SHA : จากมาตรฐานพัฒนาสู่กระบวนการจิตใจในการให้บริการ


SHA เป็นแนวคิดการพัฒนาคุณภาพโดยใช้มิติจิตวิญญาณเป็นพื้นฐาน เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยคนทำงานคุณภาพมีความสุข ผู้รับบริการมีความสุข ด้วยการนำมิติจิตใจ

ถอดบทเรียนการบูรณาการมิติจิตตปัญญากับการพัฒนาคุณภาพ

       สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) มีภารกิจหลักคือ ส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดกลไกในการพัฒนาระบบการให้บริการที่ดีมีคุณภาพของสถานพยาบาลทุกระดับ เพื่อให้ระบบสุขภาพของประเทศ มีบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน เป็นที่ไว้วางใจของสังคม เป็นระบบคุณภาพที่พึงประสงค์ มีความทั่วถึง Equity มีคุณภาพที่ดี Quality และมีประสิทธิภาพ Efficiency

     ระบบสุขภาพของประเทศไทยที่พึงประสงค์ ควรมีการยกระดับมิติด้านจิตใจ เพื่อยกระดับระบบสุขภาพสู่สุขภาวะ โดยการส่งเสริมและกระตุ้นให้คนทำงาน มีการเรียนรู้และเข้าใจในมิติจิตใจมากยิ่งขึ้น ด้วยการสร้างความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ตระหนักและรับรู้คุณค่าของงานที่ทำ มีความเข้าใจในคนอื่นและผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น และเห็นความหมายของงานที่ตนเองรับผิดชอบ สามารถแสดงออกมาอย่างเป็นรูปธรรม

     สถาบันจึงคิดค้นวิธีการพัฒนาคุณภาพที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืน โดยการผสมผสานมิติจิตใจ จิตวิญญาณของคนทำงาน การเห็นคุณค่าและความหมายของงานเข้ามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพควบคู่ไปกับมาตรฐาน หรือ SHA ขึ้น โดยร่วมมือกับสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา โดยมีกรอบแนวคิดที่สำคัญคือ

     SHA เป็นแนวคิดการพัฒนาคุณภาพโดยใช้มิติจิตวิญญาณเป็นพื้นฐาน เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยคนทำงานคุณภาพมีความสุข ผู้รับบริการมีความสุข ด้วยการนำมิติจิตใจ การเห็นคุณค่าในตนเองและคุณค่าในคนทำงาน เปลี่ยนจากการมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางเป็นการมุ่งเน้นที่ความเป็นมนุษย์ (Human center) ของทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดการพัฒนาคุณภาพที่ดำเนินมาด้วยกระบวนการ HA และกระตุ้นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของบุคลากรในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพควบคู่กับการรักษาพยาบาล ให้ครบทุกมิติทั้งกาย ใจ สังคม และปัญญา เกิดระบบสุขภาพที่เชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ (Seamless) ทำให้บุคลากรสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจทั้งมุมมองด้านมิติความปลอดภัย (Safety) และมาตรฐานการทำงาน (Standard) ผสมผสานกับการใช้มิติจิตวิญญาณ (Spirituality)

     โครงการ SHA เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2552 มีโรงพยาบาลทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการ ประมาณ 250 แห่ง การขับเคลื่อนตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา มีการสอดแทรกต้นทุนและหล่อหลอมแนวคิด SHA เข้าไปในตัวบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการหลายหลักสูตร ไม่ว่าจะเป็นการฟังอย่างลึกซึ้ง, Narrative Medicine, Salutogenesis, Patient Experience, Healing environment การขับเคลื่อนดังกล่าวทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงในบุคลากรสาธารณสุขที่เข้าร่วมโครงการ และมีความสุขในการทำงาน

ก้าวย่างสู่ของจริง....

      เพื่อให้เกิดรูปธรรมและข้อมูลที่สามารถใช้อ้างอิงทางวิชาการได้ สถาบันจึงเห็นความสำคัญของการนำ evidence base เช่นการจัดการความรู้ การถอดบทเรียน ทั้งจากผู้ป่วย/ผู้รับบริการ ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อนำมาสรุปเป็นข้อมูลที่เป็นรูปธรรมสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการเพื่อแสดงผลลัพธ์ของการทำงานขับเคลื่อนแนวคิดทางด้านมิติจิตปัญญาให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น สถาบันจึงร่วมมือกับสำนักงานวิจัยระบบสุขภาพ (สวสส.) ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักวิจัย แพทย์ พยาบาลที่มีองค์ความรู้และประสบการณ์ จัดทำโครงการถอดบทเรียน ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษา จำนวน 3 โครงการ ได้แก่

1.โครงการศึกษาการรับฟังเสียงสะท้อนและประสบการณ์ของผู้ป่วยและญาติ (Patient Experience) เพื่อสะท้อนว่าระบบบริการคุณภาพที่ฟังเสียงสะท้อนผู้ป่วยนั้นเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการในสถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA จำนวน 27 แห่ง ใช้แบบสอบถามประสบการณ์ผู้ป่วยที่ปรับมาจาก Picker s Institute โดยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มผู้ป่วยและญาติ จำนวนทั้งสิ้น 2,140 คน จากทุกภูมิภาคของประเทศไทย เสียงสะท้อนจากผู้ป่วยและญาติทำให้สถานพยาบาลได้เรียนรู้ ดังนี้

  1. เห็นโอกาสพัฒนาระบบการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติในการตัดสินใจรักษาเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยสะท้อนว่าไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ มากถึง ร้อยละ 24.67
  2. ปรับระบบการประสานงานระหว่างแพทย์ พยาบาลในการให้คำแนะนำที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันให้มากยิ่งขึ้น เนื่องผู้ป่วยสะท้อนว่าได้รับข้อมูลที่แตกต่างกันระหว่างแพทย์ พยาบาล มากถึงร้อยละ 14.81
  3. โอกาสในการปรับระบบการประเมินอาการเจ็บปวดและช่วยเหลือเพื่อบรรเทาอาการ จากการสอบถาม พบว่าผู้ป่วยที่ตอบว่าไม่ได้รับ การบรรเทาอาการมีมากถึงร้อยละ 9.67 หรือ 207 คน

                                         ภาพจาก emmottontechnology.com

2. โครงการศึกษากระบวนการประเมินมิติจิตใจเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของคุณภาพการดูแลรักษา (Spiritual assess in medical care) เนื่องจากสุขภาวะ มีความหมายมากกว่าการมีร่างกายที่สมบูรณ์หรือมีสุขภาพจิตดีแต่รวมถึงมิติของความเป็นมนุษย์ที่เข้าถึงความหมายของชีวิต (Meaning of Life)ความสมบูรณ์ของมนุษย์ที่จะลดละอัตตาหรือตัวตน เพื่อเป็นแนวทางให้บุคลากรสาธารณสุขมีความเข้าใจมิติทางด้านจิตวิญญาณ สามารถบูรณาการเข้าในงานประจำได้ สถาบันจึงร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานที่สนใจทางด้านจิตวิญญาณ ศึกษามิติจิตวิญญาณในกระบวนการดูแลรักษาใน 3 Model ดังนี้

2.1 มิติจิตวิญญาณในการทำงานชุมชน ศึกษาโดยอ.อังคณา นามบุตร รพ.หนองวัวซอ

2.2 การศึกษาเครื่องมือประเมินสุขภาพในมิติทางจิตวิญญาณ ในบริบทของ Palliative care ศึกษาโดย อ.อุบล จ๋วงพานิช รพ.ศรีนครินทร์

2.3 การพัฒนาระบบเพื่อการพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณในโรงพยาบาล กรณีศึกษา รพ. นาดูน ศึกษา โดย นพ.พิทักษ์พงษ์ พรรณพราว

3.โครงการถอดบทเรียนและจัดการความรู้ “การเปลี่ยนแปลงทัศนคติความเชื่อและจิตสำนึกของบุคลากรในโครงการ SHA”เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของบุคลากรในโครงการ SHA ในประเด็น ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง และบทเรียนจากการเรียนรู้แนวคิด SHA เพื่อสามารถนำไปใช้ในการขับเคลื่อนแนวคิดมิติจิตปัญญาในการพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาลอย่างยั่งยืนต่อไป

………………………………………………………..

คำสำคัญ (Tags): #sha#จิตตปัญญา
หมายเลขบันทึก: 555626เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 11:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2013 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ชอบโครงการนี้โครงการถอดบทเรียนและจัดการความรู้ “การเปลี่ยนแปลงทัศนคติความเชื่อและจิตสำนึกของบุคลากรในโครงการSHA”

มาให้กำลังใจทีมพี่อุบลและทุกๆๆทีมครับ

สู้ๆๆครับ

นำบันทึกมาแนะนำคุณลูกหมูเต้นระบำนะคะ เผื่อ SHA ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการเป็นคลังความรู้ค่ะ

http://www.gotoknow.org/posts/547581

ชอบกระบวนการทางจิตที่น้องสรุป ขอบคุณมากครับผม

พี่แก้วอยู่โครงกรนี้นะครับอาจาย์

โครงการศึกษากระบวนการประเมินมิติจิตใจเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของคุณภาพการดูแลรักษา (Spiritual assess in medical care) เดี๋ยวบอกพี่แก้วให้ครับ ...อาจารย์เป็นกำลังใจ

ขอบคุณครับพี่ ติดตามผลงานพี่เสมอครับ

ขอบคุณมากครับป้าแดง ป้าทำได้แน่ๆ และป้าทำอยู่แล้วด้วย ..

SHA .... ทำดีเป็นทีม.....ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับพี่ ดร.เปิ้ลครับ พี่สบายดีนะครับผม..

วันหลังจะชวนป้าแดงมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันดีไหมคะ เพื่อหาเครื่องมือประเมินด้านจิตวิญญาณ กำลังปรับโครงร่างอยู่นะคะ ลูกหมู พี่แก้วต้องเรียงลำดับงาน

ครับผมพี่แก้วสู้ๆนะครับ เป็นกำลังใจให้พี่แก้วอย่างเต็มเปี่ยมครับ ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ.. คิดถึงครับพี่แก้ว

-สวัสดีครับ

-ตามมาเยี่ยมและให้กำลังใจ

-สบายดีนะครับอาจารย์..

สบายดีครับพี่เพชร แต่งานยุ่งไปหน่อยครับ ..รำลึกถึงพี่เสมอครับ..

คือพลังและกำลังใจที่ SHA ปลูกฝังให้แก่คนทำงาน ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท