บทความทางกิจกรรมบำบัดเกี่ยวกับผู้สูงอายุ: ในความพอเพียงของผู้สูงอายุ


 

(ภาพจาก: http://weheartit.com/entry/69856475)

                การก้าวข้ามสู่วัยผู้สูงอายุนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางด้านร่างกาย หรือปัจจัยแวดล้อมอื่นๆที่ส่งผลกระทบ วันนี้ดิฉันได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกับบ้านดิฉันเองค่ะ

 --------------------------------------------------
ข้อมูลเบื้องต้นของผู้สูงอายุ

ชื่อ: แวบีเบ๊าะ เจ๊ะดอลอฮ์      เพศ: หญิง      อายุ: 62 ปี      อาชีพ: -

โรคประจำตัว: ความดันโลหิตสูง กระเพาะอาหาร    อื่นๆ: ปวดเข่า ปวดหลัง        

ครอบครัว: อาศัยอยู่กับสามี ลูกชาย ลูกสะใภ้และหลานๆ ทั้งหมดรวมเป็น 8 คน  

ผู้ที่สามารถติดต่อได้:นาย มะแย็ง แวหามะ                     เกี่ยวข้องเป็น: ลูกชาย

--------------------------------------------------

                จากที่ได้สัมภาษณ์คุณยาย ดิฉันรู้สึกได้ถึงความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าอย่างแรงกล้า คือในระหว่างตลอดการสัมภาษณ์นั้นคุณยายจะมีการปณิธานต่อประเจ้าอยู่เสมอๆ (ในภาษามลายูคือคำว่า ซอบาแปลว่า อดทน ยอมรับ รับได้กับสิ่งที่เกิดขึ้น) คุณยายอารมณ์ดี มีสีหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใสตลอดเวลา ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีกิจกรรม(Activity Theory)ที่ว่าการที่ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำอยู่เสมอในอดีตส่งผลให้สามารถปรับตัวได้ดีกว่าผู้สูงอายุที่ปราศจากการทำกิจกรรม ยายสามารถระลึกวันเวลาสถานที่ได้ปกติ เมื่อดิฉันถามถึง

                การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่เกิดขึ้นกับคุณยาย คุณยายจะมีอาการปวดเมื่อต้องนั่งเป็นเวลานาน จากการปวดหลัง ปวดสะโพก คุณยายจะเดินหลังโก่ง เพราะเมื่อเข้าสู่วัยนี้แล้วกระดูกและเนื้อเยื่อที่ออยู่ระหว่างรอยต่อกระดูกสันหลังจะลดจำนวนลง และมีการเสื่อมสลายของแคลเซียมในกระดูก ข้อต่อต่างๆเสียความยืดหยุ่นเป็นต้น ผิวหนังคุณยายปรากฏให้เห็นรอยเหี่ยวย่น ส่วนระบบสัมผัสเฉพาะได้แก่ ตา หู จมูก และประสาทสัมผัสที่ผิวหนังของคุณยายยังปกติอยู่จากที่ได้สัมภาษณ์คุณยายและสมาชิกในบ้านท่านอื่น เว้นแต่การรับรสของคุณยายจะเปลี่ยนแปลงไป และยายจะมีการหลงลืมบ้างเล็กน้อยจากที่ให้คุณยายทำกิจกรรมร่วมกับดิฉันเช่นการจำชื่อ5ชื่อ การดูสีและบอก การคิดคำนวณช้าลงจากที่ให้คุณยายลงลบเลขถอยหลังทีละเจ็ด ซึ่งเป็นเรื่องที่พบได้ปกติในวัยนี้เนื่องจากการทำงานของระบบประสาทจะลดลง แต่สมองไม่ได้เสื่อมถอยลงไปทั้งหมดยังคงสามารถเกิดการสร้างใหม่ได้ ทำให้ผู้สูงอายุยังสามารถเรียนรู้และศึกษาสิ่งต่างๆเพิ่มเติมได้หากได้รับการส่งเสริม เป็นไปตามการอธิบายของ Biological Theories of Aging
                ส่วนสภาพจิตใจของคุณยายจากที่ได้สัมภาษณ์ว่าคุณยายมีความสุขไหม ถ้าให้เป็นคะแนน 0 คือไม่มีความสุข และ10คือมีความสุขมากที่สุด คุณยายจึงบอกว่า เมื่อก่อนคุณยายให้ 5 ปัจจุบันคุณยายให้ 10คะแนน เพราะเนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจของบ้านคุณยายดีขึ้น คุณยายอาศัยอยู่กับสามีและมีลูกชายรวมทั้งหลานๆกลับมาอยู่กับคุณยายด้วย และการสูญเสียลูกชายคุณยายสามารถทำใจได้แล้วเพราะผ่านมานานแล้วมาก  

                ซึ่งความสัมพันธ์ทางสังคมของคุณยายอาจจะลดลง เพราะคุณยายมีความยากลำบากในการเคลื่อนไหวตนเอง แต่ก็มีเพื่อนบ้านไปมาหาสู่บ่อย การไปทำกิจกรรมทางสังคมเช่นการไปงานบุญจะถูกจำกัดไปเพราะลูกชายเป็นห่วง และตอนนี้ยายไมได้ขายของหารายได้เองเหมือนเมื่อก่อนแล้ว รายได้หลักส่วนใหญ่มาจากลูกชาย และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

                ตอนนี้สังคมของคุณยายมีเพียงแต่ครอบครัว สามารถอธิบายตามทฤษฏีการแยกตัว(Disengagement Theory) ได้ว่าคุณยายไม่ทำงานแล้ว และลดกิจกรรมอื่นๆในชีวิต คุณยายจึงมีเวลาที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนในครอบครัว และมีเวลาเตรียมตัวตนเองที่จะเข้าสู่วัยชราและเสียชีวิต ซึ่งคุณยายมักจะทำกิจกรรมทางศาสนาเป็นประจำอยู่เสมอ

                และยังสามารถอธิบายตามทฤษฎีพัฒนาของเพค (Peck’s Development Theory)ว่า แม้คุณยายจะมีบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป  แต่คุณยายก็ยังรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ตามลักษณะEgo differentiation vs. work/role preoccupation การที่คุณยายสามารถยอมรับและปรับความรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายที่ถดถอยได้จะเป็นไปตามลักษณะของทฤษฎีคือBody transcendence vs. body preoccupation รวมทั้งคุณยายมีความรู้สึกยอมรับกฎเกณฑ์และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ยอมรับความตายที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้สึกวิตกตามลักษณะEgo transcendence vs. Ego preoccupation

                จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ยายไม่สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตบางอย่างอย่างยากลำบากเช่นการเคลื่อนย้ายตนเอง การรับรสที่เปลี่ยนไป การทำกิจกรรมทางสังคมจะต้องลดลงไป แต่คุณยายก็ยังยิ้มได้แม้ว่าจะต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
                ซึ่งดิฉันเองได้ แนะนำวิธีการบางอย่างที่สามารถทำได้ในเบื้องต้นก่อนแก่คุณยาย เพื่อส่งเสริมและป้องกันแก่ ก่อนที่จะลาและขอบคุณคุณยาย

                -แนะนำให้ใส่ร้องเท้าที่มียางเวลาเข้าห้องน้ำ รวมทั้งควรมีแผ่นกันลื่นในห้องน้ำ

                -ขณะใส่เสื้อไม่ควรก้มหรือยืน ให้คุณยายนั่ง และจัดลักษณะของเสื้อและกระโปรง พร้อมทั้งสาธิตให้คุณยายดู แนะนำลักษณะของผ้าถุงของคุณยายใส่ให้เป็นแบบยางยืด เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าหลุดก่อให้เกิดการเดินสะดุดหกล้มได้

                -แนะนำคุณยายและลูกของคุณยายว่า ห้องนอนคุณยายควรจะอยู่ชั้นล่างเพื่อป้องการเดินหกล้มที่อาจจะเกิดขึ้นได้

                -แนะนำว่าผู้สูงอายุลักษณะของการมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป แสงในบ้านควรจะสว่างให้เหมาะสมต่อการมองเห็น

                -เวลาเดินทางไกลให้นั่งพักเป็นระยะๆ

                -แนะนำว่าหากคุณยายต้องการทำกิจกรรมใดควรจะให้คุณยายได้ทำ แต่ต้องมีผู้ร่วมทำคอยดูแลด้วย รวมทั้งให้คุณยายหากิจกรรมทำยามว่างเพื่อป้องการภาวะซึมเศร้าที่อาจจะเกิดขึ้นได้และเป็นการส่งเสริมการทำงานของร่างกายให้คงสภาพได้อย่างปกติ

                -แนะนำให้ดูแลสุขภาพเพิ่มเติมจากเดิมที่ดูแลเพียงเรื่องอาหาร คือให้เคลื่อนไหวร่างกายๆเบาๆ ขณะที่นั่งเฉยๆยามว่างเพื่อให้กล้ามเนื้อได้เคลื่อนไหว ให้มีความยืดหยุ่น

                หากคุณยายได้มีการเปลี่ยนแปลงตามที่ได้แนะนำไป ชดเชยสิ่งที่เสียไป จะสามารถทำให้คุณยายใช้ชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ สามารถอธิบายตามทฤษฎีThe Person-Environment transection perspective ที่กล่าวว่า สิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ฉะนั้นหากคุณยายอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีจะสามารถให้คุณยายทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่ต้องการได้สำเร็จ และมีความมั่นใจมากขึ้น

 

บทความทางกิจกรรมบำบัดของผู้สูงอายุอื่นๆ:
http://www.gotoknow.org/posts/559081
http://www.gotoknow.org/posts/559042
http://www.gotoknow.org/posts/559069
http://www.gotoknow.org/posts/559070
http://www.gotoknow.org/posts/559093
http://www.gotoknow.org/posts/559090
http://www.gotoknow.org/posts/559118

เว็บไซต์ที่อ้างอิ่ง:
http://www.oppo.opp.go.th/pages/document/document_03.html
http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/health/10care/topic001.php

 

 

หมายเลขบันทึก: 559125เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2014 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มกราคม 2014 06:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท