การให้คำปรึกษาเพิ่มพลังชีวิต


ขอบพระคุณมากครับสำหรับความร่วมมือของสมาคมสายใยครอบครัวและชมรมสายใยความหวังผู้ป่วย ที่ได้เชิญดร.ป๊อป เป็นวิทยากรเชิงปฏิบัติการเรื่อง "สายใยรักประสานชีวิต" เมื่อวันเสาร์ที่ 5 ต.ค. ที่ผ่านมา

บทสรุปที่ดร.ป๊อป ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และได้เรียนรู้เพิ่มเติม ประกอบด้วย

1. จิตอาสาที่เป็นกระบวนกรรวม 7 ท่าน ที่ผ่านการอบรมผู้ให้คำปรึกษาผู้ป่วยอย่างมืออาชีพมาแล้ว 2 วัน และสามารถร่วมช่วยดร.ป๊อป ในการกระตุ้นผู้เข้าอบรมแสดงความคิดออกมาเป็นเสียงดังๆ และการสังเกตการณ์ผ่านการแสดงความคิดเห็นที่เป็นระบบ

2. ผู้เข้าอบรมจำนวน 50 ท่าน มีจิตอาสาที่ยอดเยี่ยมและมีความตั้งใจในการฝึกฝนทักษะการสัมภาษณ์ ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ ทักษะการทำกิจกรรม ทักษะการเป็นกระบวนกรเบื้องต้น และทักษะการมีส่วนร่วมระดมความคิดเป็นทีมให้คำปรึกษา 

3. ลำดับเทคนิคที่ดร.ป๊อป พยายามใช้เวลา 1 วัน ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ 

ขั้นตอนที่ 1 การแสดงความไว้วางใจผ่านการทักทาย การแสดงรอยยิ้ม และการสัมผัสมือพร้อมทักทายว่า "สวัสดีครับ/ค่ะ สบายดีไหมครับ/ค่ะ มีอะไรให้ช่วยเหลือไหม/มีปัญหาอะไรไหม มีปัญหาเรื่อง... รอสักครู่/ถ้าไม่มีปัญหา ขอบคุณมากครับ/ค่ะ"

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างความสัมพันธ์ผ่านการพูดคุย (จดจำข้อมูล ทำความเข้าใจข้อมูล ประยุกต์ข้อมูลในหลายภาพชีวิต และประเมินข้อมูลว่าเป็นปัญหาทางความคิด ปัญหาทางอารมณ์ และ/หรือปัญหาทางการเคลื่อนไหวร่างกาย พร้อมสบตาและใช้เวลาตรงนี้ไม่เกิน 30 นาทีต่อครั้ง แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 1 ชม. ทำเพียง 3 ครั้งต่อวัน หรืออาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง ถ้าหนึ่งเรื่องยังแก้ไม่ได้ให้เปลี่ยนเรื่องใหม่)

ขั้นตอนที่ 3 การสร้างกิจกรรมฝึกสมองเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาผ่อนคลายและเกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ผ่าน 1 ใน 5 กิจกรรม ได้แก่ ฝึกความจำ ฝึกความจดจ่อ ฝึกความเร็ว ฝึกยืดหยุ่น หรือ ฝึกแก้ไขปัญหา

ขั้นตอนที่ 4 ฝึกคิดเป็นระบบแบบภูเขาน้ำแข็ง เขียนใส่กระดาษแล้วพูดออกมา ได้แก่ เหตุการณ์ที่สุขหรือทุกข์ในปัจจุบัน ความถี่ของเหตุการณ์ ความคาดหวังในอนาคต ขั้นตอนที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์นี้อีกครั้ง และข้อคิดหรือความดีที่จำเป็นต้องสร้างความสุขหรือลดความทุกข์

ขั้นตอนสุดท้าย การระดมสมองโดยมีคนเป็นกลุ่มไม่เกิน 5 คน ได้แก่ กระบวนกร ผู้ช่วยกระบวนกร พยาน (แพทย์ นักกฎหมาย ฯลฯ) ผู้รับคำปรึกษา และผู้ดูแล/ผู้ที่เป็นกัลยาณมิตรที่ช่วยเหลือผู้รับคำปรึกษาได้จริง โดยตั้งโจทย์และหาทางออกอย่างสร้างสรรค์

และนี่คือกลุ่มกระบวนกรจิตอาสาคนเก่งและคนดีมากๆ ที่ได้เรียนรู้มืออาชีพที่ปรึกษาพลังชีวิตก่อนหน้านี้ครับผม

คลิกดูรูปภาพในการอบรมเพิ่มเติม ด้วยความขอบคุณมากๆครับสู่ทีมงานชมรมสายใยความหวังผู้ป่วย 

หมายเลขบันทึก: 550396เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

 

เป็นกำลังใจให้น้อง ดร.ป๊อป 

ได้มีกำลังใจ กำลังกาย ทำสิ่งดีงามต่อไปค่ะ

ครูนกนำขั้นที่ ๓ มาใช้ช่วงต้นชั่วโมง...เด็กๆ ชอบค่ะ

ขั้นตอนที่ 3 การสร้างกิจกรรมฝึกสมองเพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาผ่อนคลายและเกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ผ่าน 1 ใน 5 กิจกรรม ได้แก่ ฝึกความจำ ฝึกความจดจ่อ ฝึกความเร็ว ฝึกยืดหยุ่น หรือ ฝึกแก้ไขปัญหา

ขอบคุณบันทึกที่ดีมีประโยชน์นะคะDr. Pop...

ยินดีและขอบคุณมากครับคุณ Bright Lily คุณ noktalay และดร.พจนา

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจจาก อ.นุ และคุณตุ๊กตา

คิดเป็นระบบแบบภูเขาน้ำแข็ง  น่าสนใจมากค่ะ

ขอบพระคุณมากครับพี่หมอธิรัมภา

น้องดร.Pop ขอชื่นชมการทำงาน

จะได้มีเครือข่ายกระบวนกรเพิ่มขึ้น

ดีมากๆเลยครับ

ยินดีและขอบคุณพีั่ชายอ.ขจิตมากครับผม

ชอบความคิดภูเขาน้ำแข็งค่ะอาจารย์

หนูว่าสิ่งนี้ทำให้เราเรียนรู้ เวลาที่เราทุกข์ สุข

และ โอกาสที่จะกลับไปทำให้เกิดความสุขอีกครั้งนึงได้อย่างไร

หนูจะในไปใช้ในการฝึกคิดต่อไปค่ะ ^^

ชอบลำดับเทคนิคของอาจารย์คะเวลาเพียงพหนึ่งวันแต่เราก็สามารถเปลี่ยนจากคนที่ไม่รู้จักกัน กลายเป็นคนที่รู้จักกัน สนิทกัน ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้สึก ช่วยกันแก้ไขปัญหาได้ ดีมากเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท