งานศิลปหัตกรรม : เพิ่มภาระงาน


งานศิลปหัตกรรม : ไม่เพิ่มภาระงาน

งานศิลปหัตกรรม : เพิ่มภาระงาน จริงไหม

      ข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในตัวแทนของการนำเด็กนักเรียนส่วนหนึ่งเข้าไปแข่งขันทักษะนักเรียน ปีนี้เป็นครั้งที่สอง ถึงแม้ว่าผลที่ออกมาไม่ได้ไปเมืองทอง 

      ข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในครูที่แอนตี้การประกวดแข่งขัน ที่เห็นการฝึกนักเรียนส่วนหนึ่งแบบเอาเป็นเอาตายทำให้เด็กไม่ได้เรียนวิชาอื่นๆ นอกจากการติวเข้มของครู เห็นความไม่ชอบมาพากลของกรรมการ ที่ต้องการให้โรงเรียนตนเป็นตัวแทน บางครั้งก็ให้เหตุผลว่า ถ้าไม่ได้เป็นตัวแทน ผอ.เอาตายแน่เลย ?  หรืดไม่ก็ ปีนี้พี่ขอนะ พี่จะทำผลงาน เห็นการทุ่มเงินของแต่โรงเรียน โดยเฉพาะพวกที่เป็นกลุมใหญ่เช่นวงดนตรี ประมาณนี้  ยอมรับว่าโดยส่วนตัวแล้วไม่ชอบ

      เคยเสนอแนวความคิดว่าให้กรรมการลงมาดูเลย ถ้า 75 เปอร์เซนของโรงเรียนมีความถนัดหรือเก่งด้านนี้ให้ไปเลย แต่ก็เป็นแค่ความคิดเท่านั้น

      แต่เมือข้าพเจ้าได้รับการพัฒนาในฐานะครูเพื่อศิษย์ ตามแนวคิดของ นพ.วิจารณ์ พานิช คือบูรณาการ ลดเวลา ให้อยู่ในเดียวกัน

ข้าพเจ้าได้นำเด็กทำกิจกรรมไปตัวชี้วัดของหลักสูตร ทำไปเรื่อยๆ พอถึงเวลาแข่งทักษะในงานศิลปหัตถกรรม ข้าพเจ้าเลือกชิ้นงานของนักเรียนเข้าไปแข่งขัน โดยไม่เสียเวลาในการซ้อมเด็ก ไม่เสียเวลาติว เพียงแต่เพิ่มเทคนิคในการนำเสนอให้ตัวเขาเท่านั้น และเราได้ส่งเสริมรุ่นพี่ช่วยเทรนน้อง โครงงานข้าพเจ้าไม่แย่งเด็กเก่ง   ถ้าโครงงานเขาตรงกับงานอย่างอื่น เราให้เขาเลือกเองความความพอใจ ขอให้เขาพร้อม มีใจเท่านั้นเอง

      ถึงแม้โครงงานของเด็กไปไม่ถึงดวงดาว แต่สิ่งที่พวกเขาได้คือแรงบันดาลในการเรียน ความภาคภูมิใจ ความเชื่อมั่นในตนเอง  การเพิ่มพูนทักษะและปัญญาของรุ่นพี่ และที่สำคัญคือพวกเขามีความสุขที่ได้นำเสนอความสำเร็จในงานของพวกเขา มีความสุขที่มีคุณครูจากที่อื่นมาซักถาม ยิ่งมากยิ่งมีความสุขhttp://www.gotoknow.org/posts/557013

      ดังนั้นในส่วนตัวข้าพเจ้า ถ้าเราทำเป็นปัจจุบัน ไม่เป็นการเพิ่มภาระแต่อย่างไร ค่าใช้จ่ายก็มีเป็นธรรมดาในการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงค่าเดินทาง แต่ถ้าเปรียบกับค่าอื่นๆๆที่โรงเรียนใช้จ่ายอย่างไร้ค่า ค่าใช้จ่ายเรามีคุณภาพกว่า

 

                              งานศิลปหัตกรรม : ไม่เพิ่มภาระงาน

 

ตัวแทนไปนครพนม ครั้งที่สอง

ตัวแทนไปชัยภูมิครั้งแรก

หมายเลขบันทึก: 556971เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2013 05:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2013 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ที่สุดแล้ว ก็คือการเรียนรู้ภายในตัวตนของนักเรียน...
เรียนรู้ผ่านกิจกรรม ใช้กิจกรรมเป็นกลไก-เครื่องมือ-ฐานการเรียนรู้
แต่ต้องไม่ให้ค่าเหรียญรางวัลมากกว่าการเรียนรู้ตัวตนของเขาเอง...
และที่แน่ๆ เขาได้ฝึกการคิด ออกแบบ บริหารจัดการ เผชิญกับสถานการณ์
ให้ความสำคัญกับทีม...

นี่คือคุณค่าครับ- ให้กำลังใจ ครับ

ผมว่าที่ว่าในบันทึกนี้ .... น่าจะตรงกับเจตนารมณ์แรกของคนคิด "กิจกรรม" ที่ "คิดถูก" แต่ส่วนใหญ่ "ทำผิด" นี้

ขอบคุณแผ่นดิน

ขอบคุณ พ.แจ่มจำรัส

ขอบคุณ อ.ต๋อย

เด็กเขามีความสุข เวลานำเสนองาน ได้ให้เทคนิคในการนำเสนอคือ พูดตามที่ทำ ตามรูปภาพ โดยเฉพาะให้วาดภาพ(map)ในอากาศ แล้วพูดตามความนั้น แสนได้แนะน้องๆ ว่าจับประเด็นแล้วขยายความ พบว่าเขานำเสนองานได้ดีมาก ถึงเวลาแย่งกันตอบ....เขาได้ประสบการณ์เพรียบเลย.....

ปรับให้เข้ากับงานประจำครับ

สู้ๆครับพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท