ครอบครัวเข้าใจ...ลูกหลานมั่นใจ


ขอบพระคุณกรณีศึกษาที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน Go to Know แล้วทำให้เห็นการพัฒนาสายใยครอบครัวที่มุ่งเป้าเข้าใจกลยุทธ์ในการให้เยาวชนของครอบครัวนี้ได้แสดงความต้องการในการเล่นดนตรีเพื่ออนาคตและการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาวะ...ดร.ป๊อปมองว่า "เป็นตัวอย่างของครอบครัวที่ดีมากในการไตร่ตรองและการทบทวนกิจกรรมยามว่างเพื่อการศึกษาที่แท้จริง"

> Date: Sat, 23 Nov 2013 00:10:25 +0000

> From: support (at) gotoknow.org

> To: ดร.ป๊อป

> Subject: [gotoknow.org] คุณได้รับเมลติดต่อจากผู้อ่าน (23 Nov 2013 07:10).

> จาก: XXX

> หัวข้อ: พี่อยากถาม Dr.Pop เกี่ยวกับการสร้างวินัยในตนเองของเด็ก

> ---------------------------------------

> พี่เลี้ยงหลานชาย 1 คน อายุ 8 ปี อยู่ป.3 การเรียนพอใช้ได้ ครูให้ทำงานทำได้หมด แต่ต้องเรียกบ่อยๆ เป็นเด็กไม่นิ่ง สมาธิไม่ดี เคยพาไปปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับสมาธิสั้น หมอให้ยามาทาน ทานได้ 2 เดือน เขาไม่อยากทานแล้วบอกว่าคุมตนเองได้แล้ว หมอยังขำเลย

> พี่ช่วยเขา โดยให้เรียนเปียโน มา 5 ปีแล้ว (ตั้งแต่อนุบาล1) สอบได้ดนตรีสากลจากแคนนาดา(หรืออังกฤษไม่แน่ใจ) แต่ตอนนี้ไม่เรียนแล้วเขาเรียนกีต้าร์ ได้ 2 เดือนแล้ว เขาได้เรียนเทควันโดตั้งแต่อนุบาลเช่นกัน ผ่านสายเขียวสาย 2 แล้ว เขาได้ฝึกการนั่งสมาธิเด็ก จาก ... 3 ครั้ง ปกติก่อนนอนจะนั่งสมาธิ 10 นาที เกือบทุกวัน ที่ดูจะเป็นปัญหาคือเขาไม่ฟังคำสั่ง ใช้ให้ทำอะไรก็จะไปเลย กลับมาได้ของผิดมา ไม่ค่อยรับผิดชอบงานแต่ถ้าสนใจจะทำได้ดี มีใจเอื้ออาธรที่ดี

> พี่จะสร้างให้เขาเป็นคนรับผิดชอบ ได้อย่างไรได้บ้าง ขอข้อเสนอแนะค่ะ

เมื่อ 23 พฤศจิกายน 2556, 10:17, ดร.ป๊อป เขียนว่า:

เรียน คุณ XXX

จากข้อมูลที่ให้มา หลานชายผ่านมีภาวะสมาธิสั้น ทานยาและรับรู้ว่าควบคุ่มตนเองได้แล้ว และผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ด้านดนตรี กีฬา และฝึกสมาธิ

ข้อสังเกตคือ ถ้าหลานชายใช้เวลาเรียนอะไรนานๆแล้วไม่เรียนต่อ ในเด็กสมาธิสั้นถือว่า มีความรับผิดชอบจนหมดความสนใจ ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการสร้างวินัยแบบหนึ่งคือ ความรับผิดชอบในการเรียนจนสอบได้และมีใจเอื้ออาธร เว้นแต่การเรียนนานๆเช่นนี้ถูกบังคับ เมื่อใดก็ตามที่เด็กสมาธิสั้นถูกบังคับก็จะไม่เป็นการสร้างวินัย

การพัฒนาเด็กในเรื่องวินัย ตามหลักการคือ ส่งเสริมโดยธรรมชาติ (ไม่บังคับ ไม่สั่งการ และมีผู้ปกครองทำให้ดู/ทำพร้อมเด็ก) และจริงๆ แล้วผู้ปกครองสอนวินัย เช่น ทำแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็น เล่าเรื่องดีๆให้เด็กฟัง จับมือทำดีไปพร้อมๆกับเด็ก ฯลฯ ได้ตั้งแต่เด็กอายุ 10 เดือน - 6 ปี

หลานชายคนนี้น่าจะได้ฝึกจริงจังตอน 3 ปี (5 ปีที่แล้วจาก 8 ปี) แต่โดยกระบวนการเรียนดนตรีและกีฬา ดูจะเป็นการสอนจากคุณครู ถ้าพ่อ แม่ และผู้ปกครองร่วมเรียนหรือเล่นดนตรีและกีฬาข้างต้นเป็นต้นแบบด้วย หลานชายจะเกิดแรงจูงใจ มีต้นแบบ และสร้างวินัยมากกว่านี้ คือ เรียนด้วยความสนใจอย่างต่อเนื่องและไม่เปลี่ยนกิจกรรมเป็นกีตาร์ (ถ้าเปลี่ยนเอง)

โดยสรุปแล้ว หลานชายที่มีสมาธิสั้นแล้วรับผิดชอบได้ขนาดนี้ (เรียน 5 ปีจนสอบได้ นั่งสมาธิเกือบทุกวัน และมีใจดี) ถือว่า "มีการพัฒนาวินัยที่เหมาะสมแล้ว" ถ้าจะสร้างวินัยอีกในเด็กที่อายุเกิน 6 ปีคงเป็นไปได้ยาก ที่พอปรับปรุงได้ คือ อย่าใช้คำสั่ง และ การไม่ฟังคำสั่งไม่ใช่ปัญหาของเด็ก ถ้าเด็กไม่ฟังคำสั่งสะท้อนความเบื่อ ไม่ชอบ และไม่ยากทำ จึงหนีไปเลย และมองดูไม่รับผิดชอบ ในเด็กสมาธิสั้น ถ้ารู้ว่าเค้าสนใจอะไร ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้ตั้งแต่ 10 เดือน - 6 ปี ที่ผู้ปกครองสร้างโอกาสให้สำรวจสิ่งต่างๆทั้งของเล่น ของใช้ และต้นแบบจากผู้ปกครองทำให้เห็น/ทำพร้อมเด็ก นั่นแหละเค้าจะรับผิดชอบเองโดยธรรมชาติ ดังนั้นผู้ปกครองคอยสอบถามว่า สนใจไหม/ชอบไหม ถ้าสังเกตเห็นหลานชายมองหรือหยุดและอยากทำกิจกรรมอะไรบ้าง และสื่อสารกับครูว่า อย่าใช้คำสั่ง แต่สอนแบบสาธิตและกระตุ้นแรงจูงใจของเด็ก ก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่ง

ขอบคุณมากครับ

ดร.ป๊อป

Date: Fri, 6 Dec 2013 16:24:46 +0700

Subject: Re: [gotoknow.org] คุณได้รับเมลติดต่อจากผู้อ่าน (23 Nov 2013 07:10).

From: XXX

To: ดร.ป๊อป

ขอบคุณ ดร.ป๊อบ มากค่ะ ที่อธิบายรายละเอียดให้เห็นกระบานการพัฒนาเด็กที่ดีและต่อเนื่อง 

ที่จริงเขายังอยากเรียนเปียโนอยู่ แต่ย่าเห็นว่า เปียโนมีราคาแพงมาก แล้วเวลาจะใช้แต่ละที่ก็จะต้องเคลื่อนย้ายไปยังไง (เริ่มนึกถึงปัญหา) ก็เลยบอกว่า หนูเรียนจนสอบได้แล้ว (ซึ่งเป็นเด็กคนเดียวที่อายุน้อยสุดของกลุ่มที่สอบผ่าน 8 ปี - 17 ปี) ให้เลือกดนตรีสากลอะไรก็ได้ที่หนูชอบ เช่น อาคูเลเร่ กีต้าร์ ไวโอลีน กลอง เขาใช้เวลาเลือก 2 สัปดาห์  เขาให้เหตุผลว่า อาคูเลเร่ มีสี่สาย ไม่ใช่ 6 สายเหมือนกีต้าร์ ไวโอลีนน่าจะเป็นของผู้หญิงมากกว่า กลองก็ไม่ชอบ สรุปชอบกีต้าร์ ก็พยายามถามครูที่สอนก็บอกว่า ok นะสนใจ ดีทำได้ดี  ถามเขาเขาก็บอกว่าชอบ เขารู้ว่าเส้นแรกเสียงอะไร เส้น 2 เสียงอะไร ก่อนเรียนอีก (น่าจะสนใจอยู่) อีกอย่างพ่อเขาก็เล่นกีต้าร์เป็น เขาซื้อมาให้ลูก แล้วพาเล่น/สอนบ้าง แต่สำหรับย่าแล้วไม่มีพื้นฐานทั้งด้านดนตรีและกิฬาเลย เป็นตัวอย่างที่ดี/ต้นแบบไม่ได้เลย เป็นได้แค่เป็นคนขยันทำงาน และเป็นคนดีได้เท่านั้น เป็นคนเอื้ออาธรเพื่อนบ้าน วันหยุดเขาจะเอาอาหารไปให้คนแก่ใกล้บ้านอายุ 95 ปี เกือบทุกอาทิตย์ คนเจ็บป่วยในบ้านก็ดูแลทั้งทวดและย่า แต่ที่เป็นปัญหาคือ เวลาให้ทำอะไร จะไปก่อนแล้วกลับมาถามว่า ให้หยิบอะไรนะ หรือหยิบผิดมา ตอนนี้แปดปีกว่าแล้ว ดูจะรับผิดชอบดีขึ้น ครูสั่งอะไร ก้พอได้ เมื่อป.1 - 2 ไม่ได้เลย คงไม่สายเกินไปนะคะ ที่จะพัฒนาต่อไป ขอบคุณค่ะ

เรียน คุณ XXX

เห็นด้วยว่า หลานชายพัฒนาได้ดีแน่นอนตามธรรมชาติที่ได้สะสมการเรียนรู้ผ่านดนตรีและคุณธรรม คิดว่าหลานชายมีพรสวรรค์ด้านดนตรี ซึ่งมีพื้นฐานทางเปียโน น่าจะปรึกษาทางโรงเรียนดนตรีว่า ควรต่อยอดไปอย่างไรถ้าไม่จำเป็นต้องซื้อเปียโนเข้าบ้าน หรือถ้าเรียนกีตาร์แล้ว ความสามารถทางเปียโนที่ไม่ได้ใช้จะยังคงมีโอกาสซ้อมที่โรงเรียนได้ไหม เพราะการมุ่งเป้าด้านที่มีพรสวรรค์นี้น่าจะต่อยอดเข้าเรียนในระบบโรงเรียนที่เด่นการสอนดนตรีได้ด้วย เช่น ที่ม.มหิดล มีโรงเรียนเตรียมนักเรียนก่อนเข้าว.ดุริยางคศิลป์ คงต้องลองค้นหารายละเอียดเหล่านี้ ดีใจที่มีคุณพ่อช่วยสอนและเล่นกีตาร์กับหลานชาย และคุณย่าก็เป็นต้นแบบของคนขยันและคนดีให้หลานชาย

ขอชื่นชมและอวยพรให้มีความสุขมากๆครับผม ขอบคุณมากครับ

ดร.ป๊อป

ปล. ขออนุญาตนำเรื่องราวลงบันทึก G2K ได้ไหมครับ โดยจะไม่ปรากฎนามใดๆ ครับ

> Date: Sat, 14 Dec 2013 03:27:44 +0000

> From: support (at)gotoknow.org

> To: ดร.ป๊อป

> Subject: [gotoknow.org] คุณได้รับเมลติดต่อจากผู้อ่าน (14 Dec 2013 10:27).

> จาก: XXX

> หัวข้อ: อนุญาตค่ะ

> ถ้าการทำกิจกรรมของหลานจะเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆ ก็ด้วยความยินดีค่ะ

> พี่เอาข้อความที่ ดร.ป๊อบเขียนให้เขาดู ว่าควรส่งเสริมด้านดนตรีเปียโนอย่างต่อเนื่อง และถามว่า เขายังสนใจที่จะเรียนเปียโน ต่อไปไม๊ เขาก็ยังสนใจอยู่ และบอกว่ากีต้าร์เริ่มยากแล้ว แล้วเทควันโดล่ะ ก็ยังสนใจอยู่ คือเขาชอบทั้ง ๒ อย่าง ย่าบอกเขาว่า สนใจอะไรก็เรียนรู้ให้จริงสามารถเป็นอาชีพได้ พอดีได้โอกาส ตอนเย็นวันอาทิตย์ที่มีรายการดนตรี มีผู้ชายคนชื่อ ... เขาเจอป้ายติดตามตลาด ให้ช่วยโหวดให้หน่อย เขาถามว่าทำไมคนนี้ถึงมีป้ายที่...ย่าก็เล่าให้ฟังว่า เขาสนใจร้องเพลง เรียนดนตรีที่... สอบเรียนต่อที่ ...จบมาสอนร้องเพลงที่ มหาวิทยาลัย (อะไรจำไม่ได้) ที่เล่าให้ฟังก็เพือให้เห็นว่า ร้องเพลงก็เป็นอาชีพที่ดีได้ ถ้าสนใจก็เริ่มทำแบบจริงได้ ขอบคุณในคำแนะนำที่ดีค่ะ ห่วงสุขภาพด้วยนะ

ขอบพระคุณมากครับพี่ XXX

ชื่นใจและเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคุณย่า เพราะที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล ก็รับนักเรียนดนตรีเฉพาะด้าน เช่น เปียโน ตั้งแต่ม.4 และฝึกฝนต่อในระดับป.ตรี จนมีชื่อเสียงหลายท่าน ส่วนเทควันโดก็ทำให้ร่างกายจิตใจแข็งแรงควบคู่กับการเรียนเปียโน

ดีใจด้วยครับพี่ที่มีความตั้งใจดีกับหลาน ขอให้ประสบผลสำเร็จและมีความสุขเช่นกันนะครับ

ขอบคุณมากครับ

ดร.ป๊อป

หมายเลขบันทึก: 556371เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2013 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2013 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้และแง่คิด...

ขอบคุณกำลังใจจากคุณมะเดื่อ คุณบุษยมาศ และพี่ดร.เปิ้น

ขอบคุณทั้งเจ้าของต้นเรื่องและคุณหมอที่นำมาแบ่งปันค่ะ

ขอบคุณกำลังใจจากคุณชยพรและอ.แอน

ขอบคุณกำลังใจจากคุณชยันต์และคุณ ส.รตนภักดิ์

เป็นการใช้กิจกรรมบำบัดในเชิงรุก...ให้มีความสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอนดุริยางค์ศิลป์ตามโรงเรียนต่างๆ...และสามารถนำไปสู่งานอาชีพได้อีกนะคะ

เป็นเรื่องที่ดีมากเลยครับ

รวบรวมคำถามแล้วจัดเป็นหัวข้อดีไหมครับ

ต่อไปเผื่อมีคนถามจะส่งให้ได้เลย

ขอบคุณครับ

.... ดีใจค่ะ .... ที่ให้นักศึกษา ผู้สนใจ มีส่วนร่วม นะคะ .... ช่วยให้งานเข้าถึงแก่นของปัญหาได้ง่าย ได้ตรงจุดที่ต้องการ นะคะ ..... เป็นการออกแบบให้ทุกๆื คน มีส่วนร่วม เป็น แนวคิดที่ดีมากๆๆค่ะ

เป็นไอเดียที่ดีครับพี่ชาย ขอบคุณมากครับพี่อ.ขจิต

ขอบคุณมากครับพี่ดร.พจนาและพี่ดร.เปิ้น

ขอบคุณกำลังใจจากคุณกฤษณา คุณหยั่งราก ฝากใบ คุณศุภลักษณ์ คุณพิทยา คุณ tuknarak และดร.ดิศกุล

เป็นบันทึกแห่งความสุขมากๆ...ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับพี่ใหญ่ ขอส่งความสุขให้พี่ด้วยนะครับผม

ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันเรื่องราวดีๆนะค่ะ @Dr. Pop หนูเห็นด้วยอย่างยิ่งกับว่าหากครอบครัวเข้าใจ ยอมรับ และสนับสนุนแล้ว จะสามารถทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีได้ ฉะนั้นครอบครัวจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ค่ะ เป็นกำลังใจให้ครอบครัวด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

Dr. Popอ่านแล้วรู้สึกว่าเด็กคนดีโชคดีจังค่ะ ที่มีครอบครัวที่น่ารักแบบนี้เพราะครอบครัวมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยพัฒนาความสามารถและค้นหาตัวตนที่แท้จริงของเด็ก

การที่ครอบครัวเห็นว่าการเป็นเด็กสมาธิสั้น เราไม่ได้คาดหวังว่าเขาจะต้องเรียนให้ได้เหมือนเพื่อน ศักยภาพให้ดีเหมือนเพื่อน แต่มองไปที่ความสามารถด้านอื่นที่เขาสนใจและทำได้ดี จากกิจกรรมยามว่างนำไปสู่การศึกษาในชีวิตจริงที่ว่า"ร้องเพลงก็เป็นอาชีพที่ดีได้ ถ้าสนใจก็เริ่มทำแบบจริงได้" เป็นการค้นหาตัวตนที่แท้จริงในตัวของเด็ก และหาแนวทางที่จะทำให้เขาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและปกติเหมือนคนทั่วไป โดยไม่ถูกเปรียบเทียบว่าเป็นโรคใดๆ

และดิฉันเชื่อว่าหากเราได้ทำในสิ่งที่เราถนัด ได้ทำในสิ่งที่มีความสุขและทำได้ดี สิ่งนั้นจะกลายเป็นข้อดีของเราที่ทุกคนยอมรับได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท