โครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน GE_02 : ขั้นที่ 1 สร้างความเข้าใจอย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้เห็นความสำคัญ


วันที่ 3 กรกฎาคม 2556 CADL อยู่ที่โรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ เราจัดเวที 1 สร้างความเข้าใจ เพื่อหวังทุกคนที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นได้พืชสมุนไพรในชุมชนโรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ ต.เขวาใหญ่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ดูข้อมูลโรงเรียนได้ที่นี่ (บันทึกนี้ต่อจากบันทึกที่ ๑ ที่นี่)

ผู้อำนวยการโรงเรียน ผอ.สำรวย ทินพิษ เป็นผู้ประสานงานติดต่อปราชญ์ชาวบ้าน กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมเวทีเสวนากันที่ใต้ถุนอาคารเรียน ดูจากจำนวนที่มาเข้าร่วม และจากบรรยายการของการจัดเสวนาที่สนุกสนานเป็นกันเอง สะท้อนการันตีว่า ที่นี่ ผอ. เข้มแข็งด้านความสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานภายนอก...

 

 




การประชุมเสวนา "โสเหร่" วันนี้ผู้มาร่วม 40 คน เป็นผู้บริหาร ครูแกนนำ (ครูทั้งหมด 16 คน) ประธานกรรมการสถานศึกษา (นายสนอง ใจภักดี (เสื้อแขนยาวสีฟ้า ด้านขวามือ)) ผู้นำชุมชน และตัวแทนปราชญ์ชาวบ้านกว่า 20 คน (จาก 19 หมู่บ้านใน ต.เขวาใหญ่) การเสวนาเป็นไปอย่างสนุกสนานประสานความคิดและประสบการณ์ สะท้อนว่าทุกท่านมาแบบมี "จิตอาสา" จริงๆ.... 

ประเด็นเริ่มต้นสำคัญคือ การทำความเข้าและรู้จัก "ตนเอง" บริบทของโรงเรียนเขวาใหญ่พิทยาสรรค์ ที่ทำให้กลายมาเป็น "หลักสูตรพืชสมุนไพร" มีเด่นๆ ดังนี้ครับ

  • มีจำนวนปราชญ์ผู้รู้เรื่องสมุนไพรจำนวนมากจริงๆ ครับ... โดยเฉพาะพ่อใหญ่ในโรงเรียน ท่าน ผอ.สำรวย
  • มีดอนปู่ตา ป่าสารพันธุ์พืชสมุนไพรในโรงเรียน... ผมประมาณจากที่ได้ร่วมสำรวจร่วมตรวจด้วยว่า น่าจะไม่ต่ำกว่า 10 ไร่
  • ผู้นำชุมชนและโรงเรียนเห็นตรงกันว่าจุดเด่นของเขาคือ "พืชสมุนไพร"...รู้ตนบริบท รู้ตนเองชัด และอยากจะร่วมจัดการความรู้พืชสมุนไพรร่วมกัน..

ประเด็นต่อมาคือ เริ่มประชาสัมพันธ์กึ่งบรรยายว่า ปัญหาการศึกษาของลูกหลานเราและบทบาทของพวกเขาที่ควรจะภูมิใจในสิ่งที่พ่อแม่ปู่ย่าส่งต่อภูมิปัญญามาให้  สิ่งสำคัญคือต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้เขาสร้างและต่อยอดองค์ความรู้สมุไพร รวมทั้งการนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วยตนเอง...

ประเด็นถัดมาคือการร่วมกันออกแบบการจัดกิจกรรมวัน "ปฏิบัติเชิงสาธิตกระบวนการ" และ "ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปสมุนไพรในโรงเรียน" คำว่า "กระบวนการ" หมายถึง "กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน" แสดงดังแผนภาพ


 สรุปประเด็นการจัดงานได้ดังนี้ครับ

  • ผู้เข้าร่วมงานประมาณ 300 คน ประกอบด้วย 
    • นักเรียน 140 คน (ทั้งโรงเรียน) 
    • ครู 16 คน
    • ผู้นำชุมชนและปราชญ์ชาวบ้านประมาณ 50 คน
    • คณาจารย์วิทยากรจากคณะแพทย์ศาสตร์สาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์ 7 ท่าน 
    • นิสิตคณะแพทย์แผนไทยประยุกต์ 20 คน 
    • ทีมงาน CADL จากสำนักศึกษาทั่วไป 10 คน 
  • แบ่งกลุ่มให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ใหญ่ในชุมชนได้สอนและถ่ายทอดความรู้ เสริมสร้างความภาคภูมิใจทั้งสองฝ่าย
  • กิจกรรมหลัก
    • ทีม CADL ลงเตรียมพื้นที่ก่อนถึงวันงาน เตรียม site งานสำหรับการเดินสำรวจ จัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ 
    • เช้าลงทะเบียนรับป้ายชื่อที่ระบุชื่อกลุ่ม พิธีเปิดโดยผู้บริหารสำนักศึกษาทั่วไปก่อน 
    • ผมนำ BAR และชี้แจง "กระบวนการเรียนรู้" และกิจกรรต่างๆ อีกครั้งก่อนเดินสำรวจเป็นกลุ่ม (ขั้นสำรวจและสืบค้น)
    • กลับมารวบรวมข้อมูลของตนเอง จัดทำ Mind Map ของกลุ่ม และนำเสนอ (ขั้นวิเคราะห์ตีความและสร้างสื่อสร้างสรรค์ และได้นำเสนอแบบง่ายๆ)
    • พักรับประทานอาหารร่วมกัน โดยกำหนดให้ แต่ละหมู่บ้านจัดเตรียมอาหารที่ทำจากพืชสมุนไพรมากินร่วมกัน (ไม่ซ้ำเมนูกัน)
    • ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการทำครีมจากเสลดพังพอน และการทำลูกประคบจากสมุนไพรที่ชุมชนแต่ละหมู่บ้านเตรียมมา
    • AAR
    • ปิดงาน จบหนึ่งวันครับตั้งแต่ 8:30 ถึง 16:00 น.

 เป็นอันชัดเจนว่าเรารู้ว่าเราจะทำอะไรร่วมกันต่อไป ....

หมายเลขบันทึก: 551241เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2013 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2013 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท