การเรียนรู้เชิงประสบการณ์


การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ หรือ “การออกแบบงาน” นั้นให้ยึดหลักว่าควรให้ครบทั้ง 4 องค์ประกอบจึงจะเป็นการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ สามารถหมุนเวียนองค์ประกอบได้

          แนวคิดเรื่องการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนสร้างความรู้จากประสบการณ์เดิม การได้อภิปรายถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การสร้างความรู้โดยผู้เรียน และการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำความรู้ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ในสถานการณ์ที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน การเรียนรู้เชิงประสบการณ์มีองค์ประกอบ 4 ประการ ดังนี้

          1. ประสบการณ์ (Experience) เป็นการนำเอาประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมของผู้เรียนมาเชื่อมโยงหรืออธิบายประสบการณ์หรือเหตุการณ์ใหม่ แล้วนำไปสู่การขบคิดเพื่อเกิดข้อสรุปใหม่หรือองค์ความรู้ใหม่
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยองค์ประกอบนี้ ก็คือการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ดึงเอาประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้เรียนออกมาแลกเปลี่ยนระหว่างกัน เท่ากับเป็นการรวบรวมมวลประสบการณ์ที่หลากหลายจากแต่ละคนเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ร่วมกัน
กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ เป็นไปได้ 2 ลักษณะ คือ การตั้งคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่มาจากประสบการณ์ที่หลากหลายของผู้เรียน และ การจัดประสบการณ์ที่จำเป็น ให้แก่ผู้เรียนเพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิด

          2. การสะท้อนความคิดและอภิปราย (Reflection and Discussion) เป็นองค์ประกอบของหรือขั้นตอนของการคิด, วิเคราะห์, สังเคราะห์มวลประสบการณ์ ข้อมูล หรือข่าวสารต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ชัดเจนในประเด็นต่างๆ
การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในองค์ประกอบนี้ก็คือ การกำหนดประเด็นให้ผู้เรียนได้คิด, ได้สะท้อนความคิด หรือเล่าความคิดเห็นของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้, และได้อภิปรายและเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันให้ลึกซึ้งพอที่จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน หรือ เกิดข้อสรุป หรือ เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

          3. ความคิดรอบยอด (Conceptualizations) เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้เกิดความเข้าใจหรือเกิดความคิดรวบยอดในเนื้อหาความรู้ แนวคิด หรือ ข้อสรุปต่างๆ
การออกแบบกิจกรรมที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด อาจมาจากหลายๆ ทาง เช่น จากการฟังบรรยายของผู้สอน, การได้ดูเทปวิดิทัศน์, การอ่านจากเอกสาร ตำรา, การสะท้อนความคิดและอภิปรายในกลุ่ม ฯลฯ เป็นต้น

          4. การทดลอง หรือ ประยุกต์แนวคิด (Experimentation/Application) เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้ทดลองนำความคิดรวบยอด หรือข้อสรุปที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้ในชีวิตจริง การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนประยุกต์แนวคิด เช่น การทำแผนภูมิ แผนภาพ การเขียนโครงงาน การเขียนคำขวัญ การจัดนิทรรศการ ฯ

หมายเลขบันทึก: 5519เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2005 00:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีเนื้อหาดีแต่ควรมีมากกว่านี้

 

เรียนคุณชายขอบ  ครูอ้อยอ่านดูแล้ว  คล้ายๆแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MATHS  เลยนะคะ

4MATHS จะเชื่อมโยงการใช้สมองซีกซ้ายและขวา

จำได้และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการโดยใช้วิชาภาษาไทยเป็นศูนย์

แต่ไม่ได้นำไปใช้เพราะจัดตารางสอนไม่ได้  และไม่สะดวกที่แจงเวลาสอนให้เท่าเทียมกันค่ะ

ดีมากนะคะ  เหมาะสมกับนักเรียนในวัยมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา  นักเรียนประถมศึกษา  ยังเป็นวัยที่เล็กมาก  ยังไม่เหมาะสมค่ะ

ขอบคุณ  โชคดี  Take Care ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท