นักกายภาพบำบัดภูฏานพบนักกิจกรรมบำบัดไทย


เมื่อวานผมประทับใจนักศึกษากิจกรรมบำบัดหรือนศ.กบ.ชั้นปีที่ 4 ม.มหิดล รุ่นที่ 3 ที่นำเสนอเอกสารวิจัยในวารสารภาษาอังกฤษที่เชื่อมโยงกับกรณีศึกษาที่น้องๆได้ผ่านการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกกิจกรรมบำบัดในภาคการศึกษาที่ผ่านมา...ทุกคนมีการพัฒนาทักษะการนำเสนอและการตอบคำถามเป็นภาษาอังกฤษอย่างน้อยคนละ 3 รอบ ได้อย่างดีขึ้นเรื่อยๆ (ยิ่งฝึกมากยิ่งดีมากตามแต่ศักยภาพของนศ.กบ.แต่ละคน)ประกอบกับเมื่อวานก็มีข่าวดีว่า ศูนย์การพัฒนาเด็กแห่งหนึ่งจะเปิดรับนักกิจกรรมบำบัดที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษด้วย

และเสียงสะท้อนชื่นชมจากแขกพิเศษในการสัมมนาครั้งนี้ คือ คุณ Phub Chering ที่ผ่านการอบรม 2 ปีทางกายภาพบำบัด กำลังทำงานเป็น 1 ในนักกายภาพบำบัดจำนวน 60 คนต่อประชากรภูฐาน 0.6 ล้านคน และได้รับทุนให้มาดูงานระบบบริการสุขภาพในไทยรวม 8 เดือน และมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์และนศ.กบ.ในครั้งนี้นับเป็นเดือนที่ 7 เขาบ่นคิดถึงภรรยาและลูกสาวในภูฏาน  ซึ่งเป็นประเทศที่หนึ่งในการใช้ดัชนีชี้วัดการพัฒนามนุษย์และสังคมจากความสุขรวมภายในประเทศ หรือ GDH - Gross Domestic Happiness ขณะที่ประเทศไทยมีดัชนีชี้วัดฯจาก GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ที่เน้นผลิตภัณฑ์การค้าต่างๆ (ทุน/วัตถุนิยม)

Phub Chering said “I would thank for this international class that I could communicate with you. I got lots of things, new knowledge that for Thailand is double far more than Bhutan. Ajarn, thank you so much for sharing and I really enjoyed your class. I will treasure your knowledge and comments. Trashi Delek( in bhutanese; thank you )”

All Occupational Therapy Instructors said “Thank you for Phub Chering’s participation. This is an impressive event for us in sharing English knowledge with you and the students. For Thai people, we need to get happiness like Bhutan, these things we presented are just the professional techniques. In fact we need multidisciplinary talked like this for you as physical therapist and us as occupational therapists. These professional techniques need to be discussed in more clinical reasoning, frame of references, contexts (real-life happiness approaches rather than clinical approaches), alternatives in life activities, and humanized performance rather than clinical or body components’ improvement.”

All Occupational Therapy Students said "Thank you for your coming in this class. Lots of experience we get." 

NB: some statements might not be directly talked, just come from Dr. Pop’s memory. 

แม้ว่านศ.กบ.จะนำเสนอได้น่าสนใจจากความรู้ทางกิจกรรมบำบัดสากลแต่สังเกตว่า ทำไมกรณีศึกษาหลายคนที่ไม่มีความสุขจริงๆ มาทำกิจกรรมบำบัดที่รพ.ก็ทำได้ไม่ทุกวัน พอทำกิจกรรมบำบัดเสร็จก็ใช้ชีวิตที่ลำบากที่บ้านเหมือนเดิม ซ้ำนักกิจกรรมบำบัดไทยก็มีน้อย ทำได้แค่ในคลินิกตามแต่ปัญหาสุขภาพ ไม่ได้วิเคราะห์ขอบเขตการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (วิเคราะห์เพียงการแก้ไขปัญหาสุขภาพ) ไม่มีการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ (อุปสรรคด้วยอัตตา) ไม่มีความเฉพาะทาง ไม่ได้ประชาสัมพันธ์มากนัก ประชาชนไทยก็เข้าถึงบริการไม่ได้ คุณภาพชีวิตของคนไทยในบริบทจริงๆก็ไม่ได้ดีขึ้นด้วยกิจกรรมบำบัด ... ถึงเวลาแล้วที่นศ.กบ.ที่จะจบเป็นนักกิจกรรมบำบัดรุ่นใหม่ต้องช่วยกันปรับกลยุทธ์ใหม่-นอกกรอบ-มีการจัดการความรู้-การแปลความรู้-จิตอาสาและทำหน้าที่ในบริบทที่คนไทยต้องการจริงๆ

ขอแสดงความยินดีกับผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิชาชีพ และนักศึกษา เนื่องในโอกาสครบรอบ 35 ปี กิจกรรมบำบัดไทย

                 “ผมย้อนกลับไปสมัยเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัด รหัส 3511101มีความตั้งใจแสวงหาบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดต่อคนไทย จนหลังศึกษาต่อเป็น ดร.กิจกรรมบำบัด ก็มีความตั้งใจแสวงหาความหมายของวิชาชีพกิจกรรมบำบัดต่อคนไทย หลังก่อตั้งกิจกรรมบำบัดศึกษา ณ ม.มหิดล ก็มีความตั้งใจแสวงหาคุณค่าของวิชาชีพกิจกรรมบำบัดต่อสังคมไทย สุดท้ายหลังเจ็บป่วย ผมจึงมีความตั้งใจแสวงหาโอกาสในการพัฒนาทักษะชีวิตและสุขภาวะด้วยศาสตร์และศิลป์ทางกิจกรรมบำบัดตามบริบทผู้นำที่หลากหลาย ได้แก่ ผู้นำแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้นำแห่งการสื่อสารมวลชน ผู้นำแห่งการคิดเชิงระบบ ผู้นำแห่งการทำงานสหวิชาชีพ และผู้นำแห่งจิตอาสากับเครือข่ายประชาชน”

ภาพโดย Sakul Setthakorn

                ผมคิดว่า “เราจะไม่เป็นแค่ผู้บำบัดฟื้นฟูและส่งเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมบำบัดในสถานพยาบาลต่างๆ” ... ถ้าเรานับต่อไปอีก 35 ปี เราควรเห็นอนาคตของกิจกรรมบำบัดไทยในโอกาสครบรอบ 70 ปีว่า “เราควรจะเป็นผู้นำเชิงระบบในการประเมินและสร้างเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมบำบัดในบ้าน วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน ที่ทำงาน สถานพยาบาล และศูนย์สุขภาพชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศไทย พร้อมกับมีกิจกรรมบำบัดศึกษาเฉพาะทาง (ตามภาวะกลุ่มโรค, ตามช่วงวัย, ตามกลุ่มความบกพร่อง, และตามกลุ่มความสามารถ) ทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น”

ด้วยความรักและเคารพอย่างสูงในพระคุณของคณาจารย์นักกิจกรรมบำบัด

ด้วยความรักและนับถือในความร่วมมือของพี่น้องเพื่อนนักกิจกรรมบำบัด

ด้วยรักและคิดถึงในความตั้งใจของนักศึกษากิจกรรมบำบัด

อาจารย์ ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง

ประธานหลักสูตรกิจกรรมบำบัด

คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

หมายเลขบันทึก: 556374เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2013 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2013 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

....เห็นด้วยกับเรื่อง กับ ทำได้แค่ใน ...คลินิก ... ตามแต่ปัญหาสุขภาพ ....เป็นการทำงาน เชิงรับ อย่างเดียว นะคะ .... น่าจะเพิ่ม เชิงรุก ..(รุกไปในครอบครัว ชุมชน) .... จะทำให้ได้รับรู้ปัญหาเชิงลึก นะคะ .... แต่ที่สุดของที่สุด ... คนทำงาน.. ต้องมีความสุขก่อน ... ก่อนที่จะไปบำบัด..ให้ผู้ป่วย/ผู้มีปัญหาดีขึ้น นะคะ ... แต่ปัญหาของคนป่วยซับซ้อนมากๆ ...บางที่เราช่วยเขาได้แต่เพียงผิวๆ หรือ ตอนลงไปเยี่ยมที่บ้าน (แบบเดียว) ... พอเราคล้อยหลังกลับผู้ป่วย..ก็แย่อีก นะคะ ... งานเชิงรุก นั้นยากสุดๆๆ ... จึงต้องอาศัยคนทำงานที่เป็นจิตอาสา + ผู้บริหารสูงสุด สนับสนุน อย่างแท้จริง และช่วนเหลือ...ทั้งเรื่องทุกๆ เรื่อง (4M+2T) .. คน/ทีมงาน + เงิน + รถยนต์ + น้ำมัน + เวลา + การบริหารจัดการ + วัสดุ/ อุปกรณ์ + เทคโนโลยี ฯลฯ .. แรงจูงใจ + ต้องให้การเสริมแรง จริงๆ นะคะ ... ส่งกำลังใจไปช่วย นะคะ ...



ขอบคุณภาพจาก epigram-and-inspiration.blogspot.com

ขอบคุณมากๆครับพี่ดร.เปิ้น เห็นด้วยอย่างยิ่งกับ 4M + 2T มีกำลังใจสู้ๆ จากพี่ครับผม

ขอบคุณกำลังใจจากคุณจัตุเศรษฐธรรมและคุณบุษยมาศ

ขอบคุณกำลังใจจากคุณ tuknarak คุณชยพร และอ.แอน

น้องดร.Pop ดีมากเลยครับ

ฝึกนักศึกษาใช้ภาษาบ่อยๆ

จะได้ชำนาญตอนพูดคุยและนำเสนอ

ขอบคุณมากครับ

ขอแสดงความชื่นชม ยินดี และเป็นกำลังใจน้องDr. Popนะคะ ...เนื่องในโอกาส "กิจกรรมบำบัดไทย" ครบรอบ 35 ปี ...

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาให้กำลังใจครับ

-

ขอบคุณมากๆครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง พี่อ.ขจิต และดร.พจนา

ขอบคุณกำลังใจจากพี่หมอธิรัมภา คุณกฤษณา และคุณ Noktalay

ขอเป็นกำลังใจให้กับแนวคิดดีเช่นนี้ค่ะ :

"เป็นผู้นำเชิงระบบในการประเมินและสร้างเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรมบำบัดในบ้าน วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงงาน ที่ทำงาน สถานพยาบาล และศูนย์สุขภาพชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศไทย พร้อมกับมีกิจกรรมบำบัดศึกษาเฉพาะทาง (ตามภาวะกลุ่มโรค, ตามช่วงวัย, ตามกลุ่มความบกพร่อง, และตามกลุ่มความสามารถ) ทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น”

เห็นด้วยคะ บริบทในโรงพยาบาลกับที่บ้านของคนไข้แตกต่างกันมากคะ ขอเป็นอีกแรงที่ช่วยเผยแพร่ความรู้ทางกิจกรรมบำบัดคะ ^^

เห็นด้วยกับปัญหาที่อาจารย์กล่าวมานะคะ การที่เราจะมีความสุข สามารถทำกิจกรรมการดำเนิชีวิตได้อย่างดีจริงๆ ทำเฉพาะในห้องฝึกคงไม่ได้ ตอนนี้คงต้องพยายามช่วยกันให้ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในเหมาะกับแต่ละบุคคล ในทุกๆบริบทของผู้ป่วยน่าจะดีที่สุด ถ้ามีส่วนช่วยได้หนูเองก็พยายามช่วยอีกแรงนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท