๙ พระบรมราโชวาท( ๓๗-๔๕)ใน ๑๐๘ มงคลเพื่อความสุขและความสำเร็จของชีวิตแบบยั่งยืน(๕)


ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

 

น้อมนำ ๙ พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาลที่ ๙

เพื่อเป็นแสงสว่าง เป็นหนทางแห่งการดำเนินชีวิต พระบรมราโชวาทที่เกี่ยวเนื่องกับหลักคิดในการดำเนินชีวิตที่ทรงพระราชทานต่อคนไทย เป็นเครื่องเตือนใจ เป็นหนทางแห่งชีวิตที่มีความสุขอย่างยั่งยืน

 

 

๓๗.  พิจารณาตนเองตลอดเวลา จะได้ไม่ทำสิ่งผิดพลาด

"...การทำดีซึ้งจะดูลึกซึ้งกว่าคื ปฏิบัติด้วยตนเอง ปฏิบัติให้ตัวเองไม่มีความเดือดร้อน คือพยายามหันเข้าไปในทางปัจจุบันให้มาก อย่างง่ายๆก่อนคือ พิขารณาตัวว่ากำลังคิดอะไร กำลังทำอะไร ให้รู้ตลอดเวลา แล้วรู้ว่าทำอะไรอย่างนี้ เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะทำให้ไม่มีภัยถ้าเราคอยระมัดระวังตลอดเวลาให้รู้ว่าตัวทำอะไร ให้รู้ว่าการทำนี้เราทำอะไรตลอดเวลา ก็จะไม่ผิดพลาด เพราะว่าโดยมากความผิดพลาดมาจากความไม่รู้ในปัจจุบัน...."

 

 

๓๘. รู้จักผิดชอบชั่วดี ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เห็นแก่ตัว ไม่มักง่าย และขยันหมั่นเพียร

".....คุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นสำหับทุกคนนั้น ที่สำคัญได้แก่ ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอายช้่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความไม่มักง่าย หยาบคาย กับอีกหนึ่งที่สำคัญเป็นพิเศษ คือความขยันหมั่นเพียร..."

 

 

๓๙. กล้าและบากบั่นที่จะทำความดี ความถูกต้อง และเป็นธรรม

"...ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงๆว่า ชั่ว เสื่อม เราต้องฝืน ต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดต่อธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ...."

 

 

๔๐ . จิตใจที่สะอาดปลอดโปร่งทำให้มีสติรู้ตัว

"..จิตใจที่สะอาดปลอดโปร่งจากสิ่งรบกวนนี้สำคัญมากเพราะเป็นจิตใจ สงบระงับและเยือกเย็น ทำให้บุคคลมีสติรู้ตัว มีความคิดเที่ยงตรงเป็นกลาง มีวิจารณญาณละเอียดกว้างขวางและถูกต้องตรงจุด

" ความคิดวิจารณญาณที่เกิดจากจิตใจที่สงบมีศักยภาพสูง อาจนำไปใช้คิดอ่านสร้างสรรค์สิ่งที่จะอำนวยประโยชน์สุข ความเจริญก้าวหน้า ตลอดจนชื่อเสียงเกียรติคุณอันเป็นสิ่งที่ปรารถนาของแต่ละคนให้สัมฤทธิผล..."

 

๔๑. การรู้ตัวอยู่เสมอ ทำให้สามารถสร้างความสำเร็จ และความเจริญแก้ตนและส่วนรวมได้

"...ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบ และคนที่มีระเบียบดีแล้วจะสามารถเข้าเรียนและทำการงานต่างๆได้ถูกต้องและรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญให้แก่ตนเอง และส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน...."

 

 

๔๒. การทำบุญเป็นการสร้าง สภาพจิตของเราให้มีความสุข

"....ทุกคนต้องการความสุข ทุกคนต้องการแสวงหาความสุข แต่ว่าบางทีก็มีความรู้สึกมีทุกข์ เราก็อยากขจัดความทุกข์ การที่ทำบุญนี้เป็นการเตรียมตัวที่จะขจัดความทุกข์ที่จะเกิดขึ้นมาได้ เพราะว่าถ้าจะสร้างสภาพจิตของเราให้มีความสุข เราก็จะมีความสุข ถ้าพูดแบบนี้จะเข้าใจหลักธรรมะคือ เราไม่สร้าง ไม่ยอมให้เหตุของทุกข์เกิดขึ้น  เราก็ไม่ต้องเป็นทุกข์...."

 

 

๔๓. การวางตนอย่างเหมาะสม เป็นคุณธรรม นำไปสู๋ความมั่นคง

"....การวางตนได้อย่างสม่ำเสมออย่างเหมาะสมคือ ไม่ทำตัวให้ดีเด่นเกินกว่าผู้อื่น และไม่ด้อยต่ำทราบไปจากหมู่คณะ

" หมู่คณะใดมีคุณธรรมยึดเหนี่ยวไว้ดังกล่าว หมู่คณะนั้นย่อมจะมีความมั่นคง...."

 

 

๔๔. ความประมาท และการขาดสติ นำมาซึ่งความเสื่อมสลาย

"... ความไม่ประมาทและมีความมีสติรู้ตัวเสมอ เพราะการกระทำประมาท ขาดความรอบคอบเป็นเหตุให้เกิดความผิดพลาด เสียหายในหน้าที่ และการกระทำโดยขาดสติยั้งคิด ขาดเหตุผล ความรู้จักถูกผิดนั้น เป็นเหตุให้เกิดความหลง ความลืมตัว ทำให้กระทำสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่โดยชอบได้ ซึ่งเป็นอันตรายมากอาจจะนำความเสีย เสื่อมสลายมาสู่ตนเอง ตลอดทั้งประเทศชาติได้..."

 

 

 

๔๕. อย่ามีอคติ เพราะอคติก่อให้เกิดความผิดพลาดได้

"....อคตินั้นเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้มองไม่เห็นทาง เพราะลำเอียงเข้าข้างตัว ด้วยอำนาจความรักบ้าง ความชังบ้าง ความหลงไหลบ้าง เมื่อเกิดอคติแล้วจะทำให้สับสนในเหตุผล ไม่ทำตามเหตุผลและเมื่อไม่ทำตามเหตุผล ความผิดพลาดก็ต้องเกิดขึ้น...."

 

* ขอบคุณ ๙ พระบรมราโชวาทจากหนังสือ ๑๐๘ มงคล พระบรมราโชวาท โดย สำนักพิมพ์อมรินทร์ ร่วมกับ 7 -ELEVEN และฺ BOOK SMILE รายได้ส่วนหนึ่งทูลเกล้าถวายโดยเสด็จพระราชกุศลในกิจการของโรงเรียนวังไกลกังวล

 

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

วัพฤหัสบดีที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๕๖

 

หมายเลขบันทึก: 555467เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2013 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2013 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

-สวัสดีครับ

-ตามมาอ่านพระบรมราโชวาทครับ

-"....อคตินั้นเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้มองไม่เห็นทาง เพราะลำเอียงเข้าข้างตัว ด้วยอำนาจความรักบ้าง ความชังบ้าง ความหลงไหลบ้าง เมื่อเกิดอคติแล้วจะทำให้สับสนในเหตุผล ไม่ทำตามเหตุผลและเมื่อไม่ทำตามเหตุผล ความผิดพลาดก็ต้องเกิดขึ้น...."

-ขอบคุณครับ


ทรงพระเจริญครับ

เป็นพระราชดำรัสที่น่าสนใจมาก

ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ขอบคุณพี่กานดามากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท