สอนแบบไม่สอน


สอนแบบไม่สอน(teaching with respect and trust)

เตรียมความพร้อมสำหรับครูยุคใหม่  เราไม่ได้สอนให้ความรู้หรือ ให้รู้อย่างเดียว แต่สอนให้เด็กเกิดสติปัญญา ไปสู่ทักษะจิตใจ เกิดสุนทรียภาพ ความคิดและจินตนาการ      สอนให้ลึกลงถึงจิตใจคนไปด้วย     การสอนคนเหมือนคำของดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยาที่บอกว่าสอนให้เป็นคนดี   ถึงเรียนเก่งได้    สังคมเราไม่ต้องการคนเก่งอย่างเดียวแต่ต้องการคนดีด้วย      แล้วการสอนแบบไม่สอนกระบวนการเป็นอย่างไร     เราไม่สามารถสอนเด็กตรง ๆ ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องดีงามควรกระทำ หรืออะไรคือสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ดีงาม ไม่ควรกระทำ แต่มีเครื่องมือที่ครูจะสร้างสำนึกทางคุณธรรม ให้เกิดขึ้นภายในตัวเด็กเอง ด้วยกันสามวิธี

วิธีแรกก็คือ การเล่านิทานให้เด็กฟัง(story telling) ในเทพนิยาย(fairy Tales) จะเหมือนในชีวิตจริงที่เราจะต้องมีช่วงวิกฤตที่จะต้องตัดสินใจ และมักจะตัดสินใจผิดพลาด ทำให้เกิดผลร้ายตามมา เด็ก ๆ ยามฟังนิทานเหล่านั้นจะรับรู้ได้ถึงอารมณ์ความรู้สึกในช่วงนั้นได้ ตลอดจนสิ่งที่ควรจะเลือก แต่ตัวละครนั้นได้ถูกความโลภ โกรธ หรือหลงเข้าครอบครองจิตใจ ทำให้ความคิดอ่านไม่กระจ่างชัด แต่อย่างไรก็ตามเรื่องราวจะจบลงโดยมีผู้ที่แสดงความกล้าหาญ ความมุ่งมั่นที่จะปวารณาตนในการช่วยเหลือ และต่อสู้กับความชั่วร้าย และนำกลับมาซึ่งความสุขสดชื่นของชีวิตทุกครั้งที่เด็ก ๆ ฟังนิทาน เด็ก ๆ ก็จะสามารถรู้ได้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด และความจริงแห่งชีวิตเหล่านี้ทำให้เด็ก ๆ ตระหนักถึงการมีคุณธรรม

 วิธีที่สองก็คือให้เด็กทำงานศิลปะ(artistic activity) เพราะในการทำศิลปะไม่มีแบบแผนในการสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม ผู้ที่ทำงานศิลปะจะต้องก้าวข้ามข้อจำกัด จนถึงช่วงเวลาแห่งความรู้สึกที่ว่างานของตนนั้น "ใช่" หรือ "งาม" ความรู้สึกนี้ ที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่การตระหนักรู้ถึงการมีคุณธรรม ที่จะใช้ในการตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต ยิ่งไปกว่านั้นสุนทรียะที่เกิดขึ้นในตัวเด็ก ทำให้เขาเกิดความเคารพในวัสดุที่นำมาใช้ทำงานศิลปะ ก่อให้เกิดความต้องการที่จะนำความงามและความถูกต้องมาสู่โลก ด้วยการมองเห็นเนื้อแท้ของสิ่งต่าง ๆ

วิธีที่สามก็คือเป็นหรือมีแบบอย่างที่ดีให้เด็กใช้เป็นต้นแบบ(model worthy of emulation)   และวิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด ในการปลูกสำนึกทางคุณธรรมในตัวเด็ก   แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า การเรียนการสอนในโลกปัจจุบันมักเน้นเนื้อหาและมองข้ามคุณค่าของการมีคุณธรรมไป

ทั้งสามวิธีนี้ก็เป็นสิ่งเดียวกันกับที่คุณครูจอห์น ชาลเมอร์ส  โรงเรียนปัญโญทัย    ได้เคยกล่าวไว้ว่าเราจะสอนให้เด็ก ๆ ให้มีความสามารถที่จะเห็นและใส่ใจในสามสิ่ง นั่นก็คือในชีวิต(life)ซึ่งก็คือความจริง(truth but not equal to fact)     ในผู้อื่น(others) ซึ่งก็คือความดี(goodness)                และในสิ่งแวดล้อม(environment) ซึ่งก็คือความงาม(beauty)

คำสำคัญ (Tags): #สอนแบบไม่สอน
หมายเลขบันทึก: 550391เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 06:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 06:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท