กิจกรรมบำบัดกับ"การนอนหลับ"ในผู้สูงอายุ


ผู้สูงอายุความหมายคือ บุคคลที่มีอายุ 60-65 ปีขึ้นไป

แต่มีคนบอกไว้ว่า ตัวเลขของอายุที่มากขึ้นไม่ได้หมายถึงอะไรที่แย่ลง จริงมั้ย?

         ผู้สูงอายุที่ผมได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ชื่อ ก๊กเซี๊ยะ อายุ 83 ปี ผมขออนุญาตเรียกว่าอาม่าเนื่องจากท่านอาศัยอยู่ในเขตเยาวราชซึ่งรู้ๆกันว่าเป็นเขตที่คนจีนอาศัยกันเยอะ

         ในฐานะที่เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดการที่จะเข้าไปสัมภาษณ์โดยไม่เตรียมอะไรไปนั้นดูจะไม่เห็นควร ผมจึงเตรียมอาวุธหลักไปนั่นคือ "กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัด" เพื่อนำไปวิเคราะห์ว่าคุณภาพชีวิตต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของอาม่าเป็นอย่างไร

          อาม่าเล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตที่จำได้จนถึงปัจจุบัน ได้ความว่า อาม่าเกิดแถวๆ ถนนเสือป่าในกรุงเทพ และโตมาในระแวกนี้ ในย่านนี้เป็นคนจีนที่อพยพมาสะส่วนใหญ่ซึ่งได้มาพบกับคุณปู่และแต่งงานกันเมื่อตอนอายุ18 ยุคสมัย หากแบ่งตามCohort effects หรือยุคสมัยที่เกิดมา จะอยู่ในช่วงของ Baby Boomers ซึ่งเป็นยุคสมัยที่จะมีเด็กเกิดขึ้นมามากมายอันสังเกตได้จากตัวอย่างของคุณย่าที่มีลูกถึง 7 คนโดยแนวคิดของอาม่าจะประหยัดทำมาหาเลี้ยงชีพอย่างไม่หยุดหย่อน โดยมีอุดมคติคือ อยากให้ลูกหลานตนเองสบาย

           ซึ่งแน่นอนว่าการเปลี่ยนถ่ายมาสู่ยุคต่างๆของอาม่านั้น จะพบกับประสพการณ์ต่างๆมากมายอาม่าเล่าว่าต้องผ่านสังคมอะไรต่างๆมากมายทั้งสังคมที่ยังไม่ค่อยยอมรับคนจีนสมัยนั้น หรือ ด้วยการทำงานอยากหนักอดออมเงินเพื่อลี้ยงลูกๆ ทำให้ไม่ค่อยได้เข้าสังคม พร้อมทั้งต้องผ่านการจากลาทั้งต่อสามีตนเอง หรือ คนรู้จัก แต่อาม่าบอกว่า ก็ผ่านมันมาได้จนถึงทุกวันนี้ รวมถึงยังมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายต่างๆเช่น

1.ข้อเข่าเสื่อม

2.สายตาข้างขวาเลือนลาง

3.การทำกิจกรรมต่างๆได้น้อยลง

4.อาการนอนไม่หลับ

             หลังจากที่สัมภาษณ์แล้ว มาสรุปตามกรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดที่ใช้คือ The Person Environment Occupation Performance: (PEOP) ได้ดังนี้

 

ด้านตัวบุคคล(P) : อาม่ามีปัจจัยในตัวเองเช่น โรคต่างๆที่เพิ่มเข้ามาเมื่อมีอายุสูงขึ้น เช่น ตาพร่ามัวโรคข้อเข่าเสื่อม

 

ด้านสิ่งแวดล้อม(E) : ทั้งปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางสังคมและกายภาพ เช่น คนรอบข้างอย่างเช่นลูกหลานหันมาสนใจดูแลมากขึ้นเมื่อายุเพิ่มขึ้น,ทางด้านกายภาพเช่น ลักษณะบ้านยังเหมือนเดิมยังต้องเดินขึ้นไปชั้น2เพื่อนอนซึ่งลำบากและเสี่ยงต่อการล้ม

 

ด้านกิจกรรม(O) : กิจกรรมที่ทำอยู่เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากทำได้หลากหลายเริ่มทำได้น้อยลงหรือสนใจที่จะทำน้อยลงหรือกิจกรรมไม่เหมาะสมกับความสามารถ

 

ด้านความสามารถในการทำกิจกรรม (P) : จากด้าน PEOที่ผ่านมานั้น จะส่งผลให้การทำกิจกรรมของผู้สูงอายุทำได้น้อยลง เช่นการทำงานบ้านกวาดบ้านถูบ้าน จะไม่ได้ทำเพราะทำมากไม่ได้ หรือการเดินทางไปไหนมาไหนไกลๆคนเดียวทำได้ไม่ดีนัก แต่ผู้สูงอายุยังสามารถทำกิจกรรมบนโต๊ะอย่างเช่นกิจกรรมพับกระดาษไหว้เจ้าได้อยู่ 

 

            ไม่เพียงแต่การสัมภาษณ์แต่ผมยังได้มีโอกาสประเมิน โดยเฉพาะคุณภาพในการนอนหลับเพราะอาม่าบอกไว้ว่านอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน ซึ่งจากการประเมินโดยแบบประเมินThai version of the Pittsburgh Sleep Quality Index: (T-PSQI)  นั้น สามารถบอกได้ว่าอาม่ามีคุณภาพในการนอนหลับระดับปานกลาง ซึ่งสาเหตุนั้นได้มาจากการสัมภาษณ์ชีวิตประจำวันของอาม่า โดยแบ่งเป็น

      1.นอนในช่วงกลางวัน

      2.เครียดเรื่องต่างๆ

      3.เสียงสิ่งแวดล้อมรบกวนขณะนอนหลับ

 

 

                 ซึ่งได้แนะนำถึงการสาเหตุการนอนทำให้นอนตอนกลางคืนไม่หลับและการบำบัดฟื้นฟู คือให้หันไปทำกิจกรรมที่สนใจเช่น ปลอกเปลือกกระเทียม แกะเม็ดแปะก๊วย ในช่วงกลางวันแทนการนอนโดยให้พยายามนอนเร็วขึ้นแต่ไม่ให้นอนกลางวันเพราะผู้สูงอายุตื่นเช้ามาก และใช้ที่อุดหูตอนนอนเพื่อป้องกันเสียงรบกวนตอนกลางคืนและการที่จะให้ผู้สูงทำกิจกรรมอะไรก็ตามจะต้องมาจากแรงจูงใจภายในของผู้สูงอายุ

 

               จึงใช้กรอบอ้างอิง Model Of Human Occupation : ( MOHO ) เพื่อเป็นการค้นหากิจกรรมที่ผู้สูงอายุสนใจและแนะนำให้ทำเป็นประจำ โดยกิจกรรมแนะนำคือ การพับกระดาษไหว้เจ้า การปลอกเปลือกกระเทียม การทำอาหาร เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์รวมถึงเป็นการป้องกันการเสื่อมของร่างกายและสมองอีกด้วย และแนะนำกิจกรรมไท้เก๊ก หรือ จี้กง หรือโยคะ เพื่อปรับสภาพร่างกายและจิตใจให้สมดุลซึ่งผู้สูงอายุที่มีปัญหาเข่าก็สามารถเล่นได้ สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้สูงอายุนอนหลับสบายและมีกิจกรรมที่ชอบที่สนใจที่จะทำ 

              แน่นอนว่านอกจากการประเมินการนอนหลับ ในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัดยังต้องประเมินในส่วนต่างๆที่อาจจะส่งผลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต เช่น ความคล่องแคล่วของมือ หรือประเมินสภาพบ้านเป็นต้นและได้ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

             จากรอยยิ้มสีหน้าและแววตาของอาม่าทำให้รับรู้ได้ว่าการมีตัวเลขอายุที่มากขึ้นไม่ได้ทำอะไรให้แย่ลงจริงๆ และการใช้กรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัด PEOP ยังได้พบว่ากิจกรรมการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตของอาม่านั้นสมดุลและมีความสุข เพราะ ปัจจุบันอาม่ายังได้ทำกิจวัตรต่างๆ เช่นไปจ่ายตลาด ทำอาหารให้ลูกหลานทาน รวมถึง ลูกหลานยังให้ความสำคัญดูแลเอาใจใส่อย่างเต็มที่ทำให้คุณภาพชีวิตต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของอาม่าเป็นไปอย่างราบรื่นและมีความสุขตามบริบทและความพึงพอใจสูงสุดของอาม่า (Successful aging) 

 

จากการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ผมได้ข้อคิดมาสิ่งหนึ่ง

   "อาม่ามุ่งทำทุกอย่างทุกวันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเพื่อให้คนรอบข้างมีความสุขและสุขสบาย"

          จึงทำให้ผมมุ่งมั่นว่าการจะเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่ดีจะต้องมองผู้รับบริการหรือผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวมหาปัญหาสาเหตุอย่างถ่องแท้เพื่อการบำบัดฟื้นฟูอย่างมีคุณภาพให้ผู้รับบริการได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างที่ต้องการ^^ 

 

 

สามารถเข้าไปดูบทความของผู้สูงอายุบทความอื่นๆได้ตามลิงค์ข้างล่างได้เลยครับ :

ความสุขของคุณยาย

เปลี่ยนแต่กาย ใจเกินร้อย

ผู้สูงอายุไทย ห่างไกลความเศร้า

กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้สูงอายุร้อยปี : ผู้สูงอายุเชื้อสายจีนในเมืองไทย

กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้สูงอายุร้อยปี : "ความสุขที่สุกงอม"

กิจกรรมบำบัด กับ " คุณภาพชีวิต " หลังวัยเกษียณ

กิจกรรมบำบัด กับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ

หมายเลขบันทึก: 559042เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2014 02:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2014 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท