ย้อนเมนูโปรดวัยเยาว์



เมื่อวานได้มีโอกาสเดินตลาดเก่าแก่คู่บ้านคลองแงะ โดยปกติสมัยวัยเด็กครูนกได้ไปตลาดทุกๆวันเสาร์ไปช่วยยายขายของ ไปช่วยยายหิ้วตะกร้า และทุกๆครั้งยายก็จะจัดเมนูโปรดให้คือ "ข้าวหมูแดง" ประเภทซื้อหมูและซื้อน้ำราดในลักษณะกึ่งสำเร็จรูปมาทำรับประทานต่อกันที่บ้าน เมื่อโตขึ้นอายุมากขึ้นความถี่ในการไปตลาดสวนทางโดยสิ้นเชิงกับอายุที่เพิ่มขึ้น แต่เสาร์นี้ได้ไปเดินแล้วค่ะต้องเรียกว่า การเดินตลาดส่งท้ายภาคเรียนที่ ๑ เลยค่ะ

ในที่สุดได้เจอกับอาหารโปรดวัยเยาว์ในรูปแบบขายบนเขียงเช่นเดิม คนขายเปลี่ยนไป น้องคนขายบอกเล่าให้ฟังว่า คนเดิมได้ลาลับจากโลกนี้ไปแล้ว ส่วนเขาเป็นคนที่รับสูตรต่อมาเพราะลูกหลานของเจ้าเดิมได้หันเหไปทำงานประกอบอาชีพอื่นๆกันหมดแล้ว ครูนกเลยชวนแม่ทำข้าวหมูแดง แบบง่ายๆ สไตล์บ้านเรา งานนี้สวนทางกระแสแจเลย
สิ่งที่ซื้อมา ๑. หมูแดง ขีดละ ๓๐ บาท ๒. น้ำซอสถุงเล็ก ๑๐ บาท (แต่ครูนกว่าปริมาณเยอะมาก) ๓. ผักกาด ๔. แตงกวา
สิ่งที่เก็บรอบบ้าน ๑. ดอกอัญชัน ๒. พริกชี้ฟ้า
เมื่อลองรับประทานพบว่า ความอร่อยแม้จะไม่เท่าวัยเยาว์แต่ใกล้เคียง ท้องอิ่มทำให้ฝันของเราเริ่มเกิด....แม่มีฝันอยากมีโอกาสปรุงถวายพระ โดยเพิ่มน้ำซุป ต้นหอม และเครื่องปรุงอื่นๆ เพิ่ม ส่วนครูนกก็มีฝันปรุงไว้เลี้ยงลูกศิษย์แบบราคาไม่สูงแต่อิ่มครบครันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างดี แต่คาดว่าเด็ก คงไม่โปรดการใส่ดอกอัญชันสดไปเป็นผักเคียงจานแน่นอน
          ขณะที่ได้ย้อนเมนูโปรดทำให้ได้เรียบเรียงความคิดเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวที่เปลี่ยนไป
ผู้คนในตลาด  เปลี่ยนจากกลุ่มคนจีน เป็นคนอิสลาม และปัจจุบันมีคนต่างชาติที่มาทำงานประเภทแรงงานมากขึ้น
สินค้าในตลาด เมื่อก่อนเป็นผัก ผลไม้ หรือผลิตภัณฑ์จากสวน ปัจจุบันสินค้าเหล่านี้ลดลง กลายเป็นเสื้อผ้า สินค้ามือสองมากขึ้น
รูปแบบการจ่ายตลาด สมัยก่อนมีตะกร้าใบใหญ่หนึ่งตะกร้า ผักห่อใบตอง ใช้การมัด การผูก ปัจจุบันถุงเดียวพลาสติกใสๆ ขุ่นๆ ครองตลาด
          ทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะต้องอยู่กับการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

หมายเลขบันทึก: 550331เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2013 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

อาจารย์ โปรด วัยเยาว์ ผมสิ ชอบตอนนี้ เลย หิวมาก........

มาแวะเยี่ยมครูนก ช่วงนี้งานศิลปหัตกรรมวุ่นวายกันทั้งโรงเรียนจึงไม่ค่อยได้มีโอกาสเลย

มันมีเรื่องราวมากมายเหลือเกิน คิดถึงน่ะมาเป้นกำลังใจให้จ้า

สวัสดีค่ะ ท่านผอ.ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

ขออภัยค่ะ....ที่ทำให้หิวอยู่ใกล้ๆ จะส่งไปให้สักจานค่ะ....แต่เป็นแนวทางที่เหมาะต่อการทำให้นักเรียนทานได้แบบประหยัดค่ะ เมื่อวานครูนกซื้อผักเพิ่ม สิบห้าบาท น้ำซอส สิบ บาท หมูแดง สามสิบห้าบาท.....ทานได้ สี่คนเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ และร่วมเป็นกำลังใจให้ภาระหน้าที่ของครูหยินเช่นกันนะคะ

 

.... ทุกวัยๆ .... อาหารต้องถูกโภชนาการ+ ได้คุณภาพ นะคะ .... โดยเฉพาะวัยเด็ก นะคะ

ขอบคุณสำหรับหลักที่ดีของ อ.อาหารวัยเยาว์ค่ะ Dr. Ple 

   

 

มื้อไหนค่ะ คุณครูมะเดื่อ 
คราวหน้าจะทานเผื่อค่ะ

ปัจจุบันเปลี่ยนไปมากๆเลยครับ

สวัสดีค่ะครูนก

ชอบบันทึกนี้เพราะทำให้รำลึกถึงวัยเยาว์ที่หิ้วตะกร้าเดินตามหลังยายไปตลาด

ที่มีแต่ผัก ผลไม้ ที่เพื่อนบ้านในหมู่บ้านเอามาขาย ทุกคนทักทายกันอย่างคุ้นเคย

ไม่มีอาหารขยะ ไม่มีเสื้อผ้าหรูหรามาล่อเงินในกระเป๋า  

เป็นการไปจ่ายตลาดเพื่อปากท้องล้วนๆ

เป็นตลาดที่เป็นมิตรกับสุขภาพ

ตลาดคลองแงะ.......

ความคุ้นเคยเมื่อ 15 ปีก่อนค่ะ

พี่อรเคยทำงานฝ่ายการตลาดที่หาดทิพย์เมื่อสมัยสาวน้อยจบใหม่ๆ ค่ะ

ตลาดคลองแงะ ...อยู่ไม่ไกลนัก ...... มีแต่อาหารอร่อยๆ ค่ะ

คิดถึงค่ะครูนก

-สวัีสดีครับครู

-ตามมาส่งเมนูเด็ด..

-"แกงหยวกกล้วยไข่"ครับ

-ขอบคุึณครับ..

เวลาหมุนไปเรื่อยๆ การเปลี่ยนแปลงเกิดเรื่อยๆ เห็นด้วยค่ะ น้องอาจาย์ขจิต ฝอยทอง

ขอบคุณค่ะ คุณหมอnui   ตอนนี้ครูนกกับแม่จะใช้ตะกร้า....ไปจ่ายตลาดเช่นกัน แต่นานๆเราจึงจะได้ไปด้วยกันยังคงเป็นเด็กหิ้วกระเป๋าค่ะ


สวัสดีค่ะ พี่อร Bright Lily ที่น่ารัก
ตลาดคลองแงะ...กลายเป็นตลาดสินค้ามือสองแหล่งใหญ่อีกแหล่งหนึ่งค่ะ
มีร้านก๋วยจั๊บอร่อยหลังสถานีรถไฟค่ะ

ขอบคุณมากมายค่ะ ส่งถึงที่แบบไม่ต้องโทร.หนึ่งหนึ่งเจ็ด......น้องเพชรน้ำหนึ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท