Happiness อย่างไร


      

          สวัสดีคะ เนื่องในสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันและเพื่อนๆได้และได้มีโอกาสนำเสนอเคสที่ไปศึกษาดูงานมา ที่อยู่เคสหนึ่งที่น่าสนใจคือ เป็นผู้รับบริการอายุประมาณ70กว่า เป็นอัตพาต ทำให้แสดงสีหน้า ยิ้ม เศร้า หรือท่าทางอื่นๆได้  อาจารย์ป๊อปก็ได้ถามกลุ่มเพื่อนว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าเขามีความสุขกับการรับบริการและกิจวัตรอื่นๆของเขาได้  จึงเป็นที่มาในการเขียน “ความสุข” นี้คะ  ในบทความนี้จะเน้นความสุขของวัยผู้ใหญ่และสูงอายุนะคะ

 

          นักจิตวิทยาชื่อ  วีนโฮเฟ่น (1997)  ให้นิยามความสุขว่า  หมายถึงการประเมินของแต่ละคนว่า  ชื่นชอบชีวิตโดยรวมของตนเองมากแค่ไหน  การที่เราบอกว่าเรามีความสุข  จึงหมายถึงเรารู้สึกชอบหรือพึงพอใจกับชีวิตเรานั่นเองค่ะ  คนที่มีความสุขนั้น  เป็นคนที่แทบจะไม่รู้สึกวิตกกังวลกับชีวิตตนเอง  ชอบสนุกสนานอยู่กับเพื่อนฝูง  และชอบประสบการณ์ใหม่ ๆ  มีอารมณ์มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงง่าย  และมักจะหวังว่าตนจะพบเจอสิ่งดี ๆ  ในอนาคต 

           จะเห็นได้จากคำนิยามของวีนโฮเฟ่นและดิฉันก็เห็นด้วยว่า ความสุขอยู่ที่ ความชอบหรือพึงพอใจของแต่ละคน แต่ละคนมีความพึ่งพอใจที่ต่างกัน บ้างคนพอใจกับหน้าที่การงานของตนในตอนนี้ บ้างคนไม่  ดิฉันไม่ได้ว่าว่าการทะเยอทะยาน อยากได้อย่างมีนั้นไม่ใช่สิ่งไม่ดี การที่เรามีความทะเยอทะยานสามารถเป็นได้ทั้งแรงเสริมทางบวกได้ คือ เป็นแรงจูงใจในคนเราพัฒนาตนเองต่อไปเรื่อยๆ และดิฉันก็ไม่เห็นด้วยซะทีเดียวว่าการพึ่งพอใจตนเองในตอนนี้จะดี เพราะนั้นอาจเป็นความคิดที่ทำให้เราหยุดอยู่กับที่และเป็นการปิดกั้นตัวเองจากสิ่งที่จะเข้ามา อย่าพึ่งสับสนในสิ่งที่ดิฉันเขียนนะคะ ดิฉันจะสรุปว่า ไม่ว่าในตอนไหน เราควรสนใจที่ขั้นตอน มากกว่าผลลัพธ์ที่ออกมา คือ อยากให้มองย้อนไปว่าเรามาถึง ณ จุดจุดนี้ได้อย่างไร เจอกับอะไรมาบ้าง ถึงในบ้างครั้งเราจะไม่พอใจหรือพอใจในเหตุการณ์ที่ผ่านมา แต่เราควรยอมรับเหตุการณ์เหล่านั้น มันเกิดขึ้นไปแล้วเป็นอดีตที่ทั้งดีหรือไม่ดี แต่ก็เป็นอดีตที่สามารถสอนเราได้ในปัจจุบันและอนาคต ดิฉันเชื่อว่าถ้าหากท่านผู้อ่านสามารถทำอย่างนั้นได้ ก็จะพบความพึ่งพอใจในตนเองและมีแรงผลักดันให้พัฒนาตัวเองต่อไปคะ

          ปัจจัยสำคัญของความพึงพอใจของตนเองคือ “ทัศนคติของตัวเอง” กอร์ดอน ออลพอร์ต นักจิตวิทยาได้อธิบายเกี่ยวกับทัศนคติไว้ว่า "เป็นแนวคิดอันเด่นชัดที่สุดและจำเป็นที่สุดในจิตวิทยาสังคมร่วมสมัย" ทัศนคติสามารถสร้างขึ้นจากประสบการณ์ในอดีตและปัจจุบันของบุคคลหนึ่ง ๆ สามารถตรวจวัดและเปลี่ยนแปลงได้ ส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมของบุคคลนั้นด้วย  การสร้างทัศนคติเชิงบวกนั้นไม่ยากเลย แค่เราลองปรับมุมมองใหม่ๆ ใส่ความคิดเชิงบวก สร้างข้อดีให้กับสิ่งต่างๆ เช่น เป็นเรื่องจริงของดิฉัน คือ เพื่อนให้ตุ๊กตาคิดตี้ในงานปีใหม่ ซึ่งดิฉันไม่ชอบมากๆเลย และในครั้งต่อๆมา ดิฉันก็ได้ตุ๊กตาคิดตี้จากคนรู้จัก และเล่นเกมได้เจ้าคิดตี้นี้มาอีก ตอนแรกๆดิฉันถึงกับแอบว่าเพื่อนและคนให้มาเลย ว่าทำไมถึงได้ให้มานะ ไม่ชอบเอามากๆถึงกับพาลคนให้เลย แต่ตอนที่เล่นเกมได้มานั้น ในตอนนั้นดีใจมากๆเลยคะ ถึงจะได้คิดตี้ก็ดีใจมากๆเลย และทำให้ดิฉันเริ่มชินกับเจ้าคิดตี้และคิดว่ามันน่ารัก และรู้สึกเสียใจที่แอบพาลคนที่ให้มันมา และแอบคิดเข้าข้างตัวเองว่าที่เขาให้เรามาเพราะเขาอาจเห็นว่าเราน่ารักเหมือนเจ้าแมวนี้ก็ได้ ^^ คะ ๕๕๕ ถ้ามีเหตุการณ์ไม่น่าพึ่งพอใจเข้ามา ก็อย่าให้ลองปรับมุมมองดูนะคะ หาข้อดีให้ได้ ถ้าเราทำอย่างนี้บ่อยๆ ดิฉันเชื่อว่าผู้อ่านทุกท่านจะมีความสุขกับชีวิตคะ 

 

แถมส่งท้ายเป็นแบบประเมินความสุขของคนวัยทำงานคะhttp://www.happinometer.com/

แค่เราเปลี่ยนมุมมองซักนิด พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ความสุขก็อยู่ไม่ไกลคะ  

หมายเลขบันทึก: 559009เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2014 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2014 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นคนที่ไม่มีงานทำ ไม่มีเงินเดือน ...แต่ก็มีความสุข สบายดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท