เมื่่อผู้เขียน..ไปเป็นนักเรียนใหม่??


      วันนี้ผู้เขียนเล่าเรื่อง วิธีการทำบายศรีชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลบ้านลาด ได้จัด โครงการ สอนทำบายศรีให้กับผู้สูงอายุ .... ผู้เขียนได้โอกาสได้เรียนรู้ร่วมกับผู้สูงอายุ  โดยการทำบายศรี มีการเตรียมและมีขั้นตอนดังนี้ค่ะ

 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำบายศรี
การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เป็นการเตรียมการที่ดี สามารถดำเนินงานได้ด้วยความเรียบร้อยรวดเร็วซึ่งมีอุปกรณ์ที่ควรจะต้องเตรียมไว้ดังต่อไปนี้
1. ใบตอง (ควรให้ใบตองกล้วยตานี)
2. พานแว่นฟ้า ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ผูกติดกันไว้ด้วยลวด และรองพื้นพานด้วยโฟม
3. ภาชนะปากกว้างสำหรับใส่น้ำแช่ใบตอง 2 ใบ
4. สารส้ม
5. น้ำมันมะกอก ชนิดสีเหลือง หรือขาว
6. ไม้ปลายแหลม (ขนาดไม้เสียบลูกชิ้น) ประมาณ 20-30 อัน
7. ดอกไม้ (ดอกพุด ดอกดาวเรือง ดอกบานไม่รู้โรย ฯลฯ)
8. กรรไกร สำหรับตัดใบตอง
9. ลวดเย็บกระดาษ

การเลือก และ การทำความสะอาดใบตอง
ใบตองที่นำมาใช้สำหรับทำบายศรี มักนิยมใช้ใบตองจากกล้วยตานี เนื่องจากเป็นใบตองที่มีลักษณะเป็นเงา มันวาว เมื่อโดนน้ำจะยิ่งเกิดประกายสีเขียวเข้มสวยงามยิ่งขึ้น และที่สำคัญ ใบตองจากกล้วยตานี มีความคงทน ไม่แตกง่าย ไม่เหี่ยวง่าย สามารถนำมาพับม้วนเป็นรูปลักษณะต่างๆได้ง่าย และสามารถเก็บไว้ได้นานหลายวัน หรือถ้ารักษาโดยหมั่นพรมน้ำบ่อยๆ ใบตองกล้วยตานี จะสามารถคงทนอยู่ได้นานเป็นสัปดาห์ทีเดียว  เมื่อได้ใบตองกล้วยตานีมาแล้ว จะต้องนำมาทำความสะอาดก่อน ด้วยการเช็ด โดยใช้ผ้านุ่มๆ เช็ดฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่างๆออกจากใบตองเสียก่อน โดยการเช็ด จะต้องใช้ผ้าเช็ดตามรอยของเส้นใบไปในทางเดียว อย่าเช็ดกลับไปกลับมา หรืออย่าเช็ดขวางเส้นใบเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ใบตองเสียหาย มีรอยแตก และช้ำ ทำให้ไม่สามารถนำใบตองมาใช้งานได้เต็มที่เมื่อเช็ดสะอาดดีแล้ว ก็ให้พับพอหลวมๆ เรียงซ้อนกันไว้ให้เป็นระเบียบ เพื่อรอนำมาใช้งานในขั้นตอนต่อไป
การฉีกใบตองเพื่อเตรีมทำกรวยบายศรีใบตองที่ได้ทำความสะอาดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หยิบมาทีละใบ แล้วนำมาฉีกเพื่อเตรียมไว้สำหรับม้วนหรือพับ ทำกรวยบายศรี
การพับหรือฉีกใบตอง แบ่งเป็นสามประเภทคือ
1. ใบตองสำหรับทำกรวยแม่ ฉีกกว้างประมาณ 2 นิ้วฟุต
2. ใบตองสำหรับทำกรวยลูก ฉีกกว้างประมาณ 2 นิ้วฟุต
3. ใบตองสำหรับห่อ ฉีกกว้างประมาณ 1.5 นิ้วฟุต
ใบตองแต่ละประเภท ควรฉีกเตรียมไว้ให้ได้จำนวนที่ต้องการ กล่าวคือ ถ้าทำพานบายศรี 3 ชั้น ชั้นละ 4 ทิศ ( 4 ริ้ว )

 

การพับกรวย และห่อกรวย

       การพับหรือห่อกรวย หมายถึงการนำใบตองที่ฉีกเตรียมไว้แล้วสำหรับพับกรวย มาพับ โดยการพับกรวยแม่และกรวยลูกจะมีลักษณะวิธีการพับเหมือนกัน คือ การนำใบตองมาพับม้วนให้เป็นกรวยปลายแหลม เพียงแต่กรวยลูกจะมีการนำดอกพุด มาวางเสียบไว้ที่ส่วนยอดปลายแหลมของกรวยด้วย เมื่อพับหรือม้วนใบตองเป็นกรวยเสร็จในแต่ละกรวยแล้ว ให้นำลวดเย็บกระดาษ มาเย็บใบตองไว้เพื่อป้องกันใบตองคลายตัวออกจากกัน แล้วเก็บกรวยแต่ละประเภทไว้จนครบจำนวนที่ต้องการเมื่อได้กรวยแต่ละประเภทครบตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ก็นำกรวยที่ได้มาห่อ โดยการนำใบตองที่ฉีกเตรียมไว้สำหรับห่อมาห่อกรวย หรือเรียกอีกอย่างว่า ห่มผ้า หรือ แต่งตัวให้กรวยบายศรี  การห่อริ้วบายศรี คือการนำกรวยแม่ และ กรวยลูกที่ได้ห่อกรวยไว้เรียบร้อยแล้ว มาห่อมัดรวมเข้าไว้ด้วยกัน ที่นิยมทำกัน ใน 1 ริ้ว จะประกอบด้วย กรวยแม่ 1 กรวย กรวยลูก 9 กรวย



วิธีการห่อริ้ว มีการห่อคล้ายกับการห่อกรวยแม่หรือกรวยลูก
แต่จะแบ่งวิธีตามลักษณะงานที่ได้เป็น 2 วิธี คือ

      1. ห่อแบบตรง คือการห่อโดยเริ่มต้นจากกรวยแม่ แล้ววางกรวยลูกไว้ด้านบนกรวยแม่เป็นชั้นๆทับกันขึ้นมา หรือหันกรวยลูกเข้าหาตัวผู้ห่อ การห่อแบบนี้ จะได้ริ้วบายศรีค่อนข้างตรง และในช่วงตัวริ้ว จะมีรอยหยักของใบตองห่อเรียกว่า มีเกล็ด
      2. ห่อแบบหวาน คือการห่อ โดยเริ่มต้นจากกรวยแม่ แต่วางกรวยลูกไว้ด้านล่างของกรวยแม่ และวางซ้อนลงด้านล่างลงไปจนครบ หรือหันกรวยแม่เข้าหาตัวผู้ห่อ โดยวางกรวยลูกลงด้านล่างจนครบนั่นเอง การห่อแบบนี้ จะได้ริ้วบายศรีเป็นลักษณะอ่อนช้อย งอน อ่อนหวาน

    เมื่อห่อริ้วจนเสร็จในแต่ละริ้วแล้ว จึงนำริ้วที่ได้ลงแช่ในน้ำผสมสารส้มที่เตรียมไว้ประมาณ 20 นาที เพื่อให้ใบตองเข้ารูปทรง อยู่ตัวตามที่ได้พับและห่อ จากนั้น จึงนำไปแช่ในน้ำผสมน้ำมันมะกอกต่อไป เพื่อให้ริ้วมีความเป็นมันวาว เน้นสีเขียวเข้มของใบตองมากขึ้น และมีกลิ่นหอมในตัวเอง


การประกอบพานบายศรี

การประกอบพานบายศรี ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการทำบายศรี คือการนำริ้วที่ทำเสร็จแล้วและแช่ในน้ำผสมน้ำมันมะกอกแล้ว มาประกอบเข้ากับพานบายศรี 3 ชั้นที่ได้เตรียมไว้
การน้ำริ้ว มาประกอบกับพาน ควรเริ่มต้นจากพานใหญ่สุด หรือพานที่วางอยู่ชั้นล่างสุดก่อน โดยการวางให้ริ้วอยู่บนพานให้มีระยะห่างเท่าๆกัน 4 ริ้ว ( 4 ทิศ ) ซึ่งจะยึดริ้วติดกับพานโดยใช้ไม้ปลายแหลมที่เตรียมไว้แล้ว มากลัด หรือเสียบจากด้านบนของริ้วให้ทะลุไปยึดติดกับโฟมที่รองไว้บนพื้นพาน การประกอบริ้วกับพานชั้นกลาง และชั้นบนสุด ก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่จะต้องให้ริ้วชั้นที่ 2 วางสลับกับริ้วชั้นแรก และริ้วบนพานชั้นบนสุด ก็ให้สลับกับริ้วบนพานชั้นกลางการประกอบริ้วกับพานชั้นบนสุด ให้ห่อใบตองเป็นกรวยขนาดใหญ่พอควรวางไว้เป็นแกนกลางของพาน เมื่อวางริ้วทั้ง 4 ริ้วเสร็จแล้ว ให้รวบปลายสุดของริ้วทั้ง 4 เข้าหากัน โดยมีกรวยที่ทำเป็นแกนกลางอยู่ด้านใน แล้วนำใบตองม้วนเป็นกรวยขนาดใหญ่อีกกรวย มาครอบทับยอดทั้ง 4 ของริ้วไว้ ซึ่งจะทำให้พานบายศรีที่ได้ มียอดแหลมที่สวยงามและมั่นคง ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ด้านล่างนะคะ

https://sites.google.com/site/baysri00/home/phithikrrm-keiyw-kab-baysri/withi-kar-tha-baysri

 

 

สรุปได้ว่า ..... การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด.....ผู้เขียนคิดว่า มีอีกหลายสิ่งหลายอย่าง ... ที่ผู้เขียน....ยังไม่มีความรู้และยังไม่รู้นะคะ ..... ดังนั้นผู้เขียนต้องทำตัวเป็น น้ำที่ไม่เต็มแก้ว..น้ำครึ่งแก้ว อยู่เสมอๆ น่าจะดีนะคะ  .... เพราะมันจะทำให้ผู้เขียน....มีโอกาสได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกันการเรียนทำ บายศรี ทำให้ผู้เขียน

        - มีสมาธิ

        - มีความสุข

        - ได้วิชาความรู้

        - ได้ร่วมกิจกรรมกับผู้สูงอายุ

        - มีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ และ....

        - ได้บายศรี....ไปถวายพระพุทธรูปที่บ้าน 1 ชิ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณมากที่ให้เกียรติอ่านบทความนี้ค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 550878เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2013 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ตุลาคม 2013 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ใส่กระโปรงสั้น นั่งถนัดหรือค่ะ ยังเก่งนะคะที่นั่งได้...สำหรับพี่เองถ้านั่งหงายเก๋งแล้วคร้า...คริ ๆ ๆ ความรู้เรียนไม่จบสิ้นจริง ๆ นะคะ

ได้ความความรู้ ดูอบอุ่นและกันเอง ใกล้ชิดชุมชน

น่ารักดีค่ะ

 

ได้ประโยชน์ ได้ความสุข จากภาพที่เห็นและรอยยิ้มครับ

น่าสนใจมาก

ที่โรงพยาบาลหรือครับ

เป็นบายศรีชามใช่ไหมครับ

ขอบคุณพี่เปิ้นมากครับ

เรียนรู้จากภูมิปัญญาตายายโดยแท้จ้ะพี่หมอเปิ้น ชื่นชมจ้ะ

ฝีมือคุณยายงามมากๆค่ะ อยู่ใกล้ๆจะมอบตัวเป็นศิษย์เลยค่ะ

เป็นโครงการที่มีคุณค่าและรักษางานฝีมือของไทยค่ะ

น่ารักจังค่ะอาจารย์ มีความสุข สดชื่นกันทุกคน ทั้งผู้ให้และผู้รับสมถวิล สาธุค่ะ

...ท่าทางครูคงปลื้มใจที่นักเรียนเก่งนะคะ

Glad to see a "Thai traditional art" is being practiced and passed on.

Do you thinking, it is also very therapeautics -- helping to calm the body and the mind?

;-)

-สวัสดีครับพี่หมอ..

-นักเรียนดูขยันขันแข็งดีนะครับ ฮ่า ๆ

-งานใบตองต้องใช้ความปราณีตมาก...

-ฝีมือพี่หมอ..ใช้ได้เลยนะครับเนี่ย..

เป็นกิจกรรมดีๆที่มีความสุขมากๆค่ะ...สวยงามอย่างไทยไม่มีใครเทียบ

เคยเรียนเย็บแบบตอนเด็กๆ สนุกดีเพราะคุณครูคือคุณยายใจดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท