หลักการดูพระกรุโบราณ เนื้อดินดิบ


จากการศีกษาทั้งทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และพงศาวดาร ที่อ้างอิงถึงการสร้างพระดินดิบเพื่อการบรรจุกรุนั้น
มีเหตุมาจากความเชื่อของคน ที่นับถือ "พระพุทธรูป" จึงพยายามที่จะ "ไม่เผา" รูปเหมือนหรือ รูปสมมติของ พระพุทธเจ้า
ที่มีข้อยกเว้นในกรณีของ พระกรุพระธาตุนาดูน กับพระตรกูลลำพูน สมัยประมาณ 1300 ปี หรือก่อนหน้านั้น ที่เป็นดินเผา และหินเผา ตามลำดับ
นอกนั้นในสมัยต่อๆมา พบแต่ พระดินดิบ เท่านั้น

คำว่า ดินดิบ จึงเป็นคำที่ใช้เรียก "พระเนื้อดิน" ส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย

ที่มีปัจจัยสำคัญแบ่งแยกคือระดับความร้อนที่ใช้นั้น สูงพอ หรือไม่ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของแร่
ถ้าเปลี่ยนก็ถือว่า "ผ่านการเผาด้วยความร้อนจน สุก" ระดับหนึ่ง ที่ควรเรียกว่า "ดินเผา" หรือ "หินเผา" แล้วแต่กรณี

ที่จะมีความแห้งในเนื้ออย่างแน่นอน

แต่ถ้าความร้อนยังไม่พอที่จะเปลี่ยนโครงสร้างในเนื้อดินและหินแล้ว ก็ถือว่า "ยังดิบ" และถือว่าเป็น "ดินดิบ" หรือ "หินดิบ" ก็แล้วแต่กรณี

ที่จะยังมีความฉ่ำในเนื้ออยู่เช่นเดิม หรือเกือบเท่าเดิม

ที่เป็นจุดสำคัญในการแยกพระดินดิบ ออกจากดินเผา

และจากการค้นคว้าทางวิชาการ พบว่า เทคนิคการสร้างพระดินดิบมาตั้งแต่พันกว่าปีมาแล้ว และยังใช้มาจนถีงสมัยปัจจุบัน คือ

จะมีการนำดินเหนียวเนื้อละเอียด มาผสมกับน้ำมันที่ได้จากพืชที่เรียกว่า "น้ำว่าน"

นำมานวดจนเข้ากันอย่างดี ปั้นให้เข้ารูป และนำไปกดพิมพ์พระ บนแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้

เสร็จแล้วก็นำไปชุบยางไม้ ที่เรียกว่า "น้ำหมาก" รักษาผิวพระ และทำให้เนื้อดินเซทตัว

อาจจะนำไปอบไอร้อน หรืออังไฟ ก็แล้วแต่กรณี ทำให้เนื้อพระแห้งและคงทน

แล้วจึงนำไปบรรจุกรุ

ภาพที่เห็นนี้ คือ พระดินดิบสมัยลพบุรี 

ที่จะเห็นคราบน้ำหมาก (สีเทาๆเหลืองๆ) หุ้มพระอยู่ด้านนอก และมีดินดิบ (สีส้มๆ) ผสมน้ำว่านอยู่ด้านใน

และคราบน้ำว่านก็มักจะซึมออกมาที่ผิวเป็นเม็ดๆ หรือขุยๆ ตามช่องว่างของคราบน้ำหมาก

นี่คือลักษณะของพระดินดิบสมัยโบราณครับ

ถ้าเป็นของที่ทำเลียนแบบนั้น เดิมจะทำด้วยดินเผาแต่งผิว ที่จะดูได้ง่ายมาก เพราะเนื้อจะแห้ง คราบหยาบๆ และพิมพ์จะผิดเพี้ยน

แต่ในสมัยหลังๆ มีการใช้สารสังเตราะห์เช่น เรซิน หรือผงพลาสติกอัด แต่งผิว ที่จะดูมีเนื้อฉ่ำๆ คล้ายเนื้อดินดิบ แต่จะไม่มีชั้นคราบต่างๆ ไม่มีคราบน้ำหมาก และคราบกรุ ส่วนใหญ่จะใช้สีทาแฉะๆ เยิ้มๆ ดูไม่เก่า

ที่แตกต่างจากชั้นต่างๆ ดังเช่นในภาพตัวอย่างข้างบนนี้

หมายเลขบันทึก: 553095เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท