ฮักนะเชียงยืน 2


จากการวิเคราะห์โครงการด้วยเครื่องมีการพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพในข้างต้น ถือว่าเป็นหลักคิดที่ยากพอสมควรสำหรับผู้เริ่มพัฒนาทักษะการคิดใหม่ๆ

ค่ายเเรกแห่งก้าวเดิน

       จากที่ได้ประเด็นปัญหาในเรื่องของ "น้ำท่วมขัง" ในชุมชน... มูลนิธิกองทุนไทย ได้จัดดค่ายพัฒนาโครงการขึ้นเพื่อปรับเเนวคิดของเยาวชนให้ทำโครงการได้อย่างมีคุณภาพ เมื่อครั้งประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งในขณะนั้นมีครูที่เลี้ยง ๑คนเเละเเกนนำอีก ๓ คนที่ได้เข้าร่วมค่ายพัฒนาโครงการ...ทุกคนทุกกลุ่มชนคนอาสาจากเหนือใต้ ออก ตก พบพบกันที่ประเด็นปัญหาของเเต่ละกลุ่มจะต่างกันออกไปตามบริบทของเเต่ละพื้นที่ เวลาในกิจกรรมนี้เป็นเวลาประมาณ 3 วันด้วยกัน ณ อาศรมวงศ์สนิท.. กระบวนการเเละเครื่องมือในการทำโครงการอย่างมีคุณภาพนั้นมีมากมายอยู่หลายเครื่องมือด้วยกัน ที่ทางมูลนิธิถ่ายทอดให้อาทิ  แผนผังชุมชน  ผังใยมงมุม  ภูเขาน้ำเเข็ง  ผังไข่ดาว  ปัจจัยเเห่งความสำเร็จ  ฯ

 

        แผนผังชุมชน คือ การวาดรูปแผนที่ชุมชนเเล้วเเหล่งที่เกิดปัญหานี้โดยละเอียด ที่เขียนออกมาในทุกบริบทของชุมชน เช่น สิ่งเเวดล้อมเป็นอย่างไร  มีปัญหาสิ่งเเวดล้อมอยู่ตรงจุดไหน  เราอยู่ตรงไหนในพื้นที่  ทุนสำคัญในชุมชน  บุคคลสำคัญในชุมชน  สถานที่สำคัญในชุมชนนั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้างที่เราสามารถนำเป็นทุนในโครงการเราได้

 

        ผังใยเเมงมุม คือ การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยปัญหานี้ได้มาจากการเลือกประเด็นปัญหาออกมาเเล้วในผังชุมชน โดยกำหนดหัวข้อประเด็นปัญหานั้นๆ เเล้วตั้งคำถาม ๒ คำถาม คือ ทำไมถึงเกิดปัญหานี้ขึ้น เเล้วปัญหานั้นเกิดผลกระทบอย่างไร เช่น ปัญหา:ขยะส่งกลิ่นเน่าเสีย ทำไมขยะถึงส่งกลิ่นเน่าเสีย(เป็นสาเหตุชั้นที่๑) อาจเพราะเกิดจากไม่มีที่เก็บขยะที่เพียงพอ ทำไมไม่มีที่เก็บขยะที่เพียงพอ(เป็นสาเหตุชั้นที่๒)อาจเพราะไม่มีการเเก้ไขปัญหาจากทางภาคส่วนต่างๆ ฯ เเล้วปัญหานี้จะส่งผลกระทบอย่างไรกับชุมชน ซึ่งข้อสาเหตุดังกล่าวยิ่งกระจายออกมามากยิ่งรู้ชัดเจนว่าปัญหานี้เป็นอย่างไร เเล้วจะส่งผลอย่างไร เเล้วหลังจากที่วิเคราะห์ออกมาเลือกประเด็นจากสายของการวิเคราะห์ได้ออกมาในสิ่งที่พอทำได้

        ภูเขาน้ำเเข็ง คือ เครื่องมือการวิเคราะห์ความยากง่ายของงานที่ทำ โดยมรอยู่ ๓ ระดับ คือ ปัญหาในระดับนโยบายที่สามารถเเก้ไขได้ง่าย(ยอดเขา)  ปัญหาในระดับเจาะลึดลงไปที่สามารถเเก้ไขได้ค่อนข้างยาก(ภูเขา  เเละปัญหาในระดับทัศนคติที่เป็นปัญหาที่เเก้ไขยากที่สุด(สันเขาใต้น้ำที่่มองไม่เห็น) เครื่องมือนี้ใช้วิเคราะห์ความยากง่ายของปัญหาที่ได้ทำ ซึ่งถ้าเราลองวิเคราะห์จริงๆเเล้วส่วนใหญ่สาเหตุที่เป็นปัญหาสิ่งเเวดล้อมมักมาจากปัญหาในระดับทัศนคติที่เเก้ไขยากที่สุด

 

        ผังไข่ดาว คือ เครื่องมือที่ทำให้เรามองภาพได้ชัดเจนขึ้นว่า งานที่เราจะทำนี้มีใครสามารถช่วยได้บ้าง มีหน่วยงานใดที่สามารถช่วยได้บ้าง โดยจำเเนกว่าสิ่งนี้เราพอทำได้เองด้วยกลุ่ม  สิ่งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานนี้ ฯ

 

        ปัจจัยเเห่งความสำเร็จ คือ การวิเคราะห์โครงการอยู่ ๔ คำด้วยกัน ได้เเก่ จุดเด่น  จุดด้อย  ทุน  โอกาส  จุดเด่นเป็นข้อดีของโครงการนี้เเล้วเรามีข้อดีอย่างไร  คนเรามีความสามารถอย่างไรที่เหมาะสมต่อวิธีการดำเนินงาน  จุดด้อย เป็นข้อเสียของงานหรือสิ่งที่ควรปรับปรุงงานเเละสมาชิกเรามีข้อเสียอย่างไร เเล้วรวมไปถึงด้านของการจัดสรรเวลาด้วย

 

 

 

         จากการวิเคราะห์โครงการด้วยเครื่องมีการพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพในข้างต้น ถือว่าเป็นหลักคิดที่ยากพอสมควรสำหรับผู้เริ่มพัฒนาทักษะการคิดใหม่ๆ "โครงการบำบัดน้ำบำรุงสุข" ที่เน้นการเเก้ไขปัญหาในบริเวณน้ำท่วมขังในชุมชน ถ้าลองมาวิเคราะห์ดูจริงๆเเล้ว เป็นปัญหาในส่วนบุคคลเพราะเป็นพื้นที่ของบุคคลเดียว ไม่ใช่เป็นพื้นที่ของชุมชนโดยส่วนรวม จึงถือว่าประเด็นนี้ที่ได้เลือกนั้นเป็นปัญหาส่วนบุคคลเเต่ไม่ได้เป็นปัญหาในชุมชน ทำให้เเกนนำที่ได้เข้าร่วมค่ายนี้ กลับได้มาย้อนมองดูประเด็นของตนเองกันใหม่ตั้งเเต่เริ่มต้นจนถึงขั้น "ปวดหัวไปตามๆกัน" เนื่องเพราะการกำหนดประเด็นปัญหาส่วนย่อย มิใช่ส่วนรวม จึงเป็นอีกข้อหนึ่งที่ได้เรียนรู้สำคัญๆ คือ ในการตั้งประเด็นหรือเลือกประเด็นปัญหาในครั้งใดใด ควรย้อนมองดูอย่างใคร่ครวญว่าปัญหาที่ได้เลือกนั้นเป็นส่วนย่อยหรือส่วนรวม...

 

        หลังจากที่กลับมาจากค่ายพัฒนาโครงการ สิ่งเเรกที่ได้ทำ คือ การถ่ายทอดเครื่องมือการคิดต่างๆที่ทางมูลนิธิกองทุนไทยได้ถ่ายทอดให้จาก ๓ คน ถ่ายทอดให้อีกประมาณ 6 คน ณ บ้านหลังคาเเดง(ชื่อ อาศรมพอเพียงในขณะนั้น) ซึ่งในครั้งนั้นเป็นการถ่ายทอดจากเพื่อนสู่เพื่อนให้ได้รู้ร่วมกันเเล้วรวมไปถึงการวิเคราะห์งานร่วมกันใหม่ทั้งหมด ผลที่ได้ออกมา คือ ประเด็นปัญหานี้เป็นพื้นที่ส่วนบุคคลไม่ใช่พื้นที่ส่วนรวม  จากนั้นไม่นานมีการตั้งประเด็นปัญหาใหม่อีกครั้งโดยให้ทุกคนไปมองชุมชนของตนเองเเละชุมชนโดยรอบว้่มีปัญหาอะไรเเล้วเป็นอย่างไรบ้าง  ทำให้เด็กคนหนึ่งมุ่งเป้ามาที่ประเด็นปัญหาในหมู่บ้านของตนเองที่ชื่อ หมู่บ้าน ผือ ที่ผือในปัจจุบันในหมู่บ้านนั้นสูญหายไปนานนับนาน  พอได้ปัญหาทุกคนมาคุยกันอีกครั้งให้ได้ประเด็นปัญหาที่จะทำ ทุกคนถกประเด็นเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่พักใหญ่ๆ ในตอนนั้นมีคนนึงพูดขึ้นในเรื่องของหมู่บ้านเเบก ทำให้เด็กอีกหลายคนนึกขึ้นได้ว่าเพื่อนของตนเองชอบหลับในเวลาเรียนมีภูมิลำนำอยู่ในหมู่บ้านเเบก  เมื่อลองไปสอบถามเเล้วศึกษาจริงๆเเล้วพบว่า หมู่บ้านเเบกนี้ทำการเกษตรที่ให้สารเคมีในการเกษตรทุกขั้นตอน จากข้อสังเกตุจึงลงสอบถามชาวบ้านในหมู่บ้านเพื่อค้นหาคำตอบ  ข้อเท็จจริง สิ่งที่คอยผลักดันให้เลือกประเด็นนี้ คือ ข้อสังเกตุยามเพื่อนนอนหลับในเวลาเรียนเเละเพื่อนๆพูดคุยกัน ที่ด้วยความเป็นเพื่อนจึงสนใจมากขึ้นที่จะเลือกประเด็นนี้เพื่อพัฒนาชุมชนให้ดีขึ้นด้วยโครงการ...

 

 

หมายเลขบันทึก: 555464เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2013 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2013 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ใช้ได้ๆๆๆๆๆ..จะเห็นว่า การย่อหน้าทำให้เรื่องน่าอ่านมากยิ่งขึ้น

เก่งมากเลย

รออ่านอีกครับ

เห็นทั้งกระบวนทัศน์ กระบวนการ และวิธีการได้ชัดเจนมากครับ ..... ผู้ปฏิบัติลงมือทำเท่านั้นที่จะเขียนแบบนี้ได้ .... ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท