โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน GE_05 : ขั้นที่ 3 "กระบวนการหลักวิชา" เรียนรู้พัฒนาจากผู้ทรงคุณวุฒิ


วันที่ 8 ตุลาคม 2556  CADL จัดเวทีวิพากษ์ร่างหลักสูตรท้องถิ่นพืชสมุนไพรในชุมชน โรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ ซึ่งได้ดำเนินการมาตามบันทึกที่   และ    กลุ่มเป้าหมายในเวทีนี้คือ ผู้บริหาร ผู้รู้ และครูผู้ใช้หลักสูตร

ผู้รู้ในที่นี้ คือ

  • รศ.ดร.ประสาท เนืองเฉลิม ผู้เชี่่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน  
  • อาจารย์ ดร.วิลาวัลย์ พร้อมพรม อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มมส. ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชสมุนไพร
  • อาจารย์จิตรลดา คำคง อาจารย์สาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์ ท่านจะมาช่วยเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร
ผมเองไม่ได้เชี่่ยวชาญใดๆ ผมโชคดีตรงที่ได้เรียนรู้จากครูเหล่านี้อยู่บ่อยๆ   อย่างไรก็ตาม ผมก็ภูมิใจว่าผมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ของแนวคิดครู ที่จะเปลี่ยนจากหลักสูตรเน้นเนื้อหา เน้นวิชา มาเป็นหลักสูตร "เน้นกระบวนการ"   ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดระหว่างหลักสูตรทั้งสองแบบนี้คือ แบบแรกเน้นว่าเด็กจะต้องรู้อะไรในหน่วยการเรียนรู้นั้น ส่วนแบบหลังเน้นว่า ใครจะต้องมีบทบาทอย่างไรในหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ   ตัวอย่างการออกแบบการเรียนรู้ใน 15 สัปห์ดา แสดงในตารางนี้ครับ  หัวใจสำคัญของการสร้งหลักสูตรแบบนี้คือ ครูและทุกคนที่เกี่ยวข้องต้องทำเองอย่างมีส่วนร่วม.. (จึงไม่นำฉบับเต็มมาให้)
 
 
 
 



ท่านคิดว่าไงครับ

 





 

 

 

 




ดูรูปทั้งหมดที่นี่ครับ

หมายเลขบันทึก: 551642เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2013 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 ตุลาคม 2013 11:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตอนจัดนิทรรศการ

ลองให้ครู ชาวบ้าน ช่วยสะท้อนการนำเสนอและการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียน ครู และชุมชนด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท