สิ่งที่ได้จากการรับ


จะเป็นห่วงก็อยู่ที่บรรยากาศใหม่นี้จะแทรกตัว และอยู่อย่างยั่งยืนนานแค่ไหน จะพ่ายแพ้แก่บรรยากาศเดิม ๆ ที่วงราชการเราถือปฏิบัติกันมาจนหยั่งรากฝังลึกหรือไม่ เพราะแต่ไหนแต่ไร การทำเรื่องใด ๆ ก็ตาม แต่เดิมนั้นมักกระทำแบบ “ไฟไหม้ฟาง” ทำกันตาม “นโยบาย” ของ “นาย” คนปัจจุบัน พอ “นาย” เปลี่ยน “นโยบาย” ก็เปลี่ยน ดังนั้น KM จะยั่งยืนได้ก็อยู่ที่พวกเรา “ผู้ปฏิบัติ” นั่นเอง
       เมื่อวานเย็นดิฉันได้รับพัสดุจาก สคส. เปิดออกพบของรางวัลที่ สคส.มอบให้เป็นกำลังใจในการทำงาน และจดหมายข่าวรายสองเดือนของ สคส. ฉบับเดือนกันยายน-ตุลาคม 2549 ซึ่งได้พบกับหน้าแรกของฉบับที่เป็นเรื่องราวของการทำ KM ในเขตฯ ของเรา โดยดิฉันไม่คาดคิดว่าเรื่องที่ตัวเองเขียนเล่าไป จะปรากฏอยู่ในหน้าปกทีเดียว ต้องขอขอบพระคุณทาง สคส. เป็นอย่างมากค่ะที่กรุณามอบพื้นที่ให้เราได้มีโอกาสถ่ายทอดเรื่องราวของโรงเรียนที่เราดูแลอยู่ รายละเอียดของเรื่องเล่านั้นอ่านได้จาก  http://gotoknow.org/file/suphanburi2/KM-School.doc  ค่ะ

        และเมื่อเปิดอ่านเรื่องในเล่มแล้ว พบว่าตัวเองได้รับความรู้เพิ่มขึ้นอีกมากจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในวงการ
KM อีกหลายท่าน

               -
การจัดการความรู้ในองค์กรการศึกษา โดย ผศ.ดร.ทัศนีย์  ไพฑูรย์พงษ์

                 ท่านบอกเล่าจุดกำเนิดของโครงการ
Ed-KM และประสบการณ์ที่ท่านไปติดตามนิเทศโรงเรียนที่ท่านดูแล ทำให้มองเห็นการเริ่มต้นเดินเครื่อง KM ของวงการศึกษาอย่างน่าสนใจ และเห็นด้วยกับท่านเป็นอย่างยิ่งว่า KM ทำให้บรรยากาศในการทำงานดีขึ้น เพราะเกิดความสัมพันธ์เชิงบวกของบุคลากรในองค์กร...

                 จะเป็นห่วงก็อยู่ที่บรรยากาศใหม่นี้จะแทรกตัว และอยู่อย่างยั่งยืนนานแค่ไหน จะพ่ายแพ้แก่บรรยากาศเดิม ๆ ที่วงราชการเราถือปฏิบัติกันมาจนหยั่งรากฝังลึกหรือไม่ เพราะแต่ไหนแต่ไร การทำเรื่องใด ๆ ก็ตาม แต่เดิมนั้นมักกระทำแบบ
ไฟไหม้ฟาง ทำกันตาม นโยบาย ของ นาย คนปัจจุบัน พอ นาย เปลี่ยน นโยบาย ก็เปลี่ยน ดังนั้น KM จะยั่งยืนได้ก็อยู่ที่พวกเรา ผู้ปฏิบัติ นั่นเอง

                -
คิดเอง จัดการเอง ความรู้ใน สพท. และโรงเรียน โดย ผศ.ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ

                  ท่านสะท้อนมุมมองของท่านที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ
Ed-KM และข้อคิดประสบการณ์สำหรับการทำหน้าที่ คุณอำนวย ของท่าน ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ให้กับพวกเราทั้ง 17 เขตพื้นที่ฯ ที่เข้าร่วมโครงการฯ

                  การได้อ่านงานเขียนของท่านทำให้ตัวเองได้รับการเติมเต็มนอกเหนือจากที่ได้รับเมื่อครั้งเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ทำให้มองเห็นภาพและแนวทางการดำเนินงานเพื่อขยายผลและเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ และมองเห็นสิ่งที่เราต้องดำเนินการภายในโครงการฯ มีอยู่ประการหนึ่งที่ดีมากสำหรับผู้ปฏิบัติอย่างพวกเรา คือการไม่ล็อครูปแบบให้เราเดิน
Ed-KM จะปล่อยให้เราค้นหารูปแบบการจัดการความรู้ตามบริบทของเราด้วยตัวเอง

                -
หนึ่งมุมมองจากการประชุมปฏิบัติการ ของ สพท. และสถานศึกษา โดย ผอ.วัฒนา  อาทิตย์เที่ยง

                  ท่านถ่ายทอดข้อคิดและมุมมองของตัวท่านที่ได้จากการสังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม
การเล่าเรื่อง ในการประชุมเชิงปฏิบัติการของทีมแกนนำนักจัดการความรู้ ทั้ง 17 เขตพื้นที่ฯ

                  ทำให้ดิฉันได้รับทราบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการทำกิจกรรม เป็นประโยชน์ต่อการนำไปเป็นประสบการณ์สอนใจเราเวลาที่ไปพาโรงเรียน
KM ด้วย เช่น การควบคุมเวลา การปรับพฤติกรรมและวัฒนธรรมในการประชุม การเสริมแรง ฯลฯ เป็นต้น

                 -
เพลินกับการจัดการความรู้ โดย อ.วิมลศรี  ศุษิลวรณ์

                    ท่านบอกเล่าการทำ
KM ของโรงเรียนเพลินพัฒนา ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรรุ่นพี่ของพวกเราชาวเขต 2 จำได้ว่า ทีมงานของเราเคยไปยืนเฝ้าเกาะติดพูดคุยกับทีมงานของเพลินพัฒนา เมื่องานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 2

                    เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้ว เหมือนกับได้ยืนพูดคุยกันอีกครั้ง และครั้งนี้เราได้เห็นกิจกรรมที่ชัดเจนผ่านตัวอักษรของเพลินพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น เป็นประโยชน์และเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนของเรา ยิ่งอ่านก็ยิ่งรู้สึก
หมั่นเขี้ยว อยากลงไปอยู่โรงเรียน เพื่อพาครู-พานักเรียน-พาผู้ปกครอง KM กันให้ชุ่มใจจริง ๆ ค่ะ อยากให้มีโรงเรียนที่เห็นความสำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเพลินพัฒนากันเยอะ ๆ ให้เต็มประเทศไทยเลยค่ะ เด็ก ๆ คงจะมีความสุขกันชะมัดยาด

                  -
หน่ออ่อน KM ในเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1” โดย อ.ธเนศ  ขำเกิด

                     ท่านถ่ายทอดเรื่องราวของการทำ KM ของ สพท.นนทบุรีเขต 1 ที่มีโอกาสได้รับคัดเลือกจากจังหวัดนนทบุรี เป็นหน่วยงานตนแบบของ KM ภาคราชการ อ่านเรื่องของท่านแล้วได้เรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการทำงาน โดยใช้ KM เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งท่านได้นำเสนอหน่วยงานที่ทำ KM เด่น ๆ จำนวน 6 แห่ง...น่าสนใจมาก

                     แต่ก็แอบหนักใจและหวั่นใจไปกับท่านไม่ได้ ในฐานะของคนในระบบราชการเหมือนกัน นั่นคือ
วัฒนธรรมของระบบราชการ ที่เป็นแนวตั้งมากกว่าแนวราบ ซึ่งหยั่งรากฝังลึกกันมานาน และการขยัก KM ไว้เป็นงานงอก ไม่ยอมทำ KM ให้เนียนไปกับเนื้องานของตัวเอง

                  -
จัดการความรู้ 5 เทคนิควิธี : สู่...ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา โดย ดร.ปฐมพงษ์  ศุภเลิศ

                     ท่านนี้ก็ถือเป็นครูของพวกเราชาวเขต
2 ด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากเราได้ไปขอศึกษาดูงานกับจิระศาสตร์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา  KM ของจิระศาสตร์เข้มแข็งและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่โรงเรียนทั่วไป สิ่งที่เราได้อ่านผ่านตัวอักษรนี้ แม้เราจะได้มีโอกาสไปสัมผัสพูดคุยกับทีมจิระศาสตร์มาแล้วก็ตาม แต่ด้วยเวลาที่จำกัดทำให้ได้รายละเอียดไม่ชัดเจนครอบคลุมเท่ากับการถ่ายทอดเรื่องราวในบทความครั้งนี้ของท่าน

                     จิระศาสตร์เป็นองค์กรทางการศึกษาอีกแห่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า การนำ
KM เข้ามาสู่โรงเรียนทำได้ไม่ยาก ไม่เป็นแค่ความฝัน แต่เป็นความจริงที่เราสัมผัสได้ สิ่งสำคัญคือ เราเริ่มต้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจริง ๆ หรือยัง...นำ KM ลงสู่การปฏิบัติจริง ๆ หรือยัง...

                  -
เก็บเกร็ดความรู้....ของครูผู้สอน โดย อ.สิริพร  กุ่ยกระโทก

                      อ.สิริพร หรือคุณครูอ้อยของดิฉัน เป็นกัลยาณมิตรที่เราไม่เคยพบเจอตัวจริงกันเลย ได้แต่สัมผัสมิตรภาพที่หอมหวานของกันและกันผ่าน gotoknow และ e-mail จากเรื่องเล่าของคุณครูอ้อยทำให้ได้ทราบความเป็นมาเป็นไปของตัวครูอ้อยที่มีโอกาสเข้ามาอยู่เป็นสมาชิกของ gotoknow และยังได้บอกเล่าถึงการพาเพื่อน ๆ จัดการความรู้กันอีกด้วย

                     ยืนยันได้ค่ะว่าตอนนี้ครูอ้อยมีแฟนประจำในบล็อกมากมายทีเดียว ขนาดแฟนนอกโรงเรียนยังมากมายเพียงนี้ คงเดาได้ถูกเผงว่าแฟนในโรงเรียน (นักเรียนที่เป็นลูกศิษย์ของครูอ้อย) ต้องมีมากแน่ ๆ

                     ครูอ้อยเป็น
บุคคลแห่งการเรียนรู้ ที่เป็นแบบอย่างที่ดีของครูไทยยุคนี้ เป็นผู้ที่ไม่หยุดนิ่งที่จะเรียนรู้ เปิดใจและรักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่รู้จบ เป็น ผู้ให้ แก่คนรอบข้างอย่างน่านับถือ เห็นได้ชัดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านบล็อกทุก ๆ บล็อกของคุณครูผู้นี้...ดิฉันชื่นชอบคุณครูอ้อย และมักจะยกเป็นกรณีตัวอย่าง/แบบอย่างให้แก่คุณครูชาวสุพรรณฯ เขต 2 อยู่เสมอ

                    - แบ่งปันความรู้ของครูอนุบาลโดย อ.โกวิทย์  อ่วมขันธ์

                      ท่านถ่ายทอดเรื่องเล่าเร้าพลังของคุณครูแต่ละท่านในโรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ นับเป็นขุมความรู้ที่มีคุณค่ามากสำหรับการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กนักเรียนในระดับปฐมวัย อ่านแล้วมีความสุขและได้รับเทคนิควิธีในการจัดกิจกรรมและการดูแลนักเรียนได้เป็นอย่างดี

                      เรื่องเล่าเหล่านี้ เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนครูด้วยกัน ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเทคนิค / เคล็ดลับ ในการจัดการเรียนรู้ของคุณครู ทำให้เราเรียนรู้ทางลัดจากประสบการณ์ของเพื่อน ๆ พวกเรากันเอง ซึ่งสิ่งเหล่านั้น เกิดจากการได้ปฏิบัติจริง (
Tacit Knowledge) ของแต่ละคน

                  - มอง (การสร้างคุณธรรมของเด็กนักเรียน) โรงเรียนสัตยาไส ผ่านแว่น KM” โดย คุณหญิง-นภินทร ศิริไทย แห่ง สคส.

                    
สัตยาไส เป็นโรงเรียนหนึ่งซึ่งถือได้ว่าเป็นทางเลือกของผู้คนในสังคม ที่จะส่งบุตรหลานไปเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนแห่งนี้ ซึ่งคุณหญิงเธอได้ถ่ายทอดเรื่องราวของโรงเรียนนี้ได้อย่างกระชับ เฉียบคม และรู้สึกอิ่มใจที่ได้ร่วมมองโรงเรียนผ่านแว่น KM ไปกับคุณหญิง

                     ดิฉันอาจจะซาบซึ้งมากก็เป็นเพราะส่วนตัวมีความชื่นชอบ และเคารพนับถือความนึกคิดของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งโรงเรียนนี้ขึ้นมาก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังมีเพื่อนสนิทที่ได้มีโอกาสไปเยี่ยมสัมผัส
สัตยาไส มาแล้ว และได้มาถ่ายทอดให้ฟังจึงทำให้มองเห็นภาพการปลูกฝังคุณธรรมให้แก่นักเรียนได้อย่างชัดเจน เพื่อนของดิฉันบอกว่าหากเธอมีลูก เธอจะส่งลูกไปเรียนที่โรงเรียนนี้ให้ได้

                     สุดท้ายจากปกหลัง คอลัมน์
บอกกล่าวท้ายฉบับ จาก คุณธวัช หมัดเต๊ะ แห่ง สคส. เป็นข้อเขียนจากบรรณาธิการกิจ ที่ฉายภาพ KM ภาคการศึกษา ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ในฐานะศึกษานิเทศก์อย่างดิฉันอ่านแล้วกระตุ้นความรู้สึกให้เกิดอาการ หมั่นเขี้ยว ขึ้นมาอีกครั้ง อยากจะพาโรงเรียนที่เราดูแลให้รู้จักการนำ KM มาพัฒนางานการจัดการเรียนรู้ จะได้มีส่วนช่วยขัดสีฉวีวรรณให้ การศึกษาไทย ไฉไลผ่องพรรณอย่างที่คุณธวัช เขาแอบหวังไว้ ซึ่งความหวังนี้ดิฉันก็อยากให้เป็นจริงเช่นเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 55747เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2006 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ  คุณกุ้ง

  • ขอขอบคุณกับคำกล่าวยกย่อง  เยลของลูกเสือ  ครูอ้อยก็จะตอบว่า  " ใช่เล้ย  ใช่เล้ย ใช่เล้ย "

 

  • รวดเร็วว่องไวในการต่อยอดเหมือนเคยนะคะ...คุณครูอ้อย...
  • ไม่ได้พบครูอ้อยเสียนาน...คิดถึงครูอ้อยมาก ๆ เลยนะคะ
  • ขอบคุณที่เข้ามาทักทายกันอยู่เสมอค่ะ
ครูอ้อยก็ตามคุณกุ้งไปทุกบันทึกและจะถามว่า  เห็นดอกไม้ดอกเล็กๆที่แสนสวยของครูอ้อยหรือยังคะ

        เห็นแล้วค่ะ....ขอบคุณคุณครูอ้อยที่ส่ง mail มาให้นะคะ ... คุณกุ้ง ก็ส่งภาพกลับไปให้คุณครูอ้อยดูเล่นเหมือนกันค่ะ

เหรอคะ  ต้องรีบไปเปิดแล้วค่ะ  ขอบคุณค่ะ อิอิ 
  • เยี่ยมเลยครับ
  • ผมได้มีโอกาสอ่านด้วย
  • คาดว่าคงได้พบพี่อ้อยและอาจารย์บ้างนะครับ
  • เราจะได้พบกันที่ไบเทค ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3 เดือนธันวานี้ไหมคะ
  • อยากมีโอกาสได้พบทั้งสองท่าน เช่นเดียวกันค่ะ
ขอแจมด้วยคนคะ...เราก็ภาคภูฒิใจที่จดหมายข่าว ฉบับที่ 20 เป็นของคนวงการการศึกษา และได้ยลโฉมกันก็งานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติคะ  เปิดตัวกันอย่างสวยงาม และจะได้พบเจอคนในวงการเดียวกันที่ห้อง sharing ขับเคลื่อนเครือข่ายภาคการศึกษา วันที่ 1 ธ.ค. นะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท