ตั้งใจที่จะเอามาเผยแพร่ ถึงวิธีคิดที่ปรับเปลี่ยนไปตามสภาพข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ เมื่อท่านมีชัย ฤชุพันธ์ และคณะ มีโอกาสท่านก็นำมาใช้โดยไม่ลังเล!
ท่านที่เคยยกร่างกฎหมายคงจะเคยมีประสบการณ์ถกเถียงกันว่า คำว่า “อำนาจหน้าที่” และ “อำนาจและหน้าที่” ในกฎหมายต่างกันหรือไม่ และใช้ในกรณีใด กรรมการกฤษฎีกาท่านหนึ่งอธิบายว่า “อำนาจหน้าที่” หมายถึงทั้งอำนาจหน้าที่ปะปนกันอยู่ คือ เมื่อมีอำนาจแล้วก็มีหน้าที่ด้วย ส่วนคำว่า “อำนาจและหน้าที่” เป็นกรณีที่กฎหมายมาตรานั้นต้องการที่จะแยกให้เห็นอำนาจหน้าที่ออกจากกัน ส่วนใดเป็นอำนาจบ้าง ส่วนใดเป็นหน้าที่บ้าง
เมื่อเร็วๆ นี้ท่านมีชัย ฤชุพันธ์ และคณะ ท่านได้ตรวจพิจารณาร่างกฎหมายฉบับหนึ่ง (ร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ....) ท่านก็เสนอว่า น่าจะใช้คำว่า “หน้าที่และอำนาจ” แทน ท่านอธิบายว่า เวลาเราเขียนอำนาจหน้าที่คนจะยึดติดแต่อำนาจ อยู่ๆ ทำไมกฎหมายจึงสร้างอำนาจให้กับคนคนหนึ่งให้มีอำนาจเหนือคนอีกคนหนึ่ง คำตอบก็คือว่าเพราะมันจะมีหน้าที่ ก็จำเป็นต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือ จึงให้เครื่องมือไปทำ แต่ว่าในทางปฏิบัติเมื่อเราเขียนคนมักจะเอาเครื่องมือไปยึดเป็นหลักใหญ่ แล้วจะทำหน้าที่หรือไม่ทำไม่รู้ ฉันมีอำนาจ มันก็ทำให้เกิดความไขว้เขวในสังคม แล้วก็เกิดความเดือดร้อนกันมากในที่สุด ก็เลยคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเราเปลี่ยนใหม่ เพื่อเตือนสติให้รู้ว่าคุณมีหน้าที่แล้วจึงมีอำนาจนะ ถ้าเมื่อไหร่คุณไม่ได้ทำหน้าที่นั้น อำนาจนั้นคุณก็จะไม่มี เพื่อจะเปลี่ยนวิธีคิดของคนใหม่ ก็เลยลองเปลี่ยนดู
ที่มา:
คุยกับ ดร. มีชัย ฤชุพันธุ์ มือปั้นร่างธรรมนูญสุขภาพ ในกฤษฎีกา,
เวทีปฏิรูป สิ่งพิมพ์เผยแพร่ของสำนักงานปฏิรูปสุขภาพแห่งชาติ (สปรส)
ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๔๑ มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘, หน้า ๓.
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ชายขอบ ใน ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน
คำสำคัญ (Tags)#พฤติกรรม#สุขภาพ#การมีส่วนร่วม#สุขภาพชุมชน#วิจัยและพัฒนา#ความเป็นธรรม
หมายเลขบันทึก: 5516, เขียน: 18 Oct 2005 @ 00:09 (), แก้ไข: 19 Mar 2015 @ 08:30 (), สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ, อ่าน: คลิก
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก