“เกษตรกรไทย...จะไปสู่อาเซียนอย่างไร?”


เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2556 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดประชุมประจำปี และได้เชิญหน่วยงานหลายภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนให้เข้าร่วมเพื่อรับฟัง แลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะแนวทางที่จะช่วยกันทำให้เส้นทางประเทศไทย..สู่ประชาคมอาเซียนนั้นดำเนินไปแบบก้าวไกลไร้ขวากหนามจึงต้องอาศัยแนวร่วมทุกภาคส่วนร่วมด้วยช่วยกันระดมความคิด ในงานก็ได้รับเกียรติจากท่าน นายก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาเป็นประธานกล่าวเปิดสัมมนาและแสดงปาฐกถาพิเศษในหัวข้อเรื่อง “รัฐบาลกับการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน” ซึ่งท่านน่ายกก็ได้แสดงวิสัยทัศน์ และให้ประชาชนตระหนักถึงการปรับตัว เตรียมตัว และการมีส่วนร่วมไปกับชาวอาเซียน อย่างพึ่งพิงอิงอาศัยกัน โดยไม่ได้หวังแต่เพียงประโยชน์ของตนเองฝ่ายเดียว

นอกนั้นยังมีผู้ดำเนินการและร่วมอภิปรายที่ทรงเกียรติอีกหลายท่าน อย่างเช่น นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ประธานกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล, นายกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ร่วมให้ข้อคิดและแนวทางที่จะทำให้ประเทศไทยของเรามีความพร้อมต่อการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างเต็มภาคภูมิ และไม่ตกขบวนรถไฟของวิวัฒนาการบริหารจัดการยุคใหม่ ที่มีปัจจัยหลายอย่างเข้ามาและประชากรอาเซียนทุกคนต้องปรับตัวและรับมือให้ทัน

เนื้อหาการอภิปรายส่วนใหญ่ก็จะเน้นหนักไปที่ภาคประชาชนคนไทยอย่างเราๆ ที่ดูแล้วน่าจะมีการตี่นตัวจากเดิมอยู่บ้างซึ่งเมื่อเทียบกับชาวอาเซียนส่วนใหญ่ยังถือว่าน้อยมากๆ  ยิ่งเมื่อเทียบกับกระแสโลกาภิวัตน์ที่จะถาโถมเข้ามา บางกลุ่มยังไม่รู้ว่าประชาคมอาเซียนคืออะไรด้วยซ้ำ หรือยังไม่รู้ว่าประชาคมอาเซียนนั้น แตกต่างกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หรือไม่อย่างไร?....บางคนบางกลุ่มก็ยังไม่รู้ว่าประชาคมอาเซียนเรานั้นจะมีเสาหลักใหญ่ๆ อยู่ 3 เสา คือ (1) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community :AEC) (2) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Culture Community :ASCC) และ (3) ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community :APSC) ซึ่งทุกประเทศในกลุ่มอาเซียนจะร่วมกันผลักด้นในส่วนของ AEC ให้เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนก่อน และต่อไปอีกสองเสาหลักก็จะต้องทำให้เกิดรูปธรรมตามมาให้มากที่สุดเท่าที่พี่น้องอาเซียนทุกคนจะทำได้

 

 เรื่องต่างๆ เหล่านี้ก็น่าห่วงอยู่เหมือนกัน จึงยังไม่รู้ว่าในกลุ่มพี่น้องเกษตรกรชาวไร่ชาวนาของไทยเราจะมีความพร้อม ตื่นตัวและตอบรับกับการเป็นประชาคมอาเซียนมากน้อยอย่างไร?  เพราะข้อมูลที่ได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับอาเซียนส่วนใหญ่ก็มักจะได้ยินแต่เชิงลบเสียเป็นส่วนมาก ว่าเราจะอยู่อย่างไร ใครจะเอาเปรียบเรา เราจะแก้ไขและเอาเปรียบกลับไปได้อย่างไร? ซึ่งข้อมูลในลักษณะนี้อาจจะไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมดก็เป็นได้ ฉะนั้นจึงต้องเตรียมตัว เตรียมใจ ใส่ความพร้อมให้แก่ตนเองมากๆ จึงจะสามารถอยู่ได้อย่างสงบ มีสติ ไม่ตื่นตูม จนเกินเหตุ และมีความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านแรงงาน การแข่งขัน ตลาด การส่งออก นำเข้า และอาชีพที่สำคัญๆ ทั้งหลายนั้นจะแนะนำบุตรหลานให้เล่าเรียนประกอบอาชีพอย่างไรที่จะไม่ตกงาน หรือตรงกับสายงานที่พวกเราชาวอาเซียนต้องการ ทั้งวิศวกร, พยาบาล, สถาปัตยกรรม, การสำรวจ, บัญชี, แพทย์, ทันตแพทย์และการท่องเที่ยว นั้น จะช่วยทำให้ไม่ตกงานมีรายได้ดี เป็นที่ต้องการ แต่ที่สำคัญจะต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษที่ดีตามมาด้วยจึงจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษสุดท้ายอย่างน้อยๆเกษตรกรทุกคนควรจะต้องขวนขวายหาความรู้เกี่ยวกับการลดต้นทุนภาคเกษตรของตนเองลงให้ได้จากเดิมที่ผ่านให้มากที่สุด เพื่อพร้อมต่อการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงต่ำกว่า ต้นทุนถูกกว่า ทรัพยากรมากกว่า ฯลฯ

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 555662เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 18:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนอาจารย์

วันที่ 16 ธค. 56 นี้ ทางสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย ได้เชิญให้ผมเข้าไปประชุมเรื่อง"อนาคตข้าวไทยในเวทีโลก"

คงได้ฟังสิ่งดีๆมาบอกต่อชาวนา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท