- ต้องมีกองทุน

- ต้องมีการพัฒนาบุคลากร จะเสนอไป 3 ปี และกลุ่มที่มาเรียน เป็น Focus Group จะเป็น Key person จะมี E-mail ถึงทุกคน

เรียน ท่านอาจารย์จีระ ที่เคารพ

ได้อ่านสรุปการประชุมกลุ่มย่อยจากทุกจุดแล้ว เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและผู้สนใจด้านวิทยุ ผมขออนุญาตอาจารย์แจ้งลิงค์ให้พี่น้องชาววิทยุออนไลน์ที่ www.esanradio.net ได้อ่านอีกทางครับ อ้อ พยายามหาภาพกิจกรรมของอีสานที่อุดรธานีไม่เจอครับ ไม่ทราบซ่อนไว้ที่ไหนครับ

ขอขอบคุณในน้ำใจและเนื้อหาที่มีคุณค่าครับ

วชิระ พลตื้อ

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/564723

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อฟังข่าวโครงการ

http://mcot-web.mcot.net/fm965/audio/view/id/5338f...

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk ตอน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เรื่องนโยบายและทิศทางสื่อวิทยุ ในอินโดนีเซีย ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม 2557 ทางสถานีวิทยุ FM 96.5 MHz.

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/11723

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ แนวหน้า 30 มี.ค.57 หน้า 5

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท