beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

อนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาร่างมาตรฐานการชันสูตรโรคในผึ้ง


แต่ที่ทราบในเวลานี้คือ ผู้แทนของมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้สอนเรื่องผึ้ง

    ช่วงเช้าของวันนี้ ระหว่างเดินทางเข้าไปในเมือง ได้รับโทรศัพท์จากคุณเพชรรัตน์ (น้อยเหมือน) เม่นคำ ว่าให้มาดูเอกสารที่คณบดี (คณะวิทยาศาสตร์=รศ.ดร.ชยันต์ บุณยรักษ์) มอบให้เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม "คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาร่างมาตรฐานการชันสูตรโรคในผึ้ง"

   ตอนบ่ายเข้ามาดูเอกสาร คำถามแรกของผม คือเรื่องค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ว่าจะเบิกจากส่วนไหน (คณะ ภาควิชา หรือผู้จัด) ทางคุณเพชรรัตน์ จึงได้ขอให้ทางเลขาคณบดี (คุณแต๊ก) ติดต่อให้ ทำให้ทราบว่า ในครั้งแรกให้ทางคณะ ออกค่าใช้จ่ายไปก่อน แล้วครั้งต่อไป ทางผู้จัดจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

    เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของคณะ ในครั้งนี้ผมขอเดินทางโดยรถทัวร์ ซึ่งค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด จะไม่เกิน 1,400 บาท แต่ถ้าเดินทางโดยเครื่องบิน ค่าใช้จ่ายคงประมาณ 4,800 บาท

    กำหนดการประชุม (ครั้งที่ 1-1/2549) ในวันที่ 24 ตุลาคม 2549 เวลา 9.30-15.00 น. ณ ห้องประชุมพระพิรุณ1 ชั้น 4 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200) จัดโดยกลุ่มมาตรฐานสุขอนามัยสัตว์ (โทร.0-2283-1600 ต่อ 1195,1200 โทรสาร 0-2280-3899) สำนักมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หนังสือเชิญลงวันที่ 11 ตุลาคม 2549

   ผมลองดูรายชื่อคณะอนุกรรมการแล้ว ในส่วนของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ผู้แทนของ

  • คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

   ลองวิเคราะห์ดู จะพบว่า ทุกมหาวิทยาลัยที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ ล้วนแต่มีการสอนวิชา "ผึ้ง" ทั้งนั้น แต่ไม่ทราบว่าผู้แทนของแต่ละมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ที่สอนวิชาผึ้งหรือไม่ แต่ที่ทราบในเวลานี้คือ ผู้แทนของมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นผู้สอนเรื่องผึ้ง

   มีสองมหาวิทยาลัย ผู้ที่สอนวิชาผึ้ง ไม่ได้อยู่คณะวิทยาศาสตร์ คือ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงครับ

   ผู้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการฯ ครั้งนี้ คือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ลงนามเมื่อ 9 กรกฎาคม 2549

   เอาไว้เมื่อผมไปเข้าร่วมประชุม แล้วจะกลับมาเล่าอีกครั้ง..ครับ

***************************

หมายเหตุท้ายบันทึก :

  •  เรื่องของการเลี้ยงผึ้งเป็นอุตสาหกรรมในเมืองไทย ซึ่งเริ่มประสบความสำเร็จในช่วงปี 2519-2520 นั้น ผ่านมา 49-50 ปี เริ่มมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับประเทศ ขณะที่ผู้เริ่มเลี้ยงผึ้งในยุคแรกๆ ได้ล้มหายตายจากไป และเกษตรกร ระดับ (รากแก้ว) ก็จะค่อยๆ หายไปจากวงการเลี้ยงผึ้ง เพราะต้นทุนการเลี้ยงผึ้งสูงขึ้นมาก ในขณะที่ราคา (รับซื้อ) ผลิตภัณฑ์ ลดต่ำลง
  • วันนี้ได้รับโทรศัพท์ จากจ่า สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งภาคเหนือตอนล่าง ว่า เดิมเคยเป็นวิทยากรให้กับ กลุ่มสระบุรี (กระท่อมทิพย์) ก่อนที่คุณรุ่งโรจน์ จากศูนย์ผึ้ง จันทบุรีจะมาเป็นวิทยากร และมีเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งแถบนั้นหลายรายโทรศัพท์มาคุยด้วย
หมายเลขบันทึก: 55073เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2006 22:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท