เรือปานามา เกยตื้นหาดชลาทัศน์ บทเรียนที่ไม่ควรถูกลืม


เรือปานามา เกยตื้นหาดชลาทัศน์ บทเรียนที่ไม่ควรถูกลืม

 

เรือปานามา เกยตื้นหาดชลาทัศน์ บทเรียนที่ไม่ควรถูกลืม  

 

โดย  พิชญวัฒน์ ลิ้มรัชชานนท์

               เรือปานามา บางคนอาจจะไม่รู้เรื่องของเรือลำนี้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2537 พายุได้ซัด  เรือจีน่าร์-2 (Genar-II) สัญชาติปานามา เข้ามาเกยตื้นที่ชายหาดชลาทัศน์ด้านเหนือของชุมชนบ้านเก้าเส้ง  หลังจากนั้นไม่นานชายหาดด้านทิศเหนือของตัวเรือก็เกิดการกัดเซาะ เนื่องจากลำเรือไปขวางทิศทางของตะกอนทรายชายฝั่ง ในขณะที่ทางทิศใต้ของเรือนั้นเกิดการทับถมของตะกอนทรายจำนวนมหาศาล

 

 
   

 

 

 

เรือปานามา เกยตื้นที่ชายหาดบ้านเก้าเส้งเมื่อปี 2537

ที่มา : http://talung.gimyong.com/index.php?topic=34867.0

 

          ปรากฏการณ์ช้างต้นสามารถอธิบายได้จากทฤษฎีกระบวนการของชายฝั่งทะเลที่ว่า ชายฝั่งประกอบด้วยหาดทรายและสันดอนใต้น้ำซึ่งเป็นบริเวณที่คลื่นเริ่มแตกในช่วงฤดูมรสุมที่คลื่นลมแรง หาดทรายจะถูกกัดเซาะและทรายถูกหอบออกสู่ทะเลไปกองเป็นสันดอนใต้น้ำ แต่เมื่อถึงฤดูคลื่นลมสงบ คลื่นเดิ่งจะพัดพาทรายที่สันดอนนั้นถมกลับสู่ฝั่ง ก่อตัวเป็นหาดทรายดังเดิมดังแสดงในรูปซึ่งจะเห็นได้ว่า รูปร่างของชายหาดจะสมดุลด้วยตัวเองตามฤดูกาล เรียกว่า สภาวะสมดุลพลวัต

 

 


รูปทรงสัณฐานของชายหาดตามฤดูกาล (รูปบน : คลื่นเดิ่งพัดพาทรายจากสันดอน (sandbar) ขึ้นสู่หาด และรูปล่าง : คลื่นพายุหอบทรายจากหาดไปกองเป็นสันดอน)

ที่มา : http://img.geocaching.com/cache/3de24d6d-7ead-4243-81b3-07d86030fdfe.jpg

 

 

      การที่คลื่นแตกใกล้ชายฝั่งจะก่อให้เกิดกระแสน้ำที่พัดพาตะกอนทรายให้เคลื่อนที่ลัดเลาะไปตามชายฝั่ง ในกรณีชายฝั่งสงขลาพบว่าทรายจะมีทิศทางการเคลื่อนที่สุทธิไปทางทิศเหนือ ดังนั้นเมื่อมีสิ่งกีดขวางกระบวนการเคลื่อนที่นี้ เช่น การสร้างเขื่อนหรือคันกันทรายริมชายฝั่ง ทรายก็จะไหลมาติดกับเขื่อนฯเหล่านั้น ทำให้ชายหาดด้านถัดไปขาดแคลนทรายที่จะมาหล่อเลี้ยง ผลลัพธ์ก็คือ หาดทรายจะถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็ว และในที่สุดก็พังทลายซึ่งยากต่อการแก้ไข

 

 

กระแสน้ำเลียบฝั่งที่เกิดจากคลื่นแตกใกล้ชายฝั่งพัดพาทรายให้กลิ้งไปบนหาดและฟุ้งกระจายไปตามกระแสน้ำ

ที่มา : http://www.crd.bc.ca/watersheds/protection/geology-processes/coastalsediment.htm

 

 

 

เขื่อนกันทรายและคลื่นที่ชายฝั่งอำเภอปากพนังทำให้สมดุลการเคลื่อนที่ของทรายสูญเสียไป

ที่มา:http://www.bwn.psu.ac.th/pp.html

 

              หลักฐานจากภาพถ่ายในปี พ.ศ.2538 หลังจากที่เกิดเหตุเรือปานามาได้เกยตื้น ประจักษ์ชัดว่าหาดทรายทางด้านเหนือของซากเรือถูกกัดเซาะอย่างฉับพลัน

หลังจากนั้นไม่นานทางราชการได้สั่งรื้อถอนซากเรือลำนี้ออกพ้นไปจากชายหาดชลาทัศน์ คลื่นก็ได้ทำหน้าที่พัดพาเม็ดทรายที่กองทับถมนั้น กลับคืนสู่ชายหาดชลาทัศน์ที่สวยงามทอดยาวเป็นแนวตรงดังเดิม ดังภาพที่ถ่ายไว้ในปี พ.ศ 2544

 

 
   

 

 

การรื้อถอนซากเรือปานามา ในปี 2538

ที่มา : เครือข่ายเฝ้าระวังรักษาชายหาด (BWN)

 

 

                      รูป (ก)                                                              รูป (ข)

 

ก)     รูป(ก) ภาพถ่ายปี 2538 แสดงการทับถมและกัดเซาะชายหาดชลาทัศน์ที่เกิดจากเรือปานามาเกยตื้น                  

ข)     รูป(ข) ภาพถ่ายปี 2544 ชายหาดกลับคืนสภาพเดิมเมื่อรื้อถอนเรือปานามาออกไป

ที่มา : เครือข่ายเฝ้าระวังรักษาชายหาด (BWN)

 

            จะเห็นได้เลยว่าจากเหตุการณ์เรือปานามาเกยตื้นที่ชายหาดชลาทัศน์ในครั้งนั้น เปรียบเสมือนการสร้างเขื่อนหรือคันดักทรายในปัจจุบันที่เห็นกันอยู่ทั่วไป ดังนั้นยิ่งสร้างเขื่อนที่ชายฝั่ง ก็จะยิ่งเร่งให้เกิดการกัดเซาะหาดทราย ถ้าไม่มีเขื่อนหรือสิ่งกีดขวางที่มนุษย์นำไปรบกวนสมดุลธรรมชาติ ไม่นานหาดทรายก็จะกลับสู่สภาพเดิม ในเมื่อธรรมชาติและเรือปานามาได้ให้บทเรียนอันทรงคุณค่าจากเหตุการณ์นี้

         " แล้วทำไมถึงยังจะสร้างเขื่อนกันทรายและกันคลื่น กันต่อไปอีก "

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 550388เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 03:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2013 15:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณบทความดีๆครับ 

เป็นบทเรียนที่เข้าใจได้ง่าย  และเป็นประโยชน์มากต่อสาธารณะ 

นับเป็นบทความที่เป็นประโยชน์มากในการรักษาชายหาด

เพราะแสดงให้เห็นชัดเจนถึงสาเหตุและแนวทางฟื้นฟูรักษาหาดทราย

ขอบคุณผู้เขียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้

ปรับปรุงโฉมใหม่ อ่านง่ายขึ้นเยอะ ขอบคุณๆ เนื้อหาดี น่าอ่าน ได้ใจไปกว่าครึ่งแล้ว

ดีมากครับ ขอชื่นชมครับ ขอนำไปปรับใช้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท