อยากภาษาอังกฤษดี ต้องให้ภาษาไทยดีก่อน


เจ้าต้นไม้อายุหกขวบแล้วปีนี้ เด็กอายุเท่านี้นี่จะเริ่มมีการเรียนพิเศษ บางคนพึ่งเริ่มเรียน บางคนเรียนมาหลายปีก่อนหน้านี้แล้ว เด็กบางคนเสาร์อาทิตย์ไม่ได้อยู่บ้านเลย เรียนพิเศษตลอด

ส่วนเจ้าต้นไม้ไม่เรียนพิเศษกับเขาเลย สิ่งที่มีการ "เรียนที่เป็นพิเศษ" ก็คือเรียนยิมนาสติกกับเรียนทำขนมซึ่งทั้งสองอย่างนี้ไม่ได้เข้าข่ายที่เขาเรียกว่าเรียนพิเศษกับเขาหรอก มันเป็นการไปเล่นเสียมากกว่า เล่นยิมฯ นั้นไปเล่นกีฬากระโดดโลดเต้นกับเพื่อน ส่วนเรียนทำขนมนั้นไปเล่นละเลงแป้งซึ่งเด็กร้อยเปอร์เซนต์ชอบทั้งนั้น (ร้านเขาชื่อ "ละเลงแป้ง" พอดี ช่วยโฆษณาให้)

สิ่งที่พ่อแม่เด็กกลัวกันนักหนาคือกลัวว่าลูกจะไม่เก่งภาษาอังกฤษ ซึ่งผมก็ให้คำแนะนำกับพ่อแม่หลายคนที่มีโอกาสได้คุยกันว่า "ถ้าอยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ ให้ลูกเก่งภาษาไทยก่อน" แต่ดูเหมือนไม่มีใครเชื่อผมเลย

ทักษะทางภาษานั้นมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับภาษาใดภาษาหนึ่งครับ แต่เป็นทักษะข้ามภาษา เป็น "ศิลป์" ครับ

คนที่ ฟัง พูด อ่าน เขียน ดีในภาษาใดภาษาหนึ่งก็จะทำได้ดีในภาษาอื่นๆ ที่เขาได้เรียนรู้ "ศาสตร์" ของภาษานั้นๆ อันได้แก่ ไวยกรณ์ ศัพท์ ลักษณะประโยคที่ใช้ในการสื่อสาร ฯลฯ ซึ่งศาสตร์เหล่านี้เป็นส่วนน้อยนิดมากเรียนรู้ไม่นานก็ได้

สิ่งที่สำคัญคือศิลปะในการใช้ภาษาต่างหากที่ต้องเรียนรู้กันตลอดชีวิตทีเดียว

คนที่ทักษะในการใช้ "ภาษาแม่" หรือที่ฝรั่งเรียกว่า native language ไม่ดีนั้น ไม่มีทางจะใช้ภาษาที่สอง (สาม สี่ ฯลฯ) ให้ดีได้เลย

อย่างผมนี่ตอนไปเหยียบอเมริกาใหม่ๆ ฟัง พูด อ่าน เขียน แทบจะไม่ได้ อยู่ไปอยู่มาไม่นานก็ใช้ได้ไม่มีปัญหาอะไร เรื่อง ฟัง อ่าน และเขียน นั้นผมทำได้เท่ากับภาษาไทย แต่พูดจะมีปัญหาที่ทำสำเนียงไม่ได้เหมือนกับเจ้าของภาษา ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ พ่อผมพูดภาษากลางยัง "ทองแดง" ร่วงพรู เวลาผมพูดภาษาอังกฤษมันก็ต้อง dropping some copper coins กันบ้าง (ปล.สำนวนนี้ไม่มีในภาษาอังกฤษจริงๆ นะครับ)

เด็กที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูคนไทยในประเทศไทยไม่ว่าจะเริ่มเรียนจากอายุเท่าไหร่ยังไงก็พูดไม่ได้เหมือนเจ้าของภาษา เป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

อย่าว่าแต่เด็กเลย ลูกคนไทยที่เกิดและโตในอเมริกา ถ้าพ่อแม่พูดภาษาอังกฤษด้วย เด็กคนนั้นยังติดสำเนียงพ่อแม่มาเลยครับ เวลาเด็กไทยไปพร้อมกับพ่อแม่แล้วไปเรียนที่โรงเรียนในอเมริกา ครูในโรงเรียนเขาเลยบังคับนักหนาว่าอย่าให้พ่อแม่พูดภาษาอังกฤษกับลูกครับ

แต่การพูดของผมนั้นแม้จะไม่ได้สำเนียง แต่ผมก็พูดได้ดีเท่ากับผมพูดภาษาไทย นั่นคือใช้งานได้ เรียนได้ หาเงินใช้ได้ (และอย่าบอกใครนะ จีบสาวก็ยังได้ แหม... อย่าให้เล่าในรายละเอียด)

ในขณะเดียวกันตอนผมอยู่อเมริกา ผมเห็นชาวอเมริกันที่ภาษาไม่ดีเยอะแยะมากมาย ผมยังเคยต้องช่วยเพื่อนแก้ไวยกรณ์รายงานจากภาษาอังกฤษทั่วไปของเขาเป็นภาษาอังกฤษแบบวิชาการ จัดเรียงลำดับการสื่อสาร ย่อหน้า ฯลฯ ให้ดีเลย มันเป็นเรื่องศิลป์ของการใช้ภาษาล้วนๆ ไม่ได้ต่างจากการที่ผมช่วยเพื่อนเขียนรายงานภาษาไทยสักนิดเดียว

ดังนั้นอย่าเสียเวลาครับ ใครอยากให้ลูกใช้ภาษาอังกฤษได้ดี ส่งเสริมให้ลูกใช้ภาษาไทยให้ได้ดีเสียตั้งแต่วันนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 559010เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2014 19:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2014 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ถูกใจพี่จังค่ะ ดร.ธวัชชัย...เห็นด้วยค่ะ...:):)

ยายธี ก็ว่า อย่างนั้นแหละ...กำลังหัดเขียนอยู่..ในหน้านี้แหละเจ้าค่ะ..ภาษาไทย..

เห็นด้วยค่ะอาจารย์ ตอนแรกดิฉันตั้งใจจะเน้นภาษาอังกฤษให้มาก แต่เมื่อพบว่าเด็กๆ อ่อนภาษาไทย ดิฉันจึงต้องเน้นภาษาไทยก่อนค่ะ

ในความคิดเห็นส่วนตัว...การที่เด็กไทยไม่เก่งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ...ปัญหาใหญ่อยู่ที่...ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้ภาษาไทยต้องมีความสอดคล้องกับภาษาอังกฤษ...โดยทั่วไปภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีทักษะทางภาษา 4 ทักษะเหมือนกัน ...แต่ภาษาอังกฤษให้ความสำคัญในการสอนการออกเสียงชัดเจนมาก ...การสอนมีการใช้สื่อที่หลากหลาย มีทั้งภาพประกอบในการออกเสียงว่าใช้อวัยวะในการออกเสียงอะไร? ใช้อย่างไร? ...มีเสียงและภาพเคลื่อนไหวให้ฟังและสังเกตการใช้อวัยวะในการออกเสียงส่วนไหน? เน้นการออกเสียงอย่างไร? มีความแตกต่างหรือเหมือนกันอย่างไร? พร้อมสอนการค้นหาความหมายของคำนั้นๆ ด้วย ...ก่อนที่จะนำไปสู่ขั้นตอนการอ่าน และการเขียนนะคะอาจารย์...

If we look at 'อยากภาษาอังกฤษดี ต้องให้ภาษาไทยดีก่อน' [perhaps we'd better say อยาก(ใช้)ภาษาอังกฤษ(ให้ได้)ดี ต้อง(ใช้)ภาษาไทย(ให้ได้)ดีก่อน]. I think we have omitted a few words (to make the expression more concise) and ignored proper use of 'types of words' (verb, noun, ,,,). Thais can understand such construct well because we do not usually observe grammar (or any rule --law-and-order-- in society). Not observing and practicing grammar in religion, at school, at work, ... lead to many social and political problems we have.

Teachers of Thai language would have realized that If we make disciplinary reform in the use of Thai language, we could have less misunderstanding and more synergy to go forth in reform of society and country.

เห็นด้วยครับ นักเขียนก่อนจะมาเป็นนักเขียนได้นั้น เป็นนักอ่านมาก่อน บางท่านอ่านมามากมาย เรียนรู้การใช้คำที่แทนสาระที่ต้องการสื่อ การลำดับเนื้อเรื่องให้น่าสนใจ การสร้างคำที่ทำให้เกิดความรู้สึกดีดี .......และการฝึกฝน

เราคิดเหมือนกันค่ะ พี่โอ๋เพิ่งเขียนไปไม่นานมานี้ เห็นผลจากตัวเองและลูกเหมือนกัน ว่า ภาษาไทย สำคัญกับเด็กไทยมากที่สุด

ภาษาไทยภาษาของชาติ ไม่เพียงอ่านออกเขียนได้ ต้องรู้จักใช้ให้ถูกต้องและสะท้อนวัฒนธรรมอันดีงามของเราด้วยนะคะ..ขอบคุณที่ช่วยกันรณรงค์ค่ะ

โดนใจมากเลยครับกระดูกขวางคอชิ้นนี้..เอาเป็นว่าถ้าไม่ใช่ภาษาแม่แล้วมันเป็นเสียง Monophny ก็ไม่จำแปลกอะไร..เออ..บ้านผมนี่อยากจะดัดจริตใช้ภาษาอังกฤษ ฟังไม่ออกต้องเสียงเป็นอเมริกัน..จีนกลางอย่างเดียว...ญี่ปุ่ณ...คนงานก็ใช้ภาษา พม่า - เขมร - ลาว - ไต๋..สลับไปมาเพราะมีการรับเข้ารับออก เราถนัดในการใช้ปากหากิน 1 ครอบครัวเดียวในบ้านใช้ 3 ศาสนา เต๋า - ยะโฮวา - พุทธ แต่ภาษาแม่คือภาษาไทยก็พูดไม่ชัด..ก็ไม่รู้ว่าคนพันธุ์ไหน แถมเมียก็เหน่อแม่กลองจ๋าซะอีก บอกแค่นี้ก็พอแล้วเดี่ยวจะหาว่าเป็นพวกพันธุ์ผสม..เพียงขอสร้างความดีต่อไปก็แล้วกันน๊ะคุณดร.ธวัชชัย

ขำ ๆ ภาษาอังกฤษหล่นทองแดงจะเป็นอย่างไรคะ

ทองแดงก็จะเกิดดีมาน - ซับพลายครับ..ไปกันใหญ่..

เป็นการแบ่งปันแง่คิดที่ดีค่ะอาจารย์ แต่อย่างไรก็ตามการเรียนภาษาอังกฤษในฐานภาษาต่างประเทศ EFL ที่ดูแล้วจะล้าหลังไปเนื่องจากบริบทของสมาคมอาเซียน แต่กำลังถูกแทนที่ด้วยการเรียนภาษาอังกฤษในฐานภาษานานาชาติ EIL เนื่องจากเราควรคำนึงถึงว่าเราพูดภาษาอังกฤษในใครฟังในทุกวันนี้ ถ้ากลุ่มเป้าหมายยังเป็นคนเจ้าของภาษา คำตอบคือข้อแรก แต่ถ้าเรากำลังจะพูดให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนเรา การเรียนภาษานั้นควรเป็นแบบ EIL ดังนั้นการเรียนภาษาใหม่นั้นเราอาจจะไม่เชื่อมโยงภาษาแม่กับภาษาเป้าหมายเลยก็ยังได้ หากเราได้ train ให้กับผู้เรียนค่ะ อีกทั้งปัจจัยหลักคือ สังคมแวดล้อมของไทยไม่อำนวยเท่าที่ควร ให้ผู้เรียนพูดภาษาอังกฤษ  จึงกระทบต่อแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ขวนขวายเรียน  เป้าหมายทีเลื่อนลอยจึงเป็นอีกหนึ่งคำตอบที่ว่า ทำไมเด็กไทยไม่สนใจ และไม่ประสบความสำเร็จค่ะ    

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท