สกุลตลา เทวี ที่ ไอสไตล์ บอกว่าเธอคิดเลขเร็วกว่าไอสไตน์ เธอทำได้ไง


สุทธิชัย หยุ่น  เขียนไว้ครับ

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=574687

Osho  นักปราชญ์ชาวอินเดียเป็นผู้เขียน  เรื่องมีอยู่ว่า ...

ในอินเดียมีสุภาพสตรีผู้หนึ่งชื่อว่า  สกุนตลา  เธอได้เดินทางไป
รอบโลกและได้เยือนมหาวิทยาลัยแทบทุกมหาวิทยาลัย  เพื่อสาธิตการใช้ปัญญาญาณของเธอ  เธอมีการศึกษาแค่ระดับมัธยมปลาย  และเธอก็ไม่ใช่นักคณิตศาสตร์  

 

ในช่วงที่  อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  ยังมีชีวิตอยู่นั้น  เธอได้เคยเข้าไป

สาธิตเรื่องนี้ต่อหน้าของเขา  ด้วยการนั่งอยู่หน้ากระดานดำในมือถือชอล์กอยู่ให้คนตั้งโจทย์อะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์  บางครั้งขณะที่ยังถามไม่ทันเสร็จ  เธอก็เริ่มเขียนคำตอบลงบนกระดานดำแล้ว

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  ได้มอบวุฒิบัตรให้กับเธอ  และเธอก็เคย
โชว์วุฒิบัตรนี้ต่อข้าพเจ้า ( Osho - ผู้เขียน)  เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าเดินทางไปยังเมืองมัทดราส ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอ  เธอได้นำวุฒิบัตรมากมายมาให้  ข้าพเจ้าดู  และหนึ่งใบนั้น ก็คือใบที่ไอน์สไตน์เขียนไว้ว่า

"ข้าพเจ้าได้ให้สุภาพสตรีท่านนี้แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ซึ่ง
โดยปกติแล้ว  ข้าพเจ้าจะต้องใช้เวลาถึง ๓ ชั่วโมงในการแก้ปัญหาตามกรรมวิธี ตามขั้นตอน  สำหรับผู้ที่ไม่เคยแก้ปัญหาทำนองนี้ อาจต้องใช้เวลาถึง ๖ ชั่วโมง  มีวิธีทำที่ยาวจนต้องเขียนเต็มกระดาน  ไม่มีทางที่จะกระโดดข้ามขั้นตอนเข้าไปหาคำตอบได้เลย ..." 

แต่แล้วไอน์สไตน์ก็ต้องแปลกใจเป็นอย่างยิ่ง  เพราะขณะที่เขา
เขียนโจทย์ยังไม่ทันจะเสร็จ  สกุนตลาก็เริ่มเขียนคำตอบลงบนกระดานแล้วไอน์สไตน์งงมากและคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้

เขาถามเธอว่า "คุณทำได้อย่างไร ?  สกุนตลา ตอบว่า  "ไม่รู้
เหมือนกันว่าฉันทำได้อย่างไร  มันเป็นสิ่งที่อยู่ดี ๆ ก็ผุดขึ้นมา  พอคุณตั้งโจทย์ ตัวเลขต่าง ๆ ก็ปรากฏแก่ฉัน  ฉันเห็นเลขต่าง ๆ เต็มไปหมด  ฉันก็ได้แต่เพียงแค่เขียนตามมันไปเรื่อย ๆ  เท่านั้น"

สุภาพสตรีผู้นี้เกิดมาพร้อมกับปัญญาญาณที่ทำงานอยู่ในตัว
ของเธอ  (ปัญญาญาณ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Intuition"  หรือภาษาไทยว่า "การรู้แบบปิ๊งแว้บ" - ผู้เขียน)

แต่ช่างเป็นเรื่องที่น่าเศร้าเหลือเกิน ที่เธอทำหน้าที่เป็นเพียงแค่
ผู้ที่สาธิตเรื่องดังกล่าวเท่านั้น  ไม่มีใครสนใจว่า  ผู้ที่มีปัญญาญาณระดับนี้สามารถเข้าถึงสภาวะแห่งการรู้แจ้งได้ง่ายมาก  ไม่มีใครตระหนักในเรื่องนั้นทุกคนมัวแต่ไปให้ความสนใจในประเด็นที่เห็นว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาดของธรรมชาติมากกว่า

    (สรุปว่า  สกุนตลาสามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้รวดเร็ว
มาก สามารถให้คำตอบได้ทันที  เร็วกว่าไอน์สไตน์ ซึ่งปกติไอน์สไตน์จะต้องใช้เวลาแก้ปัญหาถึง ๓ ชั่วโมง จึงเป็นผู้ที่เก่งกว่า - ผู้เขียน)

 

"เวท" แปลว่า ความรู้  และ "คณิต" แปลว่า คำนวณ "เวทคณิต"
แปลว่า  ความรู้แห่งการคำนวณ   เป็นคัมภีร์โบราณในการคิดเลขเร็วของอินเดีย  ประกอบด้วยสูตร ๑๖ สูตรที่เกี่ยวกับการ บวก ลบ คูณ หาร  และนิขิลัมสูตร  อันเป็นสูตรการแปลงจำนวนซึ่งประกอบด้วยเลขโดดหลายตัวที่มีค่าเกินกว่า ๕  ให้เขียนอยู่ในรูปซึ่งมีเลขโดดที่มีค่าไม่เกิน ๕  จะทำให้การคำนวณง่ายขึ้น 

เวทคณิต เป็นสาขาหนึ่งของอถรรพเวท ซึ่งเป็นหนึ่งในพระเวท
ทั้ง ๔  ได้แก่  ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และอถรรพเวท

ท่านมหาริชีโยคี  (MAHARISHI  MAHESH  YOGI)  ได้เก็บ
รวบรวมนัยสำคัญของความรู้เวทศาสตร์โบราณไว้ได้อย่างสมบูรณ์  ทั้ง
ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  และได้รวบรวมขึ้นเป็นรูปแบบของวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์            

ศาสตราจารย์  K. William แห่งกรุงลอนดอน  นอกจากจะทำ
เวทคณิตไปเป็นเครื่องมือการคำนวณในวิชาแคลคูลัสแล้ว  ยังได้กล่าวว่า
"ผมเห็นศักยภาพอย่างไม่มีขีดจำกัดในเวทคณิต"

ดร. R. Briggs  แห่งโครงการอวกาศนาซา แคลิฟอร์เนีย  เมื่อนำ
เวทคณิตไปสอนให้คอมพิวเตอร์คำนวณ ในโครงการอวกาศองค์การนาซาแล้ว  ก็อดจะกล่าวไม่ได้ว่า  "เป็นเรื่องที่ยั่วยวนใจจริง ๆ  นักคิดชาวอินเดียเสมือนดั่งนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ โปรดอย่าลืมว่าในความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ของชาวอินเดียนั้น  สิ่งหนึ่งคือ  การคิดค้นเลข ๐ และตัวเลขระบบฐาน ๒ ก่อนหน้าชาวยุโรป ถึง  ๑,๐๐๐  ปี"

SSG  (SPIRITUAL STUDY GROUPS)   ทำวิจัยในการเรียน
เวทคณิตแล้วพบว่า  "ฝึกฝนเวทคณิต  ๒ ชั่วโมงต่อวัน  เป็นเวลา ๑๑ เดือนมีความรู้เทียบเท่าศึกษาคณิตศาสตร์หลักสูตรธรรมดาเป็นเวลา  ๑๒ ปี" SSG  ทำนายไว้ว่า  "ถ้าเวทคณิตนำไปใช้สอนทุกโรงเรียนในประเทศใด คอมพิวเตอร์จะพัฒนาอย่างรวดเร็วในประเทศนั้น"

(ตัวแดงนี้คือแรงจูงใจที่นำมาเสนอไว้ให้อ่่านกัน อาจสร้างแรงบันดาลใจให้บางท่านได้บ้างครับ)
บทสรุป

การที่สกุนตลา  มีความสามารถเป็นเลิศในทางคณิตศาสตร์นั้น
เห็นว่าได้ใช้วิชาอย่างน้อย  ๒ วิชาด้วยกัน  ได้แก่  เวทคณิต  (VEDIC MATHEMATICS)   และปัญญาญาณ  (INTUITION) หรือความรู้แบบปิ๊งแว้บ  ซึ่งทั้ง  ๒ วิชานี้  ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันในประเทศไทยนัก  ควรที่จะได้หันมาสนใจวิชาโลกตะวันออกให้มากขึ้น  และพัฒนาเพื่อเป็นรากฐานในการนำไปใช้พัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของไทยให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 552556เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2013 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2013 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท