Phishing ภัยร้ายในโลกยุคอินเทอร์เน็ต


ฟิชชิ่ง เกมตกปลาในโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าเจออีเมล์ที่ไม่คุ้นเคย หรือให้ Click links ไปยังเว็บไซต์อื่นให้ระวังหรือลบทิ้งเสีย

            

             ฟิชชิ่ง (Phishing)  หรือเกมตกปลา แต่มิใช่เกมตกปลาตามสระเลี้ยงปลา หรือตามห้วยหนอง คลองบึง  แต่เป็นเกมตกปลาในโลกอินเทอร์เน็ต   ซึ่งนับได้ว่าเป็นอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อีกประเภทหนึ่ง                                                                                                                                                                            วิธีการนั้นทำโดยการปลอมแปลงอีเมล์ (Email Spoofing) แล้วส่งอีเมล์ไปยังเหยื่อ (อีเมล์นี้มักจะมี Click links อยู่ด้วย)  อีเมล์นั้นมักทำให้คล้ายกับเป็นขององค์กรขนาดใหญ่ที่น่าเชื่อถือส่งมาให้ เท่าที่เป็นปัญหาส่วนมากมักมาในรูปของสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร  และในขณะเดียวกันก็ทำการสร้างเว็บไซต์ปลอมขึ้นมาหน้าตาเหมือนกับเว็บไซต์ธนาคารเพื่อรองรับเมื่อเหยื่อทำการ Click links เข้ามา ทำให้เหยื่อหรือผู้รับอีเมล์หลงเชื่อและเปิดเผยข้อมูลต่างๆทางด้านการเงิน เช่น หมายเลขบัตรเครดิต ชื่อบัญชีผู้ใช้ (Username) รหัสผ่าน (Password)  และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นมากในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เป็นต้น               อีกรูปแบบหนึ่งของการทำฟิชชิ่งก็คือ เว็บไซต์ ที่เชิญให้สมัครขอกรีนการ์ด เข้าเป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกา ซึ่งการสมัครจะต้องกรอกข้อมูลบางส่วน อาจเป็นหมายเลขบัตรเครดิต เพื่อจ่ายค่าธรรมเนียม มีผู้ที่ต้องการเป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกา ตกเป็นเหยื่อฟิชชิ่งนี้ออยู่มากพอสมควร          

                   วิธีป้องกันเบื้องต้น สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เมื่อได้รับอีเมล์ ควรสังเกตุข้อความในอีเมล์ที่มีวัตถุประสงค์ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล อาจเป็นให้ทำรายการเชื่อมโยงกับเว็บไซด์อื่นๆ(Click links) แล้วให้กรอกข้อมูลต่างๆ ตามที่ผู้กระทำฟิชชิ่งต้องการให้กรอก  ดังนั้น ถ้าเจออีเมล์ที่ไม่คุ้นเคย หรือให้ Click links ไปยังเว็บไซต์อื่นให้ระวังหรือลบทิ้งเสีย           ฟิชชิ่งนั้นจะมีอายุสั้นโดยเฉพาะที่มี URL ลิงก์ในอีเมล์เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ลวงของฟิชชิ่ง อายุอาจจะมีอยู่เพียง ไม่เกิน ๕๒ ชั่วโมง หรืออาจนานสุดราว ๕ วัน  เนื่องจากไม่ต้องการให้ถูกตรวจพบหรือสังเกตได้โดยง่าย เป็นการหลีกเลี่ยงการติดตาม 

                 ตัวอย่างฟิชชิ่ง  ในรูปแบบมัลแวร์ เช่น  BANCOS  เป็นสปายแวร์โทรจัน ฝังตัวนอนรออยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเหยื่อเข้าออนไลน์ใช้บริการออนไลน์ สปายแวร์ก็จะเข้าขโมยข้อมูลออกมาทันที         

                                                   BROPIA  ซึ่งแพร่ระบาดทางบริการสนทนาออนไลน์ ด้วยวิธีการลิงก์ไปยังบัญชีรายชื่อเพื่อนๆของเหยื่อ    พร้อมกับลวงว่าลิงก์ที่ให้มานี้เป็นเว็บไซต์ลามก ถ้าเหยื่อลิงก์เข้าไปและทำตามที่ฟิชชิ่งระบุให้ทำก็ถือได้ว่าติดเบ็ดของผู้ทำฟิชชิ่งเรียบร้อยแล้ว ผู้ตกเป็นเหยื่อของฟิชชิ่งมักเป็นรายบุคคล        

                 กฎหมายของไทยที่นำมาปรับใช้ในขณะนี้  คือ ประมวลกฎหมายอาญา  เพราะว่าการทำฟิชชิ่งนั้นมีลักษณะอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาอยู่ด้วย   ในขณะที่กฎหมายอีกฉบับหนึ่งคือร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ....  (ซึ่งขณะนี้ยังมิได้ออกมาใช้บังคับ)   มีบทบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาปรับกับกรณีนี้ได้โดยตรง    เพราะการทำฟิชชิ่งเป็นการลวงด้วยการทำให้เชื่อว่าอีเมล์ที่เหยื่อได้รับนั้นเป็นของผู้อื่น(เช่น สถาบันการเงิน)  และการลวงนั้นทำให้เหยื่อต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งผู้ทำฟิชชิ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่เหยื่อได้  อันเป็นความผิดตามบทบัญญัติของร่างพระราชบัญญัตินี้                

    

 แหล่งข้อมูลอ้างอิง

        ๑.  What's phishing? How to be safe? (December ๒๐, ๒๐๐๔)  

      http://inhome.rediff.com/money/2004/dec/20spec.htm                         

            

            ๒.  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ....     

                

                     http://www.krisdika.go.th/pdfPage.jsp?type=news&newsID=265

           

         ๓.  ทีมข่าวการเงิน, โพสต์ TODAY, บทความ-บทวิเคราะห์ : ฟิชชิ่ง...เกมตกปลา 

               ที่คุณกลายเป็นเหยื่อ,วันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๔๘, หน้า B

คำสำคัญ (Tags): #เทคโนโลยี
หมายเลขบันทึก: 55376เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2006 03:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตอนอยู่ต่างประเทศเคยเจอคล้ายๆกันนี้ค่ะ คือทำงานอยู่แล้วมีข้อความป๊อปอัพขึ้นว่า ได้รับรางวัลเป็นตั๋วเครื่องบินให้โทรฟรีไปเบอร์...

ลองโทรเล่นๆ เจอคำถามแบบถ่วงเวลาและให้เราเข้าไปเว็บของเขาคลิกตรงนั้นตรงนี้ ตอนนั้นก็ยอมรับว่าอยากรู้วิธีการของพวกนี้ และอยากแกล้งเขาด้วย เลยโยกโย้ และให้ข้อมูลไม่ถูก

วิธีของพวกนี้คือตอนแรกๆจะเป็นเสียงคนพูดแบบอ่อนหวานชักชวนให้บอกข้อมูล พอทำท่าเหมือนติดเบ็ดก็จะหว่านล้อมถามชื่อ บ้านเลขที่ เบอร์เครดิตการ์ด พอเขาเช็คว่าเราให้ข้อมูลไม่ตรงก็จะเริ่มเดามาเลยว่า รู้นะว่าคุณใช้เครดิตการ์ดเริ่มต้นด้วยตัวนี้ๆๆ เปลี่ยนคนมาพูดหลายคน คนหลังๆจะเสียงเข้มขึ้นว่า ถ้าไม่บอกเบอร์ในนาทีนี้ จะยกเลิกรางวัล เข้าใจว่าระหว่างที่เราโทรไปและเปิดเข้าเว็บเขา คลิกตรงนั้นตรงนี้ คงมี spy เข้ามาเช็ดหาข้อมูลจากเครื่องคอมของเรา พอดีตอนนั้นใช้เครื่องของสาธารณะค่ะ

วิธีการเขาจะชวนเชื่อและชวนทำตาม ต้องระวังให้ดีค่ะ

มาติดตามอ่านงานค่ะ

    ชอบเล่น    ฟิชชิ่ง (Phishing)  หรือเกมตกปลา เหมือนกันค่ะ (ตอนที่เคลียดๆค่ะ)

แล้วพวกที่ให้สมัครกรีนการ์ดเป็นแบบนี้ด้วยรึเปล่าคะ เพราะมีส่งมาให้บ่อยมาก เอ๊ะ รึว่าเราหน้าตาอินเตอร์ ฮิฮิ
เรื่องของไอทีเป็นอะไรที่ตามไม่ค่อยจะทันเลย ขนาดพี่เป็นนักอบรมคอมพิวเตอร์ของกระทรวงฯ ตัวยงแล้วนะ ยังตามไม่ค่อยจะทันเพราะพัฒนาเร็วเหลือเกิน(โดนเจ้านายว่าจะอบรมจนเป็นผู้เชี่ยวชาญเลยหรือไง) ในบางครั้งยังรู้สึกว่าพลาดและทำไม่ได้อีกแล้ว
อ่านแล้วครับ น่าสนใจ เมื่อไหร่ประเทศเราจะมีกฎหมายที่คุ้มครองผู้ใช้บริการอินเติร์เน็ตครบถ้วนซักที
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท