๑๙๕. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการ "ร่าง พรบ.ระเบียบการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ...."


ความคิดเห็นเกี่ยวกับการ "ร่าง พรบ.ระเบียบการบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ...."

        จากที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมโครงการประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาระบบงานบริหารทรัพยากรบุคคล ปขมท. หัวข้อ "ร่าง พรบ.ระเบียบการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ...." เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กทม. นั้น

      ในการเข้าร่วมในครั้งนี้ ผู้เขียนได้ทำการบ้านไปตั้งแต่แรกแล้ว...โดยการอ่านทวนไปทวนมาหลายรอบอยู่...มองเห็นถึงความไม่น่าจะเป็นไปได้ใน พรบ.ฉบับนี้...ในความเห็นสำหรับวันนั้น พวกเราเครือข่ายพัฒนาระบบงานบริหารทรัพยากรบุคคล ปขมท. ถกกันเรียงรายมาตรา ซึ่งมีทั้งหมด ๙๙ มาตรา (เลขสวยสะด้วย คริ ๆ ๆ)...

      สำหรับผู้เขียนเองทำงานด้านบุคคลมานาน...เห็นถึงและเข้าใจการบริหารงานบุคคลตั้งแต่เริ่มต้นของการเป็นข้าราชการ นับจากทำงานด้านนี้มานานเกือบ ๓๐ ปี...ถึงแม้จะไม่ใช่ลูกหม้อของ มรภ. ที่แท้จริง...แต่สมัยก่อนก็ใช้กฎหมายเหมือน ๆ กับส่วนราชการกระทรวงศึกษาอื่นเช่นกัน...จึงทำให้ผู้เขียนทราบในความเป็นมาเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล...

      จากร่างดังกล่าว...ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการที่จะนำบุคลากรทั้งหมด เช่น ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวมารวมกัน สาเหตุเป็นเพราะว่า...ข้าราชการก็จะมีกฎหมายเกี่ยวกับบุคคลเฉพาะตัวอยู่แล้ว ส่วนพนักงานราชการก็เช่นกัน ส่วนพนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างชั่วคราวนั้น ก็คงอยู่ที่สภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกประกาศบังคับใช้...

      ในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติ คิดว่า ถ้านำไปรวมแล้ว ปัญหาตามมาเกิดขึ้นแน่นอน...และก็คราวนี้ล่ะ...ใครกันล่ะที่เดือดร้อน ไม่ใช่งานบุคคลรึ? ที่จะต้องมานั่งแก้ปัญหา...ตามที่ พรบ.ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พรบ.ม.ราชภัฏ จะนิ่งไม่นิ่ง ก็มีการยุบรวมกลุ่มข้าราชการจากซีเข้าสู่กลุ่มประเภท พอจะนิ่งไม่นิ่ง...มีร่างนี้เข้ามาอีก...ทำให้การทำงานด้านบุคคลมีปัญหามากมาย ผู้เขียนจึงไม่เห็นด้วยกับร่างฉบับนี้...ความจริงแล้วถ้าจะร่างก็ร่างให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยกลุ่มเดียวเท่านั้น เพราะในเนื้อของร่าง มีแต่การเรียกร้องผลประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งปรากฎอยู่ในร่าง...ส่วนข้าราชการก็ยังคงเดิม...แล้วทำไมต้องนำข้าราชการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย...เพราะการบริหารงานบุคคลของข้าราชการเขาก็มีดีและเป็นระบบอยู่แล้ว...ยกเว้นของพนักงานมหาวิทยาลัยเท่านั้นเอง

      ที่ ณ ปัจจุบัน มีการเรียนร้องค่าจ้างกันเพิ่มขึ้นตามมติ ครม. จากฐานเงินเดือนของข้าราชการ...ในความจริงก็ต้องโทษภาครัฐ ในตอนแรกแจ้งมาว่าให้พนักงานมหาวิทยาลัยรับเงินค่าจ้าง ๑.๗,๑.๕ กัน แต่พอเงินเดือนของข้าราชการปรับฐานขึ้น พนักงานมหาวิทยาลัยก็ต้องปรับตาม...แต่อนิจจา!!! ภาครัฐ (สำนักงบประมาณ) ไม่มีเงินมาจ่ายให้ตามความเป็นจริง เช่นปัจจุบัน เทียบกันง่าย ๆ ว่า ข้าราชการบรรจุได้รับเงินเดือน ๑๐,๐๐๐ บาท พนักงานมหาวิทยาลัยจะได้รับ ๑.๗,๑.๕ บางมหาวิทยาลัยก็ให้ ๑.๕,๑.๓ ตามแต่ ม.จะนำไปบริหาร...

      ผู้เขียนเห็นตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อเกือบ ๑๐ ปี แล้วว่า ภาครัฐทำแบบนี้ ต้องมีปัญหาแน่นอน...และแล้วมันก็เป็นจริงตามที่ผู้เขียนคิดไว้ไม่มีผิด...ปัญหากำลังเกิดขึ้น เพราะตอนนี้ ภาครัฐกระจายอำนาจให้กับมหาวิทยาลัยบริหารจัดการกันเอง...ม.ที่เข้มแข็งก็ออกนอกระบบ มีแต่ มรภ. ม.เทคโนโลยีราชมงคล ที่เพิ่งเกิดมาเมื่อปี ๒๕๔๗ และ ม.ใหญ่บางแห่งก็ยังไม่ออกนอกระบบ...

      การออกนอกระบบนั้นในความคิดของผู้เขียนมีความคิดว่า...ม.ที่จะออกนอกระบบไปเป็น ม. ในกำกับนั้น ต้องมีผู้บริหารที่บริหารงานเก่งมาก ๆ คิดทั้งระบบ เหมือนกับบริษัทที่มีความคล่องตัวในเชิงบริหาร...จะทำให้ ม. มีคุณภาพและผลกำไรก็จะตามมา...

      การร่าง พรบ.นี้...จะดึง ม.ในกำกับกลับเข้ามาอีก ซึ่งในความคิดเห็นของผู้เขียน ๆ คิดว่า เวลาที่ผ่านไปเกือบ ๑๐ ปีนี้ คำว่า "สถาบันอุดมศึกษา" ในแต่ละแห่งเราเดินมาไกลแล้ว ไกลเกินกว่าที่จะหันไปรวมกันเป็น พรบ.ใหม่นี้ได้...ถ้ารวมกันจริง ๆ นั่นหมายความว่า...ม. ทุก ม. ต้องออกนอกระบบไปเป็น ม. ในกำกับทุก ม. จึงจะทำได้...และข้าราชการก็ต้องโอนไปเป็นพนักงาน ม. กันให้หมด ลูกจ้างก็เช่นกัน...จึงจะทำเป็นร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ แต่นี่!!! มันไม่สามารถที่จะทำได้...โดยเฉพาะหางานให้กับฝ่ายบุคคลของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก...

      ในความจริงแล้ว...จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนทำงานด้านบุคคลมาเกือบ ๓๐ ปี เห็นว่า ไม่ควรดึงข้าราชการเข้ามาร่วมในคำนิยามนี้ด้วย ควรปล่อยให้หมดไปเองในอีกไม่ถึง ๒๐ ปีข้างหน้านี้...แต่ถ้าจะทำในครั้งนี้ ก็ควรเป็นการทำร่าง พรบ.ของ พ.ม.ฉบับที่ ๓ เป็นการเฉพาะ...

      ในการทำงานของมหาวิทยาลัยในเรื่องบริหารงานบุคคล ถ้าทุกฝ่ายมีความเข้าใจในเรื่องการบริหารงานบุคคลแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่า...จะไม่เกิดเรื่องในด้านการบริหารงานบุคคล แต่นี่ เป็นเพราะความไม่รู้ ไม่เข้าใจในเรื่องการบริหารงานบุคคลกันมากกว่า จึงทำให้เกิดร่างฉบับนี้ขึ้น

      ร่างฉบับนี้ ถ้าพูดกันแล้วจะพูดถึงเรื่องค่าจ้าง สิทธิ สวัสดิการกันเสียเป็นส่วนใหญ่...แต่ทุกคนลืม!!! กับเรื่องเดิม ๆ ที่ภาครัฐต้องการให้มี พ.ม. นี้เพื่ออะไร?

      ...เพื่อลดปัญหาในการจ่ายเงินค่าบำเหน็จ บำนาญ เช่นเดียวกับข้าราชการ แต่ในร่างก็พยายามจะให้มี

      ...ในร่างเพื่อเรียกร้องค่าจ้าง สิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ ซึ่งเดิมภาครัฐต้องการลดในจุดนี้ออกไป จึงให้การจ้างเป็น ๑.๗,๑.๕ แต่ก็ไม่สามารถให้ได้จริงตามที่มติ ครม.อนุมัติ ปล่อยให้เป็นภาระของมหาวิทยาลัยในแต่ละแห่งรับผิดชอบไป...

     ...การเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ นั้น แล้วยอมได้หรือไม่...ถ้าจะรับเงินเดือนในครั้งเมื่อบรรจุกันเพียง ๑ เท่า ๆ นั้น เช่นเดียวกับข้าราชการ...อย่าลืม!!! ในข้อนี้ไป...

     ...มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง เดินมาไกลมากแล้ว...ถ้าคิดจะทำ...ทำไม? ไม่ทำและวางแผนกันเสียตั้งแต่ก่อนที่ พรบ. ปี ๒๕๔๗ จะออกมาบังคับใช้...

      ในทางที่ถูกนั้น ภาครัฐต้องหันมาแก้ไขปัญหานี้ให้กับมหาวิทยาลัยแล้วว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป...ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหาเรื้อรังไปแบบนี้เรื่อยไป คนที่ทำงานหนักก็คือ งานฝ่ายบุคคล ซึ่งจะต้อง ปะ ฉะ ดะ กับบุคลากรของมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่ควรให้เกิดขึ้น...

       แต่ถ้าทุกคนเข้าใจความหมายของพนักงาน ม. ตั้งแต่แรกแล้วว่า ภาครัฐต้องการให้เป็นเพื่ออะไร? ก็น่าจะเข้าใจ และไม่ควรให้เกิดการเรียกร้องแบบนี้...อีกอย่างการที่ผู้บริหารในแต่ละที่ให้ข้อมูลที่ไม่จริงต่อพนักงาน ม. เช่นว่า พนักงาน ม. มีแทนข้าราชการ เป็นข้าราชการพันธุ์ใหม่ ซึ่งความจริงก็คือ อัตราข้าราชการจะหมดไป เนื่องจากภาครัฐไม่ต้องการโอบอุ้มให้ได้รับสวัสดิการ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เงินบำเหน็จ บำนาญ นี่ต่างหากที่ภาครัฐต้องการให้ข้าราชการหมดไป และให้มีอัตราพนักงานมหาวิทยาลัยเข้ามาแทน...ดังนั้นเมื่อมีพนักงานมหาวิทยาลัย นั่นก็คือ "ระบบสัญญาจ้าง" ไม่ใช่มีการเรียกร้อง "ความมั่นคง" กันเช่นทุกวันนี้ (ถ้าทุกคนมีความเข้าใจ) ไม่ว่าเป็นข้าราชการหรือพนักงานมหาวิทยาลัยก็ต้องมีระบบประเมินที่ชัดเจน...และยอมรับในกฎ กติกา...ไม่ใช่ทำเพื่อเรื่องผลประโยชน์ของตนเอง...

       บางคนจะแคร์กับคำว่า "สัญญาจ้าง" ว่าไม่มั่นคง ผู้เขียนคิดว่า ไม่ว่าข้าราชการหรือพนักงาน ม. ถ้าไม่ทำงาน เกเร ใคร ๆ เขาก็ไม่จ้างทั้งนั้นแหล่ะ!!! ขึ้นอยู่กับทุก ๆ ฝ่ายใน มหาวิทยาลัยที่จะต้องช่วยกันบริหารงานบุคคลให้เป็นไปอย่างเกิดคุณธรรม ไม่เป็นระบบพรรคพวกอย่างเช่นทุกวันนี้...

       นี่เป็น...ส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ปัญหาในการบริหารทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัย ซึ่งความคิดของผู้เขียนต้องการเห็นถึงการทำงานที่มุ่งถึง "การพัฒนามหาวิทยาลัย" กันอย่างจริงจังมากกว่าที่เป็นกันในทุกวันนี้...สงสารประเทศชาติกันบ้างเถอะค่ะ...แม้ว่าในอนาคต ผู้เขียนก็มีลูก หลาน เข้ามาทำงานเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ก็ไม่ต้องการที่จะเห็นพวกเขามาเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ อย่างเช่นทุกวันนี้...มีใครบ้างที่มีความคิดเห็นอย่างเช่น ผู้เขียน ซึ่งเป็นข้าราชการที่มองถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน...

        ผู้เขียนก็เข้าใจอีกนั่นแหล่ะ!! ว่า...มนุษย์ทุกคนก็ต้องการความมั่นคง...แต่คำนิยามคำว่า "พนักงานมหาวิทยาลัย" ที่ภาครัฐวางไว้ในตอนแรกมันเป็นแบบนี้ ทุกคนก็ควรยอมรับความจริง เช่น ระบบพนักงานราชการ  

 

หมายเลขบันทึก: 551866เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2013 23:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2013 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขึ้นเงินเดือนในกระดาษ แต่ไม่มีเงินจ่าย ... ตั้งแต่รัฐบาลไหนแล้วหนอ ;)...

ม.ของอาจารย์ทำแบบนั้นรึ? อาจารย์ Was...

บางครั้งต้องเข้าใจในกระบวนการของการจัดสรรเงินของสำนักงบประมาณด้วยค่ะว่า...

สำนักงบฯ จัดสรรเงินให้หมวดเงินอุดหนุน คือ ของพนักงานมหาวิทยาลัยก่อนที่จะบริหารจัดการ

พอเกิดปัญหาเรื่องการเพิ่มเงินเดือนของข้าราชการให้...

ก็ทำให้สำนักงบประมาณไม่มีให้เพราะปีนั้น ได้จัดสรรให้ไปแล้ว...

นี่คือ ปัญหาใหญ่ จึงทำให้เป็นปัญหาในการปฏิบัติของงานแผน + งานบุคคล ไงค่ะ...

ปัจจุบัน สกอ. กำลังรวบรวมภาระค่าใช้จ่ายนี้เป็นเงินก้อนโต

แต่ก็แล้วแต่ ม.ใดจะบริหารจัดการหรือช่วยไปก่อนก็ให้ทำไป...

ม.ใดทำไม่ได้ก็ให้รอ...จึงทำให้ทุก ม. ได้เงินไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความพร้อม

ของแต่ละ ม.ค่ะ...เหตุการณ์นี้ เริ่มตั้งแต่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ เป็นต้นมา...

และในทางปฏิบัติ ก็จะพันกันมาทุก ๆ รอบของการเลื่อนเงินเดือนค่ะ...

บาง ม. ที่ไม่ได้จ่าย อาจมีปัญหาข้างในในด้านเชิงบริหารจัดการของ ม.นั้นเองค่ะ...

ให้ดูข้อมูลดี ๆ...ขอบคุณคร้า...:)...

  ตามมาอ่านความรู้ใหม่ นะคะ  ขอบคุณค่ะ

เห็นด้วยกับ ผอ. นะคะเรื่องร่าง พรบ. ระเบียบที่จะรวมทุกประเภทไว้ในระเบียบเดียวกัน ดูไม่ค่อยเหมาะสมและไม่จำเป็น

 

 

ขอเรียนถามว่าเงินเดือนของอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (เรียกอีกอย่างว่า พนักงานราชการใช้ไหมคะ ?) ซึ่งมีสัญญาจ้างที่ให้ 1.7 เท่าของเงินเดือนข้าราชการนั้น เป็น เพดานหรือเป็นอัตราตายตัว

ถ้าเป็นเพดาน พนักงานก็ควรได้รับการอธิบายว่าจะจ่ายเท่าใดขึ้นอยู่กับความสามารถหรือกระเป๋าของมหาวิทยาลัย ที่ใดรวยหารายได้ได้มากก็สามารถจ่ายได้สูงกว่า และสามารถแข่งขันหรือดึงดูดอาจารย์ที่มีคุณภาพได้ดีกว่า ส่วนตัวของพนักงานก็มีสิทธิ์ที่จะไปยังที่ที่ให้เงินเดือนสูงกว่าได้อยู่แล้ว

แต่ปัญหาที่พบในขั้นตอนการของบประมาณก็คือทางมหาวิทยาลัยตั้งที่ขอที่อัตรา 1.7 คูณด้วยจำนวนพนักงาน ในความเป็นจริงอาจจ้างไว้ด้วยจำนวนที่มากกว่าแล้วก็มาเกลี่ยจ่าย รวมทั้งตัดยอดมาจ่ายเป็นสวัสดิการ ทำให้เงินเดือนที่จ่ายแทนที่จะเป็น 1.7 เท่าก็เป็นจ่ายต่ำกว่า ดังที่ปรากฏ ซึ่งพนักงานมักจะไม่ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยสามารถมาบริหารจัดการได้ และรวมตัวกันเรียกร้อง การบริหารควรปิดจุดอ่อนตรงนี้ด้วยการประกาศชัดเจนว่าจ่ายเท่าไร มีสวัสดิการใดบ้าง ส่วนเงินงบประมาณคิดอย่างไรนั้นเป็นเรื่องของมหาวิทยาลัย ไม่จำเป็นต้องทราบ ผู้ที่จะสมัครเข้ามาทำงานก็ต้องพิจารณาว่าจะต้องการหรือไม่ วันหนึ่งถ้าไม่พอใจก็สามารถไปสมัครที่อื่นได้ ซึ่งในอนาคตถ้าจะดึงดูดอาจารย์ที่เก่งและดีไว้ก็คงต้องแข่งขันกันด้วยเงินเดือนเหมือนประเทศอื่น ๆ

หรือว่าเขามีเจตนาที่ให้ทุกระบบเป็นระบบเดียวกัน เงินเดือนบัญชีเดียวกัน สวัสดิการเดียวกัน ถ้าเป็นเช่นนั้นคง happy กันถ้วนหน้า ข้าราชการเงินเดือนสูงขึ้นเท่าพนักงาน พนักงานได้สวัสดิการและความมั่นคงเท่าข้าราชการ รัฐบาลก็ต้องหาเงินกันหน้าเขียวและแบกรับภาระเรื่องบำเหน็จบำนาญเหมือนเดิม ก็ทำได้นะถ้าเศรษฐกิจดีขึ้นมาก ๆ

ผลกรทบทำให้อาจารย์ในภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจและกลุ่มลูกจ้างรวมทั้งประชาชนที่ไม่อยู่ในระบบใดก็ต้องเรียกร้องการดูแลจากรัฐบาลเช่นกัน คิดแล้วกลุ้มแทนรัฐบาล

ขอบคุณค่ะ ดร.กัลยา...

พนักงานมหาวิทยาลัยกับพนักงานราชการไม่ใช่ประเภทเดียวกันนะคะ แยกกันค่ะ เป็นคนละประเภท บุคลากรภาครัฐแยกเป็นประเภทค่ะ เช่น ประเภทข้าราชการ ประเภทลูกจ้างประจำ ประเภทพนักงานราชการ และประเภทพนักงานมหาวิทยาลัยค่ะ...

และเป็นไปตามความคิดที่อาจารย์เขียนนั่นแหล่ะคร้า :)...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท