เรื่องเล่าเปลี่ยนโลก... Narrative medicine


motto ของศัลยแพทย์ (Eagle's eye, Lion's heart, and Lady's hand ตาแหลมคมประดุจนกอินทรี หัวใจเข็มแข็งเด็ดขาดประดุจราชสีห์ มือเคลื่อนไหวอ่อนโยนละเอียดอ่อนดั่งกุลสตรี)

ว่าด้วยตัวผมเอง 

     ผมเข้าร่วมการอบรม Narrative medicine มาใน 1 ครั้ง หลายครั้งผมต้องการรู้ว่ากระบวนการดังกล่าวนั้นจะเป็นอย่างไร แล้วเราจะทำแบบไหนต่อไป  เรื่องเล่านั้นมีพลังมากพอเพียงไร เปลี่ยนแปลงโลกได้มากมายขนาดไหน นั้นเป็นคำถามที่ยังต้องบอกว่าค้างคาใจของผมเป็นอย่างมาก...คำถามเหล่านั้นต่อมาเมื่อเราได้อบรมและลองเป็นผู้เขียนขึ้นผมจึงเข้าใจว่า....จิตใจผมอ่อนไหวไปกับสิ่งที่เพื่อนเล่า และอ่อนไหวต่อเรื่องราวตัวเองบรรยายออกมา ผมจึงอยากทำมากคือการลองประมวลความคิดเรื่องเรื่องเล่าทางการแพทย์ (หรือ Narrative medicine) สักครั้ง เป็นการทวนความคิดตนเอง...และสัญญาหากทำได้ (ทำได้นะครับจะทำการประมวลองค์ความรู้กระบวนการ Narrative medicine ออกมา) 

     และผมเองต้องบอกว่างานเข้ามาเยอะมากๆช่วงนี้ครับ จึงห่างหายไปพักใหญ่จาก G2K แห่งนี้แทบไม่ได้เข้ามาอ่านการทำงานของพี่ๆเพื่อนๆ แต่ต้องบอกว่ายังคิดถึงพี่ๆ ทุกท่านเสมอมานะครับ 

 

Narative medicine คืออะไร 

     Narrative medicine เป็นการใช้เทคนิคด้านการเล่าเรื่องราว การฟังและการซึมซับประสบการณ์และการรับรู้และชีวิตของผู้ป่วยแต่ละคนซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกัน นำมาประกอบในการเยียวยาและเข้าใจในตัวผู้ป่วยได้อย่างถ่องแท้มากยิ่งขึ้น คนไข้ต้องการแพทย์ หรือผู้รักษาที่เข้าใจในเรื่องโรคหรืออาการเจ็บป่วย รักษาอาการเจ็บป่วยนั้นด้วยความเป็นวิชาชีพ และสร้างสัมพันธภาพที่ดีด้วยการอยู่เคียงข้างและเข้าใจในตัวผู้ป่วยตลอดเวลาของช่วงเวลาที่เจ็บป่วยนั้น

  • ทักษะที่สำคัญของการใช้ Narrative medicine คือ การเข้าใจในเรื่องนั้นๆเป็นอย่างดี เช่นหากเป็นแพทย์พยาบาลต้องเข้าใจในอาการของโรค การรักษาพยาบาล มีทักษะการฟัง
  • ทักษะการซึมซับ  หรือการอ่านอย่างลึกซึ้งและเข้าใจ  การเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ป่วย และการมีความรักและเมตตากรุณา

ข้อมูลอ้างอิงจาก สรุปกระบวนการคิด Narrative medicine อาจารย์ดวงสมร  บุญผดุง ที่ปรึกษา สรพ. 

 

จากเรียนสู่การเรียนรู้...ตนเอง..เสียงข้างใน

     ทั้งนี้จากการถอดบทเรียนเล็กๆงานหนึ่งคือการถอดบทเรียนการทำงานของบุคลากรโครงการ SHA ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้กล่าวถึงเครื่องมือสำคัญหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานมาก นั่นคือ "Narrative medicine"  ผมลองยกมา 2 ตัวอย่างนะครับ  ผลงาน นพ.เดชา  แซ่หลี และผลงานแปลเรื่อง Imelda ของอาจารย์สกล 

"เมื่อศพห่อด้วยผ้าขาวแล้ว เราก็ช่วยกันกางธงชาติคลุมครูผู้ล่วงลับ

มองดูเหมือนมีพลังอย่างน่าประหลาด ธงชาติอันประกอบด้วยสีแดง ขาว น้ำเงิน

คล้ายจะรวมเอาจิตวิญญาณผู้กล้า ผู้เสียสละทั้งหมดไว้บนธงชาติผืนนี้

ช่างเป็นเกียรติและศักิด์ศรีของราชการผู้ล่วงลับ"  

นพ.เดชา  แซ่หลี  รพ.กะพ้อ  จ.ปัตตานี

 

หมอฟรานซิสซัสเป็นต้นแบบของศัลยแพทย์ในความรู้สึกของเราๆ สูงใหญ่ ดุดัน แข็งแรง และคมกริบในการเคลื่อนไหว รวมทั้งความพิถีพิถันในการแต่งเนื้อแต่งตัวด้วย ทุกวันจะใส่เสื้อกาวน์ยาวสีขาว ลงแป้งแข็งโป๊ก หนังสือประเภทเดียวที่ดูเหมือนหมอฟรานซิสซัสจะอ่านก็คือ หนังสือกายวิภาคของมนุษย์นั้นเอง สายตาของหมอฟรานซิสซัสจะเหมือนใน motto ของศัลยแพทย์ (Eagle's eye, Lion's heart, and Lady's hand ตาแหลมคมประดุจนกอินทรี หัวใจเข็มแข็งเด็ดขาดประดุจราชสีห์  มือเคลื่อนไหวอ่อนโยนละเอียดอ่อนดั่งกุลสตรี) หมอฟรานซิสซัสดูแลพิจารณาแผลทุกแผลอย่างละเอียดถี่ถ้วนที่สุด สามารถแยกแยะจำแนกมองเห็นการเริ่มหายของแผลได้ก่อนใครเพื่อน รวมทั้งร่องรอยที่แสดงว่าแผลอาจจะเริ่มมีปัญหาได้ก่อนใครๆ หมอฟรานซิสซัสบางทีจึงเสมือนโหราพยากรณ์นั่นทีเดียว ผู้รู้ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

จาก Letters to a Young Doctor: Imelda

การแปลอาจารย์สกล สิงหะ

      ผมค้นพบตวเองเล็กๆอย่างหนึ่งคือว่า  เรื่องทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องที่ทำให้เห็นกระบวนการทำงานคือการทำงานกับตัวตนและความรู้สึกข้างในของผมเอง...เพราะบางประโยคบางเรื่องนั้นไม่ต้องพูดมาก แต่มันพูดออกมาจากความรู้สึกและเป็นหนึ่งกับความคิดออกมาในการทำงานการออกแบบ....ประโยคหนึ่งอาจไม่สามารถเปลี่ยนโลกได้ทั้งหมด แต่เราก็สามารถเข้าใจตัวตนเราเองได้ และเชื่อไหมเมื่อท่านเข้าใจตนเอง ท่านจะสนใจผู้อื่นนั่นหมายถึงผู้ป่วย และเข้าใจผู้ป่วยมองข้ามไปมากกว่านั้นไม่มองเฉพาะเรื่องโรคคนเป็นเครื่องจักร แต่จะย้ายฐานการมองคนที่มีอารมร์และความรู้สึกมากยิ่งขั้นกระบวนการดังกล่าวยังทำให้ใส่ใจผู้ป่วยมากขึ้นพร้อมทั้งการเข้าใจ ไม่แปลกที่รูปแบบดังกล่าวจะนำมาซึ่งความผิดพลังทางการแพทย์ที่น้อยลงเนื่องมาจากใส่ใจและมองระบบด้วยความรักมากขึ้น..

 

Narrative medicine สู่การปรับระบบบริการและสร้างจิตสำนึกผู้ให้บริการ

          จากการถอดบทเรียนโครงการนั้น เครื่องมือหนึ่งในการนำมาปรับใช้และเกิดผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือ Narrative medicine ที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ทางการแพทย์พร้อมทั้งประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเยียวยาผู้ป่วยกระบวนการเหล่านั้นสร้างแรงบันดาลใจและเกิดการเปลี่ยนแปลงในโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายนำเรื่องเล่าและเรื่องราวต่างๆเพื่อมาเป็นการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มโรงพยาบาล 3 จังหวัด (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส)  ทั้งนี้จากการถอดบทเรียนนั้นแนวทางการนำมาใช้ในพื้นที่คือ How to narrative medicine

1)      involves  การทบทวนการประสานหาจุดเกี่ยวข้อง ประเด็นหลักของเรื่องที่จะเล่าทั้งนี้อาจจะมาจากการศึกษา ประสบการณ์โดยตรง (ประสบการณ์ทางการแพทย์) เป็นต้น

2)      Promotes สร้างการรับรู้นอกจากการเขียนเรื่องเล่ากระบวนการหนึ่งคือการสื่อสาร ให้เกิดการรับรู้เรื่องราวว่าพื้นที่ในการสื่อสารนั้นเป็นพื้นที่ปลอดภัย(safe space)  เรื่องกระบวนการเล่าเรื่องนั้น ทั้งในนี้กลุ่มโรงพยายาลได้มีการดำเนินการ จัดกลุ่ม CoP ในเรื่องเล่าเล่าทางการแพทย์ในโรงพยาบาล  หรือจุดจัดการประชุม KM ประจำสัปดาห์ กระบวนการดังกล่าวสามารถสร้าง inner ในกลุ่มคนทำงาน

3)      Exist is สร้างประเด็นร่วมกัน เพื่อกำหนดวาทกรรม (discourse) ผู้ป่วย ผู้ให้บริการ พร้อมทั้งสังคม เพื่อสร้างการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรื่องเล่าทางการแพทย์

4)      Includes developing กระบวนการพัฒนาจากเรื่องเล่าทางการแพทย์จะทำให้เกิดระบบความสัมพันธ์ใหม่ขึ้น ระหว่างทั้งตัวตนของตนเอง ตัวคนทำงาน และผู้ร่วมกับเรา ให้เกิดระบบการรับรู้พร้อมทั้งการเข้าใจกัน

5)      Enchases ดังนั้นกระบวนการการพัฒนายกระดับการทำงานจากเรื่องเล่าทางการแพทย์นั้น จะเกิดระบบความสัมพันธ์ที่เกี่ยวกับคนทำงาน ระบบงาน การปรับการทำงานที่เอื้อต่อผู้ป่วย พร้อมทั้งการมองการบูรณาการในการดูแลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

........................................

หมายเลขบันทึก: 554424เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 01:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 01:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

แน่นด้วยเนื้อสาระแห่งการเปลี่ยนแปลง

ขอบคุณเรื่องดีๆ

หมอสกล ท่านหายไปด้วย

ชอบเรื่องนี้มาก

อย่าหายไปนานนะครับ

หายไปนานเลยนะจ๊ะน้องลูกหมู ระลึกถึงอยู่เสมอจ้ะ

ป๋าครับขอบคุณมากครับป๋า ลืมไปเรื่อง Havesting อย่างไรแล้วจะส่งให้ป๋าด้วยนะครับผม คิดถึงเสมอครับ

อาจารย์ครับจะพยายามมาให้บ่อยขึ้นจัดเวลาเข้ามาเขียนบันมึกตัวเองให้มากขั้นครับอาจารย์ คิดถึงครับอาจารย์ขอบคุณครับ

สวัสดีครับพี่มะเดื่อนรำลึกถึงพี่และชาว G2K เสมอครับ ขอบคุณมากครับพี่..

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ขอบคุณมากครับน้อง

แค่อ่านข้อความของหมอเดชาแล้ว ถึงไม่ได้อยู่ร่วมตรงนั้น ยังรู้สึกถึงพลังที่ถ่ายทอดออกมา

แต่จะทำอย่างไร ให้เราสามารถใช้ narrative med ให้มีพลังอย่างนี้ในวงกว้าง ทั้งการเรียนการสอน และการบริการ

ในขณะเดียวกัน ก็ระวัง bias ที่เกิดจากเรื่องที่เรามักจะเลือกเล่าด้วยครับ

ขอโทษครับ ตอนนี้ผมสับสนระหว่างตัวเองกับ Pal2Know

พี่ ดร.ป๊อบคิดถึงเสมอครับดูแลตัวเองด้วยนะครับ ประโยคนี้เหมาะกับพี่ครับ "motto ของศัลยแพทย์ (Eagle's eye, Lion's heart, and Lady's hand ตาแหลมคมประดุจนกอินทรี หัวใจเข็มแข็งเด็ดขาดประดุจราชสีห์ มือเคลื่อนไหวอ่อนโยนละเอียดอ่อนดั่งกุลสตรี)" ทั้งเข้มแข้งและอ่อนโยน...สู้ครับพี่

เรียนอาจารย์ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่เข้ามาเยี่ยมชม ผมเองก็พึงระลึกถึงประเด็นอาจารย์พูดมาจริงๆ ในตอนนี้ Narrative med. บางส่วนมีการทำงานในกลุ่มโครงการ SHA สรพ.และการดำเนินงานในกลุ่ม สวสส.ๅที่ดำเนินการอยู่ครับ แต่ในวงกว้างผมเห็นพ้องกับอาจารย์ "บูรณาการเข้าไปใน รร.แพทย์ และ วิทพยาบาล " ๅไปด้วยน่าจะเป็นการดี

ส่วนหนึ่งการเล่าเรื่อง Narrative med. มักจะมาพร้อมกับผู้เขียนที่สรรเรื่องที่จะเล่าของเขา..ผมยังหาทางออกไม่ได้ ...แต่มุมหนึ่งที่เกิดการเล่าในกลุ่มที่กำลังทำอยู่คือการสะท้อนระบบบริการสุขภาพและสิ่งที่สรา้งแรงบันดาลใจทั้งลบและบวกออกมา แต่ทั้งหมดเองก็อาจบอกได้ว่าไม่สามารถรอบด้านได้ทั้งหมด..หากแต่กระบวนการดังกล่าวหากมองว่าเป็น "เครื่องมือในกระบวนการสร้างความเป็นมนุษย์ของผู้ให้บริการสาธารณสุข พร้อมทั้งกำหนดประเด็นใหญ่ในการเล่า" น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งครับอาจารย์

ขอบคุณครับอาจารย์

น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากค่ะ เป็นเรื่องเล่าเร้าพลังทีเดียวเลยค่ะ

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมนะครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท