รัตติยา เพชรน้อย


 

 บุคคลในข่าว คือ คุณรัตติยา เพชรน้อย นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี นอกจากจะทำงานควบคุมยาสูบแล้ว คุณรัตติยา ยังเป็นบุคคลสำคัญที่ดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ของ สสจ.สุราษฎร์ธานี อีกด้วย

ผลงานการวิจัย เรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกบุหรี่ของผู้เข้าคลินิกอดบุหรี่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี” ของคุณรัตติยา เพชรน้อย และคณะ (คุณสุภาภรณ์ ผิรังคะเปาระ, คุณอธิษฐ์ทิตา ทิพาพงศ์นาคิน, คุณสุพัศจี เดชทิพย์พรพงศ์ : [email protected]) ชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าคลินิกเลิกบุหรี่เชิงรับจะสามารถช่วยผู้เข้ารับบริการให้เลิกบุหรี่ได้ทันทีสูงถึงร้อยละ 70.5 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการให้บริการเชิงรุกแล้ว อัตราการเลิกบุหรี่ในช่วงสิ้นสุดโครงการ หลังสิ้นสุดโครงการ 3 เดือน 6 เดือน และ 12 เดือน ไม่มีความแตกต่างกันนัก แต่ผลการเลิกบุหรี่ในช่วง 1 ปีครึ่งนั้น โปรแกรมเชิงรุกให้ผลการเลิกสูบบุหรี่ได้มากกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ

การดำเนินการโปรแกรมการเลิกบุหรี่แต่ละลักษณะคลินิก ดังนี้คือ

1. คลินิกเชิงรุก ดำเนินการโดยจัดโปรแกรมให้ความรู้ภาคทฤษฎี และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการเลิกบุหรี่ โดยใช้ในสถานที่ในชุมชน / โรงเรียน / สถานที่ที่สามารถจัดประชุม ที่ชุมชนสามารถจัดให้ได้ ทั้งนี้ ได้ให้ความรู้และทำกิจกรรมการเลิกสูบบุหรี่เป็นระยะเวลา 3 วัน ติดต่อกัน ดังนี้คือ

วันที่ 1

- ตรวจสภาพร่างกายทั่วไป และประเมินระดับนิโคติน จำนวน 2 ชั่วโมง

- กิจกรรมกลุ่ม หลอมใจเป็นหนึ่ง จำนวน 1 ชั่วโมง

- ให้ความรู้เกี่ยวกับสารประกอบในบุหรี่ และการสูบบุหรี่กับปัญหาสุขภาพ ภาคทฤษฎี 2 ชั่วโมง

วันที่ 2

- กิจกรรมกลุ่มบำบัด / สันทนาการ 1 ชั่วโมง

- กิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ความรู้ โดยการจัดกิจกรรมฐานความรู้ 5 ฐาน คือ ฐาน “ปอดถูกตัดเพราะอัดบุหรี่” ฐาน “สารพิษในบุหรี่/พิษจากครัวบุหรี่มือสอง” ฐาน “ทักษะการปฏิเสธ” ฐานทดสอบสมรรถภาพปอด และฐานสุขภาพดีเมื่อเลิกบุหรี่ได้ 3 ชั่วโมง

- กิจกรรมคลายเครียดและสันทนาการ 1 ชั่วโมง

- ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษ พิษ – ภัย บุหรี่ วิธีจัดการกับอาการอยากบุหรี่ 1 ชั่วโมง

- ให้ความรู้เรื่องหลุมพรางหรือกับดักนักสูบบุหรี่หลีกเลี่ยงเพลี่ยงพล้ำ 1 ชั่วโมง

วันที่ 3

- กิจกรรมกลุ่มบำบัด / สันทนาการ 1 ชั่วโมง

- ให้ความรู้เรื่องแนวทางและขั้นตอนในการเลิกบุหรี่ และการป้องกัน/ทักษะการกลับไปเสพซ้ำ 2 ชั่วโมง

- กิจกรรมวาดภาพรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ 1 ชั่วโมง

- จัดกิจกรรมกลุ่มในเรื่องเครือข่ายไร้ควัน สานรัก สานศรัทธาและกิจกรรมใจประสานใจ 3 ชั่วโมง

2. คลินิกเชิงรับ ดำเนินการโดยให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่ที่โรงพยาบาล โดยใช้ระยะเวลา 3 วัน (วันที่ 1 ที่มารับบริการคลินิกเลิกบุหรี่ และหลังจากนั้น คือ วันที่ 3 และวันที่ 7)   วันละ 1 ชั่วโมง โดยมีกิจกรรมและให้คำปรึกษาในเรื่อง ดังนี้คือ

- ตรวจสภาพร่างกายทั่วไป และประเมินระดับนิโคติน (ในวันแรกที่มา)

- ให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่ในเรื่อง

1. ความรู้เกี่ยวกันสารประกอบในบุหรี่

2. พิษจากครัวบุหรี่มือสอง

3. การสูบบุหรี่กับปัญหาสุขภาพ

4. แนวทางและขั้นตอนในการเลิกบุหรี่

5. วิธีจัดการกับอาการอยากบุหรี่

ในการให้คำปรึกษาดังกล่าวจะใช้การสนทนา ประกอบกับคู่มือความรู้ / เอกสารความรู้ แบบประเมินความรู้ก่อนและหลัง และสื่อวีดีทัศน์ประกอบ

ข่าวเผยแพร่ของศจย.   ข่าวเผยแพร์บนเวบไซด์สสส.

สรุปข่าวบนสื่อหนังสือพิมพ์และออนไลน์

 ข่าวที่ปรากฏบนอินเทอร์เนต ผู้จัดการออนไลน์ ข่าวสด posttoday  ประชาชาติ ธุรกิจ ออนไลน์

 ท่านใดมีประสบการณ์ ร่วมแรกเปลี่ยน เรื่องคลินิกเลิกบุหรี่เชิงรับ กับเชิงรุก ขอเชิญเล่าสู่กันฟังบ้างค่ะ

 โดย ศจย.

หมายเลขบันทึก: 554205เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2013 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2013 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท