แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behaviorism)


           ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)

       ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Classic Conditioning Theory)พาฟลอฟ เชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning) การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้นๆ ต้องมีเงื่อนไขหรือสร้างสถานการณ์ ให้เกิดขึ้นซึ่งในธรรมชาติหรือในชีวิตประจำวัน จะไม่ตอบสนองเช่นนั้นเลยแนวทฤฎษฎี1.พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจาการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติ2.พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ3.มีการลดสิ่งเร้าและหยุดลงหากไม่ได้รับการตอบสนองการทดลองของพาฟลอฟสรุปได้ว่า1. ผงเนื้อ เป็นสิ่งเร้าที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus) UCS2. กระดิ่ง เป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข หรือสิ่งเร้าเทียม (Conditioned Stimulus)CS3. น้ำลายหลั่งจากผงเนื้อ เป็นการตอบสนองโดยไม่ต้องวางเงื่อนไข(Unconditioned Response)UCR4. หลั่งน้ำลายจากเสียงกระดิ่ง การตอบสนองโดยวางเงื่อนไข

       ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดด์ (ลองผิดลองถูก) (Thorndike’s Connectionism Theory)มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองที่มักจะออกมาในรูปแบบต่างๆ หลายรูปแบบ โดยการลองถูกลองผิด () จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดีหรือเหมาะสมที่สุดแนวทฤษฎีกฎ 4 ข้อ1.ผู้เรียนมีความพร้อม2.การฝึกหัดอยู่เสมอ3.มีการนำไปใช้4.ผลการนำไปใช้สร้างความพึงพอใจ

       ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรีมีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นครั้งเดียวก็ได้โดยไม่ต้องทำซ้ำ เมื่อมีสถานการณ์ใหม่ก็สามารถนำรูปแบบการเรียนรู้เดิมมาใช้ได้แนวคิดทฤษฎีกฎความต่อเนื่อง สิ่งเร้าเดิมกลับมา พฤติกรรมกลับมาอีกโดยไม่ต้องเชื่อมโยง การเรียนรู้เกิดได้แม่เพียงครั้งเดียว โดยไม่ต้องฝึกอีก กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย เมื่อเกิดการเรียนรู้จะยึดรูปแบบนั้นเลย การจูงใจการเรียนรู้ จะมีแรงจูงใจมากกว่าการเสริมแรง

     ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ วัตสันวัตสัน ได้นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟมาเป็นหลักสำคัญในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้ แนวคิดของวัตสันคือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ทำให้เกิดการเรียนรู้ เป็นการใช้สิ่งเร้า 2 สิ่งมาคุ่กัน คือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCS) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกันความแตกต่างของวัตสันกับพาฟลอฟ คือวัตสันใช้คนในการทดลอง ซึ่งมักมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยวัตสันได้ได้ทดลองกับเด็กชายอัลเบิร์ต (อายุประมาณ 11 เดือน) เพื่อทำให้เด็กชาย อัลเบิร์ตกลัวหนูขาว เมื่อกลัวหนูขาวแล้วก็พบพฤติกรรมการกลัวหรือเลิกการกลัวหนูขาวได้ โดยมีกฎการเรียนรู้ดังนี้ 1.กฎการลดภาวะ2.กฎการฟื้นคืนสภาพเมตามธรรมชาติ3.กฎการสรุปกฎเกณฑ์โดยทั่วไป4.กฎการจำแนกความแตกต่าง

       ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบโอเปอแรนท์ ของสกินเนอร์ (B.F. Skinner) (Operant Conditioning Theory)ความเชื่อแนวคิดทฤษฎีของสกินเนอร์ พฤติกรรมที่ได้รับการตอบสนองจะเกิดขึ้นอีก แต่พฤติกรรมที่ไม่ได้รับการตอบสนองจะลดลงและหายไป และการเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงตายตัว เมื่อมีการลงดทษทำให้เรียนรู้ไวแต่ลืมง่ายการทดลองของสกินเนอร์ใช้ การฝึกหนูกดคาน โดยสิ่งที่ใช้ทดลองคือ กล่องสกินเนอร์ มีที่ซ่อนอาหารไม่ให้หนูเห็น และมีกลไกสำหรับควบคุมปล่อยอาหารออกมา แล้วปล่อยหนูเข้าไปในกล่องหนุจะแสดงพฤติกรรมวิ่งไปรอบๆ กล่อง จนไปแตะบนคาน สกินเนอร์จะปล่อยอาหารออกจากที่ซ่อน เมื่อจับหนูเข้าไปอีก หนูก็จะกดคานทันทีแสดงว่าหนูเกิดการเรียนรู้ สรุปผลการทดลองได้ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการเสริมแรงลักษณะของทฤษฎีโอเปอแรนท์1. การตอนสนองเกิดจากอินทร์เป็นผู้กระทำขึ้นเอง (Operant Behavior)2. การตอบสนองเกิดขึ้นโดยตั้งใจ หรือจงใจ (Voluntary Response)3. ให้ตัวเสริมแรงหลังจาก ที่มีการตอบสนองขึ้นแล้ว4. ถือว่ารางวัลหรือตัวเสริมแรงมีความจำเป็นมากต่อการวางเงื่อนไข                 ซึ่งเป็นไปตามกฎแห่งความพอใจ (Law of Effect)5. ผู้เรียนต้องทำอะไรอย่างหนึ่งอย่างใด จึงจะได้รับการเสริมแรง6. เป็นการเรียนรู้ ที่เกี่ยวกับการตอบสนองของกระบวนการทางสมองที่สูงกว่า อันมีระบบประสาทกลางเข้าไปเกี่ยวข้อง

        ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)มีความเชื่อคือ กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนองลักษณะของทฤษฎี เป็นกฎแห่งการจัดลำดับกลุ่มนิสัยเมื่อสิ่งเร้ามากระตุ้น เกิดการตอบสนองต่างกันระยะแรกๆ ตอบสนองง่ายๆ ต่อไปเลือกตอบสนองที่ยากขึ้น และกำแห่งการใกล้บรรลุเป้าหมาย การเสริมแรงเมื่อใกล้เวลาบรรลุเป้าหมายจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุดฮัลล์ (Clark L. Hull) ทำการทดลองโดยฝึกให้หนูกดคาน โดยแบ่งหนูออกเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มอดอาหาร 24 ชั่วโมง และแต่ละกลุ่มมีแบบแผนในการเสริมแรงแบบตายตัวต่างกัน บางกลุ่มกดคาน 5 ครั้ง จึงได้อาหาร ไปจนถึงกลุ่มที่กด 90 ครั้ง จึงได้อาหาร และอีกพวกหนึ่งทดลองแบบเดียวกันแต่อดอาหาร 3 ชั่วโมง ปรากฏว่ายิ่งอดอาหารมาก คือ มีแรงขับมาก จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเข้มของนิสิต คือ จะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างอวัยวะรับสัมผัส (Receptor) กับอวัยวะแสดงออก (Effector) เข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเมื่อหนูหิวมาก จึงมีพฤติกดคานเร็วขึ้น

อ้างถิง  http://waranyapuy.blogspot.com/2010/12/behaviorism.html

          http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm

คำสำคัญ (Tags): #พฤติกรรมนิยม
หมายเลขบันทึก: 556373เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2013 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2013 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท